1 / 113

การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ Performance Management System : PMS

การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ Performance Management System : PMS. วัตถุประสงค์. 1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน 2. เพื่อให้สามารถนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน. ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน. กระบวนการบริหารแบบ บูรณา การที่เชื่อมโยง

Download Presentation

การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ Performance Management System : PMS

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ Performance Management System : PMS

  2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน 2. เพื่อให้สามารถนำความรู้กลับไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

  3. ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน กระบวนการบริหารแบบบูรณาการที่เชื่อมโยง การวางแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์การ การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน การติดตามผลการปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นความสอดคล้องของผลการปฏิบัติงานของบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายรวมขององค์กร

  4. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance management System : PMS)การประเมินผลทรัพยากรบุคคล Performance Competency ผลการปฏิบัติงาน สมรรถนะ

  5. การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน Key Performance Indicator : KPI

  6. แนวคิดในการประเมินผล การประเมินผลเป็นหนึ่งในหน้าที่ทางการจัดการ ที่เป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกคนและปัจจุบัน ได้เป็นระบบหนึ่งที่ใช้ในการบริหารองค์กร “ ไม่ว่าเครื่องมือวัดผลจะเปลี่ยนไปอย่างไรแต่ในอนาคต การประเมินผลยังคงเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ “

  7. การประเมินผลมีความสำคัญอย่างไรการประเมินผลมีความสำคัญอย่างไร • ทำให้องค์กรสามารถรู้ถึงสถานะของตนเองว่าอยู่ ณ จุดไหน หรือสถานการณ์ในขณะนั้นเป็นอย่างไร • การพัฒนาองค์กรหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายในองค์กร จะต้องเริ่มจากการประเมินผลก่อน โดยจะต้องรู้จุดเริ่มต้น หรือสถานะปัจจุบัน รวมทั้งรู้ว่าองค์กรมีการพัฒนาหรือ เปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด • ตามธรรมชาติของคน ถ้ามีการวัดหรือการประเมินผล ผู้ที่รับผิดชอบจะมีความมุ่งมั่นที่จะทำกิจกรรมนั้นมากขึ้น

  8. เราควรจะประเมินผลในเรื่องใด ? ต้องวัดไปทุก ๆ เรื่องหรือเปล่า ?

  9. เราวัดเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญเท่านั้นเพราะเราวัดเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญเท่านั้นเพราะ ผู้บริหารย่อมไม่สามารถที่จะประเมินได้ทุกกิจกรรม จึงต้องเลือกประเมินเฉพาะกิจกรรม หรือสิ่งที่มี ความสำคัญสำหรับองค์กรเท่านั้น นั่นคือที่มาของ การมีคำว่า Key อยู่ก่อน Performance Indicator

  10. องค์กรจะรู้ได้อย่างไรว่า อะไรคือสิ่งสำคัญที่จะต้องประเมิน ? สิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวใน การดำเนินงานขององค์กร ซึ่งก็คือสิ่งที่ สัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ขององค์กร

  11. ระบบในการประเมินผลที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะ ระบบในการประเมินผลที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะ ต้องมีการประเมินที่มากหรือมีตัวชี้วัดจำนวนมาก • ในบางครั้งการรู้ในสิ่งที่ไม่ต้องประเมินมีความ สำคัญมากกว่าที่จะรู้ว่าจะต้องประเมินอะไร

  12. การประเมินผลที่ดีมีประโยชน์อย่างไร ? • การที่จะตัดสินใจว่าจะวัดหรือประเมินอะไร เป็นการทำให้ • ผู้บริหารและองค์กรมีความชัดเจนในเรื่องกลยุทธ์และ • แนวทางการทำงาน • ช่วยทำให้บุคลากรทุกระดับมีความเข้าใจและมีความเห็นที่ • สอดคล้องกันไปกับหน่วยงาน • จะช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เนื่องจากตัวชี้วัด • และเป้าหมายในแต่ละระดับจะมีความสอดคล้อง เกื้อหนุนกัน • จะทำให้สามารถคาดการณ์หรือมองเห็นโอกาสและปัญหา • ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

