1 / 32

บทที่ 10 ปัญหาการรอคอย

บทที่ 10 ปัญหาการรอคอย. ภาคการศึกษา 1/2552 อ.นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล. ประเด็นบทที่ 10. - ลักษณะของปัญหาการรอคอย - รูปแบบของปัญหา - การแก้ปัญหาการรอคอย. ปัญหาแถวคอย( Queuing Theory).

Download Presentation

บทที่ 10 ปัญหาการรอคอย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 10 ปัญหาการรอคอย ภาคการศึกษา 1/2552 อ.นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล

  2. ประเด็นบทที่ 10 • - ลักษณะของปัญหาการรอคอย • - รูปแบบของปัญหา • - การแก้ปัญหาการรอคอย

  3. ปัญหาแถวคอย(Queuing Theory) • A.K. Erlang(1910) วิศวกรชาวเดนมาร์กเป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ จากปัญหาการสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรม • เกิดขึ้นเนื่องจาก ความต้องการรับบริการไม่เท่ากับการให้บริการ หรืออุปสงค์ในบริการมีมากกว่าอุปทานของบริการ • ศัพท์ที่ควรทราบ • ลูกค้า(Customer) หรือ ผู้รับบริการ(Arrival) • หน่วยบริการ(Service Unit) • ระบบคิว(Queuing System)

  4. ลักษณะของปัญหาการรอคอยลักษณะของปัญหาการรอคอย • แยกได้เป็น 2 ด้าน • ด้านผู้ประกอบการ • ผู้ประกอบการต้องการควบคุมต้นทุนการให้บริการสินค้าและบริการต่ำที่สุด • ผู้ประกอบการมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรในการให้บริการสินค้าและบริการอาทิ จำนวนแรงงานไม่เพียงพอ โต๊ะและเก้าอี้ไม่เพียงพอ • ข้อจำกัดในการให้บริการสินค้าและบริการเกิดได้ทั้งตลอดช่วงระยะเวลาของการให้บริการและ/หรือ บางช่วงเวลาการให้บริการ • ด้านผู้บริโภค • การให้บริการสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสแก่ผู้บริโภคมากขึ้น • อรรถประโยชน์ที่จะได้จากสินค้าและบริการนั้นจะลดลงหรืออาจถูกบิดเบือนไป

  5. รูปแบบของระบบ • ระบบแถวคอยแบบช่องทางเดียว-ขั้นตอนเดียว(Single-channel-single-phase system) อาทิ ระบบร้านอาหารฟาสต์ฟูด ตู้เช็คยอดสมุดบัญชีเงินฝาก • ระบบแถวคอยแบบช่องทางเดียว-หลายขั้นตอน (Single-channel-multiple-phase system) อาทิแคชเชียร์ในห้างสรรพสินค้าที่มีช่องทางเดียว ตู้ ATM • ระบบแถวคอยแบบหลายช่องทาง-ขั้นตอนเดียว (multiple-channel-single-phase system) อาทิจุดจ่ายยาในโรงพยาบาล ช่องจ่ายเงินในโรงพยาบาล • ระบบแถวคอบแบบหลายช่องทาง- หลายขั้นตอน (multiple-channel-multiple-phase system) อาทิแคชเชียร์ในห้างสรรพสินค้า เคราเตอร์บริการของธนาคาร

  6. ระบบการให้บริการ • ลูกค้าที่มาก่อนจะได้รับบริการก่อน(first come first serve: FCFS) • ลูกค้าที่มาทีหลังจะได้รับบริการก่อน (last come first serve: LCFS) • ลูกค้าที่มีความจำเป็นมากกว่าจะได้รับบริการก่อน

  7. ลักษณะของการเข้ารับบริการของลูกค้าลักษณะของการเข้ารับบริการของลูกค้า • เข้ารับบริการในอัตราคงที่ทุกช่วงเวลา • เข้ารับบริการในอัตราไม่คงที่ หรือไม่แน่นอน หรือไม่สม่ำเสมอ แยกออกได้เป็น 2 รูปแบบ • ไม่สามารถทราบความถี่ได้แน่นอน • ทราบได้ความถี่ได้แน่นอน คือ ช่วงที่หนาแน่นหรือมีความถี่การเข้ารับบริการมาก กับช่วงที่หนาแน่นน้อยหรือความถี่การเข้ารับบริการน้อย แบบที่สองนี้ การเข้ารับบริการจะเรียนกว่าการเข้ารับบริการแบบสุ่ม

