1 / 100

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และ วิวัฒนาการของภาษาไทย

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และ วิวัฒนาการของภาษาไทย. วิชาไทยศึกษา. ความสำคัญของภาษา. ภาษาเป็นสมบัติของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ทุกสังคมมีภาษาเฉพาะของตน. การจัดกลุ่มภาษา. แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของภาษา : ตระกูลภาษา แบ่งตามโครงสร้างคำ แบ่งตามการเรียงลำดับคำในประโยค.

Download Presentation

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และ วิวัฒนาการของภาษาไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และ วิวัฒนาการของภาษาไทย วิชาไทยศึกษา

  2. ความสำคัญของภาษา • ภาษาเป็นสมบัติของมนุษย์ • ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร • มนุษย์ทุกสังคมมีภาษาเฉพาะของตน

  3. การจัดกลุ่มภาษา แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของภาษา: ตระกูลภาษา แบ่งตามโครงสร้างคำ แบ่งตามการเรียงลำดับคำในประโยค

  4. ตระกูลภาษา (Language Families) อินโดยูโรเปียน: ละติน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, สันสกฤต ไท (ไต) : ไทย ลาว ผู้ไท ไทยดำ ไทลื้อ มอญ-เขมร: เขมร มอญ ขมุ ละว้า ไซโนทิเบตัน: จีนกลาง กวางตุ้ง พม่า ทิเบต ออสโตรนิเชียน: มาเลย์ อินโดนีเซีย ตะกะลอค ฮามิโตซิเมติก: อาราบิค ฮีบรู

  5. ตระกูลภาษาอินโดยูโรเปียนตระกูลภาษาอินโดยูโรเปียน

  6. ภาษาตระกูลไท ฟัง กวย ลี ( Fang Kui Li : 1 959) นักภาษาศาสตร์เชื้อสายจีนแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้แบ่งภาษาตระกูลไทออกเป็น 3 กลุ่ม โดยดูความสัมพันธ์ของคำและเสียง

  7. ภาษาตระกูลไท ภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ (The South Western Tai) ภาษาไทกลุ่มกลาง (The Central Tai) ภาษาไทกลุ่มเหนือ (The Northern Tai)

  8. ภาษาไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ( The South Western Tai) พม่า ได้แก่ ไตใหญ่ ไตแดง เป็นต้น ไทย ได้แก่ ไทยสยาม ไทตากใบ เป็นต้น ลาว ได้แก่ ไตดำ ไตแดง เป็นต้น เวียดนาม ได้แก่ ไตขาว ไตดำ เป็นต้น จีน ได้แก่ ไตลื้อ ไตหย่า เป็นต้น อินเดีย ได้แก่ อาหม ไตพ่าเก่ ไตคำตี่

  9. ภาษาไทกลุ่มกลาง ( The Central Tai ) โท้ และนุง ในประเทศเวียดนามเหนือ ลุงเจา และยุงชุน ในประเทศจีน ไตบลัง เทียนเปา

  10. ภาษาไทกลุ่มเหนือ ( The Northern Tai ) โป้อ้าย - เชียนเจียง อูหมิง - เสเหง เทียนโจว - ลิงยุน

  11. การจัดกลุ่มภาษาโดยลักษณะโครงสร้างคำการจัดกลุ่มภาษาโดยลักษณะโครงสร้างคำ กลุ่มภาษาคำโดด กลุ่มภาษาวิภัติปัจจัย ภาษาคำติดต่อ

  12. กลุ่มภาษาคำโดด (Isolating) ไม่มีการเปลี่ยนรูปเพื่อบอกหน้าที่ทางไวยากรณ์ ไทย ลาว จีน เวียดนาม ตัวอย่าง ฉันกินข้าว (วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อวานนี้)

  13. กลุ่มภาษาวิภัติปัจจัย (Inflectional) เปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงความหมายและหน้าที่ทางไวยากรณ์ หรือเติมวิภัติปัจจัย กรีก ละติน สันสกฤต อังกฤษ ฝรั่งเศส ตัวอย่าง child-children mouse-mice