  13. ขั้นตอนในการประเมินผลการปฏิบัติงานขั้นตอนในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ขั้นที่ 1 ทบทวนภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงาน ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์งานและกิจกรรมหลัก ขั้นที่ 3 กระจายงานตามตำแหน่ง /บุคลากร ขั้นที่ 4 กำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ ขั้นที่ 5 กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน ขั้นที่ 6 กำหนดน้ำหนักคะแนน และการประเมินผล สำเร็จของงาน ขั้นที่ 7 บันทึกข้อมูลในแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

  14. ทบทวนภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานทบทวนภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงาน การวิเคราะห์เป้าหมาย ภารกิจ และหน้าที่ของ หน่วยงานให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้างที่ต้องทำโดย ใช้ยุทธศาสตร์เป็นตัวนำ

  15. การวิเคราะห์งานและกิจกรรมหลักการวิเคราะห์งานและกิจกรรมหลัก เป็นขั้นตอนที่จะต้องวิเคราะห์รายละเอียดของงานหลักโดยจำแนก มาเป็นกิจกรรม

  16. การวิเคราะห์และจำแนกงาน • จำแนกเป็น 3 ประเภท • งานกลยุทธ์ • งานประจำหรือสนับสนุน • งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

  17. การกำหนดงานหลัก ( Key Jobs) หมายถึง งานที่จะต้องปฏิบัติให้ สอดคล้องกับบทบาท / หน้าที่ ของหน่วยงาน

  18. ผลที่คาดหวังKey Expected Results หมายถึง การวิเคราะห์ว่าองค์การ ต้องการอะไรจากหน้าที่งานหลัก หรือจากการปฏิบัติงานนั้น

  19. การกำหนดกิจกรรมหลัก ( Key Activities ) หมายถึง การกำหนดว่าในแต่ละงาน หลักนั้นจะต้องทำกิจกรรมหลักอะไร บ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าขอบเขต หน้าที่ของแต่ละหน้าที่งานหลักว่ามี มากน้อยเพียงใด

  20. การกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ KPIs หมายถึง การกำหนดกลุ่มหรือชุดของตัวชี้วัด ที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานและต้อง เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของงาน ในปัจจุบันและอนาคต

  21. คุณลักษณะตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดี  ง่ายต่อความเข้าใจ  สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน  จำนวนต้องไม่มากเกินไป  มีความสมดุลระหว่างตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ

  22. การกระจายงานตามตำแหน่งและบุคลากรการกระจายงานตามตำแหน่งและบุคลากร การนำงานหลัก Key Jobs และกิจกรรมหลักKey Activities กระจายไปตามบุคลากร ซึ่งลักษณะการกระจายอาจมีหลาย ลักษณะ อาทิ ลักษณะที่ 1 : ปฏิบัติงานเพียงคนเดียว ลักษณะที่ 2 : ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม

  23. การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน การกำหนดเป้าหมายหรือผลสำเร็จ ของงานในแต่ละงานหลักหรืองาน กิจกรรมหลักให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์และภารกิจที่ได้รับ มอบหมาย

  24. การบริหารผลการปฏิบัติราชการการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.

  25. เหตุผลและความจำเป็น พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติความในมาตรา ๗๖ ว่าให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด

  26. ก.พ. จึงได้พัฒนาระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการ และได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามมาตรา ๗๖ เพื่อใช้แทนหลักเกณฑ์และวิธีการเดิม โดยจะมีผลใช้บังคับสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการตั้งแต่รอบการประเมินวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป

  27. สาระสำคัญ คือ การให้ส่วนราชการมีความยืดหยุ่นในการเลือกวิธีการประเมินให้สอดคล้องกับลักษณะงานของตน และการจำแนกความแตกต่างของระดับผลการประเมิน ซึ่งเดิมกำหนดไว้เพียง ๓ ระดับ (ดีเด่น ยอมรับได้ ต้องปรับปรุง) ซึ่งไม่เอื้อต่อการให้ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติราชการ (Performance Based Pay) เป็นอย่างน้อย ๕ ระดับ (ดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง)

  28. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 1. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ก.พ.วางอยู่บนแนวทางซึ่งผสมผสานระหว่าง ข้อกำหนดที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวทั่วทุกส่วนราชการ กับ ความยืดหยุ่นที่ส่วนราชการสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง • การประเมินจะต้องพิจารณาจากอย่างน้อย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ผลสัมฤทธิ์ของงาน และ (2) สมรรถนะ โดยให้น้ำหนักผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างน้อยร้อยละ 70 • การประเมินองค์ประกอบสมรรถนะ จะประกอบด้วยการประเมินสมรรถนะหลักที่สำนักงาน ก.พ. ประกาศ จำนวน 5 ตัว • การเลื่อนเงินเดือน ให้พิจารณาจากผลการประเมิน โดยผู้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนต้องมีคะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน • ฯลฯ

  29. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.

