1 / 41

Information System Project Management

Information System Project Management. การบริหารเวลาโครงการ 4. หัวข้อ. บทนำ กระบวนการบริหารเวลาโครงการ การกำหนดกิจกรรม ( activity definition) การเรียงลำดับกิจกรรม ( activity sequencing) การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม ( activity resource estimating)

adonica
Download Presentation

Information System Project Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Information System Project Management การบริหารเวลาโครงการ 4

  2. หัวข้อ • บทนำ • กระบวนการบริหารเวลาโครงการ • การกำหนดกิจกรรม (activity definition) • การเรียงลำดับกิจกรรม (activity sequencing) • การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม (activity resource estimating) • การประมาณการระยะเวลากิจกรรม (activity duration estimating) • การพัฒนาตารางเวลา (schedule development) • การควบคุมตารางเวลา (schedule control)

  3. การกำหนดกิจกรรม • เป็นการกำหนดกิจกรรมเฉพาะที่ทีมงานโครงการและผู้มีส่วนได้เสียต้องทำเพื่อจัดทำสิ่งที่ต้องส่งมอบของโครงการ กิจกรรมหรืองานคือ ชิ้นงานที่ปรากฏในโครงสร้างจำแนกงาน ซึ่งมีระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำงาน ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้คือ รายการกิจกรรม คุณลักษณะของกิจกรรม รายการหลักไมล์ (milestone list) และการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับการร้องขอ

  4. การเรียงลำดับกิจกรรม • เป็นการกำหนดและการบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของโครงการ ผลลัพธ์หลักของกระบวนการคือ ผังเครือข่ายตารางเวลาโครงการ การเปลี่ยนแปลงที่ได้รับการร้องขอ และปรับปรุงรายการกิจกรรมและคุณลักษณที่ได้รับการปรับปรุง • การเรียงลำดับกิจกรรมยังรวมถึงการกำหนดความสัมพันธ์หรือความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรม

  5. การเรียงลำดับกิจกรรมยังรวมถึงการกำหนดความสัมพันธ์หรือความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรม • ความพึ่งพิง ความพึ่งพิงหรือความสัมพันธ์ มีความเกี่ยวข้องกับการเรียงลำดับกิจกรรมหรืองานโครงการ เช่น กิจกรรมหนึ่งต้องเสร็จก่อนที่อีกกิจกรรมจะเริ่ม สมาชิกในทีมงานสามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันหรือไม่ กิจกรรมสามารถทำซ้อน (overlap) ได้หรือไม่ การกำหนดความสัมพันธ์ หรือความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรมมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาและการบริหารตารางเวลาโครงการ ความพึ่งพิงของกิจกรรมโครงการเกิดจากเหตุผลพื้นฐาน 3 ประการดังนี้ • ความพึ่งพิงที่ต้องมี (mandatory dependencies) • ความพึ่งพิงที่กำหนดขึ้นเอง (discretionary dependencies) • ความพึ่งพิงภายนอก (external dependencies) • ผังเครือข่าย

  6. การเรียงลำดับกิจกรรมยังรวมถึงการกำหนดความสัมพันธ์หรือความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรม(ต่อ)การเรียงลำดับกิจกรรมยังรวมถึงการกำหนดความสัมพันธ์หรือความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรม(ต่อ) • ผังเครือข่าย ผังเครือข่ายเป็นเทคนิคที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ หรือการจัดลำดับของกิจกรรมโครงการ บางคนเรียกผังเครือข่ายว่า เป็นผังเครือข่ายตารางเวลา หรือ ผัง PERT • ตัวอย่างผังเครือข่ายอย่างง่ายของโครงการ Z ซึ่งใช้วิธีการแบบแสดงกิจกรรมบนลูกศร (activity-on-arrow (AOA)) จากรูป ตัวอักษร A แทนกิจกรรมที่ได้จากโครงสร้างจำแนกงาน และกระบวนการกำหนดกิจกรรม ลูกศรแทนการเรียงลำดับกิจกรรม หรือความสัมพันธ์ระหว่างงาน เช่น กิจกรรม A ต้องทำให้เสร็จก่อนกิจกรรม D กิจกรรม D ต้องทำเสร็จก่อนกิจกรรม J เป็นต้น โหนดคือ จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรมหนึ่งๆ โดยโหนดแรกคือ จุดเริ่มต้นของโครงการ และโหนดสุดท้ายแทนจุดสิ้นสุดของโครงการ

