1 / 39

ระบบขับถ่าย Excretion System

อาจารย์ศศิธร มงคลทอง นฝ . หทัย แก้ว เพ็ชร. ระบบขับถ่าย Excretion System. ระบบขับถ่าย ( Excretion ). หมายถึง กระบวนการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ ออกจากร่างกาย (สิ่งที่เป็นพิษ สิ่งที่เกินความจำเป็น). ไต. ทวารหนัก. ปอด. ผิวหนัง. อุจจาระและกากอาหาร. ปัสสาวะ.

xanthe
Download Presentation

ระบบขับถ่าย Excretion System

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาจารย์ศศิธร มงคลทอง นฝ.หทัย แก้วเพ็ชร ระบบขับถ่าย Excretion System

  2. ระบบขับถ่าย (Excretion) หมายถึง กระบวนการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ ออกจากร่างกาย (สิ่งที่เป็นพิษ สิ่งที่เกินความจำเป็น) ไต ทวารหนัก ปอด ผิวหนัง อุจจาระและกากอาหาร ปัสสาวะ ก๊าช เหงื่อ

  3. ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท 1.สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย2.สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ

  4. ตารางแสดงปริมาณน้ำเฉลี่ยที่เข้าและขับออกจากร่างกายผู้ใหญ่ใน 1 วัน

  5. 1. การขับถ่ายของเสียทางไต

  6. หน้าที่ของไต • กรองของเสียหรือกำจัดสารบางอย่างออกจากเลือด • ดูดน้ำกลับหรือสารบางอย่างกลับสู่กระแสเลือด • รักษาสมดุลในร่างกาย(ปริมาณน้ำ pH เกลือแร่) • รักษาสมดุลความเข้มข้นของเลือด(ควบคุมแรงดันเลือดให้คงที่)

  7. หลอดเลือดแดงที่ไต Renal artery ไตชั้นนอก Cortex หลอดเลือดแดงที่ไต Renal artery หลอดเลือดแดงที่ไต Renal artery นำเลือดที่มีของเสีย สารอาหาร แก๊สออกซิเจนสูง เข้าไต หลอดเลือดดำที่ไต Renal vein ไตชั้นใน Madulla กรวยไต Renal pelvis หน่วยไต Nephron ท่อไต Ureter หลอดเลือดดำที่ไต Renal vein นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ สารอาหาร สารที่ดูดกลับ ออกจากไต

  8. หน่วยไต (Nephron) 2.โบว์แมนแคปซูล Bowman’s capsule 1.โกลเมอรูลัส Glomerulus 3.ท่อขด ส่วนต้น 6.ท่อรวม 5.ท่อขดส่วนท้าย 4.ห่วงเฮนเล Loop of Henle

  9. ขั้นตอนการทำงานของหน่วยไตมี 3 ขั้นตอน 1.การกรองของเสียสารต่างๆออกจากเลือด เรียก Filtration 2.การดูดกลับสารเข้าสู่กระแสเลือด เรียก Reabsortion 3.การหลั่งสารจากหลอดเลือดฝอยเข้าท่อหน่วยไต เรียก Secretion

  10. ขั้นตอนการทำงานของหน่วยไตขั้นตอนการทำงานของหน่วยไต 1.การกรอง Filtration 1.โบว์แมนแคปซูล Bowman’s capsule 1.โกลเมอรูลัส Glomerulus 1.โกลเมอรูลัสGlomerulus คือ กลุ่มของเส้นเลือดฝอย ผนังของโกลเมอรูลัสทำหน้าที่เป็นเครื่องกรอง ( Filtration) สารที่อยู่ในเลือดซึ่งเป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น น้ำ กลูโคส โปรตีน(เล็กๆ) เกลือแร่ ยูเรีย ไอออนต่างๆผ่านเข้าไปแต่ไม่ยอมให้เม็ดเลือดหรือโปรตีน (ใหญ่ๆ )ผ่านสารที่กรองได้จะเข้าไปในBowman’s capsule

