1 / 219

Good-Word

Good words (in Thai)

CivilSchool
Download Presentation

Good-Word

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะเข็ญใจ

  2. ทางเตียนเวียนลงนรก ทางรกวกขึ้นสวรรค์

  3. "อันความตายชายนารี หนีไม่พ้น • จะมีจนก็ต้องตาย กลายเป็นผี • ถึงแสนรักก็ต้องร้าง ห่างทันที • ไม่วันนี้ก็วันหน้า จริงหนอเรา "

  4. "อยากได้ดี ไม่ทำดี นั้นมีมาก • ดีแต่อยาก หากไม่ทำ น่าขำหนอ • อยากได้ดี ต้องทำดี อย่ารีรอ • ดีแต่ขอ รอแต่ดี ไม่ดีเลย "

  5. โคลงโลกนิติ • ๏ ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา • ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง • คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา • ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์๚ะ๛ • คำแปล: การคบคนชั่วหรือคนพาลย่อมนำมาซึ่งความมัวหมอง ตรงกับสำนวนคบพาลพาลพาไปหาผิด • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  6. โคลงโลกนิติ • ๏ ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา • หอมระรวยรสพา เพริศด้วย • คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์ • ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม๚ะ๛ • คำแปล: การคบคนดีย่อมนำซึ่งความสุขและชื่อเสียง ตรงกับสำนวนคบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  7. โคลงโลกนิติ • ๏ ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ • ภายนอกแดงดูฉัน ชาดป้าย • ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน • ดุจดังคนใจร้าย นอกนั้นดูงาม๚ะ๛ • คำแปล: การคบการคบคนอย่ามองเพียงความงดงามภายนอก ตรงกับสำนวนรู้หน้าไม่รู้ใจ หรือ ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  8. โคลงโลกนิติ • ๏ ขนุนสุกสล้างแห่ง สาขา • ภายนอกเห็นหนามหนา หนั่นแท้ • ภายในย่อมรสา เอมโอช • สาธุชนนั้นแล้ เลิศด้วยดวงใจ๚ะ๛ • คำแปล: การคบให้มองที่ความงามภายในเหมือนกับขนุน ตรงกับสำนวนข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  9. โคลงโลกนิติ • ๏ คนพาลผู้บาปแท้ ทุรจิต • ไปสู่หาบัณทิต ค่ำเช้า • ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ บ่ทราบ ใจนา • คือจวักตักเข้า ห่อนรู้รสแกง๚ะ๛ • คำแปล: คนเลวที่แม้คบคนดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็ยังไม่สามารถปรับปรุงตัวได้เป็นเสมือนจวักตักแกงที่แม้จะอยู่ในหม้อแกงแต่ไม่อาจรู้รสของแกงได้ ตรงกับสำนวน สีซอให้ควายฟัง หรือตักน้ำรดหัวตอ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  10. โคลงโลกนิติ • ๏ หมูเห็นสีหราชท้า ชวนรบ • กูสี่ตีนกูพบ ท่านไซร้ • อย่ากลัวท่านอย่าหลบ หลีกจาก กูนา • ท่านสี่ตีนอย่าได้ วากเว้วางหนี๚ะ๛ • คำแปล: ผู้ต่ำต้อยที่ไม่รู้จักประมาณตน อาจนำมาซึ่งความเดือดร้อน ตรงกับสำนวนถ่มน้ำลายรดฟ้า • ๏ สีหราชร้องว่าโอ้ พาลหมู • ทรชาติครั้นเห็นกู เกลียดใกล้ • ฤามึงใคร่รบดนู มึงมาศ เองนา • กูเกลียดมึงกูให้ พ่ายแพ้ภัยตัว๚ะ๛ • คำแปล: ผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจที่วางเฉยไม่ลงมาต่อกรด้วย พฤติกรรมของราชสีห์ตรงกับสำนวน อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  11. โคลงโลกนิติ • ๏ กบเกิดในสระใต้ บัวบาน • ฤาห่อนรู้รสมาลย์ หนึ่งน้อย • ภุมราอยู่ไกลสถาน นับโยชน์ ก็ดี • บินโบกมาค้อยค้อย เกลือกเคล้าเสาวคนธ์๚ะ๛ • คำแปล: คนที่อยู่ใกล้ของมีค่าแต่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของ ตรงกับสำนวนใกล้เกลือกินด่าง • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  12. โคลงโลกนิติ • ๏ ไม้ค้อมมีลูกน้อม นวยงาม • คือสัปบุรุษสอนตาม ง่ายแท้ • ไม้ผุดังคนทราม สอนยาก • ดัดก็หักแหลกแล้ ห่อนรื้อโดยตาม๚ะ๛ • คำแปล:กิ่งไม้ที่อ่อนค้อมย่อมดัดตามรูปทรงได้ง่ายกว่าไม้ที่แก่หรือผุเช่นเดียวกับการสอนคน สอนคนที่พร้อมจะรับฟังง่ายกว่าการสอนคนที่อวดดี เชื่อมั่น หรือคนที่ไม่ดี อาจจะใช้ได้กับสำนวนตักน้ำรดหัวตอ ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  13. โคลงโลกนิติ • ๏ นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย • เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า • พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง • ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธี๚ะ๛ • คำแปล: ผู้มีความรู้ ความสามารถย่อมไม่อวดตนหรือคุยโม้ พฤติกรรมของนาคีตรงกับสำนวนคมในฝัก • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  14. โคลงโลกนิติ • ๏ ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น นักเรียน • ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร ผ่ายหน้า • คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน วนจิต • กลอุทกในตระกร้า เปี่ยมล้นฤามี๚ะ๛ • คำแปล: คนที่มีความหยันหมั่นเพียรแม้ทำกิจการใดที่ยากก็ย่อมสำเร็จ(ทั่งคือแท่งเหล็ก) แต่คนเกียจคร้านทำสิ่งใดไม่สำเร็จเหมือนกับการตักน้ำในตะกร้า (อุทก=น้ำ) พฤติกรรมของปราชญ์ตรงกับสำนวนหนักเอาเบาสู้ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  15. โคลงโลกนิติ • ๏ งาสารฤาห่อนเหี้ยน หดคืน • คำกล่าวสาธุชนยืน อย่างนั้น • ทุรชนกล่าวคำฝืน คำเล่า • หัวเต่ายาวแล้วสั้น เล่ห์ลิ้นทรชน๚ะ๛ • คำแปล: คำพูดของคนที่ยึดมั่นในคำพูดเปรียบเสมือนงาช้างที่งอกแล้วไม่หดคืนแต่คำพูดของคนชั่ว (ทุรชน) ย่อมกลับไปกลับมาเหมือนหัวเต่าที่ผลุบ ๆโผล่ ๆ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  16. โคลงโลกนิติ • ๏ ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน • ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้ • ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า • ห้ามดังนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา๚ะ๛ • คำแปล: การห้ามธรรมชาติทั้ง ๔ ประการไม่ให้ดำเนินไปว่าเป็นสิ่งที่ยากแล้วการห้ามไม่ให้คนนินทายังยากกว่า ตรงกับสำนวนอันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหินแม้องพระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  17. โคลงโลกนิติ • ๏ ภูเขาเหลือแหล่ล้วน ศิลา • หามณีจินดา ยากได้ • ฝูงชนเกิดนานา ในโลก • หานักปราชญ์นั้นไซร้ เลือกแล้วฤๅมี๚ • คำแปล:ภูเขาแม้เต็มไปด้วยหิน แต่จะหาแก้วมีค่านั้นแสนยาก เหมือนคนมากมายในโลกนี้ จะหาคนมีปัญญารอบรู้นั้นช่างยากนัก • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  18. โคลงโลกนิติ • ๏ พริกเผ็ดใครเผ็ดให้ ฉันใด • หนามย่อมแหลมเองใคร เซี่ยมให้ • จันทร์กฤษณาไฉน ใครอบ หอมฤๅ • วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ เพราะด้วยฉลาดเอง๚ • คำแปล: พริกนั้นมีรสเผ็ดเองตามธรรมชาติ หนามก็แหลมเองมิได้มีใครไปเสี้ยมไปเหลา ไม้จันทน์และไม้กฤษณามีกลิ่นหอมเอง เปรียบเหมือนคนมีปัญญารอบรู้ได้ก็ด้วยตัวเขาเอง • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  19. โคลงโลกนิติ • ๏ ภูเขาเอนก ล้ำ มากมี • บ่มิหนักแผ่นธรณี หน่อยไซร้ • หนักนักแต่กระลี ลวงโลก • อันจักทรงทานได้ แต่พื้นนรกานต์๚ • คำแปล: ภูเขาน้อยใหญ่ที่มีอยู่มากมายมิได้หนักแผ่นดินแม้สักนิด ที่หนักนั้นคือคนชั่วช้าซึ่งเหมาะกับนรกเท่านั้น • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  20. โคลงโลกนิติ • ๏ ดารามีมากน้อย ถึงพัน • บ่เปรียบกับดวงจันทร์ หนึ่งได้ • คนพาลมากอนันต์ ในโลก • จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร์ ยากแท้ฤๅถึง๚ • คำแปล:แสงสว่างอันเกิดจากดวงดาวนับร้อยนับพันดวง นำมารวมกันแล้ว แสงนั้นก็สว่างไม่เท่ากับแสงจันทร์ที่มีเพียงหนึ่งดวง เช่นเดียวกับปัญญาของเหล่าคนพาลที่มีอยู่กลาดเกลื่อน นำมารวมกันแล้วก็ยังน้อยกว่าปัญญาของนักปราชญ์เพียงคนเดียว • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  21. โคลงโลกนิติ • ๏ ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ • อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง • อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์ • โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง • คำแปล: โคลงบทนี้กวีสอนให้คนหยิ่งในศักดิ์ศรีไม่เบียดเบียนผู้อื่นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง เหมือนเสือที่ล่าเหยื่อเองเป็นอาหาร ตรงกับสำนวนอดเยี่ยงเสือ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  22. "ยามจนไม่ควรคิดถึงยามมี แต่ยามมีควรคิดถึงยามจน"