  7. ผังเครือข่ายแสดงกิจกรรมบนลูกศรของโครงการ Z

  8. ผังเครือข่าย • ถึงแม้ว่า AOA ง่ายแก่การเข้าใจและการสร้าง วิธีอื่นที่ใช้กันมากอีกวิธีคือ แผนภูมิการจัดลำดับก่อนหลังของงาน (precedence diagram) หรือ ผังแบบแสดงกิจกรรมบนโหนด (activity-on-node (AON)) ตัวอย่างของผังเครือข่ายการจัดลำดับก่อนหลังของงาน โดยชื่อกิจกรรม และระยะเวลาการทำกิจกรรมนั้น แสดงในโหนด เส้นลูกศรแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม • แผนภูมิการจัดลำดับก่อนหลังของงานหรือแบบ AON มีการใช้มากกว่าและมีข้อดีมากว่าแบบ AOA คือ 1) ซอฟต์แวร์การบริหารโครงการใช้วิธีการแบบแผนภูมิการจัดลำดับก่อนหลังของงาน 2) หลีกเลี่ยงความจำเป็นต้องใช้กิจกรรมดัมมี (dummy activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่มีระยะเวลาและทรัพยากร แต่จำเป็นต้องใช้บางโอกาสบนผังเครือข่ายแบบ AOA เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างกิจกรรม กิจกรรมดัมมี่แทนด้วยเส้นลูกศรประ และมีระยะเวลาเป็นศูนย์

  9. ผังเครือข่ายการจัดลำดับก่อนหลังของงาน หรือ AON

  10. ผังเครือข่ายที่แสดงความสัมพันธ์แบบดัมมี

  11. อธิบายตามรูป • กิจกรรม A มาก่อนกิจกรรม D กิจกรรม B มาก่อนกิจกรรม E และ F ถ้ามีความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรม B และ D ด้วย เราต้องลากเส้นประ ระหว่างโหนด 1 และโหนด 2 ดังแสดงในรูป 3) แผนภูมิการจัดลำดับก่อนหลังของงานแสดงความพึ่งพิงต่างๆ ของงาน ขณะที่ผังเครือข่ายแบบ AOA ใช้เฉพาะความพึ่งพิงแบบสิ้นสุด-เริ่มต้น

  12. ประเภทความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรมที่สามารถเกิดขึ้นท่ามกลางกิจกรรมโครงการ หลังจากที่เรากำหนดเหตุผลสำหรับความพึ่งพิงระหว่างกิจกรรม (ความพึ่งพิงที่ต้องมี ที่กำหนดขึ้นเอง และความพึ่งพิงภายนอก) เราต้องกำหนดประเภทความพึ่งพิงซึ่งมี 4 ประเภทคือ • สิ้นสุด-เริ่มต้น (finish-to-start) คือ ความสัมพันธ์ที่กิจกรรม “จาก (from)” ต้องเสร็จก่อน กิจกรรม “ถึง (to)” จึงจะสามารถเริ่มต้นทำงานได้ เช่น ท่านไม่สามารถจัดการอบรมผู้ใช้ (งาน B) ได้จนกว่าซอฟต์แวร์หรือระบบใหม่ได้ติดตั้ง (งาน A) ความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์ที่พบบ่อย และผังเครือข่ายแบบ AOA ใช้ความสัมพันธ์แบบนี้เท่านั้น • เริ่มต้น-เริ่มต้น (start-to-start) คือ ความสัมพันธ์ที่กิจกรรม “จาก (from)” ไม่สามารถเริ่มได้จนกว่ากิจกรรม “ถึง (to)” ได้เริ่มแล้ว ดังนั้น กิจกรรมทั้ง 2 สามารถเริ่มพร้อมกันได้ (parallel) ลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้ ทำให้เราสามารถร่น ระยะเวลาโครงการได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเสร็จพร้อมกัน เช่น เราอาจเริ่มบันทึกข้อมูล (งาน B) ทันทีที่เราเริ่มเก็บข้อมูล (งาน A)