  11. ขั้นตอนการทำงานของหน่วยไตขั้นตอนการทำงานของหน่วยไต 1.โบว์แมนแคปซูล Bowman’s capsule 2.การดูดน้ำกลับReabsortion ที่ท่อหน่วยไต 1.โกลเมอรูลัส Glomerulus เกิดขึ้นมากที่สุดที่ท่อขดส่วนต้น และส่วนบริเวณLoop of Henleจะมีการดูดกลับน้ำดีที่สุด การดูดกลับสารกลับโดยเฉพาะ กลูโคสและโปรตีน(โมเลกุลเล็กๆ) กรดอะมิโนจะดูดกลับหมด ทั้งนี้ยังมีสารอื่นที่ดูดกลับ น้ำ โซเดียมคลอไรด์ เป็นต้น อีกด้วย *ยูเรียมีการดูดกลับเล็กน้อย* 3.ท่อขด ส่วนต้น 5.ท่อขดส่วนท้าย 4.ห่วงเฮนเล Loop of Henle

  12. ถ้าควบคุมแร่ธาตุ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียมจะมีการรักษาสมดุลกำจัดออกอย่างเหมาะสมโดย ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosteron)

  13. ขั้นตอนการทำงานของหน่วยไตขั้นตอนการทำงานของหน่วยไต 1.โบว์แมนแคปซูล Bowman’s capsule 3.การสร้างสารบางอย่าง Secretion 1.โกลเมอรูลัส Glomerulus เกิดขึ้นที่ท่อขดส่วนปลายมากที่สุดโดยจะหลั่งสารที่เป็นประจุไอออนต่างๆ เพื่อปรับสมดุลค่า pHของน้ำปัสสาวะให้เหมาะสม (ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน) สารที่สร้างคือพวกแอมโมเนีย 3.ท่อขด ส่วนต้น 5.ท่อขดส่วนท้าย 4.ห่วงเฮนเล Loop of Henle

  14. ความผิดปกติ • โรคไตวาย ไตสูญเสียการทำงาน เกิดการสะสมสารพิษ สมดุลน้ำและเกลือแร่ผิดปกติ

  15. นิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ - เกิดจากตะกอนของเกลือแร่ในน้ำปัสสาวะรวมตัวกันเป็นก้อน และเกิดการอุดตัน

  16. 2. การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง   ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย

  17. ต่อมเหงื่อของคนเราแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ  1.ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ที่ผิวหนังทั่วทุกแห่งของร่างกาย ยกเว้นที่ริมฝีปากและที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหงื่อเหล่านี้ติดอยู่กับท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมเหงื่อนี้จะขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา 2.ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ไม่ได้มีอยู่ทั่วร่างกาย พบได้เฉพาะบางที่ ได้แก่ ที่รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก จมูก ที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหล่านี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก สารที่ขับถ่ายจากต่อมชนิดนี้มักมีกลิ่นด้วยซึ่งก็คือกลิ่นตัวนั่นเอง 

  18. ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส

  19. โรคที่เกิดกับผิวหนัง

  20. 3. การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่ การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว

  21. เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก

  22. อุจจาระ (FECES หรือ STOOL) อุจจาระ คือกากอาหารที่ถูกถ่ายทิ้ง มีประมาณ 100 กรัมต่อวัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณและชนิดของอาหารด้วย อาหารที่มีเส้นใยอาหารมากจะทำให้มีอุจจาระมาก หรือยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียในทางเดินอาหารจะทำให้กากอาหารถูกย่อยได้น้อยกว่าที่เคย อุจจาระประกอบด้วย น้ำประมาณ 75 %และของแข็ง 25% ซึ่งได้แก่ CELLULOSE และกากใยที่ย่อยไม่ได้ เกลือน้ำดี และน้ำย่อยที่หลงเหลือออกมาบ้างเล็กน้อย แคลเซียมฟอสเฟต มูก เซลล์ที่ลอกหลุดและแบคทีเรีย ดังนั้นแม้จะไม่ได้รับประทานอาหารทางปากเลย ก็ยังมีอุจจาระได้

  23. สาเหตุของอาการท้องผูกสาเหตุของอาการท้องผูก • กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย • กินอาหารรสจัด • การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน • ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป • สูบบุหรี่จัดเกินไป • เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก      โดยปกติ กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้เกิด อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม

  24. 4. การขับถ่ายของเสียทางปอด ปอดเป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส เมื่ออากาศเข้าทางรูจมูกไปตามหลอดลมซึ่งแยกออกเป็น 2 กิ่ง เข้าสู่ปอดทั้งสองข้างในช่องอก ในปอดจะมีหลอดลมซึ่งแตกแขนงออกเป็นจำนวนมาก และที่ปลายหลอดลมจะมีถุงลมเล็ก ๆ อากาศจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่กระจายอยู่ที่ถุงลม เมื่อออกซิเจนแพร่เข้าสู่หลอดเลือดแล้วจะรวมกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดแดงนำ ออกซิเจนกลับเข้าสู่หัวใจและถูก สูบฉีดไปทั่วร่างกาย เพื่อเผา ผลาญอาหาร ทำให้ได้พลังงาน น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น 

  25. ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ - การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น -  การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้

  26. -  การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่งที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้ - การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้นการดื่มน้ำและรับประมานอาหารที่ ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ

  27. การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่ายการปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย • ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ • ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ • ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม • ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์

  28. ระบบขับถ่ายของสัตว์

  29. การขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตเป็นกลไกสำคัญของร่างกาย เนื่องจากของเสียบางชนิดซึ่งเป็นผลผลิตสุดท้ายที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย ฯลฯ ถ้าสะสมไว้ปริมาณมากๆจะเป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกายดังนั้นสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องมีกระบวนการในการขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกายเพราะนอกจากจะเป็นการกำจัดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ยังช่วยรักษาระดับสมดุจของน้ำในร่างกายให้เป็นปกติอีกด้วย

  30. การขับถ่ายของพลานาเรียการขับถ่ายของพลานาเรีย มีโครงสร้างที่ใช้ในการขับถ่ายของเสียที่ซับซ้อนมากขึ้น ประกอบด้วยท่อยาวๆซึ่งแต่ละท่อแตกแขนงออกเป็นท่อเล็กๆ แทรกไปตามเนื้อเยื้อของร่างกาย ที่ปลายท่อเล็กๆมีโครงสร้างที่ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียเรียกว่า เฟลมเซลล์(Flame Cell) ลักษณะเป็นโพรง ภายในมีซิเลีย(Cilia)ทำหน้าที่โบกพัดน้ำและของเสียให้ออกมาตาม ท่อขับถ่าย( Excretory Pore) ที่ผนังลำตัว ของเสียจะถูกกำจัดออกนอกร่างกายโดยการแพร่ผ่านผิวหนัง

  31. การขับถ่ายของไส้เดือนดินการขับถ่ายของไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินมีลำตัวเป็นปล้องๆแต่ละปล้องมีอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่าเนฟริเดียม (Nephridium) 1 คู่ ท่อปลายเปิดทั้งสองข้างขดไปมา ปลายด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนปากแตรภายในมีซิเลียโบกพัดของเสียจำพวกแอมโมเนีย ยูเรีย ออกทางช่องเปิดของท่อขับถ่ายที่ผนังลำตัว

  32. การขับถ่ายของแมลง แมลงใช้อวัยวะในการขับถ่ายของเสียที่เรียกว่า ท่อมัลพิเกียน (Malpighian Tubule) อยู่ระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ แทรกอยู่ในช่องลำตัว น้ำและของเสียจะถูกดูดซึมเข้าสู่ท่อมันพิเกียน และผ่านสู่ทางเดินอาหาร บริเวณนี้น้ำซึ่งปนกับของเสียจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายซึ่งเป็นการรักษาสมดุจของน้ำ ทำให้ของเสียมีลักษณะเป็นก้อนและจะถูกขับออกนอกร่างกายทางทวารหนัก

  33. การขับถ่ายของนกและสัตว์เลื่อยคลานการขับถ่ายของนกและสัตว์เลื่อยคลาน นกและสัตว์เลื่อยคลานมีอวัยวะขับถ่ายคือไต (Kidney) การขับถ่ายของเสียจะกำจัดออกมาในรูปของกรดยูริกที่มีความเข้มข้นสูง เนื่องจากน้ำที่ปนอยู่ในของเสียถูกดูดกลับสู่ร่างกายเพื่อการรักษาสมดุจของน้ำ

  34. ขอให้โชคดี

More Related