1 / 46

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( NOS: Network Operating System)

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( NOS: Network Operating System) . ปริญญา น้อยดอนไพร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คำอธิบายรายวิชา ( Course Description).

lee
Download Presentation

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( NOS: Network Operating System)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(NOS: Network Operating System) ปริญญา น้อยดอนไพร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  2. คำอธิบายรายวิชา (Course Description) • ศึกษาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการนำความรู้และหลักการจากวิชาระบบปฏิบัติการ และวิชาที่เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบและการทดลองนำเทคโนโลยีด้านระบบปฏิบัติการและระบบเครือข่ายต่าง ๆ

  3. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective) • นักศึกษามีความรู้ และความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • นักศึกษามีความรู้ และความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการที่ใช้บนระบบเครือข่าย • นักศึกษาสามารถออกแบบระบบเครือข่าย โดยประยุกต์ใช้ระบบปฏิบัติเครือข่าย • นักศึกษามีความรู้ และความเข้าใจ สามารถอธิบายคำสั่ง และหน้าที่ของคำสั่งที่ใช้บนระบบปฏิบัติการเครือข่าย • ฝึกปฏิบัติและเสริมสร้างทักษะการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

  4. NOS : Network Operating System • คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่าย • การตรวจสอบสิทธิ์การใช้งานระบบเครือข่าย • การเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย : ติดต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย การตรวจสอบสิทธิ์การใช้เครือข่าย การใช้เครื่องพิมพ์ในเครือข่าย การใช้ฐานข้อมูลในเครือข่าย) • OS ปัจจุบัน (MS-Windows XP, Vista, 7, 8) จะมีส่วนที่ทำหน้าที่จัดการ NOS รวมอยู่ด้วย

  5. บริการของ NOS • การเลือกใช้ NOS มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายของบุคลากรในองค์กร เช่น ความยากง่ายในการใช้งาน ความยากง่ายในการดูแล และจัดการโปรแกรมต่างๆ รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งที่ควรพิจารณาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจคือ บริการต่างๆ ของระบบ NOS ที่มีในแต่ละระบบปฏิบัติการ • บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์ (FileandPrintServices) • บริการดูแลและจัดการระบบ (ManagementServices) • บริการรักษาความปลอดภัย (SecurityServices) • บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต (Internet/IntranetServices) • บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอร์ริ่ง(Multiprocessing and Clustering Services)

  6. บริการจัดเก็บไฟล์ และการพิมพ์(File and Print Services) • เป็นฟังก์ชันที่สำคัญของ NOS • NOS จะต้องมีความสามารถในด้าน • การจัดการเครื่องพิมพ์ : • การจัดการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ที่แบ่งปันระหว่างผู้ใช้ : • ระบบควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากร :

  7. บริการดูแลและจัดการระบบ(Management Services) • การดูแล และจัดการเครือข่าย • การจัดการเกี่ยวกับผู้ใช้ (User Accounts) • ควบคุมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย • ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย • การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่าย • การเฝ้าดูระบบเครือข่ายเพื่อทราบถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลาหรือก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ • เครื่องมือนี้จะช่วยให้การจัดการเครือข่ายง่ายขึ้น • Netware จะใช้ ระบบเดอเร็คทอรี่ที่เรียกว่า NDS eDirectory (Novell Directory Services eDirectory) • Windows2003 จะใช้ระบบเดอเร็คทอรี่ที่เรียกว่า ADS (Active Directory Services)

  8. บริการรักษาความปลอดภัย(Security Services) • การรักษาความปลอดภัยข้อมูลในเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญ • NOS ควรมีฟังก์ชันที่สามารถกำหนดระดับผู้ใช้ โดยสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้หรือกลุ่มของผู้ใช้ได้ • ความสามารถเข้าถึงข้อมูลในทุกระดับชั้น • สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใครเข้าใช้ระบบได้ • สามารถเขียนหรือลบข้อมูลระบบ ฐานข้อมูลของระบบ