  13. ประเภทความพึ่งพิงซึ่งมี 4 ประเภทคือ • สิ้นสุด-สิ้นสุด (finish-to-finish) คือ ความสัมพันธ์ที่กิจกรรม “จาก (from)” ต้องทำให้เสร็จก่อนกิจกรรม “ถึง (to)” จึงจะเสร็จได้ ดังนั้น งานหนึ่งไม่สามารถเสร็จได้ก่อนที่อีกงานหนึ่งเสร็จ เช่น การควบคุมคุณภาพ (งาน B) ไม่สามารถเสร็จก่อนที่การผลิต (งาน A) จะเสร็จ ถึงแม้ว่าสองงานสามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน • เริ่มต้น-สิ้นสุด (start-to-finish) คือ ความสัมพันธ์ที่กิจกรรม “จาก (from)” ต้องเริ่มก่อนกิจกรรม “ถึง (to)” จึงจะเสร็จได้ ความสัมพันธ์นี้ไม่ค่อยได้ใช้ แต่ก็เหมาะกับบางกรณี เช่น ระบบงานเดิมถูกยกเลิก (งาน B) เมื่อระบบใหม่เริ่มใช้งาน (งาน A)

  14. การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม • เป็นการประมาณการปริมาณทรัพยากร (เช่น คน เครื่องมือ และวัตถุดิบ) ที่ทีมงานควรใช้เพื่อทำงานกิจกรรมของโครงการ ผลลัพธ์หลักของกิจกรรมคือ ความต้องการทรัพยากรสำหรับ กิจกรรม โครงสร้างจำแนกงาน และคุณลักษณะของกิจกรรมและปฏิทินทรัพยากรที่ได้รับการปรับปรุง

  15. การประมาณการระยะเวลากิจกรรม • เป็นการประมาณการเวลาการทำงานสำหรับทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้สมบูรณ์ ผลลัพธ์ของกระบวนการคือ ประมาณการระยะเวลากิจกรรม และคุณลักษณะของกิจกรรมที่ได้รับการปรับปรุง

  16. การพัฒนาตารางเวลา • เป็นการวิเคราะห์ลำดับของกิจกรรม การประมาณการทรัพยากรกิจกรรม และการประมาณช่วงระยะเวลาของกิจกรรม เพื่อสร้างตารางการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงความต้องการทรัพยากร คณลักษณะกิจกรรม ปฏิทินโครงการ และแผนการบริหารโครงการ ผลลัพธ์คือ ตารางเวลาโครงการ บรรทัดฐานตารางเวลา (schedule baseline) การเปลี่ยนแปลงที่ได้ร้องขอ

  17. การพัฒนาตารางเวลา เพื่อกำหนดวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายของโครงการ เป้าหมายของการพัฒนาตารางเวลาคือการสร้างตารางโครงการที่เป็นจริง ตารางเวลานี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ผลลัพธ์หลักของกระบวนการพัฒนาตารางเวลาคือ ตารางเวลาโครงการ ความต้องการทรัพยากร คุณลักษณะกิจกรรม ปฎิทินโครงการ และแผนการบริหารโครงการ เทคนิคและเครื่องมือที่ช่วยในกระบวนการพัฒนาตารางเวลามีดังนี้ • แผนภูมิแกนต์ (Gantt chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงข้อมูลตารางโครงการ • การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤต (critical path analysis) เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการควบคุมและพัฒนาตารางเวลาโครงการ • การจัดตารางเวลาโซ่วิกฤต (critical Chain Scheduling) เป็นเทคนิคที่ใช้กรณีที่มีทรัพยากรจำกัด • การวิเคราะห์ PERT เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินความเสี่ยงตารางเวลาของโครงการ

  18. แผนภูมิแกนต์ ตัวอย่างแผนภูมิแกนต์แบบง่ายๆ

  19. ตัวอย่างแผนภูมิโครงการออกตัวซอฟต์แวร์ตัวอย่างแผนภูมิโครงการออกตัวซอฟต์แวร์

  20. ตัวอย่างแผนภูมิโครงการออกตัวซอฟต์แวร์ตัวอย่างแผนภูมิโครงการออกตัวซอฟต์แวร์ • แสดงแผนภูมิแกนต์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น กิจกรรมที่ในแผนภูมิจะต้องสอดคล้องกับโครงสร้างจำแนกงาน ความหมายของสัญญลักษณ์ต่างๆ ในรูปมีดังนี้ • สัญญลักษณ์รูปเพชรสีดำแทนหลักไมล์ • แท่งดำหนาพร้อมลูกศรที่จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย แทนงานสรุป • แท่งแนวนอนสีอ่อน แทนระยะเวลาของงานแต่ละงาน • ลูกศรที่เชื่อมสัญญลักษณ์เหล่านี้ แสดงความสัมพันธ์หรือความพึ่งพิงระหว่างงาน