  23. โคลงโลกนิติ • ๏ บางคาบภาณุมาศขึ้น ทางลง ก็ดี • บางคาบเมรุบ่ตรง อ่อนแอ้ • ไฟยมดับเย็นบง- กชงอก ผานา • ยืนสัตย์สาธุชนแท้ ห่อนเพี้ยนสักปาง๚ะ๛ • คำแปล: บางครั้งพระอาทิตย์นั้นอาจขึ้นทางทิศตะวันตกได้แม้นเขาพระสุเมรุยังมีวันเอน ไฟนรกที่ร้อนแรงยังดับลงได้ ดอกบัวสามารถงอกจากบนหน้าผา แต่คำสัตย์แห่งสาธุชนนั้นไม่มีเปลี่ยนแปลง

  24. โคลงโลกนิติ • ๏ เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี • หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้ • เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี- วาอาตม์ • หากยาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหา๚ะ๛ • คำแปล: โคลงบทนี้กวีเตือนสติการคบเพื่อน ให้รู้จักระมัดระวัง อย่าประมาทเพราะเพื่อนในคราที่มีความสุขนั้นหาง่ายมาก แต่เพื่อนที่ไปมาหาสู๋ในครามีทุกข์นั้นหายากยิ่ง ตรงกับสำนวนเพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  25. โคลงโลกนิติ • ๏ อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย • หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้ • ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา • สุริยส่องดาราไร้ เมื่อร้อนแรงแสง๚ะ๛ • คำแปล:คนที่พูดจาอ่อนหวานย่อมมีเพื่อนชอบคบค้าสมาคม เหมือนกับ ดวงจันทร์ (ศศิ)ที่ส่องแสงนวลเย็นต่างมีดาวมารายรอบ ส่วนคนพูดจากระด้างหยาบคาย ย่อมไม่มีใครคบค้าสมาคมเหมือนความร้อนแรงของดวงอาทิตย์ที่ทำให้ดวงดาวลับหาย • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  26. โคลงโลกนิติ • ๏ ยอข้ายอเมื่อแล้ว การกิจ • ยอยกครูยอสนิท ซึ่งหน้า • ยอญาติประยูรมิตร เมื่อลับ หลังแฮ • คนหยิ่งแบกยศบ้า อย่ายั้งยอควร๚ะ๛ • คำแปล:การจะกล่าวชื่นชมหรือยกยอใครต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย แต่สำหรับคนที่บ้ายศศักดิ์ ถือเกียรติสำคัญยิ่งควรพูดจายกยออยู่เป็นนิจ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  27. โคลงโลกนิติ • ๏ สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน • กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร้ำ • บาปเกิดแก่ตนคน เป็นบาป • บาปย่อมทำโทษซ้ำ ใส่ผู้บาปเอง๚ะ๛ • คำแปล:ทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุที่มา หากเราคิดร้าย โกรธขึ้ง ผลจะส่งให้เรานั่นแหละไม่สบายใจ เหมือนสนิมเหล็กที่กัดกร่อนตัวเอง • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  28. โคลงโลกนิติ • ๏ ใครจักผูกโลกแม้ รัดรึง • เหล็กเท่าลำตาลตรึง ไป่หมั้น • มนต์ยาผูกนานหึง หายเสื่อม • ผูกเพื่อไมตรีนั้น แน่นเท้าวันตาย๚ะ๛ • คำแปล:การผูกมิตรหรือการสร้างความผูกพันต้องใช้การผูกด้วยไมตรีเท่านั้น สิ่งอื่น ๆ ไม่มีความยั่งยืนเท่า ตรงกับร่ายสุภาษิต" ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง" (หึงในที่นี้ เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่านาน บ่มิหึง คือไม่นาน) • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  29. โคลงโลกนิติ • ๏ ความเพียรเป็นอริแล้ว เป็นมิตร • คร้านเกียจเป็นเพื่อนสนิท ร่วมไร้ • วิชาเฉกยาติด ขมขื่น • ประมาทเหมือนดับไต้ ชั่วร้ายฤๅเห็น๚ะ๛ • คำแปล:ความเพียรทำได้ยาก ต้องทำด้วยความอดทน เป็นเสมือนศัตรู หากสุดท้ายผลที่ได้คือสิ่งที่ดีเปรียบเสมือนมิตรความเกียจคร้านในเบื้องต้นทำให้ผู้ฏิบัติรู้สึกสบายเปรียบเสมือนเป็นเพื่อนสนิท พร้อมที่จะปฏิบัติเช่นนั้นได้ทุกเมื่อ แต่สุดท้ายกลับส่งผลเสียแก่ผู้ปฏิบัติ การเรียนรู้ในวิชาต่างๆ ก็เช่นกัน