1 / 29

การประเมินผลการศึกษาในชั้นเรียน

การประเมินผลการศึกษาในชั้นเรียน. ดร.สงบ ลักษณะ Ph.D. in Measurement & Statistics University of Iowa sangoblks@gmail.com. ไทยได้คะแนนต่ำกว่า Mean OECD จากการวัดและประเมินผล Reading, Mathematics and Science ในปี 2012.

lydie
Download Presentation

การประเมินผลการศึกษาในชั้นเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินผลการศึกษาในชั้นเรียนการประเมินผลการศึกษาในชั้นเรียน ดร.สงบ ลักษณะ Ph.D. in Measurement & Statistics University of Iowa sangoblks@gmail.com

  2. ไทยได้คะแนนต่ำกว่า Mean OECD จากการวัดและประเมินผล Reading, Mathematics and Scienceในปี 2012 PISA (Programme for International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ที่วัดความรู้และทักษะของนักเรียนอายุ 15 ปี ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ PISAมีการประเมินต่อเนื่องทุกๆ 3 ปี แต่ละครั้งประเมินครอบคลุมทั้งสามด้านแต่ให้น้ำหนักด้านใดด้านหนึ่งเป็นหลักและอีกสองวิชาเป็นวิชารอง PISA2012 เน้นคณิตศาสตร์ PISA2015 เน้นวิทยาศาสตร์ และPISA 2018 เน้นการอ่าน

  3. จุดเน้นของการสนทนา อะไรเกี่ยวข้องกับคุณภาพของการเรียนการสอน? ทำไมจึงต้องให้ความสำคัญกับการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน? อะไรคือข้อบกพร่องสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน? มีวิธีเพิ่มคุณภาพของการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างไร?

  4. แนวความคิดเบื้องต้น • การวัดผล (Measurement) การแสดงปริมาณของสิ่งที่วัดได้ • การประเมินผล (Evaluation) การตัดสินความเหมาะสมดีงามของสิ่งที่ได้จากการวัดผล • การวัดและประเมินผล(Assessment) กระบวนการที่รวมทั้งการวัดผลและประเมินผล การหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจในระดับของการเกิดขึ้นและระดับของความเหมาะสม • เครื่องมือวัดและประเมินผลเช่นแบบทดสอบ (Test), แบบสังเกต, แบบสัมภาษณ์, แบบประเมินตนเองโดยตอบแบบสอบถาม, แบบประเมินโดยผู้อื่น

  5. ระบบคุณภาพการเรียนการสอนระบบคุณภาพการเรียนการสอน เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์การเรียนรู้จากหลักสูตร กิจกรรมกระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลระหว่างการเรียนสอน (Formative Assessment) การวัดและประเมินผลการเรียน (Summative Assessment)

  6. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน คุณลักษณะที่ต้องการวัดและประเมิน Knowledge เครื่องมือ Intellectual abilities Stimulus Skills Student Response (Test) Attitudes (speak, write, do) Values Interpret Inference to characteristics

  7. ความสำคัญของการวัดและประเมินผลความสำคัญของการวัดและประเมินผล • การวัดและประเมินผลเป็นองค์ประกอบสำคัญของการควบคุมมาตรฐานคุณภาพของการจัดการศึกษา • การวัดและประเมินผลเป็นกลไกการติดตามผลการเรียนรู้รายบุคคลเพื่อการช่วยเหลือให้ปรับปรุงการเรียนรู้ไปสู่ความสำเร็จตามมาตรฐานคุณภาพที่มุ่งหวัง • การวัดและประเมินผลช่วยให้ข้อมูลชี้นำการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนตามมาตรฐานคุณภาพที่ปรารถนา • การวัดและประเมินผลช่วยเป็นหลักฐานตัดสินการวิจัยพัฒนา