  21. ตัวอย่างแผนภูมิการติดตามผล

  22. แผนภูมิการติดตามผล • ในแผนภูมิปรากฏแท่งแนวนอนสำหรับงานเพิ่มอีก 1 แท่ง ซ้อนกัน โดยแท่งแนวนอนที่อยู่ข้างบนจะแทนช่วงระยะเวลาของงานตามที่ได้วางแผนไว้ ส่วนแท่งแนวนอนแท่งล่างจะแทนช่วงระยะเวลาการทำงานจริง ถ้าแท่งแนวนอนตัวบนสั้นกว่าแท่งตัวล่าง แสดงว่างานใช้เวลาที่มากกว่าที่กำหนดไว้ในแผน ดังเช่นงานที่ 1.2 ในรูปในทางกลับกัน ถ้าแท่งแนวนอนตัวบนยาวกว่าแท่งตัวล่าง แสดงว่างานใช้เวลาในการทำน้อยกว่าที่กำหนดในแผน ส่วนแท่งลายแนวนอนคือ ช่วงเวลาที่วางแผนไว้ของงานสรุป (summary tasks) ส่วนแท่งสีดำที่มาเชื่อมต่อแท่งลายแนวนอนจะแสดงความก้าวหน้าของงานสรุป เช่น งานหลักที่ 2 แสดงถึงช่วงเวลาจริงที่ใช้ในการทำงานมากกว่าที่วางแผนไว้ • สัญญลักษณ์รูปเพชรสีขาวใช้แทนหลักไมล์ที่ลื่นไถล (slipped milestone) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมหลักไมล์ทำเสร็จช้ากว่าที่วางแผนไว้ตั้งแต่แรก เช่น งานสุดท้ายเป็นตัวอย่างของหลักไมล์ที่ลื่นไถล เพราะรายงานสุดท้ายและการนำเสนอทำเสร็จสมบูรณ์ช้ากว่าที่วางแผน • ร้อยละที่อยู่ทางขวามือของแท่งแนวนอนที่แสดงถึงร้อยละของงานที่ทำเสร็จของแต่ละงาน เช่น ร้อยละ 100 หมายความว่างานเสร็จ ร้อยละ 50 หมายถึงงานอยู่ระหว่างดำเนินการ และเสร็จแล้วร้อยละ 50

  23. วิธีเส้นทางวิกฤต • วิธีเส้นทางวิกฤต (CPM) หรือการวิเคราะห์เส้นทางวิกฤตใช้เทคนิคการทำผังเครือข่ายเพื่อใช้ในการคาดการณ์ช่วงระยะเวลาทั้งหมดของโครงการ เส้นทางวิกฤตของโครงการคือ ชุดของกิจกรรมที่กำหนดเวลาที่เร็วที่สุดที่โครงการสามารถทำได้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ยาวที่สุดในผังเครือข่าย และกิจกรรมเหล่านี้ไม่สามารถล่าช้าได้ ถ้ากิจกรรมบนเส้นทางวิกฤตล่าช้าจะทำให้วันสิ้นสุดโครงการต้องเลื่อนไป • การสร้างผังเครือข่าย • การหาเส้นทางวิกฤต • การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤตเพื่อแลกกับเวลาของโครงการ