  14. กลุ่มภาษาคำติดต่อ (Agglutinating) นำหน่วยคำไม่อิสระมาเติมเข้ากับรากศัพท์เพื่อบอกหน้าที่ทางไวยากรณ์ แยกส่วนต่าง ๆ ได้ง่าย สวาฮิลี เตอรกี ตัวอย่าง ni-na-soma ‘I-pres.-read’ ‘I am reading’ ni-ta-soma ‘I-future-read’ I will read’

  15. การจัดกลุ่มภาษาโดยการเรียงลำดับคำการจัดกลุ่มภาษาโดยการเรียงลำดับคำ SVO :อังกฤษ ไทย ฝรั่งเศส เขมร เวียดนาม จีน SOV : ญี่ปุ่น เกาหลี VSO : เวลช์ VOS : มาลากาซี OVS :Makushi, Apalai OSV :Fasu, Jamamadi จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล.(2549)

  16. ลักษณะภาษาไทย ภาษาคำโดด : พยางค์เดียว ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ กาล ในประโยค สร้างคำด้วยวิธีประสมคำ มีวรรณยุกต์ มีคำลักษณนาม

  17. วิวัฒนาการของภาษาไทย

  18. วิวัฒนาการอักษรไทย ก่อนสมัยสุโขทัย: อักษรคฤนถ์หรือปัลลวะ (อักษรอินเดียตอนใต้) อักษรขอมโบราณ อักษรมอญโบราณ ไม่มีวรรณยุกต์ สระอยู่ หน้า หลัง บน ล่าง ลายสือไทย สมัยพ่อขุนรามคำแหง เริ่มใช้วรรณยุกต์ สระบนบรรทัดเดียวกัน อักษรไทยสมัยพระเจ้าลิไท สระอยู่หน้า หลัง บน ล่าง เพิ่ม สระเกิน ฤ ฦ

  19. วิวัฒนาการอักษรไทย อักษรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา รูปวรรณยุกต์ 2 รูป เอก โท เหมือนปัจจุบัน เล่นหางหยักปลาย อักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เพิ่มรูปวรรณยุกต์เป็น 4 รูปไม่เล่นหางหยักปลาย อักษรอาลักษณ์ (คัดบรรจง) อักษรตัวพิมพ์ สมัยรัชกาลที่ 3 ( ใช้ในการพิมพ์ )

  20. วิวัฒนาการอักษรไทย อักษรอาลักษณ์ ใช้เป็นแบบตัวอักษรที่สวยงาม ใช้เขียนในเอกสารพิเศษต่าง ๆ เช่น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ฯลฯ แผนกอาลักษณ์ กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ใช้เป็นแบบของทางราชการ

  21. ตัวอย่างอักษรอาลักษณ์ตัวอย่างอักษรอาลักษณ์

  22. วิวัฒนาการภาษาไทย ภาษาไทยสมัยสุโขทัย ภาษาไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-3) ภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ 4-6 ภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ 7-8 ภาษาไทยสมัยปัจจุบัน

  23. ภาษาไทยสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อิทธิพลจากขอม มอญ และปัลลวะของอินเดียตอนใต้ ภาษาคำโดด มีคำยืมจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร (กถิน กุร รูบ) พยัญชนะ 39 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 2 รูป (ไม่มี ฌ ฑ ฒ ฬ ฮ)

  24. ลักษณะภาษาไทยสุโขทัย พยัญชนะ สระ เรียงบนบรรทัดเดียวกัน อิ อี อื อุ อู หน้าพยัญชนะ เขียนพยัญชนะต้น สระติดกัน แยกจากตัวสะกด เช่น ‘ทา น’ พยัญชนะควบหรือนำ วางวรรณยุกต์ไว้ที่พยัญชนะแรกเช่น ‘ ให่ญ’ ‘ไพ่ร’ ‘เห๋ลน’ สระ ออ อือ ไม่ต้องมี อ เคียง ‘พ่’ ไม่มีไม้หันอากาศ ‘อนน’ และเมื่อเริ่มใช้ วางไว้ที่ตัวสะกด เช่น ‘ส่งัสอน’

