1 / 23

รายงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ สตอ รี่ ไลน์ (Storyline method ) จัดทำโดย

รายงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ สตอ รี่ ไลน์ (Storyline method ) จัดทำโดย 1. นางสาว กัญ ชรส อิ นาลา เลขที่ 1 2. นางสาว ปรางค์ทิพย์ สุริยนต์ เลขที่ 2 3. นางสาว ศรัญญา แสนคำ เลขที่ 4 4. นางสาว ปาริชาติ คำ พะทิก เลขที่ 23 5. นางสาว อมรรัตน์ ศรีภิรมย์ เลขที่ 26 เสนอ

nevan
Download Presentation

รายงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบ สตอ รี่ ไลน์ (Storyline method ) จัดทำโดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline method) จัดทำโดย 1.นางสาว กัญชรสอินาลาเลขที่ 1 2.นางสาว ปรางค์ทิพย์ สุริยนต์เลขที่ 2 3.นางสาว ศรัญญา แสนคำเลขที่ 4 4.นางสาว ปาริชาติ คำพะทิก เลขที่ 23 5.นางสาว อมรรัตน์ ศรีภิรมย์เลขที่ 26 เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด • วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา • คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

  2. การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method) การเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเทคนิคหนึ่งโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ว่าความรู้นั้นมีหลายขั้นตอนและซับซ้อน ผู้เรียนเกิดจากการเรียนรู้จากความรู้เดิมผสมผสานกับประสบการณ์ใหม่ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้น โดยผ่านการปฏิบัติด้วยตนเองอีกส่วนหนึ่ง

  3. ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสตอรี่ไลน์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จะจัดกิจกรรมแบบบูรณาการประสบการณ์ทักษะในการวิเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์การจินตนาการและการตัดสินใจตลอดจนการทำงานร่วมกันภายในแนวทางดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่องกันซึ่งใช้ศิลปะเป็นสื่อและผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง (Boll & Fifield. 1998) ซึ่ง วลัย พานิช (2542) สรุปว่า สตอรี่ไลน์เป็นวิธีสอนแบบบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรและกระบวนการเนื้อหาหลักสูตรโดยสามารถรวมวิชาสังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ สิ่งแวดล้อมและภาษารวมกันได้ภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน

  4. ทฤษฎีและแนวคิด สตอรี่ไลน์ เกิดจากสถานการณ์การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ในสหราชอาณาจักร เนื่องจากนักการศึกษาพบว่าดัชนีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในประเทศต่างๆ ของทวีปยุโรปอยู่ในเกณฑ์ตกต่ำอย่างน่าเป็นห่วง แต่ในขณะเดียวกันประเทศต่างๆ ในซีกโลกตะวันออกกลับมีการพัฒนาการในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น จนกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญยากที่จะเอาชนะได้ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลแห่งราชอาราจักรจึงได้กำหนดนโยบายปฏิรูปการศึกษาขึ้น เพื่อให้ระบบการศึกษาของชาติในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพโดยนำระบบการประกันคุณภาพมาใช้ในวงการศึกษาอย่างจริงจัง

  5. แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ Steve Bell ได้เสนอหลักการที่จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ไว้ดังนี้ 1. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ของตนเองและสิ่งสำคัญที่สุด ความรู้ประสบการณ์และทักษะเดิมของผู้เรียนในชั้นจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการออกแบบหัวเรื่องเพื่อสร้างความรู้ ประสบการณ์และทักษะใหม่ให้แก่ผู้เรียน

  6. 2. สร้างความตื่นตัวให้กับผู้เรียนตลอดเวลา โดยผู้สอนใช้วิธีการตั้งคำถามแล้วผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยเน้นการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจซึ่งจะช่วยการพัฒนาด้านสติปัญญา ทักษะและทัศนคติ 3. สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมหรือเป็นเจ้าของในการสร้างเรื่องนั้นๆ ทั้งในเรื่องของสถานที่ผู้คนที่อยู่อาศัยการดำเนินชีวิตตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผู้เรียนจะร่วมกันคิด และสร้างขึ้นมาจากการศึกษาค้นคว้ารวมทั้งจินตนาการด้วยกัน

  7. 5.เชื่อมการฝึกทักษะพื้นฐานเข้ากับการดำรงชีวิตจริง โดยผู้เรียนจะสามารถฝึกทักษะนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นลักษณะการเรียนการสอนเรื่องราวสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุด เช่น ตัวเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา จากนั้นจึงขยายเป็นวงกว้างออกไปสู่สภาพแวดล้อมในชุมชนของผู้เรียนและออกไปสู่ประเทศอื่นๆ เมื่ออยู่ในชั้นเรียนที่สูงขึ้นในลักษณะของการบูรณาการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตจริงส่งผลให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของการเรียนรู้

  8. 6.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่กว้างขวางกว่าที่มีไว้ในหลักสูตร เมื่อผู้เรียนได้สร้างจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยขึ้นมาแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามมาก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว ค่านิยมในด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น เรื่องราวเหล่านี้คือการเรียนรู้ผ่านการทดสอบแบบบทบาทสมมติ ผู้เรียนจะยอมรับบุคลิกลักษณะของตัวละครที่สร้างขึ้นจนกลายเป็นบุคลิกลักษณะของตนเอง

