1 / 68

หน่วยที่ 11 ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

หน่วยที่ 11 ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ.

paul2
Download Presentation

หน่วยที่ 11 ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 11 ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ • กฎกระทรวง เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของที่อับอากาศ ไว้ว่า เป็นที่ ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่พียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

  2. อันตรายในที่อับอากาศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม • อันตรายจากระดับออกซิเจนไม่เพียงพอ ในบรรยากาศปกติมีค่าประมาณ 21% โดยปริมาตร น้อยกว่า 19.5% หรือ มากกว่า 23.5% จะเป็นอันตราย • อันตรายจากอากาศที่ลุกติดไฟได้ มีก๊าซหรือสารไวไฟ ออกซิเจนในอากาศปริมาณมากเกิน 22% เมื่อเกิดประกายไฟ อาจทำให้ลุกติดไฟได้ • อันตรายจากอากาศพิษ เช่น การเก็บของวัสดุ ในสถานที่อับอากาศ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ของบ่อกำจัดของเสีย งานเชื่อม ตัด บัดกรี จะก่อให้เกิดสารพิษในบรรยากาศ • อันตรายทางกายภาพ เช่น จากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า สภาพพื้นที่ ลื่น เปียก น้ำท่วมขัง สภาพแวดล้อม ร้อนหรือเย็นเกินไป

  3. การปฏิบัติงานในที่อับอากาศนั้นต้องมีการปฏิบัติงานเป็นทีมการปฏิบัติงานในที่อับอากาศนั้นต้องมีการปฏิบัติงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วย • ผู้อนุญาต • ผู้ควบคุมงาน • ผู้ช่วยเหลือ • และผู้ปฏิบัติตาม

  4. หนังสืออนุญาตทำงานในที่อับอากาศหนังสืออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ • หนังสืออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ ต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ที่อับอากาศที่อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน(๒) วัน เวลา ในการทำงาน(๓) งานที่ให้ลูกจ้างเข้าไปทำ(๔) ชื่อลูกจ้างที่อนุญาตให้เข้าไปทำงาน(๕) ชื่อผู้ควบคุมงานตามข้อ ๗(๖) ชื่อผู้ช่วยเหลือตามข้อ ๘

  5. (๗) มาตรการความปลอดภัยที่เตรียมไว้ก่อนการให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน(๘) ผลการตรวจสภาพอากาศและสภาวะที่อาจเกิดอันตราย(๙) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต(๑๐) อันตรายที่ลูกจ้างอาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย(๑๑) ชื่อและลายมือชื่อผู้ขออนุญาต และชื่อและลายมือชื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต

  6. การประเมินสภาพการทำงานการประเมินสภาพการทำงาน คือ วิธีการที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบว่าในการทำงานนั้นๆ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถประเมินได้จากลักษณะของการทำงานในที่อับอากาศนั้นๆ และจากลักษณะของพื้นที่ภายในที่อับอากาศ ขั้นตอนในการประเมินสภาพการทำงานจากลักษณะของการทำงานในที่อับอากาศ • กำหนดงานที่จะทำการประเมิน • แยกลำกับการปฏิบัติงาน • ชี้ความเป็นอันตราย • อธิบายลักษณะและสาเหตุของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น • กำหนดมาตรการในการควบคุมและป้องกันการเกิดอันตราย

  7. วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศอย่างถูกต้องและปลอดภัยวิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศอย่างถูกต้องและปลอดภัย จุดมุ่งหมายของการทำงานในที่อับอากาศ คือ • การทำงานในกรณีที่มีเหตุจำเป็น • การทำงานในกรณีมีการก่อสร้างระหว่างทำงาน • การทำงานในกรณีเข้าช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานอยู่

