1 / 6

FTA

FTA. Free Trade Area Bilateral Agreement. FTA ; Free Trade Area. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA)

ima
Download Presentation

FTA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. FTA Free Trade Area Bilateral Agreement

  2. FTA ; Free Trade Area • เขตการค้าเสรี(Free Trade Area : FTA) • หมายถึงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มการทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลังๆนั้นรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (services) และการลงทุนด้วยเขตการค้าเสรีที่สำคัญในปัจจุบันคือ NAFTA และ AFTA และขณะนี้สหรัฐฯอยู่ในระหว่างการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of Americas : FTAA) โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2548 ที่มา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ http://www.dtn.moc.go.th/web/147/index_th.asp?G_id=147

  3. FTA ; Free Trade Area • เขตการค้าเสรี(Free Trade Area : FTA) • เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มให้เหลือน้อยที่สุด และเก็บภาษีสูงกับประเทศที่อยู่นอกกลุ่มที่มิได้มีการเปิดการค้าเสรีระหว่างกัน โดยจะมีลักษณะเป็นการเจรจาการค้าในแบบ “ทวิภาคี” (รายประเทศ) ไม่ใช่แบบ “พหุภาคี”(หลายประเทศ) เช่น WTO การทำเขตการค้าเสรี ในปัจจุบันจะมุ่งเสรีการบริการและการลงทุนด้วย ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (http://www.dbd.go.th)

  4. FTA ; พันธมิตรการค้า หุ้นส่วนอนาคต • หลังการประชุมเอเปคก่อให้เกิดการเจรจาทวิภาคีเพิ่มเติมมากมาย • ความเชื่อของภาครัฐ • เมื่อสินค้าส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่สัญญาไม่ต้องเสียภาษี สินค้าไทยราคาจะต่ำลง ส่งผลให้ความต้องการซื้อมากขึ้น ภาคการผลิตจะขยายตัว เมื่อความต้องการซื้อมากขึ้น ราคาสินค้าจะปรับขึ้นเองตามกลไก • FTA จะช่วยให้ภาคการผลิตปรับทิศทางสู่มาตรฐานมากขึ้น • ความจริงที่ต้องเผชิญ • ความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับการเจรจาของภาครัฐเท่านั้น • เมื่อเปิดเสรี ประเทศคู่สัญญาสามารถนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายตัดราคาสินค้าท้องถิ่นได้ ถ้าหากรัฐขาดการเจรจาเพื่อการปกป้องที่ดี

  5. FTA ; ไทยได้หรือเสีย บทความโดย วิษณุ บุญมารัตน์ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จันทร์ที่ 5 เมษายน 2547 หน้า 15) • “เป็นกับดักเศรษฐกิจที่สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างมากมายในอนาคตได้ หากกระทำไปด้วยความไม่รอบคอบ มองประโยชน์เพียงแค่ระยะสั้น โดยขาดการศึกษาให้รอบคอบ และรัดกุมทั้งผลดีผลเสียตลอดจนขาดการเปิดเผยผลการศึกษาต่อสาธารณชน” • FTA อาจเป็นนโยบายการค้าที่รัฐเข้ามามีบทบาทแทรกแซงน้อยที่สุดโดยปล่อยให้เอกชนดำเนินการค้าระหว่างประเทศโดยปราศจากสิ่งกีดขวางและข้อจำกัดเสรีภาพทางการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดโควต้าสินค้านำเข้า และการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยรัฐจะไม่ควบคุมหรือกระทำการใดที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการค้าระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินและขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะช่วยจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเป็นผลดีกับสวัสดิการเศรษฐกิจและเกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคส่วนรวม

  6. FTA ; ไทยได้หรือเสีย • ภายใต้หลักการ FTA น่าจะมีส่วนเกื้อกูลผลประโยชน์ให้ประเทศมหาอำนาจมากกว่าประเทศที่อ่อนแอกว่า เพราะโลกทุนนิยมไม่ได้มีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ • ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Infant Industry) จะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีความชำนาญและมีปริมาณการผลิตมากกว่าเพราะต้นทุนต่ำกว่าได้ • ก่อให้เกิดปัญหากับอาชีพสงวนบางอย่างของคนไทยได้ • ประเทศมหาอำนาจบางประเทศสร้างกฎหมายภายในและกำแพงการค้าต่างๆ ที่มีลักษณะคุ้มครองการค้าภายในประเทศตนเองเป็นกับดักอยู่แล้ว ในขณะที่ไทยไม่มีกฎหมายดังกล่าวอย่างเข้มข้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ • ตัวอย่าง FTA ที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับจีน • ตัวอย่าง FTA ที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับญี่ปุ่น • จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าประเทศไทยเจรจา FTAA กับอเมริกาสำเร็จ

More Related