1 / 42

ลำต้น stem

ลำต้น stem. ลำต้น ( stem ) คือ ส่วนของพืชที่ส่วนใหญ่แล้วเจริญขึ้นมาเหนือดินในทิศทางที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก อันเป็นทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราก และมีลักษณะที่แตกต่างจากราก คือ มีข้อ ปล้อง ตา ซึ่งเป็นที่เกิดของกิ่ง ใบ ดอก และผล. ส่วนของลำต้น. ข้อ ( node ) ปล้อง ( internodes ).

tevy
Download Presentation

ลำต้น stem

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ลำต้น stem

  2. ลำต้น ( stem ) คือ ส่วนของพืชที่ส่วนใหญ่แล้วเจริญขึ้นมาเหนือดินในทิศทางที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก อันเป็นทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราก และมีลักษณะที่แตกต่างจากราก คือ มีข้อ ปล้อง ตา ซึ่งเป็นที่เกิดของกิ่ง ใบ ดอก และผล

  3. ส่วนของลำต้น • ข้อ ( node ) • ปล้อง ( internodes)

  4. ข้อ ( node ) เป็นส่วนของลำต้น ตรงที่มีใบหรือกิ่งหรือตางอกออกมา บางทีตรงข้อนี้ก็อาจมีดอกงอกออกมาแทนกิ่งหรือมีหนามงอกออกมาแทนกิ่งหรือใบก็ได้  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ส่วนเหล่านี้เป็นกิ่งหรือใบที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง  ตามปกติข้อมักจะพองโตกว่าส่วนอื่นๆของลำต้น

  5. ปล้อง ( internode ) เป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อหนึ่งกับอีกข้อหนึ่ง • ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักจะเห็นข้อและปล้องได้ชัดเจนตลอดชีวิต  เช่น  อ้อย  ข้าว  ข้าวโพด  ไผ่  ในพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้ล้มลุก ก็มักจะเห็นข้อและปล้องชัดเจนเหมือนกัน  เช่น  ต้นฟักทอง และ ผักบุ้ง  ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้ยืนต้นมักจะเห็นข้อไม่ชัด เพราะ มี cork มาหุ้มโดยรอบ แต่ถ้าเป็นกิ่งอ่อนๆที่แตกออกมาใหม่ๆ ก็ยังคงเห็นข้อและปล้องชัดเจน

  6. หน้าที่ของลำต้น • เป็นแกนช่วยพยุงอวัยวะต่างๆ ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอก ผล และเมล็ด ช่วยให้ใบกางออก รับแสงแดดเพื่อประโยชน์ในการสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง • เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุที่รากดูดขึ้นมาส่งต่อไปยังใบและส่วนต่างๆ ของพืช • เป็นทางลำเลียงอาหารที่ใบสร้างขึ้น ส่งผ่านลำต้นไปยังรากและส่วนอื่นๆ

  7. ต้นข้าว

  8. ต้นฟักทอง

  9. นอกจากนี้ลำต้นของพืชอีกหลายชนิดยังทำหน้าที่พิเศษต่างๆ อีก เช่น • ลำต้นสะสมอาหาร เป็นลำต้นที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหาร จะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น เผือก มันฝรั่ง เป็นต้น • ลำต้นสังเคราะห์แสง พืชบางชนิดมีลำต้นเป็นสีเขียวไว้สำหรับสร้างอาหาร โดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น กระบองเพชร พญาไร้ใบ ผักบุ้ง เป็นต้น

  10. ลำต้นขยายพันธุ์ เช่น โหระพา พลูด่าง โกสน คุณนายตื่นสาย ลีลาวดี เป็นต้น • ลำต้นเปลี่ยนไปเป็นมือพัน เพื่อช่วยพยุงค้ำจุนลำต้น เช่น บวบ ตำลึง น้ำเต้า เป็นต้น

  11. ชนิดของลำต้น • ลำต้นเหนือดิน ( aerial  stem ) • ลำต้นใต้ดิน underground  stem  