  8. วิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศวิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ • ติดป้าย ที่อับอากาศห้ามเข้า บริเวณที่อับอากาศที่จะเข้าปฏิบัติงาน พร้อมทั้งปิดกั้นพื้นที่ • ประเมินสภาพอากาศที่พื้นที่ปฏิบัติ ได้แก่ ตรวจสอบปริมาณออกซิเจน ก๊าซไวไฟ ตรวจเปอร์เซ็นการระเบิด ตรวจก๊าซพิษ ไอระเหยที่เป็นพิษ • ประเมินสภาพปฏิบัติงาน โดยประเมินจากลักษณะการทำงาน และลักษณะพื้นที่ภายในที่อับอากาศ • ทำแผนการปฏิบัติงานและแผนฉุกเฉินสำหรับการเกิดเหตุอันตราย โดยแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบ และปฏิบัติตาม แผนที่กำหนดไว้ • จัดทำระบบใบอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ • ตัดแยกแหล่งพลังงานที่เกี่ยวข้อง • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน • ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน • นำสำเนาเอกสารใบอนุญาตทำงานติดบริเวณทางเข้า-ออก

  9. การตรวจสอบเพื่อประเมินอันตรายที่อาจแอบแฝงอยู่การตรวจสอบเพื่อประเมินอันตรายที่อาจแอบแฝงอยู่ • การตรวจสอบปริมาณออกซิเจน • การตรวจสอบเปอร์เซนต์การระเบิด หรือการไวไฟของก๊าซ/ไอระเหยไวไฟ • การตรวจสอบก๊าซ/ ไอระเหยที่เป็นพิษ

  10. เหตุการณ์ฉุกเฉินในที่อับอากาศเหตุการณ์ฉุกเฉินในที่อับอากาศ • จัดระดับความรุนแรงได้เป็น 5 ระดับ 1 สถานการณ์ที่ต้องการอพยพผู้ปฏิบัติงานออกจากบริเวณพื้นที่อับอากาศ 2. สถานการณ์ที่เกิดการบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงาน 3. สถานการณ์ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้น 4. สถานการณ์ที่ต้องทำการช่วยชีวิตจากภายนอก 5. สถานการณ์ที่ต้องช่วยชีวิตจากภายใน

  11. หน่วยที่ 12 การควบคุมป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรม • นิยามที่สำคัญเกี่ยวกับไฟ • จุดวาบไฟ (Flash Point) หมายถึง จุดหรืออุณหภูมิต่ำสุดที่ของเหลวจะสามารถระเหยเป็นไอและมีปริมาณมากพอที่จะเกิดการติดไฟในบรรยากาศที่พอดีชั่วขณะหนึ่ง เมื่อมีเปลวไฟไหลผ่านในภาวะมาตรฐาน • จุดติดไฟ (Fire Point) หมายถึง จุดหรืออุณหภูมิต่ำสุดที่ไอระเหยของของเหลวผสมกับอากาศจะสามารถเกิดการลุกไหม้หลังจากมีการติดไฟ (Ignite) ปกติอุณหภูมินี้จะสูงกว่าจุดวาบไฟเล็กน้อย • ช่วงการติดไฟ หรือช่วงการระเบิด(Flammable or Explosive Range) หมายถึง ช่วงปริมาณที่ไอของของเหลวติดไฟมีปริมาณมากพอในบรรยากาศที่จะเกิดการลุกไหม้หรือระเบิดขึ้นได้เมื่อถึงอุณหภูมิติดไฟ

  12. องค์ประกอบหลักของการติดไฟ (Fire Triangle) • ความร้อน (Heat) • เชื้อเพลิงหรือสารติดไฟ (Fuel) • อากาศหรือออกซิเจน (Oxygen) เมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ มีปริมาณมากเกินพอ (Excess) จะเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่อง(Chain Reaction) จนเกิดการลุกลามของไฟได้

  13. ชนิดของไฟ พิจารณาพื้นฐานของการติดไฟ แบ่งออกได้ 4 ชนิดคือ • ไฟชนิด เอ (Class A) เชื่อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ เศษขยะต่างๆ • ไฟชนิด บี (Class B) เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง • ไฟชนิด ซี (Class C) สาเหตุจากไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นหลัก • ไฟชนิด ดี (Class D) โลหะบางอย่าง ที่ตัวมันเองติดไฟ ได้อย่างดี เช่น แมกนีเซียม

