1 / 44

รองศาสตราจารย์ ดร. องอาจ นัยพัฒน์

การวัดประเมิน ตามสภาพจริง โดยการปฏิบัติและจากแฟ้มสะสมงาน เพื่อ พัฒนา / ปรับปรุงการเรียนรู้ : แนวคิดและวิธีการ ( Authentic, Performance, Portfolio Assessments FOR Learning Improvement: Concepts & Practices ).

thy
Download Presentation

รองศาสตราจารย์ ดร. องอาจ นัยพัฒน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวัดประเมินตามสภาพจริง โดยการปฏิบัติและจากแฟ้มสะสมงาน เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการเรียนรู้ : แนวคิดและวิธีการ(Authentic, Performance, Portfolio Assessments FOR Learning Improvement: Concepts & Practices ) รองศาสตราจารย์ ดร. องอาจ นัยพัฒน์ ภาควิชา การวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 3-4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  2. หัวข้อการบรรยาย • คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ • แนวทางการประเมินการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ • กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน • ผลการเรียนรู้: พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย • การเลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ • ตัวอย่าง: เครื่องมือการวัดประเมินผลการเรียนรู้ (พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย) หมายเหตุ: เอกสารนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ แต่ได้โปรดอ้างอิงชื่อ/นามสกุลของผู้จัดทำ (ที่เรียบเรียงความคิดและร้อยเรียงถ้อยคำในการจัดทำเอกสารนี้เป็นเวลานานพอควร) ขอบคุณ ครับ รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์

  3. ๑.คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • การวัด (Measurement) คือ การกำหนดตัวเลขเพื่อบ่งชี้ปริมาณคุณสมบัติหรือลักษณะของวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจตามกฎเกณฑ์บางประการ • การประเมินค่า (Evaluation) คือ การตัดสินคุณค่าและมูลค่าของบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจตามการตีความข้อมูลสารสนเทศ (โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศจากการวัดในรูปตัวเลข) ที่รวบรวมได้ • การวัดประเมิน (Assessment) คือ กระบวนการเก็บรวบรวม บันทึกและใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินค่าบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจ • การวัดประเมินในชั้นเรียน (Classroom Assessment)เป็นกระบวนการที่ครูทำการรวบรวมและตีความข้อมูล/สารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และทัศนคติ/ความเชื่อของนิสิต/นักศึกษา แล้วนำผลการตีความดังกล่าวไปใช้ตัดสินใจในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น • การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment FORLearning) เป็นการวัดประเมินความก้าวหน้าเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน • การวัดประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment AS Learning) เป็นการวัดประเมินการกำกับหรือนำตนเองในการเรียนรู้ได้อย่างเป็นอิสระของผู้เรียน • การวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment OFLearning) เป็นการวัดประเมินเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเอง

  4. ๑.คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) การวัดประเมิน (Assessment) การวัด (Measurement) เช่น การทดสอบ ไม่ใช่การวัด (Non-measurement) เช่น การสังเกต การสอบถามด้วยวาจา และ/หรือ บวก บวก การประเมิน/ตัดสินคุณค่า (Evaluation/Value Judgments) เช่น ปานกลาง ดี ดีเยี่ยม แผนภาพ: กระบวนการวัดประเมิน (The assessment process)

  5. ๑.คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • การวัดประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)คือ การประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในสภาพการณ์จริง (A real life context) • การวัดประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) คือ การวัดประเมินกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ของการปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่สาธิตหรือแสดงออกมาให้เห็น • การวัดประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment) คือ การวัดประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ หรือคุณลักษณะของผู้เรียนจากข้อมูลหลักฐานที่บ่งชี้ความเพียรพยายาม ความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ที่เก็บรวบรวมและจัดเรียงอย่างเป็นระบบภายในระยะเวลาหนึ่งๆ

  6. การวัดประเมินหลังสอน ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) การสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ การวัดประเมิน ระหว่างสอน การวางแผน การสอน การค้นหาข้อมูลหลักฐานบ่งชี้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การวัดประเมินก่อนสอน แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการสอนและ การวัดประเมินการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้และวัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยทั่วไป ที่มา: ดัดแปลงจาก McMillan (2004, p.7)

  7. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดประเมินการเรียนรู้และองค์ประกอบการเรียนรู้อื่นๆ ที่มา: องอาจ นัยพัฒน์. (2557)

