1 / 29

Endocrine diseases

Endocrine diseases. เบาหวาน.

Download Presentation

Endocrine diseases

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Endocrine diseases

  2. เบาหวาน • เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินโรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด

  3. อาการเบื้องต้นของ เบาหวาน • ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ • ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น • กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง • เบื่ออาหาร

  4. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน • ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก • สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน • อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง • อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต • โดยเบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย

  5. อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย

  6. ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ

  7. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)

  8. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดแต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย

  9. การป้องกันการเป็นเบาหวานการป้องกันการเป็นเบาหวาน • ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน • ควบคุมโภชนาการให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค • ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอโดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม • ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาหรือ สมุนไพร เหล่านี้

  10. โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome) • สาเหตุ เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์นาน ๆ เช่น การใช้ยานี้รักษาผู้ป่วยเอสแอลอี ปวดข้อรูมาตอยด์ โรคไตเนโฟรติก เป็นต้น หรือเกิดจากการกินยาชุดหรือยาลูกกลอนที่เข้าสเตอรอยด์ติดต่อกันนาน ๆ

  11. อาการ มักจะค่อย ๆเกิดขึ้นช้า ๆ เป็นแรมเดือน ในระยะแรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดงเรื่อ ๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง (อยู่ระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง) แลดูเป็นหนอก ซึ่งภาษาแพทย์เรียว่าอาการหนอกควาย(Buffalo's hump) รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่แขนขากลับลีบเล็กลง ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า

  12. การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจหรือทำการตรวจพิเศษอื่น ๆในรายที่มีสาเหตุจากการกินสเตอรอยด์ควรค่อย ๆ ลดขนาดของยาลง ห้ามหยุดยาลงทันที อาจทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงานเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้ถ้ามีสาเหตุจากการเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แล้วให้กินยาสเตอรอยด์ทดแทนไปชั่วชีวิต เพราะภายหลังการผ่าตัดร่างกายสร้างฮอร์โมนชนิดนี้เองไม่ได้

  13. คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter / Graves’disease) คอพอกเป็นพิษ(ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินก็เรียก) • หมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ทุกวัยแต่จะพบมากในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า

  14. สาเหตุ ปกติต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง(สู่ระดับปกติ) เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต้านตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) กล่าวคือมีการสร้างแอนติบอดีต่อต่อมไทรอยด์ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า โรคเกรฟส์ (Graves’disease)

  15. อาการ • ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียนหนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น • มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) • น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติ หรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก • ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรืออาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย

  16. ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หมายถึง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ(ค่าปกติประมาณ 8.5 - 10.5 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มล.)เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก อาจพบได้ทั้งในทารกและผู้ใหญ่

  17. สาเหตุ • 1. ในผู้ใหญ่ส่วนมาก มีสาเหตุจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (เช่น ผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์โตมาก)แล้วตัดเอาต่อมพาราไทรอยด์ออกไปด้วย จึงทำให้เกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypoparathyroidism)ก็ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ • 2. ในทารกแรกเกิด ถ้ามีอาการภายใน 2-3 วัน หลังคลอด อาจมีสาเหตุจากการให้ทารกกินนมวัวระเหย, ทารกที่มีแม่เป็นเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์

  18. อาการ • ที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการมือจีบเกร็งทั้งสองข้าง แบบเดียวกับที่พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบจากอารมณ์นอกจากนี้อาจเป็นตะคริวที่ขา ใบหน้า หรือปวดบิดในท้อง บางคนอาจมีความรู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น และปลายมือปลายเท้าถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการชัก ในทารก อาจมีอาการชัก หายใจลำบาก ตัวเขียวบางคนอาจมีอาการอาเจียน (ซึ่งอาจรุนแรงจนเข้าใจผิดว่ามีภาวะกระเพาะลำไส้อุดตัน)