  24. การสร้างผังเครือข่าย • ผังเครือข่ายมี 2 แบบคือ ผังเครือข่ายแบบแสดงกิจกรรมบนโหนด (AON) และ แบบแสดงกิจกรรมบนเส้นลูกศร (AOA) วิธีการสร้างผังเครือข่ายแบบ AON เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่สำคัญหลายตัวใช้วิธีการนี้ • การเขียนผังเครือข่ายโครงการจะเริ่มต้นด้วยโหนดเริ่มต้น (start node) จากนั้นจึงวาดโหนดอื่นตามมาโดยพิจารณาลำดับการต่อเนื่องของกิจกรรมด้วย เช่น มีกิจกรรม A และ B ที่ไม่มีกิจกรรมก่อนหน้า ดังนั้นเราจึงวาดโหนด A และ B แยกจากกันจากโหนดเริ่มต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมก่อนหน้ากิจกรรมทั้งสอง เราเรียกกิจกรรมเริ่มต้นว่ากิจกรรมดัมมี่ (dummy activity) กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ไม่มีจริงและไม่มีเวลาในการดำเนินการ รวมทั้งไม่มีการใช้ทรัพยากรใดๆ จากนั้นเราจะลากเส้นความสัมพันธ์ก่อนหลัง (precedence relationships) ซึ่งเป็นเส้นลูกศร ระหว่างกิจกรรมเริ่มต้นกับกิจกรรม A และ กิจกรรม B เส้นลูกศรเป็นเส้นที่แสดงว่ากิจกรรมเริ่มต้นเป็นกิจกรรมเกิดก่อนกิจกรรม A และ B

  25. กิจกรรมและกิจกรรมสุดท้ายก่อนหน้า (predecessors)

  26. ตัวอย่างส่วนหนึ่งของการวาดผังเครือข่ายโครงการแบบ AON • จากนั้นเราจึงวาดโหนดสำหรับกิจกรรม C แต่กิจกรรม C เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากกิจกรรม A เราจึงวาดเส้นลูกศรจากกิจกรรม A ไปยังกิจกรรม C เช่นเดียวกัน เราวาดโหนดสำหรับกิจกรรม D แต่มีกิจกรรม A และ B เป็นกิจกรรมที่มาก่อน ดังนั้นเราวาดเส้นลูกศรจาก A ไป D และจาก B ไป D ดังแสดงในรูป

  27. ตัวอย่างผังเครือข่ายโครงการที่สมบูรณ์ เมื่อเราได้วาดผังเครือข่ายโครงการเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรม จากตารางที่ เราสามารถรู้ว่าเวลาในการดำเนินโครงการทั้งหมดคือ 25 อาทิตย์ แต่หลายๆ กิจกรรมสามารถทำไปพร้อมๆ กันได้ ดังนั้นเวลาทั้งโครงการอาจน้อยกว่า 25 อาทิตย์ได้ เพื่อให้รู้ว่าโครงการต้องใช้เวลาเท่าไร เราจะต้องทำการวิเคราะห์เส้นทางวิกฤตของผังเครือข่าย

  28. การหาเส้นทางวิกฤต เส้นทางวิกฤตคือ เส้นทางที่ยาวที่สุดของผังเครือข่าย เพื่อหาเส้นวิกฤต เราจะต้องคำนวณค่าเวลาเริ่มและเวลาสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรม เวลาที่ต้องคำนวณหามีดังนี้ • เวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด (Earliest start (ES)) คือ เวลาเร็วที่สุดที่กิจกรรมหนึ่งสามารถเริ่มต้นทำได้ โดยสมมติว่ากิจกรรมก่อนหน้าทั้งหมดได้ทำเสร็จแล้ว • เวลาเสร็จเร็วที่สุด (Earliest finish (EF)) คือ เวลาที่เร็วที่สุดที่กิจกรรมหนึ่งสามารถทำเสร็จได้ • เวลาเริ่มต้นล่าช้าที่สุด (Latest start (LS)) คือ เวลาที่ช้าที่สุดที่กิจกรรมหนึ่งสามารถเริ่มต้นทำได้ โดยไม่มีผลทำให้เกิดความล่าช้าแก่โครงการ • เวลาเสร็จช้าที่สุด (Latest finish (LF)) คือ เวลาที่ช้าที่สุดที่กิจกรรมหนึ่งสามารถทำเสร็จได้ โดยไม่มีผลทำให้เกิดความล่าช้าแก่โครงการ

  29. การหาเส้นทางวิกฤต (ต่อ) • การจะคำนวณหาเวลาทั้ง 4 ค่าดังกล่าวข้างต้น เราจะใช้วิธีการ 2 วิธีคือเส้นทางไปข้างหน้า และเส้นทางย้อนกลับ (forward and backward passes) วิธีการแรกจะนำมาใช้ใน การหา ES และ EF ส่วนวิธีการหลังใช้สำหรับหา LS และ LF รูป แสดงสัญญลักษณ์ของเวลาทั้ง 4 ค่าในโหนด สัญญลักษณ์ที่ใช้ในโหนด