  14. การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรมการออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรม • การออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Preventive Design) • การออกแบบเพื่อปกป้องโรงงานไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Protective Design)

  15. การออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Preventive Design) แนวทางในการควบคุมป้องกัน • ศึกษากลไกการเกิดอัคคีภัย การระเบิด เพื่อตัดวงจรไม่ให้เกิด • ศึกษาอันตรายของสารเคมีที่เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน • ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดระหว่างการเกิดเพลิงไหม้ ให้สามารถดับไฟได้อย่างรวดเร็ว • เลือกเครื่องมือ อุปกรณ์การดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของโรงงาน เพียงพอ • ควบคุมป้องกันแหล่งกำเนินของอัคคีภัย เช่น ต่อสายดิน ถังปฏิกิริยาที่เกิดประจุ

  16. การออกแบบเพื่อปกป้องโรงงานไม่ให้เกิดอัคคีภัย (Protective Design) หมายถึงการวางแนวคิดในการออกแบบ เตรียมการ และเตรียมมาตรการต่างๆ ไม่ให้เกิดอัคคีภัย หรือให้มีโอกาสเกิดได้น้อยที่สุด เช่น • การจัดวางผังโรงงานให้เหมาะสม ผังเครื่องจักร • การออกแบบอาคารโรงงานและเลือกวัสดุที่นำมาใช้ • ออกแบบให้มีทางออก ทางหนีไฟ ประตูฉุกเฉิน เพียงพอสามารถระบายคนได้ทันกับเหตุการณ์ • การออกแบบระบบน้ำดับเพลิงให้เหมาะสม กับขนาดและชนิดของโรงงาน • การจัดเตรียมระบบพรมน้ำดับเพลิง (Spray System) หรือรับฉีดน้ำอัตโนมัติ • การจัดเตรียมระบบฉีดโฟม หรือก๊าซดับไฟ • การติดตั้งระบบเตือนภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) หรือระบบตรวจสอบไฟชนิดต่างๆ • การเตรียมติดตั้งระบบดับเพลิงขนาดเล็ก เพื่อดับไฟเริ่มเกิดก่อนที่จะลุกลามเป็นไฟขนาดใหญ่ • การจัดเตรียมให้มีระบบการตรวจสอบที่ดี • การจัดเตรียมพนักงานให้เหมาะสม เช่น การฝึกอบรมดับเพลิง รองรับแผนฉุกเฉิน

  17. อุปกรณ์ดับเพลิงโดยทั่วไปจะใช้หลักการดับไฟที่แตกต่างกันอุปกรณ์ดับเพลิงโดยทั่วไปจะใช้หลักการดับไฟที่แตกต่างกัน • ลดความร้อนของเปลวไฟทำให้ไฟดับลง • ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ติดไฟ เช่น เจือจางปริมาณความเข้มข้นของไอเชื้อเพลิง ลดความร้อนที่เกิดขึ้น หรือปิดปกคลุมผิวเชื้อเพลิงไม้ให้รวมกับอากาศได้ • ลดปริมาณอากาศหรือออกซิเจนลง ทำให้ไฟดับเมื่อไม่มีอากาศ • รบกวนปฏิกิริยาสันดาป หรือปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นระหว่างการติดไฟ

  18. การจัดเตรียมระบบดับเพลิงตามกฎหมายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง พ.ศ. 2534 • จัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดอุปกรณ์ดับเพลิง การเก็บรักษาวัตถุไวไฟและวัตถุระบิด รวมถึงการก่อสร้างอาคารที่มีระบบป้องกันอัคคีภัย • จัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย เกี่ยวกับการตรวจ อบรม รณรงค์ การดับเพลิง อพยพ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟู • มาตรการทางด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ • เตรียมน้ำสำรองไว้ดับเพลิง • จัดให้มีเครื่องดับเพลิงมือถือตามประเภทของเพลิง • การเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดเหลว

  19. อันตรายจากฝุ่นระเบิด • ฝุ่นระเบิดในงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปเกิดเนื่องจากในบรรยากาศมีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร ที่มีความเข้มในระดับที่ระเบิดได้ เป็นเชื้อเพลิง มีระดับความร้อนเหมาะสมและมีออกซิเจนเพียงพอ