  8. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดประเมินการเรียนรู้แบบผลสรุปและผลย่อย ระดับผลกระทบ (Impact level) หลักสูตร สารสนเทศป้อนกลับ (Information feedback) การวัดประเมินผลสรุป (Summative assessment) การวัดประเมินระดับมหภาค จิตวิทยา การวัดประเมินผลย่อย (Formative assessment) การวัดประเมินตัดสินผลการเรียนรู้ (AssessmentOFLearning) การสอนและการเรียนรู้ในชั้นเรียน การวัดประเมิน ระดับจุลภาค ระบบการวัดประเมินที่สมดุล (Balanced Assessment System) การวัดประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ (AssessmentFORLearning)

  9. ความหมาย กระบวนการรวบรวม วิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนจากหลากหลายแหล่งเพื่อความเข้าใจอย่างลุ่มลึกว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถทักษะ และคุณลักษณะพึงประสงค์อะไรบ้าง ที่เป็นผลจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมา หนังสือแนะนำ ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน: • แนวคิดและหลักการ • เป็นไปในลักษณะ “การนั่งเคียงข้าง (Sitting beside)” ตามความหมายของคำว่า “assess” หรือ “assidere” ในภาษาละติน ที่แปลว่า “to sit beside” • ดำเนินไปด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ • มีการวิเคราะห์/วิพากษ์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ • ผู้ประเมินวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาด้วยความเมตตา/เอื้ออาทร • รวมรวมข้อมูลสารสนเทศจากหลากหลายแหล่ง (ไม่เพียงแต่คะแนนการสอบ) • มุ่งเน้นวัดประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (มากกว่าตรวจสอบ) การเรียนรู้

  10. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๑) • เป็นการวัดประเมินในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตั้งอยู่บนฐานคิดสำคัญ คือ • รูปแบบและสาระของการวัดประเมินจะต้องสะท้อนการคิดและทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนแต่ละกลุ่มสาระที่เกิดขึ้นในระดับจุลภาค (Micro small-scale level) เช่น ชั้นเรียน หรือห้องปฏิบัติการ/สนามปฏิบัติการ ได้อย่างดี • การวัดประเมินจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเรียนรู้อย่างไร มีความก้าวหน้าเพียงใด (Formative purpose) ทำอะไรได้ (หรือไม่ได้) บ้าง และทำการพิจารณาตัดสินใจเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ตามศักยภาพที่มี) (Assessment FOR learning)และมีจิตนิสัยกำกับการคิดหรือการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองได้อย่างเป็นอิสระในขณะเรียนรู้หรือไม่ (Assessment AS learning) • มุ่งเน้นประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Process of learning) แทนที่จะเน้นการตัดสินผลการเรียนรู้ (Summative purpose) หรือพิสูจน์ให้เห็นว่าการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ผลตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่อย่างไร (Assessment OF learning) • มีสาระต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตร/การจัดการเรียนรู้ จิตวิทยา/วัฒนธรรมการเรียนรู้ และจะต้องเชื่อมโยงกับระบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานในระดับมหภาค (Macro or large-scale level) เช่น กลุ่มสถานศึกษา เขตพื้นที่ ประเทศ/นานาประเทศ (Balanced Assessment system)

  11. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๒) • เป็นการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Classroom-based Formative Assessment) • ช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน • ช่วยปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning-oriented assessment)ของนิสิต/นักศึกษาให้แก่ครู/อาจารย์ • ให้สารสนเทศป้อนกลับอย่างมีความหมาย (Meaningful feedbacks) สำหรับผู้เรียน ครู/อาจารย์ (รวมทั้งผู้บริหารหลักสูตร) ว่าผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ (Learning outcomes) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และอารมณ์/ทัศนคติ เป็นไปตามระดับมาตรฐานหรือไม่ อย่างไร • เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการสอนของครู/อาจารย์และการเรียนรู้ของผู้เรียน • ช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจให้แก่ครู/อาจารย์ (รวมทั้งผู้บริหารหลักสูตร) เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในสาระต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

  12. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๔) • เป็นตามสภาพจริง (Authentic) • เป็นกระบวนการต่อเนื่อง/พลวัต(ongoing/dynamic) ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร การเรียนการสอน และการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ • เป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกและแสดงความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และทัศนคติ/ความเชื่อที่ตนมีตามความเป็นจริงได้อย่างอิสระ • วิธีดำเนินการมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของการจัดเรียนรู้ในชั้นเรียน • มีความสอดคล้องกับบริบทชั้นเรียนและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน • เน้นวัดประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับ “โลกแห่งความเป็นจริง” • เน้นการวัดประเมินเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้มากกว่าการตัดสินหรือพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการเรียนรู้ (เช่น ตัดเกรด) • ลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลจากประสบการณ์ใดๆ ในทางลบที่เกิดจากการวัดประเมินการเรียนรู้แบบดั้งเดิม • ส่งเสริมให้ผู้เรียนวัดประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือโดยกลุ่มเพื่อน (Self- or Peer-Assessment) เพื่อให้เกิดการคิดสะท้อนกลับมาพัฒนาการเรียนรู้ของตนต่อไป