  9. 7.ส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยเรื่องราวต่างๆ ในกระดาษจะมีชีวิตจริงขึ้นมาได้ โดยการทำกิจกรรมและจินตนาการของผู้เรียนในห้องเรียน โดยมีครูทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการทำงานร่วมกัน 8.ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เป็นของจริงตามเนื้อหาที่กำหนดซึ่งผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นผู้ใช้และฝึกฝนจนสามารถใช้ได้อย่างดี

  10. 10. เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการให้โอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมหลายรูปแบบซึ่งคณะทำงานแบ่งกลุ่มเป็นงานเดียว จับคู่ กลุ่มย่อย หรือเรียนร่วมกันทั้งชั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงาน โดยกิจกรรมจะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะแบ่งกลุ่มผู้เรียนอย่างไร 11. ก่อให้เกิดการฝึกทักษะปฏิบัติที่ซ้ำๆ กันแต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตัวแปรสำคัญในการเรียนรู้อย่างหนึ่งของทฤษฎี retention คือการฝึกปฏิบัติแต่การวางแผนการสอนให้มีการฝึกปฏิบัติที่มีจำนวนเหมาะสมนั้นค่อนข้างทำได้ยากแต่ก็เปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะการปฏิบัติอีกด้วย

  11. 12.เน้นให้เห็นความสำคัญของการกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนารูปแบบความคิดรวบยอดด้วยตนเองก่อน เช่น มีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างกระเป๋าเครื่องมือแพทย์พร้อมเครื่องเวชภัณฑ์บรรจุในกระเป๋าซึ่งสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากความคิดรวบยอดของเขาที่คิดว่ามันน่าจะเป็นและหลังจากนี้เมื่อมีโอกาสได้เห็นกระเป๋าเครื่องมือแพทย์จริงๆ แล้วสามารถเปรียบเทียบกับกระเป๋าเครื่องมือแพทย์ที่เขาได้ทำขึ้นมา การเปรียบเทียบดังกล่าวก่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงพัฒนางานซึ่งเป็นลักษณะของการวิจัยเชิงคุณภาพนั่นเอง

  12. 13.เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ สตอรี่ไลน์เป็นวิธีการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งเนื้อหาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยสามารถหลอมรวมเนื้อหาวิชาต่างๆ เช่น สังคมศึกษา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาอังกฤษ ดนตรีนาฏศิลป์ ฯลฯ เข้ามาจัดการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวันที่จะต้องใช้กระบวนการคิด ทักษะต่างๆ ที่มีความหลากหลายมาช่วยในการแก้ปัญหา จึงเป็นการฝึกทักษะแก้ปัญหาของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

  13. 14.เน้นเรื่องการตั้งคำถามของครูผู้สอน การตั้งคำถามของครูผู้สอนเป็นหัวใจของการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์เพราะคำถามหลักจะเป็นสื่อนำไปสู่ปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนอย่างหลากหลายและจะเป็นตัวเชื่อมโยงการดำเนินเรื่องให้ต่อเนื่องเป็นลำดับภายใต้หัวข้อเดียวกัน 15.เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้หรือวิธีสอนที่หลากหลาย ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบต่างๆ เช่น เกม บทบาทสมมติ กระบวนการ สถานการณ์จำลอง ละครสืบสวนสอบสวนกรณีศึกษา สาธิต ทดลอง โครงงาน และการใช้แหล่งรู้ในท้องถิ่น

  14. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 1.การสังเคราะห์และวิเคราะห์เนื้อหาของรายวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์แล้วแต่กรณีด้วยการร่วมมือกันในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และผู้สอน เพื่อพิจารณาอย่างละเอียดว่าองค์ความรู้ที่ประสงค์จะจัดให้แก่ผู้เรียนนั้นได้แก้อะไรบ้าง มีความโดดเด่นหรือซ้ำซ้อนอยู่ในรายวิชา กลุ่มวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ อย่างไร แล้วกำหนดองค์รวมแห่งองค์ความรู้ที่พึ่งประสงค์ไว้ให้ชัดเจนในรูปของหลักสูตร หรือในรูปของหัวเรื่อง

  15. 2. การเขียนหลักสูตรหรือแผนการสอน โดยใช้เส้นทางการเดินเรื่อง (topic line) ของวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์เป็นกรอบในการเขียน โดยมีหัวเรื่องเป็นเครื่องกำหนดเนื้อหา ความแตกต่างของการบูรณาการหลักสูตรและการบูรณาการเรียนการสอนอยู่ที่คำถามนำที่ใช้ในแต่ละองค์ กล่าวคือการบูรณาการหลักสูตรจะเน้นคำถามนำที่มีความเกี่ยวพันกันของรายวิชา กลุ่มวิชา หรือลุ่มประสบการณ์ต่างๆ อย่างไร แล้วกำหนดองค์รวมแห่งองค์ความรู้ที่พึ่งประสงค์ไว้ให้ชัดเจนในรูปของหลักสูตร หรือในรูปของหัวเรื่อง

