1 / 18

สรุปภาวะเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552

สรุปภาวะเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552. ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 ระยะ 1. ช่วงต้นปี 2551 ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วย (1) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง. (2) อัตราแลกเปลี่ยน

meli
Download Presentation

สรุปภาวะเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปภาวะเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552 ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 ระยะ 1. ช่วงต้นปี 2551 ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วย (1) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  2. (2) อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทช่วงต้นปี 2551 อยู่ในระดับค่อนข้างแข็ง โดยในเดือนมีนาคม 2551 แข็งค่าสุด 31.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลต่อต่อการส่งออกและการแข่งขันราคาในต่างประเทศ (3) อัตราดอกเบี้ย ในช่วงต้นปี อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.85-7.13 ต่อปี แต่จากภาวะเงินเฟ้อ ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR ไปแตะระดับสูงสุดที่ 9.2% ในเดือนกรกฎาคม 2551 และส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายปรับ ตัวขึ้นเป็น 3.75% (4) ความไม่สงบทางการเมือง ปัญหาสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของ นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ ภาคเศรษฐกิจ

  3. 2. ช่วงปลายปี 2551 (1) วิกฤติเศรษฐกิจโลก วิกฤติการเงินของสหรัฐฯ (Subprime) ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งพึ่งพิงกับการส่งออกถึงร้อยละ 67 ของ GDP โดยในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวการส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่ภายหลังวิกฤติ Subprime ส่งผลให้การส่งออกติดลบตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยล่าสุดเดือนมกราคม 2552 ติดลบถึง 26.5 % (2) ความไม่สงบทางการเมือง ความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะการปิดสนามบิน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ด้านการค้าการลงทุน นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัย โดยเดินทางเข้าประเทศไทยปี 2551เพียง 13.5 ล้านคน หดตัวจากเดิมร้อยละ 5.6 โดยสูญเสียรายได้ประมาณ 1 แสนล้าน (3) การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและการลดความเสี่ยง การเก็งกำไรจากน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับราคาลดลงจากราคาเฉลี่ย 147 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เหลือเพียงไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

  4. (4) อัตราดอกเบี้ย • เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) และทำให้หลายประเทศใช้ • นโยบาย การเงินเข้าแทรกแซง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียง 1% ธนาคารกลางอังกฤษปรับลด 1% โดยในเดือนธันวาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดเหลือ 2.75% ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลดลงเหลือ 6.75%

  5. สถานการณ์เศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร ขายปลีกขายส่ง ท่องเที่ยว/ภัตตราคาร ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงใหม่ (GPP) ปี 2550 มีมูลค่า 120,972 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัว ปี 2550 เท่ากับ 74,524 บาท/ปี

  6. แผนภูมิแสดงโครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2550

  7. ภาวการณ์ผลิต สินค้าเกษตร ช่วงต้นปีราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง แต่ภายหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจราคา สินค้าเกษตรเกือบทุกชนิดปรับราคาลดลง

  8. มูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOPจังหวัดเชียงใหม่ พันล้านบาท 3.082 2.454 ปี ปี 2551 มียอดจำหน่ายสินค้า OTOP เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.58 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และการสั่งซื้อจากต่างประเทศ

  9. สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ปี 2550-2551 แม้ว่าในปี 2551 มีการขยายตัวการจัดตั้งนิติบุคคลร้อยละ 4.29 แต่ปรากฏว่าในขณะเดียวกันก็มี การนิติบุคคลได้จดทะเบียนเลิกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.65

  10. มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549-2551

  11. มูลค่าการส่งสินค้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มูลค่าการส่งสินค้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

  12. จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ปี 2549 - 2551

  13. จำนวนโรงแรมและห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่จำนวนโรงแรมและห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 74 แห่ง เป็นสมาชิกสมาคมโรงแรม 58 แห่ง จำนวนห้องพัก 8,982 ห้อง

  14. อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงใหม่อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงใหม่ เปรียบเทียบ MoM ปี 2550/2551 เงินเฟ้อ เดือน ปี 2551 ปี 2552 อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2551 สืบเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการปรับราคาลดลง

  15. แนวโน้มปี 2552 1. สินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้นักลงทุน ปรับลดความเสี่ยง โดยเสริมสภาพคล่องด้านการเงิน หันมาเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์น้อยลง 2. การจ้างงาน ภาคการผลิตมีแนวโน้มปรับลดการผลิต เนื่องจากคำสั่งซื้อหดตัว ส่งผลให้การจ้างงานมีแนวโน้ม ปรับตัวลดลงหรือปรับลดชั่วโมงการทำงาน เพื่อความอยู่รอดของกิจการ 3. อำนาจการบริโภค การคาดหมายการลดการผลิตตามอุปสงค์ที่ลดลงและการจ้างงานที่ลดลงจะส่งผลกระทบ ต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภค (ที่อยู่ในภาวการณ์ว่างงาน) และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงทำให้ กำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลงและจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคต 4. อัตราเงินเฟ้อ นอกจากรายได้ของแรงงานมีแนวโน้มลดลง ผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ ในระดับต่ำ จึงคาดว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 จะอยู่ในระดับต่ำมาก

  16. 5. การลงทุน อุปสงค์ของตลาดโดยภาพรวมมีแนวโน้มที่ลดลง ประกอบกับการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิด NPL แนวโน้มการลงทุนในจังหวัด เชียงใหม่โดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก 6. อสังหาริมทรัพย์ ในระยะที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่มีการลงทุนด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ (Real-estate) มาก จังหวัดหนึ่ง แต่ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้ให้รายได้ของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับวัสดุ ก่อสร้างมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง 7. ภาวะตลาดสินค้า ภาวะตลาดสินค้าในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มหดตัว โดยเฉพาะสินค้าส่งออก เนื่องจาก ประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ 8. การท่องเที่ยว แนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2552 ยังคงซบเซาต่อเนื่องจากปี 2551 แม้ว่าราคา น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง แต่นักท่องเที่ยวจะยังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

  17. ข้อเสนอแนะ ภาคผู้ประกอบการ 1. การรักษาตลาดเดิม ขยายตลาดใหม่ 2. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการแข่งขัน 3. การศึกษาค้นคว้าและสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือก ภาครัฐ 1. เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสู่ภาคประชาชนและผู้ประกอบการโดยเร็ว 2. จัดทำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับภาคประชาชน 3. จัดเตรียมมาตรการรองรับปัญหาว่างงาน 4. สนับสนุนส่งเสริม และแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการค้า การลงทุน 5. การจัดวางยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ในการรองรับวิกฤตเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติอย่างชัดเจน

  18. ขอขอบคุณ

More Related