  13. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๕) • ลักษณะของการวัดประเมินตามสภาพจริง • ใช้วิธีการกระตุ้น/ท้าทายนิสิต/นักศึกษาให้ปฏิบัติการหรือแสดงออกในสภาพการณ์จริง (Performance in the field) ว่ามีความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และอารมณ์/ความรู้สึก เพียงใด อย่างไร • กำหนดโจทย์ ให้ปฏิบัติหรือแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมหรืองานที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง • ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่หลากหลาย รวมทั้งสอดคล้องกับลักษณะผลการเรียนรู้ และบริบทที่ต้องการวัดประเมิน มากยิ่งขึ้น • ผลการวัดประเมินทำให้ครูมีสารสนเทศเพื่อใช้ตัดสินใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน มากขึ้น • มีกฎเกณฑ์สำหรับใช้ในการวัดประเมิน (Assessment rubrics) • เน้นให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้และครูสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของตน (self reflection) จากสารสนเทศผลการวัดประเมิน • We do not learn from experience. We learn from reflecting on experience.John Dewey

  14. ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๖) สรุปประเภทและลักษณะของการวัดประเมินการเรียนรู้ (1) Berry (2008, pp. 9-11) สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (กำลังพิมพ์)

  15. การวัดประเมินการเรียนรู้รายภาคเรียนการวัดประเมินการเรียนรู้รายภาคเรียน

  16. การวัดประเมินการเรียนรู้รายภาคเรียน (ต่อ)

  17. ๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ ผู้สอนกำลังจะไปไหน (จะนำพาผู้เรียนไปที่ใด) กลยุทธ์ที่ 1: ให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างชัดเจน กลยุทธ์ที่ 2: แบ่งปันตัวอย่างและตัวแบบงานที่ได้เรียนรู้ (ทั้งที่ดีและไม่ดี) ให้ผู้เรียนทราบ ผู้สอนอยู่ที่ใดในเวลานี้ กลยุทธ์ที่ 3: ให้สารสนเทศป้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ กลยุทธ์ที่ 4: สอนผู้เรียนตั้งเป้าหมายและประเมินการเรียนรู้ของตนเอง ผู้สอนจะสามารถจัดการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้อย่างไร (จะปิดช่องว่างจุดเป้าหมายที่จะไป-จุดที่อยู่ปัจจุบัน) กลยุทธ์ที่ 5: ออกแบบบทเรียนที่เน้นเป้าหมายการเรียนรู้แบบแยกส่วน (มากกว่ารวมส่วนกันอย่างหลากหลาย เป้าหมาย) ในแต่ละครั้ง กลยุทธ์ที่ 6: สอนผู้เรียนให้ทบทวนผลงานการเรียนรู้แต่ละคุณลักษณะในแต่ละเวลา กลยุทธ์ที่ 7: ปลูกฝังผู้เรียนให้คิดสะท้อนกลับ (ใคร่ครวญไตร่ตรอง) เพื่อกำกับติดตามเรียนรู้ของตนเองและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น Chappuis, 2009, p. 12; Citing in Stiggins & Chappuis, 2012, p. 30

  18. ๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในโลกศัตวรรษที่ 21 • บริบทหรือเงื่อนไขการวัดประเมินผันแปรได้ (มากกว่าการอยู่ภายใต้เพียงมาตรฐานเดียว) • สภาพการประเมินสอดคล้องกับ “โลกความเป็นจริง”(Real world situation) • เน้นการวัดประเมินกระบวนการและผลผลิตของการทำโครงการ (Projects) หรืองาน (Tasks) ที่กำหนดให้ปฏิบัติ (Project/Task-Based learning) • เน้นนำผลการวัดประเมินเป็นสารสนเทศป้อนกลับไปสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน • เน้นวัดประเมินและรายงานผลการประเมินการเรียนรู้ในรูปทีมงาน (Team results) (มากกว่ารายบุคคลรายบุคคล) • เปิดเผยขอบข่ายเนื้อหาและเกณฑ์การวัดประเมินกว้างๆ ให้ผู้เรียนทราบ (มากกว่าปกปิดไว้เป็นความลับ) • สนับสนุนให้ผู้เรียนประเมินกระบวนการและผลการเรียนรู้ของตนเอง (Self-assessment) (Reeves, 2010; Shepard et. al., 2005)

