1 / 18

Chapter 8

ANGKANA. Chapter 8. สถาปัตยกรรม CISC และ RISC. ANGKANA. หัวข้อการเรียนรู้.  ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC  ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ CISC  ความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรม CISC และ RISC  เพิ่มเติม - ไปป์ไลน์ - ซูปเปอร์สเกลาร์. สถาปัตยกรรม CISC และ RISC.

naava
Download Presentation

Chapter 8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ANGKANA Chapter 8 สถาปัตยกรรม CISC และ RISC

  2. ANGKANA หัวข้อการเรียนรู้  ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC  ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ CISC  ความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรม CISC และ RISC  เพิ่มเติม - ไปป์ไลน์ - ซูปเปอร์สเกลาร์

  3. สถาปัตยกรรม CISC และ RISC การจัดกลุ่มทางสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ออกเป็นสองหมวดใหญ่ๆ คือ CISC (Complex Instruction Set Computer) การสร้างสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์โดยใช้ชุดคำสั่งที่ซับซ้อน และ RISC (Reduce Instruction Set Computer) การสร้างสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์โดยการลดชุดของคำสั่ง อาจเป็นการยากในการอธิบายว่า CISC และ RISC นั้น คือ อะไร ดังนั้นในการนำเสนอของบทความนี้ขอจำแนกความแตกต่างโดยการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ของสถาปัตยกรรมทั้งสองแบบ

  4. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC โดยทั่วไป จะมีกฎเกณฑ์ดังนี้ 1. คำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกา ( One Instruction per Cycle ) นับเป็นสิ่งแรกเลยที่นึกถึงในการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC โดย จะพยายามทำงานให้เสร็จสิ้นภายใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกา ( 1 Clock Cycle ) ซึ่งก็มีการใช้ pipeline มาช่วยในการทำงาน ดังนั้น ในการทำงานจริงๆ อาจไม่ใช่ทำงาน 1 คำสั่งเสร็จสิ้นใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกา แต่ใช้การนับเวลาในการทำงานของโปรแกรม ซึ่งแน่นอน มีการทำงานหลาย ๆ คำสั่ง หลาย ๆ ขั้นตอน แล้วคิดเป็นเวลาเฉลี่ย ซึ่งก็จะได้ประมาณ 1 คำสั่งต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกา

  5. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC โดยทั่วไป จะมีกฎเกณฑ์ดังนี้ วิธีที่ใช้เพื่อทำให้ได้ 1 คำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกา จะทำโดยใช้คำสั่งง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ไม่ใช่ เพิ่มรอบสัญญาณนาฬิกาให้นานขึ้น

  6. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC โดยทั่วไป จะมีกฎเกณฑ์ดังนี้ กำหนดขนาดของ Instruction ให้มีขนาดที่แน่นอน (Fixed Instruction Length ) ถ้าหากว่าจะทำให้มีการทำงานแต่ละคำสั่งให้เสร็จสิ้นภายใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกาได้นั้น ก็แน่นอน ผู้ออกแบบ RISC ก็จะต้องจำกัดขนาดของคำสั่งด้วย ไม่ให้มีขนาดที่ยาวเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้ขนาด 1 Word (จะมีขนาดไม่แน่นอน แล้วแต่เครื่อง แต่โดยทั่ว ๆไป CPU แบบ RISC จะมีขนาดของ Word = 32 Bit ) โดยใน 1 Word นั้น ก็จะกำหนดทุกๆอย่างทั้งคำสั่ง, Operation, จะดึง Operand จากที่ไหน, จะให้เก็บผลลัพธ์ ( Result ) ที่ไหน และ คำสั่งถัดไปอยู่ที่ไหน C = A + B : A และ B คือ Operand , + คือ Operation และ C คือ Result

  7. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC โดยทั่วไป จะมีกฎเกณฑ์ดังนี้ คำสั่งในการเข้าถึงหน่วยความจำหลัก จะใช้แค่ load (ดึงข้อมูล) และ store (เก็บข้อมูล) เท่านั้น สถาปัตยกรรมแบบ RISC นั้น เมื่อจะทำการจัดการกับคำสั่งต่างๆ ก็จำเป็นจะต้องนำ Operand มาเก็บไว้ใน Register ก่อน และในแต่ละคำสั่งนั้น ก็ถูกจำกัดไว้ที่ 1 Word ซึ่งก็ไม่เพียงพอต่อการเก็บค่าของ Operand ต่างๆ ดังนั้นจึงใช้การอ้างตำแหน่งในหน่วยความจำแทน แต่ การเข้าถึงหน่วยความจำนั้นต้องเสียเวลาอยู่พอสมควร จึงมีการกำหนดให้ใช้เพียงแค่ 2 คำสั่งเท่านั้น คือการ load และ การ store เพื่อลด traffic ระหว่าง หน่วยประมวลผล และ หน่วยความจำ ส่วนเวลาในการ load หรือ store นั้น ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ Operand

  8. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ RISC การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ RISC โดยทั่วไป จะมีกฎเกณฑ์ดังนี้  ใช้การอ้างตำแหน่งแบบตรง ๆ ง่าย เพราะการอ้างแบบซับซ้อน ก็แน่นอน ต้องใช้ช่วงเวลานานกว่า ซึ่งการอ้างตำแหน่งแบบ RISC นั้นจะจำกัดอยู่ 2 แบบ คือ แบบอ้างผ่าน Register (Register Indirect) และ Index โดยการอ้างผ่าน Register นั้น Register จะเก็บค่าตำแหน่งไว้ แล้ว ทำการอ้าง ตำแหน่งนั้น ๆผ่าน Register และในแบบ Index จะเป็นการอ้างตำแหน่งจากค่าคงที่ ที่มาในคำสั่งนั้น ๆ เลย  ใช้ Operation ที่เรียบง่าย ธรรมดาๆ และ มีไม่กี่ Operation เพื่อจะได้ใช้รอบการทำงานน้อยๆ และรวมไปถึงทรัพยากรของระบบที่ใช้ ก็จะใช้ น้อยด้วย