  9. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต(Internet/Intranet Services) • ปัจจุบันองค์กรต่างๆ มักจะให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดเครือข่ายภายใน ให้เป็นอินทราเน็ต เพื่อความปลอดภัยของเครือข่าย จึงต้องติดตั้งบริการต่างๆ ขึ้น เช่น • เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) : ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่าน Web • เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) : สถานีบริการ e-mail รับ-ส่ง e-mail กับสถานีอื่นๆ • เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP Server) : บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล เพื่อลด Traffic ใน Intranet • ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server) : บริการเปลี่ยนหมายเลข IP เป็น URL • พร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์ (ProxyServer)เครื่องที่บริการเก็บข้อมูล เพื่อให้บริการสำหรับผู้อื่นที่ข้อมูลนั้นๆ อีก (เพื่อลดปริมาณ Bandwidth) • เน็ตNAT (NetworkAddressTranslation) เครื่องที่บริการแจก RealIP สำหรับเครื่อง Local ที่ร้องขอข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เมื่อข้อมูลกลับมา NAT จะนำข้อมูลส่งกลับให้เครื่อง Local

  10. บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอร์ริ่ง(Multiprocessing and Clustering Services) • Multiprocessing : NOS ที่ดีต้องรองรับการทำงานของเครื่อง ที่มี CPU มากกว่า 1 • Clustering Services : คือ การทำให้ Server หลายๆ เครื่อง ทำงานร่วมกัน เมื่อ Server เครื่องหนึ่งไม่สามารถให้บริการได้ มี 2 ลักษณะ • Failover : หากมีเครื่องหนึ่งเสีย เครื่องอื่นจะทำงานแทน • Loadbalancing : หากเครื่องใดทำงานโหลดเกินกำหนด จะแบ่งงานไป Process เครื่องอื่น • บริการดังกล่าวเป็นบริการเพื่อให้เซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อถือได้สูง (High Availability)

  11. บริการอื่นๆ • นอกจากบริการหลักๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว • ยังมีบริการอื่นๆ อีกที่ช่วยให้ NOS มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น • การให้บริการฐานข้อมูล • ความสามารถในการขยาย (Scalability) • ความสามารถในการรองรับเครือข่ายที่ที่มีขนาดใหญ่

  12. คำถาม • NOS คือ อะไร? • บริการที่สำคัญของ NOS ที่ใช้เป็นข้อพิจารณาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ NOS ในองค์กร มีอะไรบ้าง?

  13. Novell Netware • บริษัทโนเวล เป็นบริษัทแรกที่พัฒนา NOS ในช่วงทศวรรษ 1980 • โนเวลได้พัฒนาเน็ตแวร์ เพื่อใช้ • สำหรับการแบ่งปันไฟล์ (ShareFile) และเครื่องพิมพ์ (SharePrinter) • รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์มหลายประเภท เช่น MS-DOS, Windows, MacOS เป็นต้น • ต่อมาในปี ค.ศ.1994 โนเวลได้เพิ่ม NDS (NovellDirectoryServices) ให้กับเน็ตแวร์ และประสบความสำเร็จมาก • เวอร์ชันล่าสุด คือ เวอร์ชัน 5.0 อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ ใช้เครื่องพิมพ์ ไดเร็คทอรี่ อีเมล์ ฐานข้อมูล ระบบจัดเก็บข้อมูล และไคลเอนต์หลายแพลตฟอร์ม

  14. บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์(File and Print Services) • เป็นการบริการผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถติดต่อไฟล์ ระหว่างการเดินทาง หรือจากที่บ้านได้