  19. หมายเหตุ: เรียนรู้ (Learn) เข้าใจ (Understand) สร้างสรรค์ (Create) สำรวจ (Explore) และแบ่งปัน (Share) สำรว จ เรียนรู้อะไรนอกเหนือจากบทเรียนบ้าง มีสิ่งใดที่ทำผิดและเรียนรู้จาก สิ่งผิดนั้นอย่างไร แบ่งปัน ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อช่วยเหลือบุคคล ชั้นเรียน ชุมชนหรือ โลกอย่างไรบ้าง สร้างสรรค์ มีแนวคิด ความรู้ หรือความเข้าใจใหม่อะไรบ้าง ที่สามารถนำเสนอได้ การวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ใน ศัตวรรษที่ 21 เข้าใจหลักฐานอะไรที่สามารถประยุกต์การเรียนรู้ในขอบเขตการรู้คิดหนึ่งไปยังที่คล้ายๆ กัน เรียนรู้ รู้อะไร และสามารถทำอะไร ได้บ้าง กรอบแนวคิดการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ในศัตวรรษที่ 21 (ที่มา: อ้างอิงจาก Reeves, 2010, p.312)

  20. เป้าหมาย/ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในโลกศัตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ในศัตวรรษที่ 21 ที่ห้องปฏิบัติการทางการศึกษาในเขตพื้นที่ส่วนกลางตอนเหนือ (North Central Regional Educational Laboratory–NCREL) หรือที่นิยมเรียกว่า enGauge model พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 2003 โดยได้รับการอ้างอิงถึงในหนังสือ 21st Century Skills ค่อนข้างมากเช่นเดียวกับ P21 Framework กรอบแนวคิดทักษะในศัตวรรษที่ 21 (The Partnership of 21st Century Skills–P21)

  21. ๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ หลักการตั้งคำถามเพื่อวัดประเมินการเรียนรู้ • เน้นตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบแบบให้เหตุผล • คำถามเชิงวิเคราะห์ • คำถามเชิงสังเคราะห์ • คำถามเชิงเปรียบเทียบ • คำถามเชิงจำแนก • คำถามเชิงประเมิน • คำถามนิรนัยและอุปนัย • เน้นตั้งคำถามที่กระตุ้นการคิดและสนับสนุนการเรียนรู้ • คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนตั้งข้อสังเกตและเรียนรู้ • คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนถ่ายโยงการเรียนรู้ • คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนยืนยัน/ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้ • คำถามที่ช่วยทำให้ผู้เรียนกำกับ/ควบคุมตนเอง • เน้นตั้งคำถามแบบลุ่มลึกและเชื่อมโยงสาระเดียวกัน • เช่น ตั้งคำถามเกี่ยวกับการอ่านหนังสือนอกเวลาภาษาอังกฤษ (อ่านเข้าใจเรื่องราวได้มากน้อยเพียงใด มีคำศัพท์ง่ายหรือยากต่อการเข้าใจบ้าง ผู้เขียนมีกลยุทธ์ในการเสนอเรื่องราวอย่างไร เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องราวที่อ่าน และโดยภาพรวมแล้วชอบเรื่องที่อ่านหรือไม่ อย่างไร) • กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามด้วยตนเองเพื่อสะท้อนกลับความคิดของตนเอง

  22. ๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ หลักการสำคัญให้สารสนเทศป้อนกลับ (Feedback) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ • ใช้กฎเกณฑ์/แนวทางการให้คะแนน (Scoring rubrics or guidelines) เป็นแนวทางการให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อความชัดเจน • เน้นการให้สารสนเทศป้อนกลับเชิงเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่าการให้สารสนเทศป้อนกลับเชิงเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียนด้วยกัน) • ส่งเสริมบรรยากาศในหมู่ผู้เรียนให้มีการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ มีการคิดใคร่ครวญทวนสอบความคิดและการเรียนรู้ของตนเอง และการยอมรับจุดจำกัดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง • ใช้ผลงานหรือทักษะจากการปฏิบัติงานของผู้เรียนเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแต่ละระดับเพื่อบ่งชี้ข้อดีและข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้เรียน • ควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการเรียนรู้ (มิใช่เฉพาะตอนจบการสอนแต่ละหัวข้อ) • ครู/อาจารย์และผู้เรียนต้องเข้าใจร่วมกันว่าการให้สารสนเทศป้อนกลับช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ต้องเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างกัน • ควรรวบรวมและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดสำคัญ (Key errors) ที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนว่ามีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุอะไร และจะให้สารสนเทศป้อนกลับอะไรเพื่อช่วยให้ผู้เรียนหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น (อาจกระทำผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน) • ใช้กลยุทธ์การเสริมแรงทางบวกด้วยการสื่อสารให้ผู้เรียนรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) ในขณะให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ • สื่อสารด้วยถ้อยคำทางภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ตรงประเด็นที่ต้องพัฒนาปรับปรุง และมีระดับความยากง่ายเหมาะสม (ไม่ง่ายเกินไปจนขาดความท้าทาย หรือยากเกินไปจนเกิดความท้อแท้ !!!)