  20. ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญในการระเบิดของฝุ่นขนาดเล็ก มีดังนี้ • ชนิดของฝุ่นละออง • ขนาดของฝุ่นละออง • แหล่งกำเนิดประกายไฟ • อากาศหรือออกซิเจน • ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเกิดระเบิด แนวทางการควบคุมป้องกันฝุ่นระเบิด • เปลี่ยนมาใช้สารที่ไม่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก • ควบคุมกระบวนการผลิตที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดของฝุ่น • ลดความเข้มข้นของฝุ่นในบรรยากาศ • ลดแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดความร้อนและแหล่งกำเนิดประกายไฟ

  21. หน่วยที่ 13 การวางแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน เหตุฉุกเฉิน หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิตและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรืออาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกสถานประกอบการ โดย ที่สถานการณ์นั้นเกินกำลังความสามารถของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุม สถานการณ์ได้ในทันทีทันใด

  22. ประเภทของเหตุฉุกเฉิน • การเกิดเหตุเพลิงไหม้ • การระเบิด • สารเคมีรั่วไหล

  23. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและ ระงับเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ • พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2536 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 เรื่องมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน

  24. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุฉุกเฉินหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระงับเหตุฉุกเฉิน • นิคมอุตสาหกรรม • กรมควบคุมมลพิษ แนวคิดในการวางแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 1 ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 2 ภาวะฉุกเฉินระดับที่ 3

  25. ประเภทของแผนป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน แบ่งเป็น 3 ประเภท • แผนป้องกันเหตุฉุกเฉิน (ระยะก่อนเกิดเหตุ) • แผนระงับ ควบคุม ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (ระยะเกิดเหตุ) • แผนฟื้นฟู (ระยะหลังเกิดเหตุ)

  26. แนวทางการดำเนินงานในการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินแนวทางการดำเนินงานในการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน • จัดให้มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นแก่พนักงาน อย่างน้อย 40% ตามกฎหมาย • จัดให้มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นสูงแก่พนักงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษให้ทำหน้าที่พนักงานดับเพลิงให้ได้จำนวนตามความเหมาะสมของความเสี่ยง • จัดให้พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับแผนการป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง • จัดให้มีการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและฝึกการอพยพออกจากอาคารไปตามทางหนีไฟอย่างปลอดภัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  27. มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม้มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินกรณีไฟไหม้ • 1 เมื่อพบว่ามีเพลิงไหม้ให้กดสัญญาณเตือนภัย เพื่อแจ้งเหตุทันที • 2 ให้หยุดการทำงานทันที หากเป็นเชื้อเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ต้องโทรศัพท์แจ้งหน่วยดับเพลิง • 3. ให้ดำเนินการดับเพลิงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ • 4. ถ้ามีไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าลุกไหม้ ห้ามใช้น้ำฉีด • 5. แยกเชื้อเพลิงออกจากแหล่งที่เกิดเพลิงไหม้ออกไปให้ไกล หรือฉีดน้ำคลุมกันไฟ • 6. ถ้าเป็น ภาชนะบรรจุก๊าซ ท่อบรรจุก๊าซ ให้ใช้น้ำฉีดคลุมไว้เพื่อป้องกันการระเบิด

  28. มาตรการระงับเหตุฉุกเฉินในกรณีสารเคมีรั่วไหลมาตรการระงับเหตุฉุกเฉินในกรณีสารเคมีรั่วไหล • ต้องประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าไประงับเหตุ ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ชุดหน้ากากป้องกันสารเคมี • เข้าไปที่เกิดเหตุทางด้านเหนือลม ดูให้แน่ชัดว่าเป็นสารเคมีประเภทอะไร ตัวเลข 4 ตัว บนแผ่นป้ายสีส้ม • มองหาตัวเลขสามตัว ที่ บอกหรือแนะนำ ตัวเลขดัชนี ประเภทเคมีภัณฑ์ ชื่อสารเคมี ชื่อทางการค้า วิธีปิดวาล์ว ระยะห่างที่ปลอดภัย • พิจารณาการช่วยเหลือคนที่ประสบภัยถ้าทำได้ • พื้นที่บริเวณที่เกิดเหตุต้องกันไม่ให้คนเข้าไป เพื่อป้องกันการได้รับสารพิษ