  15. iFolder • คุณสมบัติที่สำคัญ : • ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้โดยใช้เว็บบราวเซอร์ทั่วๆ ไป • รองรับการทำงานหลายแพลตฟอร์ม เช่น วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น • ความสามารถในการซิงโครไนซ์ไฟล์ฐานข้อมูล (.mdb) และไฟล์เอาต์ลุ๊ค (.pst) ได้โดยไม่ต้องทรานสเฟอร์ทั้งฐานข้อมูล แต่เฉพาะเร็คคอร์ดที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น • ผู้ใช้เข้าถึงไฟล์ได้ 2 วิธี คือ Web browser หรือ iFolder Client

  16. iPrint • แนวความคิด Paperless Office • การสำรวจ และพบว่าตั้งแต่ปี 1995 จำนวนเอกสารที่พิมพ์จะเพิ่มเป็นสองเท่าตัว และค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะประมาณ 1-3 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ขององค์กร • ข้อมูลดังกล่าว ทำให้ Paperless Office เป็นเพียงแค่แนวความคิด ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ • โนเวลเรียกซอฟต์แวร์ที่ใช้ฟีเจอร์ “IPP” การพิมพ์ผ่านอินเทอร์เน็ตว่า “iPrint”

  17. Storage Management • เน็ตแวร์มีบริการเกี่ยวกับการจัดไฟล์ข้อมูลดังนี้ • ความจุสูงสุดของพื้นที่เก็บ คือ 8 TB (1 Terabyte : ~1,000 Gigabyte) • Capcityondemand : สามารถกำหนดขนาดพื้นที่เก็บข้อมูล หรือวอลลุ่ม (Volumn) ให้มีขนาดใหญ่กว่าความจุของอุปกรณ์จัดเก็บทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องการมีการกำหนดค่า (Config) ใหม่กับเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ประหยัดฮาร์ดแวร์ • สามารถแชร์การใช้พื้นที่เก็บข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บได้

  18. Novell Storage Services (NSS) • เป็นระบบไฟล์ใหม่ของโนเวลที่เป็นแบบ 64 บิต • NSS สามารถจัดการ • วอลลุ่ม พาร์ติชัน และโฟลเดอร์ • NSS จะอนุญาตแต่ละวอลลุ่มให้มีขนาดถึง 8 TB • NSS สามารถรองรับหลายพันล้านวอลลุ่ม และแต่ละวอลลุ่มอาจมีหลายพันล้านไฟล์

  19. Storage Area Network - SAN • SAN เป็นระบบรวมการจัดเก็บพื้นที่แฟ้มข้อมูล • ประสิทธิภาพที่ได้ • ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพื้นที่เก็บข้อมูล(จากแบบกระจายมาเป็นแบบรวม) • ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา • ทำระบบ Backup Center • ทำระบบป้องกันไวรัสรวม • สามารถทำ Clustering ได้ • ใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

  20. บริการรักษาความปลอดภัย(Security Services) • ข้อมูล รหัสผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้แต่ละคนจะถูกจัดเก็บ และถูกเข้ารหัสไว้ด้วย • ไม่ว่าจะมีสิทธิ์ระดับใดก็ไม่สามารถดูได้ • การส่งผ่านรหัสลับระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์จะถูกเข้ารหัสตลอด

  21. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต(Internet/Intranet Services) • โนเวลเริ่มเห็นประโยชน์ของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส(Open Source) • เว็บเซิร์ฟเวอร์ของโนเวลจะใช้ Apache Web Server • รองรับภาษาสคริปต์หลายภาษา เช่น CGI, Perl และ PHP • Apache Tomcat รองรับสคริปต์ JSP ซึ่งเป็นภาษาจาวา • ส่วนฐานข้อมูลนั้นโนเวลก็หันมาใช้ MySQL ซึ่งเป็นฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์สที่นิยมใช้โดยทั่วไป