  23. 2. เป้าหมายการวัด ประเมินชัดเจน วัดประเมินอะไร เป้าหมาย ชัดเจนต่อผู้สอนและผู้เรียนหรือไม่ ๓. แนวทางการประเมินการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 1. จุดมุ่งหมายการวัดประเมินชัดเจน วัดประเมินทำไม ใครจะใช้ผลวัดประเมิน ผู้เรียนเป็นผู้ใช้ด้วยหรือไม่ 3.1 เครื่องมือ-วิธีการ วัดประเมินสอดคล้อง กับเป้าหมายการเรียนรู้ & จุดมุ่งหมายการประเมิน วัดประเมินอย่างไร เครื่องมือวิธีการใด & มีคุณภาพ หรือไม่ 3.ออกแบบ วัดประเมินที่ดี 3.2 เลือกตัวอย่างภาระ งาน/กิจกรรมที่จะวัดประเมินเหมาะสม ผู้เรียนมีบทบาทอะไรและมีหลีกเลี่ยงความลำเอียงหรือไม่ อย่างไร 5. สื่อสารมีประสิทธิผล รายงานผลบรรลุจุดมุ่งหมาย ตอบสนองความจำเป็น ของผู้เรียน & ผู้เกี่ยวข้อง ดัดแปลงจาก Stiggins & Chappuis, 2012, p.24)

  24. ๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน กระบวนการวัดประเมินในชั้นเรียน แผนภาพกระบวนการวัดประเมินในชั้นเรียน • วางแผน • ทำความเข้าใจบริบทการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน • กำหนดจุดมุ่งหมายการวัดประเมินและใช้ผลการวัดประเมิน • กำหนดเป้าหมาย/ผลการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน • เลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ • ลงมือวัดประเมิน (รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ) • ลงมือรวบรวม (ตระหนักต่อจรรยาบรรณ) • รายงานผล • วิเคราะห์และตีความข้อมูลสารสนเทศ • รายงานผลและพัฒนาการเรียนการสอน http://www.utexas.edu/academic/diia/assessment/iar/teaching/

  25. วัดประเมินผลการเรียนรู้วัดประเมินผลการเรียนรู้ ผลผลิตสุดท้าย การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ที่อยู่ในรูปแบบ 2 องค์ประกอบที่แสดงในรูปแบบข้อความ คือ มาตรฐานที่คาดหมายว่าผู้เรียนว่าสามารถ บรรลุผลได้สำเร็จ เป้าหมาย ผลลัพธ์หรือสมรรถนะ วัดประเมินโดยวิธีการของ เกณฑ์มาตรฐานวัดประเมิน สิ่งที่วัดประเมิน สมรรถนะที่ประยุกต์ใช้ ๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทักษะพิสัย- พุทธิพิสัย- จิตพิสัย ประกอบด้วย ทักษะพิสัย พุทธิพิสัย สมรรถนะเชิงปฏิบัติการ (Practical competence) สมรรถนะเชิงหลักการ(Foundational competence) สมรรถนะเชิงสะท้อนกลับ (Reflexive competence) ที่มา: South African Qualifications Authority (2001, p.20)

  26. ๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน สมรรถนะของการเรียนรู้ 3 แบบ สมรรถนะเชิงปฏิบัติการ (Practical competence) สมรรถนะเชิงหลักการ (Foundational competence) สมรรถนะเชิงสะท้อนกลับ (Reflexive competence) สะท้อนการมีความสามารถและทักษะด้านการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมจริง (การปฏิบัติ) แสดงให้เห็นถึงการมีความรู้ความเข้าใจและเหตุผลในการปฏิบัติ (การให้เหตุผลเบื้องหลังการปฏิบัติ) แสดงให้เห็นถึงทักษะ และความสามารถในการเชื่อมโยง (บูรณาการ) การปฏิบัติเข้ากับความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำอย่างไตร่ตรองและมีทัศนคติที่ดี (ความสามารถประยุกต์และการอธิบายเหตุผลสนับสนุนการปฏิบัติงาน) ทักษะพิสัย-พุทธิพิสัย- จิตพิสัย ทักษะพิสัย พุทธิพิสัย ที่มา: South African Qualifications Authority (2001, p.21)