  30. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 2. แบบฟอร์มฯที่ใช้ จะบังคับเฉพาะ แบบฟอร์มสรุปผลการปฏิบัติราชการ จำนวน 3 แผ่น (ดังแสดงข้างล่าง) โดยแบบฟอร์มการประเมินผลสัมฤทธิ์ และ การประเมินสมรรถนะ เป็นเอกสารแนบที่ส่วนราชการปรับเปลี่ยนได้

  31. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)แบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่ ๑ : ข้อมูลของผู้รับการประเมิน รอบการประเมิน  ครั้งที่ ๑ ๑ ตุลาคม...................... ถึง ๓๑ มีนาคม..............................  ครั้งที่ ๒ ๑ เมษายน...................... ถึง ๓๐ กันยายน............................ ชื่อผู้รับการประเมิน (นาย/นาง/นางสาว).................................................................................................................................................................... ตำแหน่ง......................................................................... ประเภทตำแหน่ง...................................................................................... ระดับตำแหน่ง................................................................ สังกัด........................................................................................................ ชื่อผู้รับการประเมิน (นาย/นาง/นางสาว)..................................................................................................................................................................... ตำแหน่ง....................................................................................................................................................................................................................... คำชี้แจง แบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติงานนี้มีด้วยกัน 3 หน้า ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ : ข้อมูลของผู้รับการประเมิน เพื่อระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้รับการประเมิน ส่วนที่ ๒ : สรุปผลการประเมิน โดยใช้เพื่อกรอกค่าคะแนนการประเมินในองค์ประกอบด้านผลสัมฤทธิ์ของงาน องค์ประกอบด้านสมรรถนะ และน้ำหนักของทั้ง 2 องค์ประกอบ ในแบบสรุปส่วนที่ ๒ นี้ ยังใช้สำหรับคำนวณคะแนนผลการปฏิบัติงานรวมด้วย - สำหรับคะแนนองค์ประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์ของงาน ให้นำมาจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยให้แนบท้ายแบบสรุปฉบับนี้ - สำหรับคะแนนองค์ประกอบด้านสมรรถนะ ให้นำมาจากแบบประเมินสมรรถนะ โดยให้แนบท้ายแบบสรุปฉบับนี้ ส่วนที่ ๓ : แผนพัฒนาผลการปฏิบัติงานรายบุคคล ผู้บังคับบัญชาและผู้รับการประเมินร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่ ๔ : ความเห็นของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปกลั่นกรองผลการประเมิน และแผนพัฒนาผลการปฏิบัติงาน และให้ความเห็น

  32. ส่วนที่ ๒ : การสรุปผลการประเมิน ส่วนที่ ๓ : แผนพัฒนาผลการปฏิบัติงานรายบุคคล (Individual Performance Improvement Plan : IPIP

  33. ส่วนที่ ๔ : ความเห็นของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป ลงชื่อ : .......................................................ตำแหน่ง :.................................................... วันที่ : ....................................................... ลงชื่อ : ......................................................ตำแหน่ง : .................................................. วันที่ : ....................................................... ลงชื่อ : ....................................................... ตำแหน่ง : .................................................. วันที่ : ........................................................ ลงชื่อ : ....................................................... ตำแหน่ง : .................................................. วันที่ : ........................................................

  34. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 2. (ต่อ) ตัวอย่างแบบฟอร์มการประเมินผลสัมฤทธิ์ และ การประเมินสมรรถนะ เป็นเอกสารแนบที่ส่วนราชการปรับเปลี่ยนได้ ตัวอย่างเอกสารแนบ

  35. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 2. (ต่อ) การประเมินจะกระทำในเอกสารแนบ และนำคะแนนมาสรุปใน “แบบฟอร์มสรุปผลการปฏิบัติราชการ”