  29. มาตรการรองรับภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉินมาตรการรองรับภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน • 1. การชำระล้างเสื้อผ้าและผิวหนังผู้ปฏิบัติงานระงับเหตุฉุกเฉิน • 2. การกำจัดขยะอันตราย • 3. การล้างเครื่องมืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อน • 4. การช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัย • 5. การให้ข่าวต่อสื่อมวลชน

  30. หน่วยที่ 14 ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุ • การเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุ (Material Handling and Storage) หมายถึงศาสตร์และศิลป์ในการจัดเตรียมสถานที่ การจัดวางตำแหน่งของวัสดุรวมถึงวิธีทำให้วัสดุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไป ยังอีกที่หนึ่งในตำแหน่ง เวลา และปริมาณที่ต้องการ เคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุมีอยู่ 4 องค์ประกอบ • 1. การเคลื่อนที่ (Motion) 2.เวลา (Time) 3.ปริมาณ (Quantity) • 4.เนื้อที่ (Space)

  31. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ • สาเหตุที่เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน เช่น ไม่มีความรู้ความเข้าใจ • สาเหตุที่เกิดจากเครื่องจักร อุปกรณ์ เช่น ชำรุด • เกิดจากภาชนะบรรจุที่ต้องการเคลื่อนย้าย เช่น มีน้ำหนักมาก แหลมคม หรือ แตกหักง่าย • เกิดจากบริเวณที่วัสดุเคลื่อนย้ายผ่าน เช่น พื้นลื่น มีสิ่งกีดขวาง หรือทางลาด

  32. หลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัยหลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัย • ผู้ปฏิบัติงานต้องใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสม • การใช้แรงยกต้องยกด้วยท่าที่ถูกวิธี • ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการยกให้เหมาะสม ประเมินอันตราย และปฏิบัติตามกฎข้อปฏิบัติ • ไม่เคลื่อนย้ายวัสดุเกินความสามารถของอุปกรณ์ • เคลื่อนย้ายในช่องทางที่กำหนดไว้ • ช่องทางเคลื่อนย้ายวัสดุต้องมีความปลอดภัย

  33. การเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมืออย่างปลอดภัยการเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยมืออย่างปลอดภัย • มีข้อพิจารณา 3 ประการคือ ผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะหรือสภาพของวัสดุ และบริเวณเส้นทางที่ต้องทำการเคลื่อนย้าย พรบ . พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก ไม่เกิน • 20 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างที่เป็นเด็กหญิง อายุ 15ปี แต่ยังไม่ถึง 18 ปี • 25 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชาย อายุ 15 แต่ยังไม่ถึง 18 ปี • 25 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็น หญิง • 55 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นชาย

  34. ข้อปฎิบัติในการใช้รถเข็นเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยความปลอดภัยข้อปฎิบัติในการใช้รถเข็นเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยความปลอดภัย • เลือกรูปแบบ ของรถเข็นให้เหมาะสมกับวัสดุที่จะทำการเคลื่อนย้าย • ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมและสวนใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลที่เหมาะสม • ก่อนการใช้งานต้องตรวจสภาพรถเข็นว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ • การใช้งานรถเข็นไม่ควรนำไปใช้งานผิดวัตถุประสงค์ • การยกวัสดุขึ้นรถเข็น ผู้ปฏิบัติต้องระมัดระวังวัสดุตกทับเท้าและระวังอย่าบรรทุกวัสดุหนักเกินรถเข็นและแรงของผู้ปฏิบัติจะรับได้ • การจัดวางวัสดุบนรถเข็นต้องจัดวางให้สมดุล มั่นคงและไม่มากเกินไป วัสดุต้องไม่บดบังสายตาและการมองเห็นเส้นทางของผู้ปฏิบัติงาน