  27. จิตพิสัย(Affective Domain) คนดี: มีคุณธรรม/ จริยธรรม/จิตพิสัยดี (Ethical/ Affective Characteristics) พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คนเก่ง (๑): มีความรู้ความคิด /สติปัญญาดี (Cognitive /Intellectual Ability) ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คนเก่ง (๒):มีทักษะ/กระบวนการ/ความสามารถทางปฏิบัติ (Psychomotor skill/ Performance) ๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน เป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของผู้เรียน (Students’ Expected Learning Outcomes) คนมีสุข: มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี/มีสุนทรียภาพดี (Physical & Mental Health/Aesthetic Value) เชาวน์ปัญญาอารมณ์ (Emotional Intelligence-EI or EQ) และสุนทรียศาสตร์ (๒). ด้านความรู้ (Knowledge) (๔). ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ และเชาวน์ปัญญาศีลธรรม (Moral Intelligence-MI or MQ) (๓). ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) เชาวน์ปัญญาการรู้คิด (Cognitive Intelligence-CI or IQ) (๕). ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  28. Cognitive Domain Higher- order Thinking Skills Advanced Reasoning Basic From: ดัดแปลงจาก Sallee (2012, June) http://suzanne-sallee-iachieve.blogspot.com/2011/08/mobile-learning-and-blooms-taxonomy.html

  29. http://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.htmlhttp://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.html

  30. http://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.htmlhttp://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.html

  31. ตัวอย่างตารางแสดงรายละเอียดสาระและผลการเรียนรู้ที่ต้องการวัดประเมินตัวอย่างตารางแสดงรายละเอียดสาระและผลการเรียนรู้ที่ต้องการวัดประเมิน ที่มา: http://cjc-educ10.wikispaces.com/Table+of+Specifications+(TOS)

  32. จิตพิสัย (จิตนิสัย/อารมณ์):แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑) เครื่องมือ/วิธีการ • การสังเกตของอาจารย์ • แบบมีโครงสร้าง • แบบไม่มีโครงสร้าง • การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน • สังคมมิติ (Sociometric approach) • การทายชื่อคุณลักษณะ/พฤติกรรมของบุคคล (Guess-Who approach) • การรายงานตนเองของนิสิต/นักศึกษา • แบบสอบถาม • มาตรประมาณค่า (Rating scale) • การใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment) มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย • มีความประพฤติอย่างมีคุณธรรม/จริยธรรม • มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม/สังคม • มีความสามารถปรับตนท่ามกลางความขัดแย้งทางค่านิยม • มีการพัฒนานิสัยและปฏิบัติตนตามศีลธรรม • มีการแสดงถึงภาวะผู้นำ • มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล • มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม

  33. การเลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ (๒) A Teacher ’ Guide To Classroom Assessment

  34. การเลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ (๓)

  35. เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินเครื่องมือและวิธีการวัดประเมิน เป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง Stiggins & Chappuis (2012, p. 73) Learning targets for 21st Century (Stiggins & Chappuis, 2012,pp. 45-46)

  36. ตัวอย่าง:การวัดประเมินด้านจิตพิสัย (จิตนิสัย/อารมณ์):แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑)

  37. ตัวอย่าง:การวัดประเมินจิตพิสัย (จิตนิสัย/อารมณ์):แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๒) ๙. จิตพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๓) ตัวอย่าง: มาตรประเมินปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนิสิต/นักศึกษา

  38. พุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑) มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย • มีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และจำแนก ข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ • สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการแก้ปัญหา • สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ • สามารถสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือ/วิธีการ • แบบทดสอบ • แบบเลือกตอบ (Multiple-choice test) • แบบความเรียง (Essay test) • การวัดประเมินการปฏิบัติ (Performance assessments) • กำหนดงาน/กิจกรรมและบริบทเงื่อนไข • กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring rubrics) เป็นแบบองค์รวม (Holistic) หรือ แบบวิเคราะห์ (Analytic) • ใช้วิธีการสังเกตร่วมกับมาตรประมาณค่า (Rating scale) และ/หรือ • ใช้แบบตรวจสอบรายการ (Check-lists) • การใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment)