  19. การรักษา • หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็วในรายที่มีประวัติการผ่าตัดต่อม อาจให้การรักษาเบื้องต้น ด้วยการฉีดแคลเซียมกลูโคเนต 10 มล. เข้าหลอดเลือดดำช้า ๆ ซึ่งจะช่วยให้หายชักเกร็งทันทีควรจะเจาะเลือดตรวจดูระดับแคลเซียม และทำการตรวจหาสาเหตุ • อาจต้องให้ผู้ป่วยกินเกลือแคลเซียม เช่น แคลเซียมกลูโคเนต เป็นประจำทุกวันในรายที่เกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย อาจให้กินวิตามินดี เช่น แคลซิเฟอรอล (Calciferol) ร่วมด้วยเป็นประจำทุกวัน บางคนอาจมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำชั่วระยะหนึ่ง และอาจหายได้เองแต่บางคนก็อาจเป็นถาวร ซึ่งต้องคอยกินยารักษาตลอดไป

  20. เบาจืด (Diabetes inspidus) • เบาจืด เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเก็บรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะออกบ่อยและมากและกระหายน้ำมากคล้ายโรคเบาหวาน แต่ปัสสาวะจะมีรสจืด จึงเรียกว่า เบาจืด โรคนี้พบได้น้อยมาก พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  21. สาเหตุ • เกิดจากต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะที่มีชื่อว่า เอดีเอช (ADH ซึ่งย่อมาจาก antidiuretic hormone) หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวโซเพรสซิน (vasopressin) ได้น้อยกว่าปกติ ฮอร์โมนนี้มีฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายเก็บกักน้ำ โดยยับยั้งไม่ให้ไตขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ก็จะมีการขับปัสสาวะออกมากกว่าปกติ

  22. อาการ • ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกบ่อยและมาก กระหายน้ำและดื่มน้ำมาก ชอบดื่มน้ำเย็นมากเป็นพิเศษ ปากมักจะแห้งอยู่เสมอจะมีอาการอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน แม้นอนหลับตอนกลางคืนก็มักจะลุกขึ้นมาปัสสาวะและดื่มน้ำคืนละหลายครั้ง ผู้ป่วยมักถ่ายปัสสาวะวันละเกิน 5 ลิตร (ถ้าเป็นรุนแรงอาจมากถึงวันละ 20 ลิตร) ปัสสาวะมักจะไม่มีกลิ่น ไม่มีสีและมีรสจืด

  23. การรักษา • มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ จะพบว่ามีความถ่วงจำเพาะต่ำ (น้อยกว่า 1.010) และอาจต้องทำการตรวจพิเศษ ในรายที่สงสัยมีสาเหตุเกี่ยวกับสมอง อาจต้องตรวจสมองด้วยเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์หรือถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การรักษา ถ้าทราบสาเหตุชัดเจน และแก้ไขได้ ก็ให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ส่วนอาการปัสสาวะมาก ก็ให้ดื่มน้ำทดแทนให้เพียงพอ ในรายที่เป็นไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องให้ยา แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จำเป็นต้องให้ยาลดปริมาณและจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ยาลดปริมาณและจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ยาชนิดกิน

  24. บรรณนานุกรม • http://thaidiabetes.blogspot.com/ • http://www.clinic.worldmedic.com/disease/endo9.html • http://aaclinic.com.a17.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539250045 • http://www.thailabonline.com/labtest/chemistry10.htm • http://www.thaipaipan.com/jl_tppcom/index.php?option=com_content&view=article&id=1075&catid=316:health-a-beauty&Itemid=69

  25. ผู้จัดทำ • นายณัชพล แสงบุญ เลขที่ 2ก ชั้น ม.5/1 (ทำ ppt. และหาข้อมูล) • นายณัฐนนท์ วุฒิตันติศีล เลขที่ 3ก ชั้น ม.5/1 ( ทำ ppt. และหาข้อมูล) • นายวรชิต อมรรัตน์ เลขที่ 1ข ชั้น ม.5/1 ( ทำ ppt. และหาข้อมูล)

More Related