  35. คำนึงว่ารถเข็นรับน้ำหนักวัสดุ ผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ออกแรงในการเข็น • การเคลื่อนที่ให้ใช้วิธีดันหรือผลัก ไปด้านหน้าอยู่เสมอ ยกเว้นเข็นขึ้นทางชันใช้วิธีดึงรถเข็น • ควรใช้รถเข็นด้วยความเร็วที่ปลอดภัย • การเข็นรถเข็นผ่านพื้นที่ที่เป็นหลุม ขรุขระ หรือเปียกลื่น ทางลาด ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ • เข็นรถเข็น ผ่านที่เป็นทางแคบ ประตู หรือสิ่งกีดขวางต้องระวังมือที่จับ ถูกหนีบ • เข็นรถถึงทางแยกหรือบริเวณมุมต้องหยุดรถดูเส้นทางก่อน • กรณีจอดรถเข็น (มากกว่า 2 ล้อ) ควร ล็อกล้อ • เมื่อเลิกงานควรจอดรถเข็นไว้บริเวณที่จัดเตรียมไว้อย่างเป็นระเบียบ

  36. ความปลอดภัยในการใช้บันไดพาดความปลอดภัยในการใช้บันไดพาด • บันไดบาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ บันไดพาดแบบรางเดียว และบันไดพาดแบบพับได้ ข้อแนะนำในการพิจารณาความเหมาะสมของการใช้บันไดพาดเพื่อปฏิบัติงานต่างๆ • การใช้งานบันไดพาด ทำงานในจุดใดจุดหนึ่งไม่ควรเกิน 30 นาที • งานที่ทำควรเป็นงานเบา โดยวัสดุหรือเครื่องมือต่างๆไ ที่ต้องถือไว้ไม่ควรเกิน 10 กิโลกรัม • ลักษณะของงานจะต้องมีมือข้างหนึ่งว่างสามารถใช้จับยึดกับบันไดได้ โดยหลักการทั่วไปการใช้บันไดพาดต้องพยายามรักษาจัดสัมผัสกับบันไดพาดให้ไว้ได้ 3 จุด (Three Points of Contact) คือเท้าเหยียบบันได 2 จุด มือจับบันได 1 จุดเสมอ • ระยะพาดที่ปลอดภัย 1 ส่วน 4 เช่นความสูง 4 เมตร ความห่างของบันได คือ 1 เมตร

  37. ความปลอดภัยในการใช้เชือกความปลอดภัยในการใช้เชือก • แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เชือกที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ และเชือกที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ • การใช้งานและบำรุงรักษาเชือกในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัย • ก่อนใช้งาน ต้องมีการตรวจสอบเชือกเพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของเชือก • ห้ามใช้เชือกในการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าพิกัดน้ำหนักที่กำหนดไว้ของเชือก • ไม่ควรลากเชือกบนพื้นโรงงาน หรือบริเวณที่ผิวขรุขระหรือสกปรก เพราะจะทำให้ผิวเชือกถลอก หรือมีสิ่งสกปรก เช่นเศษหิน เศษทราบ ทำให้เสื่อมสภาพเร็ว • ใช้งานกับรอกหรือลูกล้อ ควรพิจารณาให้มีความเหมาะสม เพื่อที่เชือกจะไม่ถูกบีบหรือหักมุมมากเกินไปขณะใช้งาน • ควรใช้เชือกในสภาพที่แห้ง อุณหภูมิ ระหว่าง 20 องศา F ถึง 180องศาF

  38. ไม่ควรใช้เชือกในบริเวณที่เป็นกรดด่าง หรือน้ำยาเคมี • ไม่ควรใช้เชือกเปียกใกล้สายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า อาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้ • หลังจากเลิกใช้ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ผึ่งแห้ง และม้วนเป็น ขดวง กว้างๆ เพื่อป้องกันการเสียรูป • เก็บวางแขวนในที่สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีกรด ด่าง( สารเคมี )หรือมีความชื้น หรือถูกแสงแดด ระมัดระวังสัตว์กัดแทะ