  39. พุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๒) เครื่องมือ/วิธีการ (ต่อ) • การวัดประเมินภาคปฏิบัติ • ข้อดี : สอดคล้องกับสภาพจริง/บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้/เหมาะกับการวัดทักษะหรือประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหา • ข้อจำกัด: มักเป็นอัตนัย/ผลการวัดประเมินไม่คงเส้นคงวา ณ จุดเวลาต่างๆ (ความเที่ยงต่ำ)/ใช้เวลามากในการวางแผนและทำการวัดประเมิน • การใช้แฟ้มสะสมงาน • ข้อดี : ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาวัดประเมินการเรียนรู้ของตนเองและร่วมมือกับอาจารย์ในการวัดประเมิน/ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้/ สอดคล้องกับสภาพจริง/ • ข้อจำกัด: อาจลำเอียง/ตรวจยาก/มักมีความเที่ยงต่ำ/ใช้เวลามากในการพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนน เครื่องมือ/วิธีการ • แบบทดสอบ (แบบเลือกตอบ) • ข้อดี : เป็นปรนัย/ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ต้องการวัดประเมิน/ตรวจง่าย • ข้อจำกัด: สร้าง (ให้มีคุณภาพดี) ทำได้ยากและใช้เวลามาก/เหมาะกับการวัดประเมินความรู้ความเข้าใจ/อาจเดาได้ถูกโดยไม่มีความรู้/ • แบบทดสอบ (แบบความเรียง) • ข้อดี : เหมาะกับการวัดประเมินความคิดระดับสูง/เดาถูกได้ยากถ้าไม่มีความรู้ • ข้อจำกัด: มักเป็นอัตนัย/ตรวจยาก

  40. ตัวอย่าง: การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๕) ตัวอย่าง: แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร (การพูดและเขียน) แบบประเมินการเขียนรายงานการทดลองในห้องปฏิบัติการ แบบประเมินการนำเสนอและอภิปรายผลงานวิจัยในที่ประชุม ที่มา: Brown wth Bull & Pendlebury (1997, p.105, 159)

  41. ตัวอย่าง: การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๗) • มาตรประเมินค่าการกล่าวสุนทรพจน์/คำบรรยาย/คำปราศรัย • คำชี้แจง: โปรดประเมินความสามารถการกล่าวสุนทรพจน์โดยทำเครื่องหมาย ที่จุดใดๆ บนช่วงแสดงลักษณะของการกล่าวสุนทรพจน์พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดในช่องคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการกล่าวสุนทรพจน์ของนิสิต/นักศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก.ด้านเนื้อหาสาระและการลำดับความ 1. การกล่าวเปิดประเด็น ไม่เหมาะสม กล่าว เป็นปกติธรรมดา ปลุกเร้านำเข้าสู่ ออกนอกประเด็น ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจเป็นพิเศษ ประเด็นได้อย่างน่าสนใจยิ่ง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม: .......................................................................................................................... ข.ด้านการนำเสนอ 2. ท่าทาง/การแสดงออก ราบเรียบ ระดับเดียว ประหม่าและ ส่วนใหญ่ตรงประเด็น มีความมั่นใจ เป็นธรรมชาติ แสดงความสับสน/วกวนบ่อยครั้ง มีบางครั้งแสดงความสับสน สอดคล้องตามถ้อยคำกล่าวเน้น ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม: ..........................................................................................................................

  42. ตัวอย่าง: การวัดประเมินผลการเรียนรู้ (พุทธิพิสัยจิตพิสัย และทักษะพิสัย):แนวทางการวัดประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (๒) การเลือกตัวอย่างงาน/กิจกรรมการเรียนรู้และการทดสอบด้วยวาจาเพื่อประเมินค่าแฟ้มสะสมงาน การให้ค่าแฟ้มสะสมผลงาน (2) • สาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมหลักจำนวนมาก จะต้องสุ่มหรือเจาะจงเลือกมาเป็นตัวอย่างเพื่อทำการวัดประเมิน • สาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมหลักที่ทำการวัดประเมินจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของมวลสาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่นิสิต/นักศึกษาต้องเรียนรู้ • การสอบปากเปล่าแฟ้มสะสมงาน นิสิต/นักศึกษาผู้รับการประเมินเลือกแฟ้มที่ตนพอใจประมาณครึ่งหนึ่งของแฟ้มทั้งหมดมาใช้ในการทดสอบด้วยวาจา โดยมีขั้นตอนการนำเสนอ ดังนี้ 1. ผู้เรียนนำเสนอ 5 - 7 นาที 2. คณะกรรมการทดสอบซักถาม 3. ผู้ถูกประเมินออกจากห้องทดสอบ 4. คณะกรรมการทดสอบอภิปรายและ ปรึกษาเกี่ยวกับผลการทดสอบปากเปล่า ตัวอย่าง: เกณฑ์/มาตรฐาน • การพิจารณาแฟ้ม คณะกรรมการจะทำการประเมินแฟ้มด้วยเกณฑ์ 4 ข้อ (ข้อละ 5 คะแนน) รวม 20 คะแนน โดยแต่ละคนต่างพิจารณาแล้วนำคะแนนมาสรุปร่วมกัน โดยมีเกณฑ์การตัดสิน คือ คะแนน 18 - 20 หมายถึง ดีเลิศ คะแนน 15 - 17 หมายถึง พอใจ คะแนน 12 - 14 หมายถึง ค่อนข้างพอใจ คะแนนต่ำกว่า 12 หมายถึง ปรับปรุง Rubrics ที่มา: ดัดแปลงจาก jfmueller.faculty.noctrl.edu/toolbox/rubrics.htm