  16. 3. การกำหนดเส้นทางการเดินเรื่องให้สอดคล้องกับหลักสูตรหรือหัวข้อ เส้นทางการเดินเรื่อง (Topic Line) ที่ใช้เป็นกรอบสำหรับการดำเนินการโดยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 องค์ด้วยกัน คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์ ลักษณะองค์ (Episode) ทั้ง 4 ของวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ มีดังนี้ 3.1ฉาก (setting) ได้แก่ สถานที่หรือภาพกว้างๆ ที่เป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของตัวละครในเรื่องนั้นๆ และจะมีเงื่อนไขของเวลาเป็นตัวกำกับด้วย เช่น เวลาปัจจุบัน เวลาในยุคประวัติศาสตร์ เป็นต้น

  17. 3.2ตัวละคร (character) ได้แก่ คนหรือสัตว์ที่มีชีวิตโลดแล่นอยู่ในเนื้อเรื่องโดยต้องคำนึงอยู่เสมอว่า จะต้องมีให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในเรื่องที่จะเรียนด้วย โดยผู้เรียนจะมีฐานะเป็นตัวละครตัวหนึ่งของเรื่อง โดยจะสร้างเป็นสัญลักษณ์ตุ๊กตาหรือหุ่นแทนก็ได้ ตัวละครนั้นจะมีบทบาทในการเดินทางเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจ 3.3วิถีชีวิต หรือการดำเนินชีวิต(a way of life) ได้แก่ เรื่องราวที่เป็นการดำเนินชีวิตโดยปกติของตัวละครในสถานที่และเวลาตามฉากที่กำหนด

  18. 3.4เหตุการณ์ (events) ได้แก่ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่ตัวละคร ต้องเผชิญ เช่น การผจญภัย การท่องเที่ยว เป็นต้น ชนาธิป พรกุล (2534) ได้อธิบายวิธีการเรียนการสอนแบบสตอรี่ไลน์ว่า ผู้สอนและผู้เรียนช่วยการสร้างฉากให้ปรากฏด้วยการใช้เทคนิคแห่งศิลปะในการประดิษฐ์ฉาก จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการฝึกทักษะตามที่ครูวางแผนไว้จากการออกแบบคำถามสำคัญ (key questions) ให้เป็นไปตามขั้นตอนของการทำกิจกรรมโดยที่สอนจะกำหนดเส้นทางเดินเรื่อง แต่รายละเอียดของเนื้อหาผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดเท่านั้น ขั้นตอนการสอนมีดังนี้

  19. ขั้นที่ 1 ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสร้างครอบครัว โดยแสดงวิธีสร้างตัวละครของสมาชิกในครอบครัว ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนกำหนดบทบาทของสมาชิกในครอบครัวตามแผนของผู้สอน ผู้เรียนจะต้องสร้างประวัติของตนโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับงานอดิเรก ความสนใจ บุคลิกภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและปัญหา ขั้นที่ 3 ผู้สอนตั้งคำถามสำคัญ ตัวอย่างเช่น “ครอบครัวท่านมีใครบ้าง ขอให้ตัวแทนสมาชิกในครอบครัว 1 คน ทำหน้าที่แนะนำคนในครอบครัว”ขณะฟังคำอธิบาย ผู้สอนต้องสร้าง แรงจูงใจโดยดึงบางประเด็นในเรื่องมาฝึกทักษะ

  20. ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนสร้างบ้านของตนและครอบครัว โดยใช้คำถามสำคัญข้อต่อไปนี้ ตัวอย่างเช่น “ช่วยกันสร้างบ้านให้ครูดูซิว่าบ้านมีลักษณะอย่างไร” ผู้สอนช่วยจัดสัดส่วนพื้นที่และอภิปรายเทคนิคการสร้างบ้าน เมื่อสร้างบ้านเสร็จผู้เรียนอาจรายงานด้วยการแสดงบทบาทสมมติหรือเขียนรายงาน หรือวาดแบบแปลน

  21. ข้อค้นพบจากการวิจัย ข้อค้นพบจากการวิจัย จากผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อค้นพบดังนี้ 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ธาริณี วิทยาอนิวรรตน์ (2542) และเกรียงไกร ยิ่งสง่า(2543)ได้วิจัยพบว่าเป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2. การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต สุรินทร์ วังคะฮาด (2543) ได้วิจัยพบว่านักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  22. 3.เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ธาริณี วิทยาอนิวรรตน์ (2542) ได้วิจัยพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ในเกณฑ์ที่สูง รวมทั้งเกรียงไกร ยิ่งสง่า (2543) และจีรภัทร์ บัวสุวรรณ (2543) ได้วิจัยพบว่า วีสอนแบบสตอรี่ไลน์ ส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อเรื่องที่เรียน • 4.คุณลักษณะของผู้เรียน เกรียงไกร ยิ่งสง่า (2543) ได้วิจัยพบว่าวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสุรินทร์ วังคะฮาด (2543) วิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ใฝ่เรียนรู้ รู้จักการวางแผนการทำงาน และผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

  23. จบการนำเสนอ

More Related