1 / 13

เป็น antibiotics กลุ่มใหญ่ที่สุด มี basic chemical nucleus คือ Beta lactam ring คุณสมบัติทางเคมี

PENICILLINS. เป็น antibiotics กลุ่มใหญ่ที่สุด มี basic chemical nucleus คือ Beta lactam ring คุณสมบัติทางเคมี

judah
Download Presentation

เป็น antibiotics กลุ่มใหญ่ที่สุด มี basic chemical nucleus คือ Beta lactam ring คุณสมบัติทางเคมี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. PENICILLINS • เป็น antibiotics กลุ่มใหญ่ที่สุด มี basic chemical nucleus คือBeta lactam ring คุณสมบัติทางเคมี • ยาเพนนิซิลลินมีคุณสมบัติที่ไม่คงทนและละลายน้ำได้น้อยมาก ตัวยาจะเกิดขบวนการ hydrolysis อย่างรวดเร็วเมื่อถูกกับความชื้น ดังนั้นเมื่อละลายน้ำแล้วต้องใช้ภายใน 7 วัน โดยเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส หรือเตรียมยาโดยใช้โปรเคนเป็นบัฟเฟอร์ จะช่วยให้เก็บยาได้นาน 2 ปี

  2. หน่วยของยาเพนนิซิลลินจียังนิยมใช้ “ยูนิต” โดย 1 ยูนิตของยาเพนนิซิลลินจีเทียบเท่ากับ 0.6 ไมโครกรัมของเพนนิซิลลินจีผงบริสุทธิ์ หรือ เพนนิซิลลินจีบริสุทธิ์ 1 มิลลิกรัมประกอบไปด้วยตัวยา 1,667 ยูนิต ส่วนยาเพนนิซิลลินกึ่งสังเคราะห์อื่นๆ เช่น แอมพิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน นิยมใช้หน่วยเป็นกรัม

  3. กลุ่มยาPenicillin มีดังนี้ 1. Penicillinไม่ทนกรด เช่น Penicillin G 2. Penicillin ทนกรด เช่น Penicillin V 3. อนุพันธ์ของPenicillinออกฤทธิ์กว้าง เช่น Ampicillin, Amoxycillin 4.อนุพันธ์ของPenicillinออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียที่สร้าง enzyme Penicillinase (แบคทีเรียที่ดื้อยาPenicillin) เช่น Cloxacillin, Dicloxacillin 5. อนุพันธ์ของPenicillinออกฤทธิ์ต่อเชื้อPseudomonas aeruginosaเช่น Carbenicillin, Ticarcillin กลุ่มยาเซฟฟาโลสปอรินออกฤทธิ์กว้าง มักจัดเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง แต่มี lactam ring เช่นเดียวกับPenicillin)

  4. กลไกการออกฤทธิ์ • ออกฤทธิ์ห้ามการสังเคราะห์ผนังเซลในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆภายในเซลยังคงมีการสร้างต่อไปตามปกติ ทำให้เป็นการเพิ่มแรงดันภายในเซล ซึ่งจะมีผลต่อผนังเซลที่ผิดปกติทำให้รับแรงดันไม่ไหว เซลจะแตก ตายและสลายไป bactericidal • แต่ยาเพนนิซิลลินจะไม่มีผลต่อผนังเซลที่มีอยู่เดิม ดังนั้นยาเพนนิซิลลินจึงไม่มีฤทธิ์ต่อเซลที่อยู่ในระยะที่ไม่มีการเจริญเติบโต จึงไม่เหมาะที่จะใช้เป็นยารักษาโรคที่เป็นอย่างเรื้อรัง

  5. ขอบเขตการออกฤทธิ์ • มีความแปรผันตามชนิดของอนุพันธ์ (ยาที่ผลิตออกมารุ่นใหม่ๆ จะออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแกรมลบได้ดีขึ้น) แต่ส่วนใหญ่แล้วให้ผลต่อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก ประเภทรูปร่างกลม (cocci) และรูปร่างแท่ง (bacilli) และให้ผลไม่ดีต่อ แบคทีเรียชนิดแกรมลบ เช่น E.coli

  6. ในการสังเคราะห์ตัวยาใหม่ๆในกลุ่ม Penicillins ต้องออกฤทธิ์ได้ดีกว่า Penicillin ตัวแรกๆที่ค้นพบ กล่าวคือ • ควรมีความทนทานต่อเอนซัยม์เบตาแลคตาเมสเพื่อลดปัญหาการดื้อยา • ควรมีขอบเขตในการออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขึ้น • ต้องมีความทนทานต่อกรด • ควรจะรวมตัวกับซีรั่มโปรตีนได้น้อย ซึ่งจะทำให้ยาสามารถกระจายตัวได้ดี

