1 / 52

Hormonal control of Reproduction

ฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์. Hormonal control of Reproduction. อ. กฤติยา เลิศชุณหะเกียรติ. ฮอร์โมน. ฮอร์โมนเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้น ทำหน้าที่ให้สัญญาณแก่เซลล์ โดยเป็น Chemical messenger

kamal
Download Presentation

Hormonal control of Reproduction

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์ฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์ Hormonal control of Reproduction อ. กฤติยา เลิศชุณหะเกียรติ

  2. ฮอร์โมน • ฮอร์โมนเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้น ทำหน้าที่ให้สัญญาณแก่เซลล์ โดยเป็น Chemical messenger • ฮอร์โมนถูกสร้างโดยเซลล์จำเพาะ แล้วส่งออกไปนอกเซลล์ เพื่อออกฤทธิ์ต่อเซลล์เป้าหมาย (Target cell) • ฮอร์โมนส่วนใหญ่จะมีการขนส่งผ่าน Blood stream • การออกฤทธิ์นั้นต้องอาศัย receptor ที่เซลล์เป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในเซลล์ ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของฮอร์โมนและชนิดของเซลล์เป้าหมาย

  3. Hormone Transportation

  4. Hormone Transportation • 1. Endocrine  ผ่านไปตามกระแสเลือด (เป็นลักษณะของฮอร์โมนส่วนใหญ่) • 2. Epicrine  เดินทางผ่าน gap – junction ไม่ผ่าน extracellular fluid (ของเหลวภายนอกเซลล์) • 3. Neurocrine  ไปโดยระบบของ neurons • 4. Paracrine  ผ่าน intracellular fluid (ของเหลวภายในเซลล์) • 5. Exocrine  ปลดปล่อยออกนอกร่างกาย มีผลต่อเซลล์เป้าหมายที่อยู่ห่างไกล • 6. Autocrine  ไม่ส่งผ่านกระแสเลือด มีน้อย และไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ผลิตเพื่อใช้ภายในเซลล์ของตัวเอง

  5. ชนิดของฮอร์โมน (ตามบทบาทหน้าที่) • ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์โดยตรง (Primary hormone): ขบวนการผลิตอสุจิ-ไข่, การตกไข่, การปฏิสนธิ, การตั้งท้อง, การให้น้ำนม, ความเป็นแม่ ตลอดจนพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น • ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับ metabolism (Metabolic hormone)เกี่ยวข้องทางอ้อมต่อการสืบพันธุ์ ได้แก่ การเจริญเติบโต การรักษาสมดุลของสารอาหารต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นต้น

  6. ชนิดของฮอร์โมน (ตามโครงสร้างทางเคมี) • Peptide Protein : 300 – 70,000 Daltonถูกย่อยสลายได้โดยเอนไซม์ ดังนั้นจึงไม่สามารถให้ทางปากได้ ปกติให้โดยการฉีด : Oxytocin, FSH, LH etc. • Steroids : 300 – 400 Dalton เป็นอนุพันธ์ของโคเลสเตอรอล ฮอร์โมนที่ได้มาธรรมชาติแล้วไม่ควรให้ทางปาก แต่ฮอร์โมนสังเคราะห์และฮอร์โมนที่ได้จากพืชสามารถให้ได้โดยการกิน : Testosterone etc. • Fatty acid : ~400 Dalton เป็นอนุพันธ์จากกรด Arachidonic เช่น Prostaglandins • Amine : เป็นอนุพันธ์จากกรดอมิโน Tyrosine หรือ Tryptophan :melatonin

  7. Peptide Bonds

  8. Protein Hormone Mechanism of Action - cAMP second messenger

  9. Steriod biosynthesis pathway

  10. Steroid Hormone Mechanism of Action

  11. Endocrine glands produced Hormone of reproduction • Hypothalamus • Pituitary gland • Gonads (testes/ovaries) • Uterus and Placenta • Pineal gland

  12. Hypothalamus อยู่บริเวณสมองส่วนล่าง บริเวณdiencephalon เป็นส่วนหนึ่งของ สมองส่วนหน้า ด้านบนของ hypothalamus เป็น Optic chiasma ด้านบนติดกับ Thalamus