  22. บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง(Multiprocessing and Clustering) • เน็ตแวร์ เวอร์ชัน 6.5 • รองรับ 32 CPU และ รองรับ 32 Server ต่อ Cluster • สามารถรองรับ Cluster ได้ทั้งแบบ Failover และ Loadbalancing • เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นสมาชิกของคลัสเตอร์สามารถมีฮาร์ดแวร์ที่ต่างกันได้ • ใช้ซอฟต์แวร์ควบคุม จาวาเบสคอนโซลวัน (ConsoleOne) หรือเว็บเบสรีโมทเมเนเจอร์ จัดการเกี่ยวกับคลัสเตอร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เดียวกันกับที่จัดการส่วนอื่นๆ ของเน็ตแวร์

  23. สรุปโนเวลเน็ตแวร์ • ข้อได้เปรียบของเน็ตแวร์ คือ • มี Print Server, File Server, NDS และทำงานได้หลายแพลตฟอร์ม ในขณะที่ Windows ไม่สามารถทำได้ • ข้อด้อย • Application Server มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ในขณะที่ไมโครซอฟต์จะได้เปรียบในด้านนี้ • ไม่มีเครื่องมือจัดการเครือข่าย (Network Management) เพื่อให้ทราบถึงสถานะของเครือข่ายในขณะนั้นได้

  24. คำถาม • Novell ทำงานได้หลายแพลตฟอร์ม หมายความว่าอย่างไร • ถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีสามารถให้บริการ iPrintจะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาหรือไม่ อย่างไร

  25. Sun Solaris • Solaris ของบริษัท Sun Microsystems • เป็น NOS ประเภท Unix • โซลาริสถูกออกแบบสำหรับแพลตฟอร์มประเภทสปาร์ค(Sparc System) เป็นหลัก มีเวอร์ชันสำหรับแพลตฟอร์มอื่นเช่นกัน แต่จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนกับระบบสปาร์ค

  26. บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์(Management Services) • บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์ที่มีคือ • NFS (Network File System) การแชร์ไฟล์ผ่านเครือข่าย • WebNFSเป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก NFS ซึ่งอนุญาตให้สามารถแชร์ไฟล์ผ่านเว็บได้ • สามารถเข้าถึงไฟล์ในระบบวินโดวส์ได้โดยใช้โปรโตคอล SMB (Server Message Block) หรือที่รู้จักกันในนามแซมบา (Samba)

  27. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต(Internet/Intranet Services) • Solaris สามารถให้บริการต่างๆ ผ่านเว็บด้วยประสิทธิภาพที่สูง สามารถรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ ตารางแสดงการบริการอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับโดยโซลาริส

  28. บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง(Multiprocessing and Clustering) • ตารางแสดงฟีเจอร์ของ Solaris 9 ในการรองรับมัลติโพรเซสเซอร์และคลัสเตอร์

  29. สรุปซันโซลาริส • โซลาริสยังคงเป็น OS ที่ค่อนข้างนิยมสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ • ข้อดี • ความเสถียรและประสิทธิภาพของระบบที่สูง • ข้อเสีย • Software และ Application ที่ใช้ เป็นของบริษัท Sun Microsystemsซึ่งราคาค่อนข้างสูง

  30. คำถาม • คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไปในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีควรจะนำติดตั้ง OS ของ Sun Solaris หรือไม่ ด้วยเหตุผลใด

  31. Microsoft Windows Sever • บริษัท Microsoft ได้พัฒนา NOS ดังนี้ • เวอร์ชันสำหรับ Server : Windows NT, Windows 2000 Server, Windows 2003 Server • เวอร์ชันสำหรับ Peer-to-Peer : Windows 95, Windows 98, WindowsMe, WindowsXP, Windows 2000 Professional, Windows 2003 Professional , Windows Vista, Windows 7,8

  32. บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์(File and Printer Services) • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ใช้ระบบไฟล์ NTFS ซึ่งสามารถกู้คืนได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือล้มเหลว • รองรับการเข้ารหัสไฟล์ (File Encryption) • การให้บริการไฟล์และการพิมพ์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ • WebDAV (Web-based Distributed Authoring and Versioning) ผู้ใช้สามารถแชร์ไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานที่ใดก็ได้ และสามารถอัพเดตไฟล์ที่อยู่บนเครือข่ายขององค์กรได้ • การพิมพ์ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้โปรโตคอล IPP (Internet Printing Protocol)

