600 likes | 1.41k Views
การดูแลความงามและบุคลิกภาพ. การดูแลผิวที่มีปัญหาสิว.
E N D
การดูแลความงามและบุคลิกภาพการดูแลความงามและบุคลิกภาพ การดูแลผิวที่มีปัญหาสิว
สิว ( Acne / Pimple / Zits)คือตุ่มเม็ดเล็กๆ ที่มีหนองเป็นไตสีขาว ๆ อยู่ข้างใน ขึ้นตามหน้าต้นจากหัวสิว โคมิโดน (Comedone)ซึ่งสามารถอักเสบได้ง่ายหากมีตัวกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น แบคทีเรีย หรือ ฝุ่นละอองในอากาศ หรือผิวหนังสกปรกก็สามารถทำให้เกิดสิวได้ เกี่ยวกับสิวและที่มา
สิวเกิดจากผิวหน้าสกปรก จริงๆแล้วไม่เสมอไป • สิวเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย • ต่อมไขมันก็จะทำงานมากผิดปกติ • เซลล์เยื่อบุรูขุมขนมีการแบ่งตัวมากไป • รูขุมขนก็จะแคบลง จึงเกิดการอุดตัน • ไขมันที่มากผิดปกติ ไม่สามารถที่จะ ระบายออกจากรูขุมขนได้จึงเกิดเป็นสิว ที่มาของสิว
ชนิดของสิวแบ่งได้ ดังนี้ 1. สิวหัวขาว เป็นส่วนผสมของผิวหนังเซลล์ที่ตายแล้วรวมกับไขมันซึ่งอยู่ในรูขุมขนจะมีลักษณะเป็นเม็ดขาวปนเหลืองนูนขึ้นมาบนผิวหนัง 2. สิวหัวดำ เป็นสิวหัวขาวซึ่งถูกออกซิเจนในอากาศหรือมีเม็ดสีเมลานิน (melanin) มาสะสมอยู่ จะเกิดเป็นสิวหัวดำ 3. สิวอักเสบ เป็นสิวหัวขาวหรือหัวดำที่มีเชื้อแบคทีเรียซึ่งปกติอยู่ในผิวหนัง ย่อยไขมันที่สะสมเป็นกรดไขมัน ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว จึงมีอาการบวมแดงกลายเป็นสิวอักเสบ 4. สิวหนอง เป็นสิวอักเสบที่ได้รับเชื้อ จากภายนอกโดยการบีบหรือแกะสิว ทำให้มีการ ลุกลามของเชื้อโรคจนเป็นหนองขึ้น และจะรู้สึกเจ็บมาก ชนิดของสิว
ชนิดของสิว http://learners.in.th/blog/edu3204mimew/349310 24/11/10
5. สิวเสี้ยน สิวเสี้ยนเกิดจากการอุดตันของไขมันในรูขุมขนรวมตัวกับฝุ่นละอองในอากาศ ทำให้เกิดอัดตัวแน่นเป็นก้อน จึงเกิดเป็นสิวเสี้ยน สิวเสี้ยน
6. สิวข้าวสาร สิวข้าวสารจะคล้ายกับสิวเสี้ยน แต่สิวข้าวสารเกิดจากไขมันที่ถูกขับจากต่อมไขมันไปอุดตันอยู่ภายในท่อไขมัน ซึ่งการอุดตันเกิดลึกกว่าสิวเสี้ยน ทำให้เกิดเป็นไตแข็งๆ เป็นแล้วมักหายช้า สิวข้าวสาร
7. สิวหัวช้าง ลักษณะการเกิดเช่นเดียวกับสิวหนอง แต่การแตกของต่อมไขมันเกิดขึ้นในชั้นที่ลึกกว่าสิวหนอง จึงทำให้เกิดการอักเสบมากกว่า ถ้าหากแกะหรือบีบสิว จะทำให้เกิดเป็นรอยแผลเป็นที่ลึกมากดังนั้นจึงไม่ควรบีบสิวที่เกิดขึ้น สิวหัวช้าง
สิวเกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกันคือ • 1. เกิดจากการหนาตัวของชั้น corneumการหนาตัวของชั้น corneum (hyper-cornification) ที่ท่อของรูขุมขนซึ่งต่อมไขมันมาเปิดเชื่อมต่อ การหนาตัวเกิดจากการระคายเคืองจากไขมัน (sebum) จากต่อมไขมัน และการที่กรด linoleic ในไขมันมีปริมาณลดลง สาเหตุของการเกิดสิว
2. ฮอร์โมน Testosterone ฮอร์โมนTestosteroneในกระแสเลือดเปลี่ยนไปเป็น dihydrotestosteroneในเนื้อเยื่อโดยอาศัยเอนไซม์ 5-a reductasedihydrotestosteroneในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น และหลั่งไขมันออกมามากขึ้น เนื่องจากในไขมันมีส่วนประกอบของสาร free fatty acid, squaleneและ squalene oxide ซึ่งเชื่อกันว่าสารเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวและการอักเสบที่ผิวหนัง มีรายงานว่าส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นสิว มีระดับ testosterone ในกระแสเลือดปกติแต่dihydrotestosteroneในเนื้อเยื่อสูงกว่าปกติ