  13. หน้าที่ของ Hypothalamus • โดยทั่วไปทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับสมดุลต่างๆ ภายในร่างกาย ขบวนการที่มีความสำคัญต่างๆ ได้แก่ ความอยากอาหาร อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิในร่างกาย พฤติกรรรมทางเพศ โดยมีความเชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางและระบบต่อมไร้ท่อ • ผลิต Neuroendocrine ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ คือ GnRH (LH-RH) , ACTH, PIH (Prolactin Inhibiting Hormone) (สั่งงานผ่านต่อมใต้สมองส่วนหน้า – Anterior Pituitary gland) • ผลิต Oxytocin กับ vasopressin แล้วส่งไปเก็บสะสมไว้ในต่อมใต้สมองส่วนหลัง

  14. ฮอร์โมนที่ควบคุมต่อมใต้สมองส่วนหน้าฮอร์โมนที่ควบคุมต่อมใต้สมองส่วนหน้า • PIH  Prolactin inhibiting Hormone • TRH Thyrotropin Relesing Hormone • GH – IH  Growth Hormone Inhibiting Hormone หรือ Somatostatin • CRH  Corticothropin Relesing Hormone • ** GnRH  Gonadotropin Relesing Hormone (ช่วยกระตุ้นการหลั่ง LH & FSH)

  15. ตัวอย่างฮอร์โมนจาก Hypothalamus **RH = Releasing Hormone ICSH= Interstitial cell stimulating hormone releasing hormone

  16. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) ประกอบด้วย • 1) Gonadotroph  ผลิต Gn : LH, FSH • 2) Somatotroph  ผลิต GH • 3) Corticotroph  ผลิต ACTH** • 4) Thyrotroph  ผลิตTSH • 5) Mammotroph หรือ Lactotroph  ผลิต Prolactin

  17. Anterior Pituitary gland

  18. Gonadotropins glycoprotein • FSH (Follicle Stimulating Hormone) • LH (Luteinizing hormone) - ในเพศเมีย กระตุ้นการเจริญของกระเปาะไข่ (follicle) และไข่ (oocyte) - กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน estrogen ภายใน follicle FSH - ในเพศผู้กระตุ้นกระบวนการสร้างอสุจิในขั้นตอนแรก จนกระทั่งได้ 2nd spermatocyte จากนั้น androgen จะมีบทบาทสำคัญจนถึงขั้นสุดท้ายในการผลิตอสุจิ

  19. Ovulatory Follicle

  20. LH – Luteinizing Hormone ในเพศเมีย - กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ - กระตุ้นการเจริญของ Luteal ให้พัฒนา เป็น corpus luteum - กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน progesterone ในเพศผู้ • กระตุ้น Interstitial cells หรือ Leydig cells ให้ผลิต • androgens

  21. Hormone Regulation • 1. Feed-forward • 2. Negative feedback • 3. Positive feedback

  22. Negative Feedback Control • ต่อมผลิตฮอร์โมนใดๆ ที่มีการผลิตฮอร์โมนขึ้นในปริมาณมากเพียงพอ ปริมาณของฮอร์โมนที่มากนั้นจะย้อนกลับไปควบคุมการหลั่งของ RH ให้มีปริมาณน้อยลง

  23. Negative Feedback Control • หากการย้อนกลับไปนั้นเป็นการย้อนกลับไปควบคุมในระยะยาว เช่น ระดับไฮโปทาลามัส และต่อมใต้สมองส่วนหน้า เราเรียกว่า Long-loop feedback • หากเป็นการควบคุมในระยะสั้น เช่น ในระดับตัวเอง เรียกว่า short loop feedback • หากเป็นการควบคุมย้อนกลับที่เกิดจากการควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนจากไฮโปทาลามัสต่อเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนเอง เราเรียกว่า Ultra short loop feedbackเช่น การหลั่ง PIF ของไฮโปทาลามัสมีผลยับยั้งการหลั่ง Prolactin

  24. Positive Feedback Control • ต่อมผลิตฮอร์โมนใดๆ ที่ปริมาณฮอร์โมนที่ผลิตออกมามากเพียงพอนั้นไปมีผลกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนอีกชนิด เช่น การตกไข่