  36. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 3. วิธีการประเมินมีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งผู้ประเมินสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และอาจใช้วิธีอื่นนอกเหนือจากนี้ได้ • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยตัวชี้วัดจากการถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method) • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยตัวชี้วัดจากการสอบถามความคาดหวังของผู้รับบริการ (Customer-Focused Method) • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยตัวชี้วัดจากการไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน (Work Flow Charting Method) • การประเมินสมรรถนะด้วยแนวทาง 360 องศา • การประเมินสมรรถนะด้วยวิธีการสังเกตจากพฤติกรรมการแสดงออกที่เห็นเด่นชัด (Critical Incident Technique) • เป็นต้น

  37. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 4. การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานอาจปรับเปลี่ยนได้ เมื่องานที่ได้รับมอบหมายเปลี่ยนแปลงไปจากต้นรอบการประเมิน ทั้งนี้ ผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมิน ควรพิจารณาคัดกรองตัวชี้วัด เพื่อให้ได้จำนวนตัวชี้วัดที่เหมาะสม การไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน (Work Flow Charting Method) การสอบถามความคาดหวังของผู้รับบริการ (Customer-Focused Method) การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method) คัดกรอง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของผู้รับการประเมิน ณ ต้นรอบการประเมิน เปลี่ยนแปลงได้ในช่วงระหว่างรอบการประเมิน ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ณ ปลายรอบการประเมิน

  38. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.

  39. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 5. รอบการประเมินกำหนดให้มีปีละ 2 ครั้ง • ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม - 30 มีนาคมของปีถัดไป) • ครั้งที่ 2 (1 เมษายน - 30 กันยายนของปีเดียวกัน) 6. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ ให้พิจารณาจากสมรรถนะหลัก 5 ตัวของสำนักงาน ก.พ. และสมรรถนะอื่น ๆ เพิ่มเติมตามที่ส่วนราชการกำหนด และสามารถกำหนดมาตรวัดในการประเมินได้ด้วยตนเอง • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ • บริการที่ดี • การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ • จริยธรรม • ความร่วมแรงร่วมใจ สมรรถนะหลัก 5 ตัวของสำนักงาน ก.พ.

  40. การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. 8.ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการร่วมกัน (ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย) ตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนระหว่างรอบการประเมินได้ หากงานที่ได้รับมอบหมายเปลี่ยนแปลงไป 9. ในระหว่างรอบการประเมิน ผู้บังคับบัญชาต้องติดตามผลการปฏิบัติราชการเป็นระยะ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในประเด็นต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหาที่พบในการทำงาน การปรับปรุงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น 10. ผู้บังคับบัญชา (ผู้ประเมิน) ต้องแจ้งผลการประเมินด้วยตนเองพร้อมทั้งร่วมกันวางแผนการปฏิบัติราชการในรอบการประเมินถัดไป

  41. วงจรการบริหารผลการปฏิบัติงานวงจรการบริหารผลการปฏิบัติงาน วางแผน (Plan) ระบบ การบริหาร ผลการปฏิบัติราชการ ติดตาม (Monitor) ให้รางวัล (Reward) ประเมิน (Appraise) พัฒนา (Develop)

  42. กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ: การวางแผนณ.ต้นรอบฯ • ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการร่วมกัน (ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย) ตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน • กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายโดยบันทึกตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกันลงในเอกสารแนบส่วนผลสัมฤทธิ์ของงาน • กำหนดน้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัด (เมื่อรวมกันแล้วต้องเท่ากับ 100%) • ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันพิจารณาพฤติกรรมการปฏิบัติราชการที่คาดหวัง • ระบุชื่อสมรรถนะ ระดับที่คาดหวัง และน้ำหนักของสมรรถนะที่จะใช้สำหรับการประเมินผล

  43. กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ: การติดตาม • ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา ควรทำหน้าที่ดังนี้ • ปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อการปรับปรุงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย • ปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่อาจกระทบต่อการปฏิบัติราชการของ ผู้รับการประเมิน • หากต้องปรับปรุงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ให้แก้ไขในเอกสารแนบส่วนผลสัมฤทธิ์ของงาน • ปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงทำงาน และพัฒนาความรู้/ทักษะที่ผู้รับการประเมินจำเป็นต้องใช้ในการทำงาน