  8. กรณีมีการแจกแจงแบบ Poison Distribution P(x)=ความน่าจะเป็นที่ลูกค้าจะเข้ารับบริการ X=จำนวนลูกค้าต่อหน่วยเวลา(คนต่อหน่วยเวลา) t=จำนวนเวลาให้บริการต่อครั้ง(หน่วยเวลาต่อครั้ง) =อัตราการเข้ามารับบริการ(คนต่อหน่วยเวลา) e=2.7183

  9. กรณีมีการแจกแจงแบบปกติกรณีมีการแจกแจงแบบปกติ P(x)=ความน่าจะเป็นที่ลูกค้าจะเข้ารับบริการ X=จำนวนลูกค้าต่อหน่วยเวลา(คนต่อหน่วยเวลา) t=จำนวนเวลาให้บริการต่อครั้ง(หน่วยเวลาต่อครั้ง) =อัตราการเข้ามารับบริการ(คนต่อหน่วยเวลา)

  10. ลักษณะของผู้ให้บริการลักษณะของผู้ให้บริการ • ให้บริการในอัตราคงที่ทุกช่วงเวลา • ให้บริการในอัตราไม่คงที่ หรือไม่แน่นอน หรือไม่สม่ำเสมอ • ซึ่งจะทราบได้ความถี่ได้แน่นอน คือ ช่วงที่หนาแน่นหรือมีความถี่การเข้ารับบริการมาก กับช่วงที่หนาแน่นน้อยหรือความถี่การเข้ารับบริการน้อย • เวลาการให้บริการหาได้จาก P(T)=ความน่าจะเป็นที่จะใช้เวลาให้บริการ t=เวลาให้บริการต่อครั้ง(หน่วยเวลาต่อครั้ง) u=อัตราการให้บริการ(คนต่อหน่วยเวลา) e=2.7183

  11. แบบจำลองการตัดสินใจ M/M/1 • ลักษณะที่สำคัญ • ประชากรของระบบมีจำนวนไม่จำกัด • อัตราการมารับบริการเป็นแบบสุ่ม มีการแจกแจงแบบปัวส์ชอง • เวลาการให้บริการเป็นแบบสุ่ม มีการแจกแจงแบบเอกซ์โพแนนเชียล • มีระเบียบการให้บริการแบบมากก่อนได้รับบริการก่อน • ไม่มีจำกัดความยาวของแถวคอย • มีหน่วยบริการเพียงหน่วยเดียวและเป็นการบริการขั้นตอนเดียว

  12. สัญลักษณ์ที่ใช้ในตัวแบบแถวคอยสัญลักษณ์ที่ใช้ในตัวแบบแถวคอย = อัตราการเข้ารับบริการ(คนต่อหน่วยเวลา) = อัตราการให้บริการ (คนต่อหน่วยเวลา) = ความน่าจะเป็นที่ระบบจะทำงาน = เวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการบริการลูกค้า 1 คน P0= ความน่าจะเป็นที่ระบบจะว่าง L= จำนวนลูกค้าโดยเฉลี่ยที่อยู่ในระบบ Lq= จำนวนลูกค้าโดยเฉลี่ยที่อยู่ในระบบแถวคอย W= เวลาโดยเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละคนเสียไปในการรับบริการในระบบ Wq=เวลาโดยเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละคนเสียไปในการรับบริการในระบบในการรออยู่ในแถวคอย Pn= ความน่าจะเป็นที่มีลูกค้า n คนในระบบ

  13. ตัวอย่างเช่น • ร้านถ่ายเอกสารแห่งหนึ่งมีเครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง ให้บริการลูกค้าตามลำดับก่อนหลัง ลูกค้าที่เข้ามารับบริการถ่ายเอกสารจะเข้ารับบริการโดยสุ่มได้เท่ากับ 2 คนต่อนาที ซึ่งเป็นการแจกแจงแบบ ปัวส์ชอง ทั้งพนักงานประจำเครื่องถ่ายเอกสารสามารถให้บริการได้เฉลี่ย 4 คนต่อนาที จงวิเคราะห์ระบบแถวคอยในการให้บริการของร้านถ่ายเอกสารนี้ = 2 คนต่อนาที = 4 คนต่อนาที