3. แบคทีเรียในบรรยากาศแบคทีเรียที่สำคัญที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ คือPropionibacterium acnes (P. acnes) • เชื้อตัวนี้ย่อยไขมันจากต่อมไขมันให้เป็น free fatty acid โดยอาศัยเอนไซม์ lipase • P. acnes หลั่งเอนไซม์protease, hyaluronidaseและ low molecular weight chemotactic factor ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น • ปริมาณของ P. acnes ไม่ได้แปรตามความรุนแรงของการเกิดสิว
4. การตอบสนองของร่างกายการตอบสนองของร่างกายเป็นสาเหตุข้อหนึ่งในการเกิดสิว โดยพบว่าผู้ที่เป็นสิวอย่างรุนแรงจะมีปริมาณของแอนติบอดีต่อ P. acnes มากขึ้น
พันธุกรรม • เด็กที่เป็นสิวจะมีพ่อหรือแม่เป็นสิว 45% • เด็กที่ไม่เป็นสิวจะมีพ่อหรือแม่เป็นสิวเพียง 8% • ความรุนแรงของโรคที่เกิดในพ่อแม่ก็ไม่เหมือนกับที่เกิดในลูก • ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่าพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับการเป็นสิว ปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดสิว
2. ยา • ทั้งยาทาและยารับประทานหลายชนิดอาจทำให้เกิดสิว หรือทำให้เกิดสิวเห่อมากขึ้น • ยาบางอย่างทำให้เกิดสิวเฉพาะคนบางคน แต่คนเป็นจำนวนมากได้รับยาอย่างเดียวกันนั้นอาจไม่เกิดสิว • ยาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคสิวอย่างแน่นอนและก่อโรคในคนส่วนใหญ่ ได้แก่ • Corticosteroids (คล้าย Prednisone) พบได้บ่อยในการรักษาโรคหืด • androgens,anabolic steroids ,gonadotropinsเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชาย • Anticonvulsants (คล้าย Dilantin) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคลมชัก ลมบ้าหมู • Disulfuram(หรือยาที่ใช้รักษาอาการติดเหล้า) ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดสุราเรื้อรัง • Immuranยารักษาโรคภูมิคุ้มกัน ใช้เพื่อระงับระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะ • INH (Isoniazid) ปกติใช้ในการรักษาวัณโรค หรือ TB • Quinineใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคมาลาเรีย • Thyroid preparationsการรักษาโรคไทรอยด์บางวิธี http://www.acnethai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=57:2009-02-03-15-53-22&catid=56&Itemid=9 24/11/10
3. เครื่องสำอาง • สบู่ น้ำมันใส่ผม ก็ทำให้เกิดสิวได้ (cosmetic acne, acne detergicans, pomade acne)
4. Premenstrual acne • มีรายงานว่าร้อยละ 60-70 ของผู้หญิงที่เป็นสิวจะมีสิวมากขึ้นใน 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน • เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่หลั่งออกมามากในช่วงนั้นทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกาย รูขุมขนจะบวมมากขึ้น • การไหลผ่านของไขมันเป็นไปได้ไม่ดีสิวมักเห่อใน 2-3 วันต่อมา
5. ภาวะเครียด • กระตุ้นให้เกิดสิวหรือไม่นั้นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด • แต่มีบางรายงานที่กล่าวว่าสิวเห่อมากขึ้นในช่วงที่เครียดจากการสอบ • สิวทำให้เกิดภาวะเครียดเนื่องจากทำให้ใบหน้าดูไม่ดี • ทำให้ผู้ป่วยบีบหรือแกะสิว ซึ่งมีผลทำให้สิวอักเสบ รุนแรงมากขึ้น