ผู้ปฏิบัติไม่มีความสุขเลยแต่สุดท้ายกลับได้ความรู้ ส่วนความประมาทเหมือนคนที่เดินไปโดยปราศจากแสงย่อมไม่เห็นสิ่งชั่วร้ายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  30. โคลงโลกนิติ • ๏ เห็นใดจำให้แน่ นึกหมาย • ฟังใดอย่าฟังดาย สดับหมั้น • ชนม์ยืนอย่าพึงวาย ตรองตรึก ธรรมนา • สิ่งสดับทั้งนั้น ผิดเพี้ยนเป็นครู๚ะ๛ • คำแปล:การรับข่าวสารข้อมูลอย่าฟังหรืออ่าน ให้ผ่านหูไปเฉย ๆ ให้คิดไตร่ตรองอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นบทเรียนได้ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  31. โคลงโลกนิติ • ๏ อย่าโทษไทท้าวท่วย เทวา • อย่าโทษสถานภูผา ย่านกว้าง • อย่าโทษหมู่วงศา มิตรญาติ • โทษแต่กรรมเองสร้าง ส่งให้เป็นเอง๚ะ๛ • คำแปล:สอนให้รู้จึกคิดไม่โทษอะไรง่าย ๆ ควรไตร่ตรองว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำของเราเองใช่หรือไม่ • ตรงกับร่ายสุภาษิต "โทษตนผิดพึงรู้" • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  32. โคลงโลกนิติ • ๏ โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง เมล็ดงา • ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น • โทษตนเท่าภูผา หนักยิ่ง • ป้องปิดคิดซ่อนเร้น เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛ • คำแปล: ธรรมชาติของคนมักมองเห็นความผิดของผู้อื่นใหญ่กว่าของตัวเอง ในที่นี้ใช้คำเปรียบเทียบ ระหว่าง ภูผา กับเมล็ดงาซึ่งแตกต่างกันอย่างมากมาย • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  33. โคลงโลกนิติ • ๏ เดินทางต่างเทศให้ พิจารณ์ • อาสน์นั่งนอนอาหาร อีกน้ำ • อดนอนอดบันดาล ความโกรธ • ห้าสิ่งนี้คุณล้ำ เลิศล้วนควรถวิล๚ะ๛ • คำแปล: เมื่อเดินทางไปต่างถิ่นควรตรวจตราเรื่องของที่พัก อาหารและน้ำ ไม่เห็นแก่การนอนเป็นใหญ่ รู้จักระงับอารมณ์ ไม่โกรธฉุนเฉียวง่าย ปกป้องตัวเองทั้งเรื่องของอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  34. โคลงโลกนิติ • ๏ เป็นคนคลาดเหย้าอย่า เปล่ากาย • เงินสลึงติดชาย ขอดไว้ • เคหาอย่าสูญวาย ข้าวเปลือก มีนา • เฉินฉุกขุกจักได้ ผ่อนเลี้ยงอาตมา๚ะ๛ • คำแปล: สอนอย่าให้ประมาท เมื่อออกจากบ้านต้องมีเงินทองติดตัวเสมอ เผื่อความจำเป็นฉุกเฉิน ที่บ้านก็เช่นกัน • ต้องมีเสบียงอาหารพร้อม • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  35. โคลงโลกนิติ • ๏ พายเถิดพ่ออย่ารั้ง รอพาย • จวนตะวันจักสาย ส่องฟ้า • ของสดสิ่งควรขาย จักขาด ค่าแฮ • ตลาดเลิกแล้วอ้า บ่นอื้นเอาใคร ๚ะ๛ • คำแปล: สอนให้รู้จักใช้เวลาและโอกาส อย่าปล่อยให้เวลาผ่านเลยไป ตรงกับสำนวน "น้ำขึ้นให้รีบตัก" • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  36. โคลงโลกนิติ • ๏ ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้ ปูนปัน • ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน เก็บไว้ • สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์ การกิจ ใช้นา • ยังอีกส่วนควรให้ จ่ายเลี้ยงตัวตน๚ะ๛ • คำแปล: การบริหารจัดการกับเงินทอง ต้องรู้จักแบ่งสรรปันส่วนทำบัญชี ค่าใช้จ่ายอย่างมีระบบโดยเงิน 1ใน 4 ส่วนต้องเก็บออมไว้ยามจำเป็น • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  37. โคลงโลกนิติ • ๏ อย่าขุดขอดท่านด้วย วาจา • อย่าถากท่านด้วยตา ติค้อน • ฟังคำกล่าวมฤษา โสตหนึ่ง นะพ่อ • หยิบบ่ศัพท์กลับย้อน โทษให้กับตน ๚ะ๛ • คำแปล: (มฤษา คือมุสา พูดไม่จริง พูดเท็จ) สอนไม่ให้เป็นคนก้าวร้าวทำร้ายผู้อื่นด้วยคำพูดหรือสายตา ตรงกับร่ายสุภาษิต "อย่าขุดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา " • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  38. โคลงโลกนิติ • ๏ กาน้ำดำดิ่งด้น เอาปลา • กาบกคิดใคร่หา เสพบ้าง • ลงดำส่ำมัจฉา ชลชาติ • สวะปะคอค้าง ครึ่งน้ำจำตาย๚ะ๛ • คำแปล:กาน้ำ หมายถึงนกชนิดหนึ่งคอยาว ว่ายน้ำเหมือนเป็ด จับปลาเป็นอาหาร กาบก คืออีกา การทำตามหรือเอาอย่างผุ้อื่นโดยไม่พิจารณาไตร่ตรองย่อมนำไปสู่ความหายนะได้ ตรงกับสำนวน "ช้างขี้ ขี้ตามช้าง“ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  39. โคลงโลกนิติ • ๏ ไปเรือนท่านไซร้อย่า เนานาน • พูดแต่พอควรการ กลับเหย้า • ริร่ำเรียนการงาน เรือนอาต มานา • ยากเท่ายากอย่าเศร้า เสื่อมสิ้นความเพียร๚ะ๛ • คำแปล: สอนมารยาท ให้รู้จักเกรงใจคนไม่รบกวนเวลาของผู้อื่นและให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนตรงกับร่ายสุภาษิต "ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน" • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  40. โคลงโลกนิติ • ๏ เป็นคนคิดแล้วจึ่ง เจรจา • อย่ามลนหลับตา แต่ได้ • เลือกสรรหมั่นปัญญา ตรองตรึก • สติริรอบให้ ถูกแล้วจึงทำ๚ะ๛ • คำแปล: (มลน หมายถึง ลนลาน) สอนให้คิดก่อนพูด คำพูดนั้นอาจทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่นได้ ซึ่งคำพูดเปรียบเสมือนลูกปืนเมื่อพูดออกไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  41. โคลงโลกนิติ • ๏ ปางน้อยสำเหนียกรู้ เรียนคุณ • ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน ทรัพย์ไว้ • เมื่อกลางแก่แสวงบุญ ธรรมชอบ • ยามหง่อมทำใดได้ แต่ล้วนอนิจจัง๚ • คำแปล: เมื่อยังเด็กให้หมั่นศึกษาเล่าเรียนหาแสวงหาความรู้ใส่ตน เมื่อเติบใหญ่ให้รีบขวนขวายทำมาหากิน เก็บหอมรอบริบให้มีฐานะมั่นคง เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนให้หมั่นสร้างสมบุญกุศล เพราะเมื่อถึงคราวแก่ชราคิดจะทำอะไรก็ทำไม่ได้เสียแล้ว ไร้เรี่ยวแรง รอแต่วันตายตามกฎอนิจจัง • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  42. โคลงโลกนิติ • ๏ คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา • คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง • คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ • คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร๚ • คำแปล: พระคุณของผู้เป็นแม่นั้นยิ่งใหญ่กว่าผืนแผ่นดิน พระคุณของพ่อเปรียบดั่งท้องฟ้า พระคุณของพี่เปรียบเหมือนขุนเขาใหญ่ พระคุณของครุบาอาจารย์นั้นเปรียบเหมือนห้วงมหาสมุทร • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  43. โคลงโลกนิติ • ๏ เย็นเงาพฤกษ์มิ่งไม้ สุขสบาย • เย็นญาติสุขสำราย กว่าไม้ • เย็นครูยิ่งพันฉาย กษัตริย์ยิ่ง ครูนา • เย็นร่วมพระเจ้าให้ ร่มฟ้าดินบน๚ • คำแปล: เย็นร่มไม้ให้ความสุขสบาย เย็นญาติยิ่งกว่าต้นไม้ เย็นครูยิ่งกว่าร่มไม้นับพันต้น เย็นกษัตริย์นั้นเย็นยิ่งกว่าครู และเย็นที่สุดจากโลกมนุษย์สู่สรวงสวรรค์คือเย็นทางธรรม • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  44. โคลงโลกนิติ • ๏ วิชาควรรักรู้ ฤๅขาด • อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์ ว่าน้อย • รู้จริงสิ่งเดียวอาจ มีมั่ง • เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย ชั่วลื้อเหลนหลาน๚ • คำแปล:ควรที่จะแสวงหาวิชาความรู้อยู่เสมออย่าได้ขาด และอย่าดูถูกความรู้ว่ามีน้อยด้อยค่า เพราะแม้มีความรู้อยู่อย่างเดียวก็สามารถทำให้มั่งมีศรีสุขได้ และเลี้ยงตนไปได้ชั่วลูกหลานอย่างแน่นอน • ที่มา: http://www.kaweeclub.com/b35/t383/