  25. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) ประกอบด้วย • 1) Gonadotroph  ผลิต Gn : LH, FSH • 2) Somatotroph  ผลิต GH • 3) Corticotroph  ผลิต ACTH** • 4) Thyrotroph  ผลิตTSH • 5) Mammotroph หรือ Lactotroph  ผลิต Prolactin

  26. Growth Hormone : Somatotropic Hormone • กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ • กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์ • กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของไขมันให้เป็นกรดไขมันและเพิ่มอัตราการใช้กรดไขมันเป็นพลังงาน • ลดการสะสมกลูโคส growth hormone • ไม่มีเซลล์เป้าหมายที่จะเพาะเจาะจง ****Somatotroph  ผลิต GH

  27. Prolactin • กระตุ้นการพัฒนาของ corpus luteum • และรักษาสภาพของ corpus luteum ไว้ เพื่อให้ผลิตและหลั่งฮอร์โมน Progesterone ต่อไป • กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมและกระตุ้นการสร้างน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม • กระตุ้นพฤติกรรมความเป็นแม่ (Marternal behavior) • กระตุ้นพฤติกรรมการฟักไข่และเลี้ยงลูกในสัตว์ปีก ****Mammotroph หรือ Lactotroph  ผลิต Prolactin

  28. Posterior Pituitary gland

  29. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary) • Oxytocin • Vasopressin (ADH) Oxytocin • กระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของกล้ามเนื้อผนังมดลูกและท่อนำไข่ • ในเวลาผสมพันธุ์ • - กระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของมดลูกเมื่อมีการคลอดลูก • - กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำนม เมื่อลูกสัตว์ดูดนมแม่หรือมีการรีดนม

  30. Prolactin

  31. ฮอร์โมนจากอัณฑะ Testosterone • กระตุ้นการพัฒนาและการเจริญเติบโต การคัดหลั่งของเหลวของต่อมร่วม ระบบท่อและลึงค์ • กระตุ้นขบวนการผลิตอสุจิในช่วงท้าย • ยืดอายุของอสุจิในท่อพักเชื้ออสุจิ • คงสภาวะ secondary sex characteristic และพฤติกรรมทางเพศ และความกำหนัด

  32. Inhibin • มีการผลิตได้หลายแหล่ง แต่แหล่งที่พบว่ามีการผลิตมากเป็นหลักคือ Gonads (และ Placenta) โดย Sertoli cell ในเพศผู้ และ Granulosa cells ในเพศเมีย • เป็นอนุพันธ์ของโปรตีน • ควบคุมการหลั่ง FSH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โดยมีผลในการลดการหลั่ง FSH แต่ไม่มีผลต่อการหลั่ง LH

  33. Ovary

  34. ฮอร์โมนจากรังไข่ • Steroid hormone : • Estrogen • Progesterone • Non- Steroid hormone : • Prostaglandins • Oxytocin • Relaxin

  35. Estrogen • ผลิตจาก granulosa cells ซึ่งรับ androgen มาจาก theca cells มาเปลี่ยนเป็น estrogen • มีหน้าที่ในการกระตุ้นการพัฒนาของเซลล์ไข่ • ทำให้เกิด secondary sex characteristics ที่เป็นลักษณะของเพศเมียทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านพฤติกรรม

  36. Progesterone • มีหน้าที่ในการคงสภาวะการตั้งท้องของสัตว์ โดยทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการคลายตัวบีบตัวน้อยลง • Estrogen+Progesterone กระตุ้นการพัฒนาของ lobulo - alveolar system ของเต้านม และทำให้เกิดจากการขยายจำนวนของเนื้อเยื่อบุผิวมดลูก

  37. Prostaglandins • เป็น Lipid soluble acid มีการผลิตมาจากเซลล์ทั่วไป • สำหรับเซลล์ granulosa จะผลิต PGF2 และ PGE2 ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการทำให้ follicle แตก ปลิ ในช่วงตกไข่ • PGF2 จากรังไข่ของ primate***มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสลายตัวของ CL (Luteolysis) • PGF2 จาก endometriumของมดลูก ทำหน้าที่สลาย CL สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โค ม้า แพะ แกะ และสุกร***