  25. หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

  26. ภาษาไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-3) จินดามณี พงศาวดาร วรรณกรรม จดหมายเหตุ พยัญชนะ 44 รูป แบ่งเป็น 3 หมู่ สระ 21 รูป และวรรณยุกต์ 4 รูป

  27. ภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ 4-6 คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น โฮเต็ล สยามกัมมาจล ตะแลปแก๊บ มูลบทบรรพกิจ - พระยาศรีสุนทรโวหาร

  28. ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ.2485 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศปรับให้ตัดพยัญชนะ สระเสียงซ้ำ งดใช้สระ 5 รูป : ใ ฤ ฤา ฦ ฦา งดใช้พยัญชนะ 13 รูป : ฃ ฅ ฆ ฌ ฏ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ ยกเลิกเมื่อปี พ.ศ. 2487

  29. ระบบเสียงภาษาไทยปัจจุบันระบบเสียงภาษาไทยปัจจุบัน พยัญชนะ 44 รูป 21 เสียง สระ 26 รูป (พจนานุกรม 2525) 21 เสียง วรรณยุกต์ 4 รูป 5 เสียง

  30. ตารางระบบเสียงภาษาไทยปัจจุบันตารางระบบเสียงภาษาไทยปัจจุบัน

  31. การประกอบคำในภาษาไทย หน่วยคำ:หน่วยที่เล็กที่สุดที่มีความหมาย กระบวนการสร้างคำ การประสมคำ :รถไฟ โรงเรียน แม่น้ำ พ่อครัว บุรุษพยาบาล การผสานคำ:ชาวสวน ผู้เรียน นักเขียน การซ้อนคำ:บ้านเรือน ชั่วดี อดหลับอดนอน อดตาหลับขับตานอน การซ้ำคำ:ดำดำ เล็กๆ เด็กๆ เร็วๆ

  32. กระบวนการสร้างคำ การผนวกคำ : คุ้นชิน คัดสรร กระเปรง การเปลี่ยนหน้าที่ทางไวยากรณ์ : โทรศัพท์ ระเบิด การตัดคำ : หอ ก๊อป โปร การย่อคำ : รปภ. วีเจ ส.บ.ม.ย.ห. การสร้างใหม่ : เละตุ้มเป๊ะ แหล็น การยืมศัพท์ : เปเปอร์ โลเกชั่น การเลียนเสียงธรรมชาติ : บึ้ม ปิ๊ง แป๊ก

  33. ประโยค ประโยคความเดียว : แม่ให้นาฬิกาฉัน ประโยคความซ้อน: ฉันคิดว่าเขาโกหก ประโยคความรวม: ฉันอยากไปเที่ยวแต่ต้องเฝ้าบ้าน

  34. การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย ระดับเสียง ระดับคำ ระดับไวยากรณ์ ระดับความหมาย

  35. การเปลี่ยนแปลงเสียง การเปลี่ยนเสียงสระ: จาริก > จารึก โนน >นอน การยืดเสียงสระ: เข๋า >ข้าว การเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ : ทงง (สามัญ) >ทั้ง (ตรี) ก่ (เอก) >ก็ (โท)

  36. การเปลี่ยนแปลงในระดับเสียงในภาษาไทยปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงในระดับเสียงในภาษาไทยปัจจุบัน เสียงคำควบกล้ำ ร ล ปรับปรุง >ปับปุง เปลี่ยนแปลง >เปี่ยนแปง เครียด >เคียด ปลา >ปา เสียง ช ในภาษาไทย เช่น ฉันชอบช่วยชาวบ้าน วรรณยุกต์สูงขึ้น: แม่ ระดับเสียงท้ายประโยค เสียงสระ มั่กๆ

  37. การเปลี่ยนแปลงในระดับคำการเปลี่ยนแปลงในระดับคำ ลักษณะนาม สมัย สุโขทัย ‘ดวง’ ใช้กับ รูปสัณฐานกลม ปัจจุบันใช้ได้กับสิ่งไม่มีรูป เช่น ดวงวิญญาณ นาม >กริยา : โทรศัพท์ วิทยุ ฬอออ ‘ล่อหลอก’ ไม่มีใช้ในปัจจุบัน ชักรูป = ถ่ายรูป