  8. จุดอ่อนของการวัดและประเมินผลที่มักเกิดขึ้นจุดอ่อนของการวัดและประเมินผลที่มักเกิดขึ้น • วัดความรู้ผิวเผิน เน้นความรู้ความจำตามเนื้อหาวิชาเช่น วัด ability to know, not ability to do • ไม่สามารถวัดความสามารถระดับสูง เช่น ความเข้าใจ, การนำไปใช้, การวิเคราะห์, การสังเคระห์, การแก้ปัญหา เป็นต้น • วัดความสามารถด้านต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน และไม่เต็มมาตรฐานของหลักสูตร • มักวัดผลลัพธ์สุดท้ายโดยละเลยการวัดกระบวนการปฏิบัติ • มักละเลยการวัดความรู้ความคิดที่แตกต่างหลากหลาย divergent thinking • วัดความสามารถในเชิงแยกส่วนมากกว่าการวัดการบูรณาการของความรู้ • มักวัดความรู้ตามตำรามากกว่าการวัดการใช้ความรู้ในสถานการณ์ชีวิตจริง • ใช้เครื่องมือที่ด้อยคุณภาพ ไม่สามารถวัดได้ถูกต้องตรงความเป็นจริง, ผู้ไม่มีความสามารถก็ได้คะแนนสูงได้ • ตัดสินการให้คะแนนโดยใช้ความเห็นของตนเองมากกว่าเหตุผลเชิงปรนัย • การมอบหมายงานการศึกษาค้นคว้าหรือให้ผู้เรียนปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • ตัดสินผลการเรียนให้เกรดจากการวัดและประเมินผลที่จำกัด ไม่มีผลการวัดและประเมินผลจากวิธีการหลายอย่าง Triangulation • การตัดสินผลการเรียนไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงของผู้เรียนและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพ • การวัดและประเมินผลไม่สามารถจำแนกคนเก่ง คนดี ออกจากคนไม่เก่ง คนไม่ดี หรือ ไม่สามารถชี้คนที่ ไม่เก่ง คนที่ไม่ดี

  9. คุณภาพของการวัดและประเมินผลที่พึงปรารถนาคุณภาพของการวัดและประเมินผลที่พึงปรารถนา • ออกแบบเครื่องมือการวัดให้ตรงและครบถ้วนในมาตรฐานความรู้ความาสามารถของวิชานั้น ๆ หรือ วัดได้ตรงและครบถ้วนตามมาตรฐานความรู้ความสามารถและจุดประสงค์การเรียนรู้ในหลักสูตรวิชานั้น • ออกแบบเครื่องมือจากการวัดความสามารถระดับพื้นฐานไปสู่ความสามารถระดับสูง เช่น ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการแก้ปัญหา • พิถีพิถันออกแบบเครื่องมือการวัดให้มีคุณภาพ ด้านความตรง และความเป็นปรนัย • ออกแบบเครื่องมือให้สามารถวัดความรู้ความสามารถในสถานการณ์จริง • ออกแบบให้มีเครื่องมือการวัดที่หลากหลายตามลักษณะTriangulation • ใช้ข้อมูลที่กว้างขวางและแม่นตรงต่อความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน เพื่อการตัดสินผลการเรียน (Grade) • ใช้ผลการวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาผู้เรียน และพัฒนามาตรฐานหลักสูตรการเรียนการสอน

  10. กระบวนการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลกระบวนการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล • วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดขอบเขตของความรู้ความสามารถที่เป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • วางแผนวัดจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วยเครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น 1.วัดความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน โดย แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 2.วัดความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดย แบบทดสอบ แบบเขียนตอบ 3.วัดความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ การวิเคราะห์ แก้ปัญหา โดย การวัดเชิง ปฏิบัติจริง เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการณ์ การทำโครงงาน • ให้น้ำหนักกับการวัดแลประเมินผลแบบต่าง ๆ • ดำเนินการวัดและเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่เที่ยงตรงเป็นปรนัย • ประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูลตัดสินผลการเรียนแบบอิงเกณฑ์มาตรฐาน

  11. Taxonomy of Cognitive Abilitiesระดับความสามารถทางความรู้ความคิด Level 1.00 Knowledge ความสามารถด้านความรู้ Level 2.00 Comprehension ความสามารถด้านความเข้าใจ Level 3.00 Application ความสามารถด้านการนำไปใช้ Level 4.00 Analysis ความสามารถด้านการวิเคราะห์ Level 5.00 Synthesis ความสามารถในการสังเคราะห์ Level 6.00 Evaluation ความสามารถด้านการประเมินค่า

  12. แบบทดสอบ (Test) 1. แบบทดสอบข้อเขียน Paper and Pencil Test * Multiple-Choice Test * Short Answer Test * Essay Test 2. แบบทดสอบโดยการพูดตอบ Oral Test 3. แบบทดสอบภาคปฏิบัติหรือการวัดที่แท้จริง Performance Authentic Test * Process Test * Product Test

  13. คำถามด้านความรู้ : The ability to recall, recognize, remember, the specific facts, concepts, terminology, principles, theories, methodology, criteria, categories, trends, conventions, etc. มีวิธีการอย่างไรที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ความหมายของการตลาดเชิงรุกคืออะไร จงอธิบายจุดเน้นของ “นโยบาย”, “วิสัยทัศน์” , “พันธกิจ” จงระบุตัวชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อะไรคือหลักการสำคัญของทฤษฎี Thermodynamic Physics จงอธิบายกระบวนการชะลอการเติบโตของมะเร็งระยะที่ 1