  39. ความปลอดภัยในการใช้ลวดสลิงความปลอดภัยในการใช้ลวดสลิง • ลวดสลิง (Wire Rope Slings) ทำจากเส้นลวดเหล็กกล้าขนาดเล็กๆ มาถักหรือมัดเป็นเกลียว ปัจจุบันใช้กันมามีความแข็งแรงมากกว่าเชือก

  40. การใช้งานและบำรุงรักษาลวดสลิงที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อ ความปลอดภัย • ก่อนใช้งานลวดสลิงต้องมีการตรวจสอบเพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของลวดสลิง • ห้ามใช้ลวดสลิงเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมากกว่าค่าพิกัดน้ำหนักที่กำหนดไว้ของลวดสลิง • ไม่ควรลาก สลิงผ่านพื้นโรงงาน บริเวณสกปรกหรือบริเวณที่มีผิวขรุขระจะทำให้ชำรุดได้ง่าย • หลีกเลี่ยงการใช้ลวดสลิงยกวัสดุในขณะที่วัสดุนั้นขัดตัว หรือทำให้ลวดสลิงนั้นขบกันหรือเสียดสีกัน หรืออาจก่อให้เกิดการกระแทกขณะยก • ลวดสลิงที่แกนกลางทำด้วยเชือก ไม่ควรใช้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาฟาเรนไฮต์ แกนกลางทำด้วยลวดไม่ควรใช้เกิน 400 องศาฟาเรนไฮต์

  41. การใช้งานและบำรุงรักษาลวดสลิงที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเพื่อ ความปลอดภัย • เลือกใช้ลวดสลิงที่อาบสังกะสี หรือทำด้วยเหล็กไม่เป็นสนิม เมื่อบริเวณการทำงานมีการกัดกร่อน • ไม่ควรวางวัสดุที่จะยกทับลวดสลิง เพราะจะทำให้ลวดสลิงชำรุดได้ง่าย • เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดลวดสลิงด้วยน้ำมันใส และใช้จารบีหล่อลื่นเพื่อป้องกันการเกิดสนิม • การจัดเก็บไม่ควรขดม้วนให้มีขนาดเล็กเกินไป เพราะลวดสลิงจะบิดงอทำให้เกลียวลวดหักงอได้ • สถานที่เก็บลวดสลิงควรแห้ง สะอาด และไม่มีสารเคมี

  42. ความปลอดภัยในการใช้โซ่ สลิงแผ่นแบบตาข่ายโลหะ และสลิงแผ่นแบบใยสังเคระห์ • โซ่ (Chain Sling) เป็นอุปกรณ์ในการโยงแขวนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน สมารถปรับให้เข้ากับรูปร่างของวัสดุที่จะทำการเคลื่อนย้ายได้ง่าย ทั้งการใช้งานในอุณหภูมิสูง ทำ จากเหล็กหล่อ และเหล็กผสม • สลิงแบบแผ่นใยสังเคราะห์ (Synthetic Web Slings) เป็นสลิงที่มีลักษณะเป็นแผ่น ทำจากใยสังเคราะห์ชนิดต่างๆ เช่น ไนลอน โพลีเอสเตอร์ และแดครอน นิยมใช้แบบไนลอน และโพลีเอสเตอร์

  43. ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุด้วยเครื่องจักรความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุด้วยเครื่องจักร • ปั้นจั่น หมายถึง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ยกสิ่งของหรือวัสดุขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายวัสดุแบบใช้พื้นที่จำกัด เคลื่อนย้ายวัสดุไปใด้ในแนวทางเดินของปั้นจั่นเท่านั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ปั้นจั่นแบบอยู่กับที่ และปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่ • เครื่องชักรอก (Hoists) เป็นอุปกรณ์ยกวัสดุขึ้นลงในแนวดิ่ง ลักษณะทั่วไปประกอบด้วยรอกและดรัม และวัสดุที่ใช้ในการ ยกเช่น โซ่ หรือลวดสลิง แบ่งได้เป็นแบบโซ่ และแบบลวดสลิง

More Related