  33. บริการดูแลและจัดการ(Management Services) • วินโดวส์ 2003 ใช้ MMC (Microsoft Management Console) ในการควบคุมทุกอย่างของระบบ MMC เป็นเครื่องมือที่ออกแบบเพื่อให้ใช้งานง่าย และทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมระบบได้ทุกอย่างโดยใช้เครื่องมือนี้

  34. Web-based Administration • นอกจาก MMC ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้สำหรับจัดการเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายแล้ว วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ยังได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับจัดการเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บบราวเซอร์ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการเซิร์ฟเวอร์ทำจากที่ไหนก็ได้

  35. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต(Internet/Intranet Services) • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 รองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยมี IIS 6.0 (Internet Information Service) ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น • HTTP, FTP, SMTP และ SSL เป็นต้น • IIS 6.0 สามารถรองรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Virtual Server) หรือสามารถรองรับหลายเว็บไซต์ในเครื่องเดียวกันได้ IIS 6.0 ถูกอินทิเกรทเข้ากับระบบปฏิบัติการทำให้มีประสิทธิภาพสูง

  36. บริการมัลติโพรเซสซิ่งและคลัสเตอริ่ง(Multiprocessing and Clustering) • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 Standard Edition สำหรับองค์กรขนาดเล็ก • รองรับโพรเซสเซอร์ 64 บิตหรือไอทาเนียม (Itanium) ของ Intel และ 4 GB RAM • รองรับ SMP (Symmetric Multiprocessing)ได้ถึง 4 CPU • ส่วน Enterprise Edition สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ • รองรับได้ถึง 8 CPU และ 32 GB RAM • ยังรองรับการทำคลัสเตอริ่งได้ 2 โหนด • ดาต้าเซนเตอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง • รองรับ SMP ได้ถึง 32 และ 64 CPU และ 64 GB RAM • การทำคลัสเตอริ่งได้ 4 โหนด(128 CPU)

  37. สรุปวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์สรุปวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ • หัวใจสำคัญของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 คือ ADS ซึ่งเป็นไดเร็คทอรีเซอร์วิสที่จะทำหน้าที่บริหารและจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ พร้อมทั้งมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี • จุดเด่นของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 คือ ความได้เปรียบทางด้านการตลาด • คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์ ถึงแม้ประสิทธิภาพอาจไม่ดีเท่ากับของบริษัทอื่นก็ตาม • ไมโครซอฟต์จะเน้นที่การใช้งานง่าย ทำให้เป็นที่นิยมของผู้ใช้ส่วนใหญ่ • มีแอพพลิเคชันที่สามารถใช้งานร่วมกับวินโดวส์ให้เลือกใช้จำนวนมาก

  38. คำถาม • ถ้าจะนำ NOS ของ Microsoft มาใช้ น่าจะพิจารณาจากเหตุผลข้อใด

  39. Red Hat Linux • ลีนุกซ์เป็น OS ประเภท UNIX โดย ไลนัสโทรวาสด์ส (LinusTorvolds) • จุดประสงค์ของ Linux เพื่อเป็น UNIX OS for PC • Linux เป็น OS แบบโอเพ่นซอร์ส (OpenSource) หรือไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ • ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้เลย • ข้อเสียของลีนุกซ์และระบบปฏิบัติการประเภทยูนิกซ์ • ยากต่อการใช้งาน ที่ยังคงเป็นแบบ CommandLineInterface • แม้ปัจจุบันได้มีการพัฒนา GUI แต่โปรแกรมใช้งานก็ยังมีน้อย