  9. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ CISC ในส่วนของการออกแบบ CISC นั้น ใช้หลักเกณฑ์ที่ตรงข้ามกับแบบของ RISC แทบจะทั้งหมด เพราะในขณะที่ RISC จะพยายามลดคำสั่งให้มีจำนวนน้อย ๆ และไม่ซับซ้อน แต่ CISC จะพยายามให้มีรูปแบบของคำสั่ง ต่าง ๆ มากมาย และดูจะซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในเรื่องของคำสั่งการทำงานของ RISC นั้น ก็จะมีค่าเฉลี่ยเป็น 1 คำสั่งต่อ 1 สัญญาณนาฬิกา แต่ในขณะที่ CISC อาจใช้ถึง 100 สัญญาณนาฬิกา เพื่อให้ทำงานให้เสร็จ เพียง 1 คำสั่ง CISC นั้น ก็จะมีจุดเด่น ในเรื่องของการเขียน Program บน CISC นั้น จะทำได้ง่ายกว่า เพราะโดยตัวของ Processor นั้นรู้จักคำสั่งต่าง ๆ มากมาย ทำให้สะดวกต่อการเขียนโปรแกรมใช้งาน และ Program บน CISC นั้นก็มีขนาดเล็กกว่า บน RISC

  10. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ CISC ต่อให้ Processor นั้นดีเพียงใดก็ตามแต่ หากไม่มีโปรแกรมมาสนับสนุน หรือเขียนโปรแกรมมาใช้งานบน Processor นั้น ๆ ยาก ก็คงไม่มีคนเลือกใช้ Processor นั้น ๆ เป็นแน่ หากผู้ออกแบบ CISC นั้น ออกแบบมาดี โปรแกรมบางอย่าง อาจทำได้เร็วกว่า RISC ด้วยซ้ำ เพราะมีการใช้คำสั่งที่น้อยกว่า (เพราะมีการเตรียมคำสั่งต่างๆ ไว้จัดการแล้ว)

  11. ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์แบบ CISC ตัวอย่าง เช่น ผมจะหาผลลัพธ์ของ 7 คูณกับ 9 ถ้า RISC มีเพียงคำสั่ง บวก และ ลบ การจะหาผลลัพธ์ของ 7 คูณ 9 ก็คือ ต้องทำการบวก 7 เข้าด้วยกัน 9 ครั้ง สมมุติว่าแต่ละครั้งของการบวก จะใช้เวลา 1 สัญญาณนาฬิกา ก็จะใช้ถึง 9 สัญญาณนาฬิกา และแม้ว่า Compiler นั้นฉลาด ทำการเอา 9 มาบวกกัน 7 ครั้งแทน ก็จะใช้สัญญาณนาฬิกาที่ 7 สัญญาณนาฬิกา ถ้าเป็น CISC ซึ่งมีคำสั่งคูณไว้ให้แล้ว และ ใช้ 5 สัญญาณนาฬิกาในการคูณแต่ละครั้ง การหาผลลัพธ์ของ 7 คูณกับ 9 ก็จะทำได้ใน 5 สัญญาณนาฬิกาเท่านั้น แต่ในบางกรณี เช่น 4 คูณกับ 3 RISC นั้น จะใช้เวลาเพียง 3 หรือ 4 สัญญาณนาฬิกา แต่ CISC กลับต้องใช้ถึง 5 สัญญาณนาฬิกา

  12. ความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรม CISC และ RISC โครงสร้างการเอ็กซิคิวต์คำสั่งของซีพียูแบบ CISC และ RISC นั้นการเอ็กซิคิวต์คำสั่งในสถาปัตยกรรมแบบ CISC ในแต่ละคำสั่งจะมีขั้นตอนย่อย ๆ ประกอบอยู่แล้วแต่ประเภทคำสั่งว่าจะมี 2 ขั้นตอน, 3 ขั้นตอนหรือมากกว่านั้น ในขณะที่ในสถาปัตยกรรมแบบ RISC ซึ่งเป็นการลดคำสั่งทำให้แต่ละคำสั่งจะมีเพียงขั้นตอนเดียว

  13. ความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรม CISC และ RISC

  14. ความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรม CISC และ RISC

  15. ความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรม CISC และ RISC

  16. เพิ่มเติม สถาปัตยกรรมแบบ CISC และRISC ไปป์ไลน์ (Pipeline) หน่วยประมวลผลรุ่นใหม่จะมีการประมวลผลแบบไปป์ไลน์ กล่าวคือจะมีการ Fetch decode และexecute คำสั่งเหลื่อมกันดังรูปการประมวลผลเหลื่อมกันนี้ทำให้ประสิทธิภาพของการประมวลผลสูงขึ้นมาก แสดงการทำงานแบบไปป์ไลน์เทียบกับการทำงานแบบปกติ

  17. เพิ่มเติม สถาปัตยกรรมแบบ CISC และRISC ซูเปอร์สเกลาร์ (Superscalar) ในหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงบางรุ่น จะประมวลผลชุดคำสั่งหลายชุดคำสั่งได้พร้อมกัน การที่หน่วยประมวลผลประมวลผลคำสั่งได้หลายชุดพร้อมกันนี้เรียกว่า ซูเปอร์สเกลาร์

  18. The End…

More Related