6. อาชีพและสิ่งแวดล้อม • การทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น เหงื่อออกมาก ทำให้เกิดการบวมของท่อไขมันและเกิดสิวตามมาได้ • การทำงานที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันก็อาจทำให้เกิดสิวได้ เช่นน้ำมันเครื่องจักรกล, crude petroleum tar
7. อาหาร • เดิมเชื่อว่าอาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต, อาหารที่มีไขมันมาก มีผลทำให้สิวเห่อ • แต่จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับความรุนแรงของสิว
หลักเกณฑ์ในการรักษาสิวค่อนข้างจะตรงไปตรงมาตามพยาธิกำเนิด • การรักษาไม่สามารถจะรักษาสิวให้หายได้อย่างรวดเร็วทันใจภายใน 1 สัปดาห์ • การรักษาอาจจะพอเห็นผลดีขึ้นบ้างอย่างน้อยภายใน 2-4 สัปดาห์ • ซึ่งถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะดีขึ้นประมาณ 40% • เมื่อรักษาได้ครบ 2 เดือน, เมื่อครบ 4 เดือนจะดีขึ้นประมาณ 60% และเมื่อครบ 6 เดือนจะดีขึ้นประมาณ 80% หรือมากกว่า การรักษา
ยาทา • ยาทาที่ใช้รักษาสิวออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ • ฤทธิ์กำจัดหัวสิว • ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ • ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาทา
1. Benzoyl peroxide • ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ P. acnes • ลดปริมาณกรดไขมันอิสระ • ลดขนาดและจำนวนของ comedonesรวมทั้งรอยสิวที่อักเสบลง • ได้ผลดีทั้งสิวอักเสบและไม่อักเสบ • Benzoyl peroxide อาจจะทำให้ ผิวหนังเกิดอาการระคาย แห้ง ลอกและอาการผื่นแพ้จากการสัมผัสได้ แนะนำให้ใช้ยาเพียง 5-10 นาที วันละ 2 ครั้งแล้วล้างยาออกด้วยน้ำเปล่า เมื่อเริ่มคันกับการใช้ยาจึงเพิ่มเวลาในการทายาให้นานขึ้น • มีหลายรูปแบบในความเข้มข้น 2.5%, 5% และ 10% ในรูปของ gel และ lotion • ยาในชนิด gel ออกฤทธิ์ดีกว่า lotion และตัวยาในความเข้มข้น 2.5% ได้ผลในการรักษาพอๆ กับ 5% และ 10% อีกทั้งยังก่อให้เกิดอาการระคายผิวน้อยกว่าด้วย
2. antibiotics ชนิดทาเฉพาะที่ • ออกฤทธิ์เป็น bacteriostatic และออกฤทธิ์ลดการอักเสบ • ได้ผลดีกับรอยโรคชนิดอักเสบ คือ ตุ่มนูนแดงแข็ง (papule) และสิวหนองชนิดตื้นหรือลึก (pustules) • รอยโรคแบบ comedoและสิวขนาดใหญ่ เป็นถุงใต้ผิวหนังภายในมีหนองหรือสารเหลวๆ คล้ายเนย (cyst) อาจจะไม่เปลี่ยนแปลง • ยา clindamycin และ erythromycin ใช้ทาได้สะดวก • ผลที่ได้ใกล้เคียงกัน รองลงมาคือ tetracycline ยากลุ่มนี้ถ้าใช้ต่อไปนาน ๆจะมีเชื้อโรคซึ่งดื้อต่อยา • ยาทาต้านเชื้อแบคทีเรียทุกชนิด ใช้ทาวันละ 2 ครั้ง antibiotics ชนิดทาเฉพาะที่
ใช้ทารักษาสิว ได้แก่ 2.1 Clindamycin phosphate ความเข้มข้น 1% 2.2 Erythromycin base solution ความเข้มข้นต่างๆ กัน ตั้งแต่ 1.5-2% 2.3 Tetracycline hydrochloride solution Topical antibiotic
3. Azelaic acid cream • เป็นยารักษาสิวที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ P. acnes และS. epidermidis • ยับยั้งการเกิด comedo • ยับยั้งการอักเสบแต่ไม่มีผลต่ออัตราการหลั่งsebum • ผลของการรักษาใกล้เคียงกับ benzoyl peroxide และ retinoic acid • ชื่อยา Skinoren® ใช้ทาผิวหนังวันละ 2 ครั้ง