  38. Oxytocin • เป็น Polypeptide • ผลิตที่ CL ของแกะ โค กระบือ และมนุษย์ (พบมากที่ Ovarian vein) • ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของรังไข่ • ช่วยในการบีบตัวของมดลูกทำให้เกิดการคลอด • ช่วยในการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมในช่วงสัตว์ให้นมลูก (Lactation)

  39. Relaxin • เป็นสารกลุ่ม polypeptide • ช่วยทำให้ พังผืดบริเวณกระดูกเชิงกรานอ่อนตัว • ลดการบีบตัวของมดลูก

  40. Placental hormone • PMSG – Pregnant Mare Serum Gonadotropin • HCG – Human Chorionic Gonadotropin • Placental Lactogen • Protein B

  41. PMSG – Pregnant Mare Serum Gonadotropin • เป็น Glycoprotein • มี  และ βsubunit คล้ายคลึงกับ LH และ FSH แต่มี Carbohydrate สูง โดยเฉพาะ sialic acid จึงทำให้มีครึ่งชีวิต (Half life)ยาวนาน ดังนั้นการฉีด PMSG ในระดับที่เหมาะสมเพียง 1 ครั้ง ก็สามารถมีผลยาวนานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ • ทำให้เกิด accessory corpora lutea ช่วยในการผลิต Progesterone ช่วยในการคงสภาพตั้งท้อง

  42. HCG – Human Chorionic Gonadotropin • Glycoprotein • สร้างจากรกสัตว์จำพวก Primates • ซึ่งสามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือดและปัสสาวะของ Primates ที่มีการตั้งท้อง และในกระแสเลือด ** ชื่อเรียกแตกต่างไป เช่น Bovine chorionic Gonadotropin ช่วยในการแก้ปัญหา Cystic ovary

  43. Placental Lactogen • พบในรกแต่ไม่พบใน serum จนกว่าจะเป็นช่วงท้องแก่ • ออกฤทธิ์คล้ายกับ Growth hormone มากกว่า Prolactin • มีความสำคัญในการควบคุมอาหารจากแม่ไปสู่ลูกสัตว์ และการเจริญเติบโตของลูกสัตว์ • ในโคนมพบว่ามีมากกว่าโคเนื้อ ดังนั้นจึงเข้าใจว่ามีความเกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำนมด้วย

  44. Protein B • พบในเลือดโคที่ตั้งท้อง 22 วันขึ้นไป ไม่พบในน้ำนมและปัสสาวะ • มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ Corpus luteum spurium ถูกทำลายในช่วงที่มีการตั้งท้อง

  45. Uterine Hormone • Prostaglandins

  46. Pineal body

  47. Pineal gland • อยู่บริเวณสมองส่วน cerebral มีขนาดแตกต่างกันไปแต่ละ species • มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก • ใน mammals ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการสืบพันธุ์ มีความสำคัญต่อการถึงวัยหนุ่มสาว • มีความสำคัญในการมีฤดูกาลสืบพันธุ์ของสัตว์ • ผลิตฮอร์โมน Melatoninที่ควบคุมการตอบสนองต่อช่วงแสงของ Neuroendocrine-gonadal activity

  48. บทบาทของต่อมไพเนียล • บทบาทในเรื่องกลไกกลางวันกลางคืน พบว่า melatonin จะมีระดับสูงในช่วงกลางคืน • บทบาททางการสืบพันธุ์ โดยเกี่ยวข้องกับฤดูกลาลสืบพันธุ์ เช่น หนูแฮมสเตอร์มีขนาดอัณฑะใหญ่ในฤดูใบไม้ผลิ ในขณะที่เพศเมียก็จะมีอาการเป็นสัดเช่นเดียวกัน (สัตว์ในกลุ่มที่มีฤดูกาลผสมพันธุ์สัมพันธ์กับช่วงแสง – Photoperiodic species) • Receptor ของ melatonin อยู่ที่บริเวณ Hypothalamus

More Related