  12. ลำต้นพืชโดยทั่วไปมักจะเจริญอยู่เหนือดิน สามารถจำแนกย่อยเป็น • ต้นไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น ( Tree )  เป็นลำต้นไม้ยืนต้นที่มีเนื้อไม้แข็ง ขนาดใหญ่ ตามปกติต้นที่เติบโตเต็มที่แล้วมักสูงตั้ง-แต่ 15 ฟุตขึ้นไป มีอายุยืนหลายปี เช่น ต้นสัก  ก้ามปู หางนกยูง  ยางพารา  สนทะเล  มะพร้าว  เป็นต้น • ต้นไม้พุ่ม  ( Shrub )  เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้แข็งเช่นเดียวกับต้นไม้ใหญ่ แต่มีขนาดเล็กกว่าและสูงน้อยกว่า 15 ฟุต  เช่น ต้นแก้ว  เข็ม  ทับทิม  กระถิน  เป็นต้น • ต้นไม้ล้มลุก  ( Herb )  เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้อ่อน หรือไม่มีเนื้อไม้  มีอายุอยู่ได้ชั่วระยะฤดูหนึ่งๆเท่านั้น  เช่น  ข้าว  หญ้า ถั่ว  วัชพืชต่างๆ  เป็นต้น

  13. ลำต้นเหนือดินของพืชหลายชนิดอาจมีการเปลี่ยนรูปเพื่อทำหน้าที่พิเศษซึ่งต่างไปจากเดิม  จำแนกออกเป็นชนิดต่างๆดังนี้ • ลำต้นเลื้อย ( Creeping  stem , Prostate  stem )เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ ตามข้อ • มักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงในดินเพื่อช่วยยึดลำต้น  นอกจากนี้บริเวณข้อจะมีตาเจริญไปเป็นแขนงยาวขนานไปกับพื้นดินหรือผิวน้ำซึ่งจะงอกรากและลำต้นขึ้นใหม่ และจะแยกเช่นนี้เรื่อยๆไปเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชได้วิธีหนึ่ง  แขนงที่ขนานไปตามพื้นดินหรือผิวน้ำดังกล่าวนี้ เรียกว่า ไหล ( Stolon หรือ  Runner ) เช่น  ต้นหญ้า  ผักบุ้ง  ผักกระเฉด  ผักตบชวา บัวบก  สตรอเบอรี่ เป็นต้น

  14. บัวบก

  15. ผักตบชวา

  16. ลำต้นไต่ ( Climbing stem )  เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง มักมีลำต้นอ่อนเป็นพวกไม้เลื้อย • ทไวเนอร์ ( Twiner ) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น  ต้นถั่ว  บอระเพ็ด  และเถาวัลย์ต่างๆ

  17. มือเกาะ ( Stem  tendril )  เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ ( tendril ) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนขอtendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น เช่น  บวบ  แตงกวา  ฟักทอง  กะทกรก  พวงชมพู

  18. กะทกรก

  19. พวงชมพู

  20. ทไคลม์เบอร์ ( Root  climber )  เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูง โดยใช้รากซึ่งงอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น ต้นพริกไทย  พลู  พลูด่าง

  21. พลู

  22. พริกไทย

  23. พลูด่าง

  24. หนาม ( Stem  spine or Stem  thorn )  เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยวสำหรับไต่ขึ้นที่สูง เช่นเฟื่องฟ้า  มะนาว  มะกรูด  พวกส้มต่างๆ  ไมยราบ

  25. ไมยราบ

  26. แคลโดฟิลล์ ( Cladophyll )  เป็นลำต้นที่เปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายใบ ทำหน้าที่แทนใบโดยมีสีเขียวและสังเคราะห์แสงได้ เช่น  สนทะเล  พญาไร้ใบ  กระบองเพชร  โปร่งฟ้า

  27. บัลบิล ( Bulbil )  เป็นลำต้นเหนือดินสั้นๆ มีใบออกมาเป็นกระจุก เช่น  หอม  กระเทียม

  28. ลำต้นใต้ดิน ( Underground  stem ) • ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน มักมีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นรากเสมอ  ทั้งนี้เพราะที่ลำต้นเหล่านี้มีราก -เล็กๆงอกออกมา จึงคล้ายกับว่าลำต้นเป็นรากแก้วมีรากแขนงแตกออกมา มีสิ่งที่สังเกตและพิจารณาว่า  ลำต้นใต้ดินไม่ใช่ราก โดยสังเกตจากข้อและปล้อง ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจน บางที่ก็มีตาอยู่ตามข้อด้วย  ลำต้นใต้ดินส่วนใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร  มีลักษณะ รูปร่างต่างจากลำต้นเหนือดิน  

  29. ข่า

  30. ขิง

  31. ขมิ้น

  32. เผือก

  33. แห้ว

  34. มันฝรั่ง

  35. จัดทำโดย ม.นพดล ปัญญาดี

More Related