  30. เส้นทางไปข้างหน้า (forward pass) • เส้นทางไปข้างหน้า (forward pass) เป็นการกำหนดตารางเวลาตามเส้นทางไปข้างหน้า เพื่อหา ES และ EF รวมทั้งเวลาที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการ การสร้างเส้นทางไปข้างหน้ามีกฏดังนี้ • สำหรับกรณี ES มีกฏว่า ก่อนที่กิจกรรมจะสามารถเริ่มได้ ทุกกิจกรรมที่มาก่อนหน้าที่ติดกับกิจกรรมที่ต้องการหา ES ต้องทำเสร็จ กิจกรรมเริ่มต้นมีค่า ES และ EF เป็น 0 ถ้ากิจกรรมมีเพียงกิจกรรมเดียวที่มาก่อน ค่า ES ของกิจกรรมมีค่าเท่ากับ EF ของกิจกรรมที่มาก่อน ถ้ากิจกรรมนั้นมีหลายกิจกรรมที่มาก่อน ค่า ES ของกิจกรรมคือ ค่าสูงสุดของค่า EF ของกิจกรรมที่มาก่อนกิจกรรมที่กำลังพิจารณาทุกกิจกรรม • ส่วน EF ของกิจกรรมคือ ผลรวมของเวลาของ ES ของกิจกรรม และเวลาการทำงานของกิจกรรม ดังนั้น • EF = ES + ระยะเวลาของกิจกรรม (duration)

  31. กิจกรรม Start ไม่มีกิจกรรมใดที่มาก่อน ดังนั้นเราจึงกำหนดให้ ES ของกิจกรรม Start เป็น 0 EF ของกิจกรรม Start มีค่าเป็น 0 เช่นกัน ต่อไปเราพิจารณากิจกรรม A และ B กิจกรรมทั้งคู่มีกิจกรรม Start เท่านั้นที่มาก่อน เมื่อใช้กฎของเวลาเริ่มต้นเร็วที่สุด ES ของทั้งกิจกรรม A และ B จึงมีค่าเท่ากับค่า EF ของกิจกรรม Start ซึ่งมีค่าเป็น 0 ส่วนค่า EF ของกิจกรรม A มีค่าเท่ากับ ES ของกิจกรรม A บวกกับระยะเวลาการทำงานของกิจกรรม A (0+2) ผลลัพธ์คือ 2 ส่วนค่า EF ของกิจกรรม B มีค่าเท่ากับ 3 กิจกรรม C เป็นกิจกรรมที่ตามหลังกิจกรรม A ค่า ES ของกิจกรรม C จึงเท่ากับค่า EF ของกิจกรรม B (2) และค่า EF ของกิจกรรม C เท่ากับ 4 (2+2) แต่กิจกรรม D เป็นกิจกรรมที่ตามหลังกิจกรรม A และ B เพราะฉะนั้น กิจกรรม D จะเริ่มต้นได้เร็วที่สุด ต้องหลังจากที่กิจกรรม B ดำเนินการเสร็จแล้ว ดังนั้น ค่า ES ของกิจกรรม D คือค่าที่สูงที่สุดของค่า EF ของกิจกรรมที่มาก่อนกิจกรรม D ค่า ES ของกิจกรรม D จึงมีค่าเป็น 3 และค่า EF ของกิจกรรม D เท่ากับ 7 (3+4) ส่วนกิจกรรม E และ F มีค่า ES เท่ากันคือ 4 (เท่ากับ EF ของกิจกรรม C) แต่ EF ของกิจกรรม E เท่ากับ 8 (4+4) ขณะที่ EF ของกิจกรรม F เท่ากับ 7 (4+3) กิจกรรม G มีทั้งกิจกรรม D และ E ที่มาก่อน โดยการใช้กฎการหาเวลาที่เริ่มต้นเร็วที่สุด เราจะได้ค่า ES ของกิจกรรม G โดยพิจารณาจากค่าสูงสุดระหว่างค่า EF ของกิจกรรม D และกิจกรรม E ซึ่งคือ 8 และค่า EF ของกิจกรรม G เท่ากับ 13 (8+5) • กิจกรรมสุดท้ายคือ กิจกรรม H ซึ่งมีกิจกรรม G และ F ที่ต้องทำให้เสร็จก่อน ดังนั้น ค่า ES ของกิจกรรม H จึงมีค่า 13 และค่า EF เท่ากับ 15 (13+2)