  43. ความหมาย คุณสมบัติของเครื่องมือ/วิธีการวัดประเมิน ที่สามารถวัดประเมินได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ครอบคลุมครบถ้วนตรงตามเนื้อหาสาระ และสอดคล้องตรงตามความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการวัด (APA, 1985; Messick, 1994; Miller, Linn & Gronlund, 1995) โดยพิจารณาความตรง (ความเที่ยงตรง) ประเด็นต่อไปนี้ ความเหมาะสม (appropriateness) ความหมาย (meaningfulness)และ ประโยชน์ (usefulness)ของข้อสรุปเฉพาะที่ได้มาจากผลของการวัดประเมิน ดังนั้น ความตรงหรือไม่ตรงของการวัดไม่ได้อยู่ที่เครื่องมือแต่ขึ้นอยู่กับข้อสรุปเฉพาะที่เป็นผลมาจากค่าที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือ ความตรง (Validity) ของการวัดประเมิน ความเที่ยง (Reliability) ของการวัดประเมิน • วิธีการประมาณค่าความเที่ยง (ความเชื่อมั่น) • การทดสอบซ้ำ (Test–Retest Method) • การใช้เครื่องมือวัดที่มีความคล้ายคลึง (Equivalent–Form Method) • การหาค่าความคงตัวภายในเครื่องมือวัด (Internal Consistency Method) • ความหมาย • คุณสมบัติของการวัดที่แสดงให้ทราบว่าค่าของคะแนนที่เป็นผลมาจากการวัดด้วยเครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่มีความคงเส้นคงวา (Consistency)หรือคงตัว (Stability)หรือไม่ เพียงใด

  44. เอกสารอ้างอิง สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (กำลังพิมพ์). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ใน องอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัยสถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต (หน้า 37-50), กรุงเทพฯ: บริษัทวงตะวัน จำกัด. องอาจ นัยพัฒน์ (2553). การวัดประเมินในชั้นเรียน: วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา 2(3), 1-12. องอาจ นัยพัฒน์ (2557). กระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต: บันทึกสรุปและการปรับเปลี่ยนที่ท้าทาย ใน องอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัย สถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต (หน้า 105-120), กรุงเทพฯ: บริษัทวงตะวัน จำกัด. South African Qualifications Authority (2001). Criteria and Guidelines for Assessment of NQF Registered Unit standards and Qualifications. Pretoria, South Africa. Airasian, P.W. (2000). Assessmentin the classroom: A concise approach (5thed.). NewYork: Mc-GrawHill. American Psychological Association, American Educational Research Association, & National Council on Measurement in Education. (1985). Standards for educational and psychological testing. Washington, D.C.: American Psychological Association. Arter, J. A., & Spandel, V. (1992). Using portfolios of student work in instruction and assessment. Educational Measurement: Issues and Practice, 11, 36-44. Brown, G., Bull, J. & Pendlebury, M. (1997). Assessing student learning in higher education. New York: Routledge. McMillan, J.H/ (2004). Classroom assessment: Principles and practice for effective instruction (3rd ed.). Singapore: Pearson Education. Messick, S. (1994). The interplay of evidence and consequences in the validation of performance assessments. Educational Research, 23(2), 13-23. Miller, M.D., Linn, R. L., & Grondlund, N. E. (2009). Measurement and assessment in teaching(10th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Merrill. Reeves, D. (2010). A framework for assessing 21st century skills. In J. Bellanca & R. Brandt (Eds.). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press. Stiggins, R.J. & Chappuis, J. (2012). Student-Involved Assessment FOR Learning (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

More Related