  14. คน คน นาที นาที

  15. ระบบแถวคอยของร้านถ่ายเอกสารร้านนี้เฉลี่ยแล้วจะมีลูกค้า 1 คนอยู่ในระบบแถวคอย โดยที่ 0.50 คนจะรอรับบริการอยู่ในแถวคอย ในขณะที่ 0.50 คนกำลังรับบริการอยู่ ลูกค้าแต่ละคนที่มารับบริการถ่ายเอกสารโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาคนละ 30 วินาที และใช้เวลารออยู่ในแถวคอยโดยเฉลี่ยคนละ 15 วินาที ความน่าจะเป็นที่เครื่องถ่ายเอกสารจะทำงานและความน่าจะเป็นที่เครื่องถ่ายเอกสารจะว่างเท่ากับร้อยละ 50

  16. แบบจำลองการตัดสินใจ M/M/s • ลักษณะที่สำคัญ • ประชากรของระบบมีจำนวนไม่จำกัด • อัตราการมารับบริการเป็นแบบสุ่ม มีการแจกแจงแบบปัวส์ชอง • เวลาการให้บริการเป็นแบบสุ่ม มีการแจกแจงแบบเอกซ์โพแนนเชียล • มีระเบียบการให้บริการแบบมากก่อนได้รับบริการก่อน • ไม่มีจำกัดความยาวของแถวคอย • มีหน่วยบริการมากกว่า 1 หน่ายบริการและเป็นการบริการขั้นตอนเดียว

  17. สัญลักษณ์ที่ใช้ในตัวแบบแถวคอยสัญลักษณ์ที่ใช้ในตัวแบบแถวคอย = อัตราการเข้ารับบริการ(คนต่อหน่วยเวลา) = อัตราการให้บริการ (คนต่อหน่วยเวลา) = ความน่าจะเป็นที่ระบบจะทำงาน = เวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการบริการลูกค้า 1 คน P0= ความน่าจะเป็นที่ระบบจะว่าง L= จำนวนลูกค้าโดยเฉลี่ยที่อยู่ในระบบ Lq= จำนวนลูกค้าโดยเฉลี่ยที่อยู่ในระบบแถวคอย W= เวลาโดยเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละคนเสียไปในการรับบริการในระบบ Wq=เวลาโดยเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละคนเสียไปในการรับบริการในระบบในการรออยู่ในแถวคอย Pn= ความน่าจะเป็นที่มีลูกค้า n คนในระบบ S = จำนวนหน่วยบริการ

  18. 2!=2 3!=6 4!=24 5!=120 6!=720

  19. ตัวอย่าง • ธนาคารแห่งหนึ่งมีพนักงานรับจ่ายเงิน 5 คน ลูกค้าเข้ามารับบริการมีการแจกแจงแบบปัวส์ซองในอัตราเฉลี่ย 24 คนต่อชม. ถ้าพนักงานแต่ละคนให้บริการลูกค้าได้ในอัตราเฉลี่ย 6 คนต่อชม. โดยมีการแจกแจงแบบปัวส์ซอง ในปัจจุบันธนาคารจัดระบบแถวคอยดังภาพ ให้วิเคราะห์ระบบบริการของพนักงานรับจ่ายเงิน ช่องบริการ 1 ช่องบริการ 2 ช่องบริการ 3 ช่องบริการ 4 ช่องบริการ 5 คน 1 คน 2

  20. อัตราการมารับบริการ = 24 อัตราการให้บริการ = 6 จำนวนหน่วยให้บริการ s = 5

  21. จากผลการคำนวณ แสดงว่าการให้บริการของพนักงานรับจ่ายเงินของ ธนาคารแห่งนี้จะมีลูกค้าอยู่ในระบบโดยเฉลี่ยประมาณ 6 คน(6.218 คน) ทั้งนี้ จะมีลูกค้า 2 คนรออยู่ในแถวคอย ลูกค้าแต่ละคนที่เข้ารับบริการที่ พนักงานรับจ่ายเงินจะใช้เวลาทั้งสินค้า 15.50 นาที โดยเสียเวลารออยู่ใน แถวคอยเฉลี่ยคนละ 5.50 นาที

  22. การตัดสินใจในปัญหาแถวคอยการตัดสินใจในปัญหาแถวคอย • ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ(Cs) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดให้มีหน่วยบริการ 1 หน่วยอาทิ เงินเดือน ค่าไฟฟ้า • ค่าใช้จ่ายในการรอคอย(Cw) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่หน่วยบริการไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ทันที ทำให้ลูกค้าต้องเสียเวลารอ รวมถึงค่าเสียเวลาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ อาทิ ผลประโยชน์ที่สูญเสียไปจากการได้รับบริการล่าช้า • ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบริการ(TC) หมายถึง ผลรวมของค่าใช้จ่ายในการให้บริการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดในแถวคอย

More Related