  7. ฤทธิ์ทางเภสัชจลนศาสตร์ฤทธิ์ทางเภสัชจลนศาสตร์ • ยาในกลุ่ม Penicillinsถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้มากหรือน้อยแตกต่างกัน (ตารางที่ 1) ยาบางขนานถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหารได้ง่าย เช่น Penicillin Gซึ่งควรให้ในรูปแบบยาฉีด ยาบางขนานทนต่อกรด สามารถให้โดยการกินได้ แต่ควรกินก่อนอาหารอย่างน้อย 0.5-1 ชั่วโมง หรือ หลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงผลของอาหารที่อาจขัดขวางการดูดซึมของยาได้

  8. ฤทธิ์ทางเภสัชจลนศาสตร์ (ต่อ) • ยาที่ให้โดยการกินจะดูดซึมถึงระดับสูงสุดในเลือดหลังจากกินยา 0.5-1 ชั่วโมง ยกเว้นยาที่เตรียมในรูปที่ต้องการให้มีการดูดซึมอย่างช้าๆและคงอยู่ในร่างกายได้นาน เช่น Procaine penicillin Gและ Benzathine penicillin Gซึ่งดูดซึมถึงระดับสูงสุดประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังฉีดเข้ากล้ามเนื้อ • ยาในกลุ่มPenicillins จะกระจายไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายได้ดี ตำแหน่งที่ยาเข้าไปได้น้อยคือ ตา สมอง และน้ำไขสันหลัง แต่ถ้ามีการอักเสบและเพิ่มขนาดยาให้สูงขึ้นก็จะสามารถรักษาได้

  9. ฤทธิ์ทางเภสัชจลนศาสตร์ (ต่อ) • ยาในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ถูกขับออกจากร่างกายทางไตโดย tubular secretion และมีบางส่วนถูกขับออกทาง glomerular infiltration บ้าง ยาที่ผลิตออกมาระยะหลังๆจะถูกขับออกมาทางน้ำดีร่วมด้วย ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ • Penicillin ก่อให้เกิดอาการแพ้ในบางราย โดยเฉพาะในแมวแต่กล่าวโดยสรุปแล้วคือเป็นกลุ่มยาที่มีความปลอดภัยในระดับสูง

  10. ตารางที่ 1แสดงค่าเภสัชจลนศาตร์และฤทธิ์ของยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน ที่ใช้บ่อย หมายเหตุ G +หมายถึงเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก G-หมายถึงเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ

  11. Penicillin G • เป็นยาขนานหนึ่งของกลุ่มPenicillinsที่ใช้มาก มีหลายรูปแบบ • เป็นยาที่ไม่ทนกรดและด่าง (ไม่ถูกทำลายที่ pH 6-7 เท่านั้น) ดังนั้นถ้าให้กินขนาดจะสูงกว่าฉีดมากเนื่องจากดูดซึมที่ลำไส้ได้เพียง 1ใน 5 ส่วนของยาที่ให้ โดยเฉพาะในสัตว์ใหญ่จะไม่นิยมการให้ทางปากเนื่องจากต้องใช้ยามาก ดังนั้นการให้ยาจะต้อง* check route ที่ให้ยาให้ดี • นิยมใช้ยาฉีดในรูป Sodium, Potassium salt ยาในรูป suspension ผสมกับ procaine ทำให้ดูดซึมช้าลง ยาอยู่ได้นาน ที่ใช้มากคือ Procaine penicillin G , Benzathinepenicillin G

  12. เป็นยาที่ละลายในไขมันได้น้อยมากผ่าน membrane barrier ได้น้อย,low plasmabinding ability อยู่ในรูปแตกตัวในเลือดเป็นส่วนใหญ่ และยาถูกทำลายได้เร็ว • ยาไม่ผ่าน blood-brain barrier ไม่ขับออกกับน้ำนม ยกเว้นขนาดยาสูงมาก • Penicillin G มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ ใช้ได้ดีกับ แบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างแท่งและรูปร่างกลม และเชื้อ Leptospirainterrogans

  13. Penicillin G ก็เหมือนกับปฏิชีวนะอื่น ๆ คือไม่สามารถทำลายสารพิษที่แบคทีเรียสร้างได้ • ขนาดยา 11,000 - 22,000 units/kg (Booth & McDonald, 1982) • มีความเป็นพิษน้อย แต่อาจพบรายที่แพ้ได้ โดยเฉพาะในแมว, คน • ออกฤทธิ์ synergism กับกลุ่ม Aminoglycosides เช่น Penicillin+Streptomycin(PenomycinR)

More Related