  40. บริการจัดเก็บไฟล์และการพิมพ์(File and Printer Services) • ลีนุกซ์ใช้ระบบไฟล์คล้ายกับยูนิกซ์ เรียกว่า “Ext” (Extended Filesystem) • รองรับไฟล์ได้ 4 TB และแต่ละไฟล์ขนาดไม่เกิน 2 GB ส่วนชื่อไฟล์ต้องไม่เกิน 255 ตัวอักษร • การรักษาความปลอดภัยของระบบไฟล์เหมือนกับยูนิกซ์ คือ ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้ผู้ใช้มีสิทธิ์เข้าถึงไฟล์และเดอเร็คทอรีใดได้บ้าง • สามารถแชร์ไฟล์กับระบบวินโดวส์ได้โดยการใช้โปรโตคอล Samba • ระบบไฟล์ JFS (Journaling File System) รองรับระบบไฟล์ได้ถึง 512 TB พีเจอร์หลักคือประสิทธิภาพในการกู้คืนไฟล์เมื่อระบบล้มเหลว เหมาะสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต ถ้าเกิดล้มเหลว จะใช้เวลาไม่นานในการกู้คืนไฟล์ • สามารถรองรับเครื่องพิมพ์ได้มากกว่า 500 เครื่อง

  41. บริการดูแลและจัดการ(Management Services) • Webmin : สำหรับการจัดการเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บ ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์ได้เกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการยูสเซอร์, ไฟล์, พรินเตอร์, เน็ตเวิร์ค, เว็บ, เมล์ และ DNS เป็นต้น

  42. บริการอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต(Internet/Intranet Services) • อะปาเช่ (Apache) เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต และสามารถรันบนลีนุกซ์ได้เช่นกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ไม่ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ระดับ Pentium 2 ก็สามารถใช้ได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก • รองรับบริการอินเทอร์เน็ตอื่นๆ เช่น FTP, Telnet, DNS, DHCP, SMTP, POP3, IMAP, NNTP, NTP เป็นต้น • ซึ่งถ้าใช้ระบบปฏิบัติการอื่นอาจต้องเสียเงินเพื่อซื้อซอฟท์แวร์ ในขณะที่ลีนุกซ์สามารถดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต • จุดด้อยของลีนุกซ์ที่ผู้ใช้อาจไม่ชอบ คือ การกำหนดค่าต่างๆ ยังคงเป็นแบบ CLI (Common Line Interface)

  43. Ubuntu Linux Server • Ubuntu(อูบุนตู)เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2547 • เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนามาจาก Debian (เดเบียน) การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntuซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" (เพื่อมวลมนุษยชาติ) • Ubuntuต่างจาก Debianตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน Ubuntuนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรี (Freeware) ทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ Ubuntuคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

  44. FreeBSD • FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) ที่มีความสามารถสูง สามารถติดตั้ง และสนับสนุนการทำงานในหลาย Platform อาทิเช่น ระบบ x86 (Pentium และ Athlon), AMD-64 (Opteron, Athlon64 และ EM64T), Alpha/AXP, IA-64, PC-98 และ UltraSPARC • FreeBSD พัฒนามาจาก BSD เป็นเวอร์ชั่นของ UNIX® พัฒนาโดย University of California, Berkeley ปัจจุบันมีผู้สนใจและหันมาใช้ระบบปฏิบัติการ FreeBSD กันอย่างแพร่หลาย สามารถประยุกต์ใช้ทำเครื่องแม่ข่าย (Server) สำหรับให้บริการต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ก็ใช้ระบบปฏิบัติ FreeBSD ด้วยเช่นกัน เพราะระบบปฏิบัติการดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง ทำงานได้รวดเร็ว ติดตั้งง่าย ระบบความปลอดภัยสูง

  45. คำถาม • รัฐบาลกำลังส่งเสริมให้ใช้ OS ที่เป็น Open Source • ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ควรจะให้บริการคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง OS ของ Linux หรือไม่

More Related