  32. ตัวอย่างเส้นทางไปข้างหน้าของโครงการตัวอย่างเส้นทางไปข้างหน้าของโครงการ

  33. เส้นทางย้อนกลับ (Backward pass) • เส้นทางย้อนกลับ (Backward pass) ในการกำหนดตารางเวลาตามเส้นทางย้อนกลับจะทำให้เราสามารถหาเวลาเริ่มต้นช้าที่สุด (LS) และเวลาที่เสร็จช้าที่สุด (LF) ของกิจกรรม รวมทั้งเวลายืดหยุ่น (slack) การสร้างเส้นทางย้อนกลับจะเริ่มจากกิจกรรมสุดท้ายของผังเครือข่ายโครงการ โดยกำหนดค่า LF ก่อน หลังจากนั้นจึงกำหนด LS กฏสำหรับการหาค่าเวลาทั้งสองมีดังนี้ • กฏสำหรับการหาเวลา LF คือ LF ของกิจกรรมสุดท้ายเท่ากับ EF แต่ถ้ากิจกรรมนั้นมีกิจกรรมที่ตามมาเพียงกิจกรรมเดียว ค่า LF ของกิจกรรมนั้นเท่ากับค่า LS ของกิจกรรมที่ตามมา แต่ถ้ากิจกรรมนั้นมีกิจกรรมที่ตามมามากกว่าหนึ่งกิจกรรม ค่า LF ของกิจกรรมนั้นคือ ค่า LS ที่น้อยที่สุดของกิจกรรมที่ตามมาทั้งหมดส่วนกฏการกำหนดค่า LS คือ ความแตกต่างระหว่างเวลาที่เสร็จช้าที่สุดกับเวลาการทำงานของกิจกรรมนั้น ดังนั้น LS = LF –ระยะเวลาของกิจกรรม

  34. ตัวอย่างเส้นทางย้อนกลับของโครงการตัวอย่างเส้นทางย้อนกลับของโครงการ

  35. การหา LS และ LF จะเริ่มจากกิจกรรมสุดท้าย โดยให้ค่า LF ของกิจกรรมสุดท้ายเท่ากับ EF ของกิจกรรมสุดท้าย ดังนั้น LF ของกิจกรรม H จึงเท่ากับ 15 โดยใช้กฎการหา LS เราจะได้ LS ของกิจกรรม H คือ ผลต่างระหว่างค่า LF กับระยะเวลาการทำกิจกรรม ซึ่งมีค่าเท่ากับ 13 (15-2) แต่เนื่องจากกิจกรรม H ทำตามหลังกิจกรรม G และ F ซึ่งการเริ่มกิจกรรม H ทำได้ก็ต่อเมื่อกิจกรรมทั้งสองต้องแล้วเสร็จ ดังนั้น LF ของกิจกรรม G และ F เท่ากับ LS ของกิจกรรม H ซึ่งเท่ากับ 13 ส่วน LS ของกิจกรรม G เท่ากับ 8 (13 – 5) และ LS ของกิจกรรม F เท่ากับ 10 (13 – 3) • ในทำนองเดียวกัน เราสามารถหาค่า LF ของกิจกรรม E ได้เท่ากับ 8 (เท่ากับ LS ของกิจกรรม G) และ LS ของกิจกรรม E ได้เท่ากับ 4 (8-4) เช่นเดียวกัน ค่า LF ของกิจกรรม D เท่ากับ 8 (เท่ากับ LS ของกิจกรรม G) และ LS ของกิจกรรม D ได้เท่ากับ 4 (8-4)