  45. โคลงโลกนิติ • ๏ อย่าหมิ่นของเล็กนั้น สี่สถาน • เล็กพริกพระกุมาร จิดจ้อย • งูเล็กเท่าสายพาน พิษยิ่ง • ไฟเล็กเท่าหิ่งห้อย อย่าได้ดูแคลน๚ • คำแปล:อย่าประมาทของเล็กน้อย ๔ จำพวก • คือพริกเม็ดเล็กๆ ๑ พระราชกุมารที่เป็นเด็กน้อยๆ ๑ • งูตัวเล็กๆ เท่าเส้นด้าย แต่พิษร้าย ๑ ไฟถ่านเท่าแสงหิ่งห้อย ๑ สี่อย่างนี้อย่าได้ดูถูกว่าไม่เป็นอันตราย • โคลงโลกนิติฉบับถอดความ โดย ดร.ทองย้อย แสงสินชัยhttp://lokaniti-and-its-paraphrase.blogspot.com/

  46. โคลงโลกนิติ • ๏ นกเพลิงพึ่งพุ่มไม้ ใบบัง • ปลาย่อมยินดียัง น่านกว้าง • จระเข้คิดแสวงวัง เย็นชื่น • น้ำจิตคิดบ่ร้าง ร่มเกล้าโพธิ์ทอง ฯ • คำแปล:ธรรมดานกย่อมหมายพึ่งพุ่มไม้ใบหนา หมู่มัจฉาย่อมยินดีอยู่ในน่านน้ำ จระเข้ย่อมหาอยู่ประจำตามวังน้ำเย็นชื่น น้ำใจไพร่ฟ้าก็ไม่เป็นอื่นย่อมหมายพึ่งพระบรมโพธิสมภาร • โคลงโลกนิติฉบับถอดความ โดย ดร.ทองย้อย แสงสินชัยhttp://lokaniti-and-its-paraphrase.blogspot.com/