  44. กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ: การพัฒนา • ผู้รับการประเมินพิจารณาพฤติกรรมของตนเองในระหว่างการทำงาน ว่าเป็นไปตามพฤติกรรมที่คาดหวังหรือไม่ พร้อมทั้งหากิจกรรมหรือวิธีการปรับปรุงตนเอง • ผู้บังคับบัญชาพิจารณาพฤติกรรมของผู้รับการประเมินในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ว่าเป็นไปตามสมรรถนะที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว มาประกอบการให้คำแนะนำ การสอนงาน (Coaching) และการกำหนดหลักสูตรหรือกิจกรรมที่จะใช้พัฒนาต่อไป • ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาปรึกษาหารือร่วมกันถึงแนวทางในการปรับปรุงวิธีการทำงาน และวิธีการพัฒนาความรู้/ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน • ผู้รับการประเมินเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพัฒนา

  45. กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ: การประเมิน • ผู้บังคับบัญชา ควรทำหน้าที่ดังนี้ • รวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติราชการของผู้ใต้บังคับบัญชา (ผู้รับการประเมิน) • เปรียบเทียบผลงานจริงกับเป้าหมายที่กำหนด  ประเมินในเอกสารแนบในส่วนผลสัมฤทธิ์ของงาน • ให้คะแนนสมรรถนะที่แสดงออกจริงเมื่อเทียบกับระดับที่คาดหวัง ประเมินในเอกสารแนบในส่วนของสมรรถนะ • นำคะแนนที่ได้จากเอกสารแนบทั้งสอง ไปสรุปไว้ในแบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อคำนวณคะแนนรวม • นำผลการประเมินไปปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดไป โดยในขั้นตอนนี้อาจมีการปรับแก้ผลการประเมินได้ ตามความเหมาะสม • แจ้งผลการประเมินให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ • ร่วมกันวางแผนสำหรับการประเมินในรอบถัดไป • ร่วมกันวางแผนพัฒนาผู้รับการประเมิน

  46. กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ: การให้รางวัล • นำผลการประเมินไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน • การเลื่อนเงินเดือนในระบบใหม่ จะเลื่อนเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์

  47. เกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะ ส่วนราชการสามารถเลือกวิธี และมาตรวัดในการประเมินสมรรถนะได้ โดย อ.ก.พ. กรม เป็นผู้ประกาศใช้ • วิธีการ : จะประเมินโดย • (1) วิธีผู้ประเมินคนเดียว เช่น ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา • (2) วิธีให้ผู้รับการประเมินทำการประเมินตนเองก่อน และสรุปผลการประเมินร่วมกับผู้ประเมิน • (3) วิธีผู้ประเมินหลายคน เช่น 360 องศา • มาตรวัด: จะใช้มาตรวัดแบบ • (1) มาตรวัดแบบ Rating Scale • (2) มาตรวัดแบบ Bar Scale • (3) มาตรวัดแบบ Hybrid Scale

  48. การประเมินสมรรถนะด้วย Bar Scale การประเมินสมรรถนะโดย Bar Scale จะใช้พฤติกรรมสมรรถนะในพจนานุกรม เป็น Scale ในการเทียบประเมิน Scale

  49. การประเมินสมรรถนะด้วย Bar Scale [ต่อ] การประเมินสมรรถนะโดย Bar Scale เมื่อคิดคะแนนการประเมิน จะเป็นดังนี้ • พิจารณาสมรรถนะของผู้ถูกประเมินว่าทำได้ตามที่ระบุในนิยามสมรรถนะอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ และ สม่ำเสมอ สูงสุด ณ. ระดับใด • - สมมุติว่า ได้สูงสุดที่สมรรถนะระดับ 3 • พิจารณาว่าสมรรถนะที่ประเมินได้ดังกล่าว เมื่อเทียบกับระดับสมรรถนะที่คาดหวัง สูงกว่า เท่ากับ หรือ ต่ำกว่า เพียงใด และให้คะแนนตามตารางข้างล่าง • - สมมุติว่า ระดับสมรรถนะที่คาดหวัง คือ ระดับ 4 • - สมรรถนะที่ประเมินได้คือระดับ 3 ต่ำกว่าระดับ 4 หนึ่งระดับ = 2 คะแนน

  50. การประเมินสมรรถนะด้วย Rating Scale ตัวอย่างการประเมินสมรรถนะโดยใช้ Rating Scale เป็นดังแสดง ซึ่งวิธีดังกล่าว จะดึงพฤติกรรมที่ในระดับที่มุ่งหวังเป็นฐานอ้างอิง เพื่อเทียบกับ Scale ที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์อ้างอิง

More Related