  14. คำถามด้านความเข้าใจ : แปลความ ตีความ ขยายความ จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง CEO, Manager, Administrator อะไรคือสาระสำคัญของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เสนอโดยพรรคการเมืองหนึ่ง จงยกตัวอย่างของพฤติกรรมที่แสดงถึง “ความเป็นผู้นำ” จากคำอภิปรายของผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา แสดงถึงข้อบกพร่องอะไรของรัฐบาล จากอาการของคนไข้ มีความใกล้เคียงกับอาการของการเจ็บป่วยประเภทใด จากตัวเลขการขายข้าวของรัฐบาลในระบบ G to G ใน ปีที่ผ่านมา อะไรคือแนวโน้มของการส่งออกข้าวในไตรมาสที่สามของปีนี้ Global Warming มาจากสาเหตุใด

  15. คำถามด้านการนำไปใช้ ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์ใหม่ เน้นการถามถึงการนำความรู้ไปใช้ ถามให้นำวิธีการที่เรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหา ถามให้จำแนก จัดลำดับ ให้สาธิต จงใช้โปรแกรมทางสถิติในคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูล เสนอผล และแปลผลการวิเคระห์ จากทฤษฎี Personality จงระบุคุณลักษณะทางบุคลิกภาพที่ควรนำมาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหารหน่วยงาน ควรใช้หลักการอะไรจากความรู้ทางศาสนาอิสลามเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนที่มีข้อบกพร่องทางกระดูกควรมีรายการอาหารประจำวันอย่างไร ควรรณรงค์แก้ปัญหา Global Warming อย่างไร

  16. คำถามด้านการวิเคราะห์คำถามด้านการวิเคราะห์ ความสามารถในการจำแนกแยกแยะส่วนรวมออกเป็นส่วนย่อย สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ๆ เป็นการถามให้ระบุจุดประเด็นสำคัญ ให้วิจารณ์ ให้หาความสัมพันธ์ จงเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของนโยบายการปกครองในยุโรปสมัยกลาง และสมัยปัจจุบัน อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดการศึกษาในสิงคโปร์มีความเป็นเลิศ จงระบุความได้เปรียบและเสียเปรียบเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้ จงระบุสิ่งที่เป็นปัญหา สิ่งที่เป็นสาเหตุของปัญหา สิ่งที่ควรเป็นจุดหมายของการแก้ปัญหา เมื่อได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัย ผู้ฟังสามารถวิจารณ์จุดเด่น และจุดด้อย ของผลงานได้

  17. คำถามด้านการสังเคราะห์คำถามด้านการสังเคราะห์ ความสามารถในการออกแบบ ริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนา ผลิตวางแผน กำหนดแนวทางใหม่ ๆ เมื่อกำหนดสถานการณ์การตกต่ำทางเศรษฐกิจให้สามารถระบุปัญหา สาเหตุของปัญหา จุดหมาย ผลกระทบของปัญหา เป้าหมายของการแก้ปัญหา แนวทางการแก้ ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา ตัวชี้วัดของความสำเร็จของการแก้ปัญหา จากข้อมูลแหล่งต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถประมวลผลเป็นความรู้ ความคิดใหม่ ๆ ได้ เมื่อกำหนดความต้องการของลูกค้าด้านที่อยู่อาศัย ผู้เรียนสามารถออกแบบบ้านและ ส่วนประกอบภายในบ้านให้สนองความต้องการของลูกค้าได้

  18. คำถามด้านการประเมินค่า :ใช้เกณฑ์มาตรฐานในการตัดสิน ถามให้ตัดสินระดับคุณค่าของงานศิลปะ ถามให้คัดเลือกสิ่งที่นำเสนอที่เหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพ ถามให้วิจารณ์คุณภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่นำเสนอ ถามให้ตัดสินแผนดำเนินงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เมื่อผู้เรียนไปศึกษาดูงานแล้วจงรายงานสิ่งที่น่าพึงพอใจและสิ่งที่น่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขตามเกณฑ์คุณภาพ ให้กำหนดเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกโครงงานดีเด่นเพื่อรับรางวัล

  19. การวัดแนวใหม่ : การวัดที่แท้จริง(Authentic Assessment) • วัดจากกระบวนการปฏิบัติจริง วัดจากผลงานการปฏิบัติจริง • วัดความสามารถตั้งแต่การนำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า • ให้คะแนนกระบวนการปฏิบัติและผลงานการปฏิบัติ • จัดทำเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric) เพื่อรักษาความเป็นปรนัยของการวัดและประเมินผล