  38. การเปลี่ยนแปลงในระดับไวยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในระดับไวยากรณ์ สุโขทัย: ปฏิเสธซ้อน เขาไป่มิรู้จักว่าผู้มีบุญ (ไตรภูมิพระร่วง) จึง + ประธาน + กริยา จึงข้าพเจ้าได้เลือกสรรจัดแจงผู้ใหญ่ควรกับราชการ ถล่ม : สกรรมกริยา > อกรรมกริยา

  39. การเปลี่ยนแปลงในระดับความหมายการเปลี่ยนแปลงในระดับความหมาย สุโขทัย: แพ้ =ชนะ, แกล้ง = จริงใจ อาว์ ‘น้องชายของพ่อ’ > อา ‘น้องของพ่อ’ เมืองนอก ‘นอกเมือง’ > ‘ต่างประเทศ’ ลูกค้า ‘ลูกน้องพ่อค้า’ > ‘ผู้ซื้อ’ ถูกตี >ถูกเชิญ

  40. ความหลากหลายในการใช้ภาษาความหลากหลายในการใช้ภาษา

  41. การแปรตามเพศ

  42. ภาษากับเพศของผู้พูด เพศเป็นปัจจัยที่ทำให้สถานภาพของคนในสังคมต่างกัน บทบาทของแต่ละเพศในแต่ละสังคมก็แตกต่างกัน บทบาทของเพศเป็นสิ่งที่เรียนรู้จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม

  43. ภาษากับเพศของผู้พูด พันธุกรรม และ ความแตกต่างทางร่างกายอาจมีอิทธิพลต่อบทบาทของแต่ละเพศ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บทบาทที่เรียนรู้จะกำหนดพฤติกรรมของแต่ละเพศในสังคม

  44. ภาษากับเพศของผู้พูด บทบาทจะกำหนดพฤติกรรมทางภาษา บทบาททางเพศมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของแต่ละเพศ

  45. ความแตกต่างระหว่างภาษาของแต่ละเพศความแตกต่างระหว่างภาษาของแต่ละเพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มจะใช้รูปภาษาที่มีมาตรฐานหรือมีศักดิ์ศรีมากกว่า ตัวอย่างงานวิจัย อังสนา จามิกรณ์ (2532) บุญเรือง ชื่นสุวิมล (1993) ปาลีรัฐ ทรัพย์ปรุง (2537) (ภาษาในสังคมไทย: 64 - 65)

  46. ความแตกต่างระหว่างภาษาของแต่ละเพศความแตกต่างระหว่างภาษาของแต่ละเพศ ภาษาไทย (โสมพิทยา 2539) แต่ละเพศใช้คำลงท้ายต่างกัน กลุ่มหญิง: ใช้สรรพนามและคำลงท้ายที่บ่งบอกเพศหญิง เช่น หนู ดิฉัน คะ ขา กลุ่มชาย : ใช้สรรพนามและคำลงท้ายที่บ่งบอกเพศชาย เช่น ผม ครับ กลุ่มชายที่มีใจเป็นหญิง: ใช้ของทั้งสองกลุ่ม

  47. การแปรตามถิ่นที่อยู่

  48. ถิ่นที่อยู่อาศัย สถานที่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตั้งรกรากหรือถิ่นฐาน และใช้ชีวิตอยู่อย่างถาวร เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนในสังคม รวมทั้งพฤติกรรมทางภาษาด้วย

  49. ภาษาถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงของภาษาภาษาถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงของภาษา การแปรของภาษาตามถิ่น ถิ่นต่างๆพูดต่างกัน ถิ่นที่ห่างไกลกันมากภาษาอาจแปรไปจนสื่อสารกันไม่เข้าใจ

  50. ภาษาไทยถิ่น ถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้พูดมีอิทธิพลทำให้ภาษามีเอกลักษณ์ของตนเอง วิธภาษาถิ่นจำแนกตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยถิ่นกลาง

More Related