4. Tretinoin(Vitamin A acid ) • มีจำหน่ายในชื่อ Airol® และ Retin-A® หรืออื่นๆ อีก ความเข้มข้นของยา0.1%, 0.05% cream หรือ 0.05% liquid, 0.01%, 0.025% gel • ออกฤทธิ์เป็นยาที่กำจัดหัวสิว (comedolytic agent) ที่ดีที่สุด • ยับยั้งการเกิด comedoขึ้นใหม่ และทำให้ comedoซึ่งเกิดขึ้นแล้วหลวมตัวหลุดออกไปง่ายขึ้น • ลดจำนวนชั้น stratum corneumที่ปกติด้วย ช่วยให้ยาตัวอื่นผ่านผิวหนังได้ดี • ใช้ทาเพื่อรักษาสิวหัวดำและสิวหัวขาว (comedo acne) • ใช้ยานี้เพียงอย่างเดียว หรือจะใช้ร่วมกับ benzoyl peroxide gel หรือยาทาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ด้วยก็ได้
ยารับประทานผู้ป่วยซึ่งเป็นสิวชนิดที่รุนแรงขึ้น • มี papule (หัวสิวที่อักเสบ มีลักษณะเป็นตุ่มแข็งสีแดง), pustule (หัวสิวที่เป็นหนองชนิดตื้นและลึก), cyst และแผลเป็น นอกจากจะใช้ยาทาดังกล่าวแล้ว ควรให้ยารับประทาน เช่น antibiotics ร่วมด้วย ยารับประทาน
Retinoid :Isotretinoinเป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามิน เอ ใช้ในการรักษาสิวชนิดรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาปฏิชีวนะ • ออกฤทธิ์ทำให้ต่อมไขมันมีขนาดเล็กลง การหลั่งไขมันลดลง • ช่วยให้การสร้างเคอราตินของท่อต่อมไขมันกลับเข้าสภาพปกติ • ลดการอักเสบของสิวและลดปริมาณ P. acnes ด้วย • ขนาดที่ใช้คือ 20-30 มก./วัน ให้นานติดต่อกัน 16-20 สัปดาห์ • จะเริ่มเห็นผลเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยบางรายมีสิว เห่อมากขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกแต่ไม่จำเป็นต้องหยุด รับประทานยา • ไม่ควรใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่ม tetracycline ยารับประทานที่พบบ่อย
ฮอร์โมน:Cyproteroneacetate ยาตัวนี้ออกฤทธิ์เป็นตัวต้าน androgen • ลดขนาดและการหลั่งไขมันของต่อมไขมัน • ใช้ได้เฉพาะผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสิวสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน หรือในผู้หญิงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา • ยาที่มีขายใน ท้องตลาดในรูปของยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของ cyproterone acetate 2 มก.และ ethinyl estradiol 0.05 มก. • ยา 1 แผงประกอบด้วยยา 21 เม็ด เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน เริ่มเห็นผลเมื่อใช้ยาไปนาน 3-4 เดือน ควรใช้ยานาน 6-12 เดือน โดยใช้ควบคู่ไปกับยาทารักษาสิว • ผลข้างเคียงคล้ายคลึงกับยาคุมกำเนิดทั่วๆ ไป คือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่มประจำเดือนผิดปกติ และเป็นฝ้า ไม่ใช้ยานี้ในผู้ชาย เด็ก ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือผู้หญิงอายุมากมีประวัติสูบบุหรี่จัด มี varicose vein
1. การใช้ความเย็น(liquid nitrogen) ใช้ไม้พันสำลีจุ่มใน liquid nitrogen และแตะที่สิวอักเสบที่เป็นซีสต์ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 วินาที แต่ละครั้งห่างกันนาน 2 นาที • จุดประสงค์เพื่อช่วยลดการอักเสบ และความเย็นจะทำให้ผนังของซีสต์ถูกทำลายไป การรักษาโดยวิธีทางกายภาพ