  20. รูปแบบของการวัด • Written Test • Identification Test • Structured Performance Test • Unstructured Performance Test • Simulation Test • Work Sample Test • Extended Research Project • Portfolio Assessment

  21. ตัวอย่างการวัดที่แท้จริงตัวอย่างการวัดที่แท้จริง • ผู้เรียนแสดงกระบวนการคิดคำนวณแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ • ผู้เรียนปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ บันทึกผลการทดลองและรายงานผลการทดลอง • ผู้เรียนเขียนจดหมายเพื่อสมัครงาน, เขียนจดหมายตอบโต้ข้อเขียนในหนังสือพิมพ์, เขียนบทความทางธุรกิจ • ผู้เรียนออกแบบเขียน Script ของบทละครเวที • ผู้เรียนออกแบบการพิมพ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย

  22. ตัวอย่างการวัดที่แท้จริง (ต่อ) • การสาธิต เช่น การปฐมพยาบาล, การประกอบอาหาร, การพูดเป็นพิธีกรในมหกรรมทางธุรกิจ, การจอดรถในสถานการณ์ ที่จำกัด • การทำโครงงานทางการพิมพ์, โครงงานจัดเลี้ยงอาหาร, โครงงานอาหารสำหรับผู้ฟื้นจากการเจ็บป่วย, โครงงานนิทรรศการศิลปะการแสดงร่วมสมัย, โครงงานประชาสัมพันธ์กิจกรรม หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นภาษาอังกฤษ

  23. ตัวอย่างการวัดและประเมินกระบวนการปฏิบัติตัวอย่างการวัดและประเมินกระบวนการปฏิบัติ Students are required to use the microscope for bio-culturing. The score is 1if the performance is observed, and 0if not --- Wipes slide with lens paper --- Places one drop or two of culture on slide --- Adds few drops of water --- Places slide on stage --- Turns to low power --- Looks through eyepiece with one eye --- Adjusts mirror --- Turns to high power --- Adjusts for maximum enlargement and resolution

  24. Scoring Rubric ของการเขียน คะแนนระดับดี : ข้อเขียนชัดเจน แสดงประเด็นสำคัญ อธิบายชัดเจน มีเหตุผลหลักการหรือหลักฐานอ้างอิงประกอบ การนำเสนอมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องได้ดี คะแนนระดับพอใช้ : ข้อเขียนชัดเจน แสดงประเด็นสำคัญ แต่การอธิบายไม่ชัด ขาดเหตุผลหลักการหรือหลักฐานประกอบที่เหมาะสม การเชื่อมโยงไม่ดี คะแนนระดับต่ำ: ข้อเขียนไม่ตรง กล่าวประเด็นต่าง ๆ สับสน ขาดเหตุผลหลักการหรือหลักฐานประกอบ การเชื่อมโยงไม่ดี

  25. เกณฑ์การให้คะแนนการปฏิบัติตรวจสอบแก้ไขเครื่องพิมพ์เกณฑ์การให้คะแนนการปฏิบัติตรวจสอบแก้ไขเครื่องพิมพ์ • แสดงวิธีการและใช้เครืองมือตรวจสอบส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์เป็นขั้นตอนครบถ้วน • ระบุสิ่งที่ขัดข้องใช้การไม่ได้ • แก้ไขข้อบกพร่องหรือหาชิ้นส่วนมาเปลี่ยนได้เหมาะสม • ปฏิบัติในการถอดชิ้นส่วนเดิมออก ใส่ชิ้นส่วนใหม่แทนที่ ถูกต้องเหมาะสม • ระมัดระวังรักษาความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน • จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือบำรุงรักษา ดูแลความสะอาดถูกต้อง

  26. วัดและประเมินผลโครงงานวัดและประเมินผลโครงงาน

  27. การตัดสินผลการเรียนโดยใช้คะแนนจากหลายแหล่งการตัดสินผลการเรียนโดยใช้คะแนนจากหลายแหล่ง Course Evaluation

  28. Grade Standard Student’s final grade should reflect student’s true ability responding to expected learning outcome. Student grade is determined by comparing his/her performance to the standard – the percent of points earned. For example: A =90-100 A--=85-89 B+ = 80-84 B = 75-79 B-- = 70-74 C+ = 65-69 C = 60-64 C-- = 55-59 D = 50-54 F = 00-49

  29. . ขอบคุณครับ Have A Nice Day

More Related