  36. ส่วนกิจกรรม C เป็นกิจกรรมที่มาก่อนกิจกรรม E และ F โดยกฎของเวลาเสร็จที่ช้าที่สุด เราจะหา LF ของกิจกรรม C ได้ 4 ซึ่งพิจารณาจากค่าที่น้อยที่สุดระหว่างค่า LS ของ E และ F (4, 10) จากนั้น เราจะหาค่า LS ของกิจกรรม C ได้เท่ากับ 2 (4 – 2) ต่อไปเราคำนวณหาค่า LF และ LS ของกิจกรรม B ได้เท่ากับ 4 (เท่ากับ LS ของกิจกรรม D ) และ 1 (4 – 3) ตามลำดับ ส่วนค่า LF ของกิจกรรม A คำนวณได้เช่นเดียวกับการหาค่า LF ของกิจกรรม C โดยจะได้ค่า LF เท่ากับ 2 (ค่าที่น้อยที่สุดระหว่าง 2 และ 4) และค่า LS จะได้ 0 จากนั้นเราต้องคำนวณหาเวลายืดหยุ่น เพื่อกำหนดเส้นทางวิกฤต เวลายืดหยุ่น (slack time) คือ วลาเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กิจกรรมสามารถล่าช้า โดยไม่ทำให้โครงการเกิดความล่าช้าตามไปด้วย เวลายืดหยุ่น = LS – ES หรือ เวลายืดหยุ่น = LF – EF

  37. เวลายืดหยุ่นของโครงการเวลายืดหยุ่นของโครงการ

  38. กิจกรรมที่มีค่าเวลายืดหยุ่นเป็นศูนย์ เรียกว่ากิจกรรมวิกฤต และเป็นกิจกรรมที่อยู่บนเส้นทางวิกฤต เส้นทางวิกฤตเป็นเส้นที่เริ่มจากกิจกรรมเริ่มต้นและจบที่กิจกรรมสุดท้ายของโครงการ และมีเฉพาะกิจกรรมวิกฤตเท่านั้น แสดงเวลายืดหยุ่นของโครงการ แสดงเส้นทางวิกฤตของโครงการ ซึ่งคือ เส้น Start-A-C-E-G-H โดยมีเวลาเท่ากับ 2+2+4+5+2 =15 แสดงเส้นทางวิกฤต

  39. เส้นทางวิกฤตแสดงเวลาที่สั้นที่สุดที่โครงการสามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าเส้นทางวิกฤตคือ เส้นทางที่ยาวที่สุด แต่เป็นเวลาที่น้อยที่สุดที่ใช้เพื่อทำให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ ถ้ามีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกิจกรรมบนเส้นทางวิกฤตใช้เวลาที่มากกว่าที่วางแผน ตารางเวลาทั้งโครงการจะลื่นไถล นอกเสียจากว่าผู้จัดการโครงการจะทำการแก้ไขความล่าช้า • ประเด็นหนึ่งของการวิเคราะห์เส้นทางวิกฤตที่อาจทำให้เกิดความสับสน ค เส้นทางวิกฤตสามารถมีได้มากกว่า 1 เส้นหรือไม่ เส้นทางวิกฤตมีการเปลี่ยนหรือไม่ เส้นทางวิกฤตสามารถมีได้มากกว่า 1 เส้นทาง ผู้จัดการโครงการควรติดตามการทำงานของกิจกรรมบนเส้นทางวิกฤตอย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าของโครงการ ถ้าโครงการมีเส้นทางวิกฤตมากกว่า 1 เส้นทาง ผู้จัดการโครงการต้องจับตาดูทุกเส้นทาง • เส้นทางวิกฤตของโครงการสามารถเปลี่ยนได้ขณะที่โครงการเดินหน้า เช่น สมมติว่า กิจกรรม A C D G และ H ทั้งหมดเริ่มต้นและสิ้นสุดตามแผนที่วางไว้ และสมมติว่า กิจกรรม D ใช้เวลามากกว่า 4 วัน เป็น 6 วัน มันทำให้เส้นทาง B-D-G-H ยาวกว่าเส้นทางอื่น และกลายเป็นเส้นทางวิกฤตใหม่อีกเส้น ดังนั้นเส้นทางวิกฤตสามารถเปลี่ยนได้

  40. การควบคุมตารางเวลา • เป็นการควบคุม และการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตารางเวลาโครงการ รวมทั้งปรับปรุงบรรทัดฐานโครงการ รายการกิจกรรมและคุณลักษณะ และแผนการบริหารโครงการ ผลลัพธ์คือ การวัดผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงที่ร้องขอ และคำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหา

More Related