2. การกดสิว • ใช้รักษาสิวที่ไม่อักเสบทั้งชนิดหัวดำและหัวขาว • เพื่อช่วยให้การกดสิวเป็นไปได้ง่ายขึ้น • การกดสิวต้องทำให้ถูกหลักวิธี และสะอาด • มิฉะนั้นจะทำให้หัวสิวที่อุดตันอยู่หลุดลงไปในชั้นหนังแท้ และทำให้เกิดการอักเสบมากกว่าเดิม
3. การฉีดสตีรอยด์ใต้หัวสิว • ใช้ Kenacort® ความเข้มข้น 2.5 มก./มล. ในปริมาณ0.25-0.1 มล. • ฉีดเข้าที่ถุงสิวด้วยความระมัดระวัง การฉีดสตีรอยด์จะทำให้การอักเสบของสิวลดลงอย่างรวดเร็ว • ข้อพึงระวัง คือ การฉีดยาลึกเกินไปหรือปริมาณยามากเกินไป ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิด atrophy หรือpurpuraขึ้นได้
เครื่องสำอางกับการเกิดสิว (cosmetic acne) • ลักษณะสิวจากเครื่องสำอาง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า • จะเป็นตุ่มแดงเล็กๆ เป็นผื่นที่แก้ม คาง และหน้าผาก • มักพบหลังใช้เครื่องสำอาง 2-3 สัปดาห์ หรือหลายเดือน • ถ้าหยุดการใช้เครื่องสำอางต้นเหตุสิวมักดีขึ้น เครื่องสำอางกับการเกิดสิว(cosmetic acne)
หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่ผสมน้ำมันที่ซึมผ่านผิวหนังได้หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่ผสมน้ำมันที่ซึมผ่านผิวหนังได้ เช่น ลาโนลิน (กรดไขมันที่สกัดจากขนแกะ) • ควรเลือกเครื่องสำอางชนิดปราศจากน้ำมันและไม่ทำให้เกิดสิวอุดตัน • เลือกเครื่องสำอางที่ไม่ผสมน้ำหอม เพราะพบว่าน้ำหอมเป็นสาเหตุใหญ่ของการทำให้ผิวหน้าแพ้และระคายเคือง • ไม่ควรเลือกเครื่องสำอางที่ทาแล้วเป็นประกายมากเพราะมักมีส่วนผสมของผงไมก้า (mica) ที่เป็นอนุภาคที่เป็นแผ่นขอบหยักทำให้ผิวระคายเคืองและเกิดสิวอุดตันได้ง่าย การป้องกันสิวจากเครื่องสำอาง
1. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว เช่น เครื่องสำอาง หรือครีมกันแดดที่เพิ่มความมันบนใบหน้า การนวดและการขัดหน้า2. การทำความสะอาดผิวหน้า ควรล้างหน้าด้วยน้ำยาล้างหน้าหรือคลีนเซอร์อย่างอ่อน (gentle cleanser) ที่ไม่มีฟอง เพียงวันละ 2-3 ครั้งเท่านั้น (ขึ้นกับความมันของผิวหน้า) ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยเกินไป เพราะความเป็นด่างของสบู่จะระคายผิว และก่อให้เกิดสิวขึ้นได้3. หากมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องสำอาง หรือโลชั่น ควรเลือกใช้เครื่องสำอางที่ปราศจากน้ำมัน (oil free) หรือโลชั่นที่ระบุว่าไม่ก่อให้เกิดสิว (non-acnegenic) และไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (non-comedongenic)4. อย่าใช้มือที่ไม่สะอาดสัมผัสใบหน้าบ่อย5. อย่าบีบ หรือแกะหัวสิวให้แตก เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น หายช้าลง หรือทำให้เกิดแผลเป็นได้ วิธีการปฎิบัติตนเพื่อไม่ให้เกิดสิวขึ้นหรือการป้องกันสิวเกิด
6. ควรสระผมบ่อยๆ อย่าปล่อยให้ผมมันและลงมาปรกตามใบหน้า พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันใส่ผมหรือโฟมแต่งผม7. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียดหรือวิตกกังวลเกินไป8. ในกรณีที่เป็นสิวหัวหนองขนาดใหญ่หลายๆเม็ด หรือมีอาการอักเสบมาก ควรพบแพทย์ เพราะจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะได้ไม่เกิดแผลเป็นจากสิว9. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาผิวมัน10. กรณีผิวหน้ามัน ควรซับมันออกจากผิวหน้าด้วยกระดาษซับ วิธีการปฎิบัติตนเพื่อไม่ให้เกิดสิวขึ้นหรือการป้องกันสิวเกิด