  47. โคลงโลกนิติ • ๏ หนูครวญใคร่พ้นจั่น จำไกล • นกเหนื่อยหน่ายใจ จากแร้ว • มัจฉาชาติกลัวภัย เพียรหน่าย แหแฮ • คนผิดคิดใคร่แคล้ว คลาดพ้นเขาขัง ฯ • คำแปล:หนูติดจั่นก็คิดอยากพ้นไปให้แสนไกล • นกติดแร้วก็เหนื่อยใจอยากจะหลุดบ่วงบินหนีหาย • ปลาติดแห กลัวตายดิ้นหาทางให้พ้นทุกข์ • คนทำผิดติดคุกอยากจะพ้นจากที่คุมขัง • โคลงโลกนิติฉบับถอดความ โดย ดร.ทองย้อย แสงสินชัยhttp://lokaniti-and-its-paraphrase.blogspot.com/

  48. โคลงโลกนิติ • ๏ พฤกษ์ผลต้นดกเบื้อง ปลายวาย • อ้อยกัดต้นสืบปลาย สุดพ้น • การกิจคิดสบาย ภายภาคหน้านา • ดั่งกัดปลายสืบต้น รสอ้อยเอมใจ ฯ • คำแปล:ต้นไม้ผลดกตอนต้นลงท้ายก็วาย (คนคิดแต่อิ่มสบายในนี้วันหน้าจะอด) เหมือนคนเคี้ยวอ้อยอร่อยรสจากโคนไปหาปลายลงท้ายก็จืดจาง แต่ถ้าทำงานเหนื่อยวันนี้จะสบายในวันหน้าโน้น เหมือนเคี้ยวอ้อยข้างปลายไปหาโคนจะได้รสหวานของอ้อยอร่อยใจ • โคลงโลกนิติฉบับถอดความ โดย ดร.ทองย้อย แสงสินชัยhttp://lokaniti-and-its-paraphrase.blogspot.com/

  49. โคลงโลกนิติ • ๏ ป่าป่งดงไซร้ใคร่ ยินดี • บ้านถิ่นทิ้งทอดหนี เริดร้าง • สัตว์ไพรใคร่เปรมปรีดิ์ นคเรศ • เป็นพิกลยลอ้าง ดั่งนี้ดูฉงน ฯ • คำแปล: สัตว์เมืองยินดีในป่าพงไพร • ทิ้งบ้านร้างห่างไกลเข้าไปอยู่ในป่าดง • ข้างสัตว์ป่าพากันหลงมาปลื้มเปรมใจอยู่ในเมือง • เหตุพิกลนี้เป็นเครื่องบอกว่าวิปริต คิดดูก็ควรพิศวง • โคลงโลกนิติฉบับถอดความ โดย ดร.ทองย้อย แสงสินชัยhttp://lokaniti-and-its-paraphrase.blogspot.com/

  50. โคลงโลกนิติ • ๏ มีศิลปะศาสตร์รู้ ใดใด ก็ดี • บุญบ่ทำไว้ใน ชาติกี้ • ได้สมสิ่งพึงใจ จักเสพ • สมบัติย่อมหลีกลี้ เพิ่มผู้มีบุญ ฯ • คำแปล: มีวิชาความรู้หลักแหลมสักเพียงใด • ถ้าไม่เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อนหรือบัดเดี๋ยวนี้ • ครั้นได้สมบัติที่น่ายินดีอยากจะกินจะใช้ • สมบัตินั้นกลับวิบัติไปกลายเป็นของคนอื่นที่เขามีบุญ • โคลงโลกนิติฉบับถอดความ โดย ดร.ทองย้อย แสงสินชัยhttp://lokaniti-and-its-paraphrase.blogspot.com/

More Related