1 / 23

บทที่ 3 การเขียนผังงาน ( Flowchart )

บทที่ 3 การเขียนผังงาน ( Flowchart ). ความหมายของผังงาน. ผังงาน ( Flowchart ) คือ แผนภาพที่ใช้แสดงลำดับขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ใช้ภาพสัญลักษณ์สื่อความหมายแทนแต่ละขั้นตอนของการทำงาน ใช้ลูกศรสื่อถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน

eben
Download Presentation

บทที่ 3 การเขียนผังงาน ( Flowchart )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การเขียนผังงาน (Flowchart)

  2. ความหมายของผังงาน • ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพที่ใช้แสดงลำดับขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม • ใช้ภาพสัญลักษณ์สื่อความหมายแทนแต่ละขั้นตอนของการทำงาน • ใช้ลูกศรสื่อถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน • โดยทั่วไปผังงานจะเขียนเมื่อเรามั่นใจแล้วว่า วิธีการประมวลผลนั้นถูกต้องแล้ว • งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องเขียนผังงานก็สามารถพัฒนาโปรแกรมได้สำเร็จเช่นกัน

  3. ประโยชน์ของผังงานต่อการเขียนโปรแกรมประโยชน์ของผังงานต่อการเขียนโปรแกรม • ช่วยให้เข้าใจขั้นตอนและลำดับในการทำงานของโปรแกรมอย่างรวดเร็ว • เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ออกแบบโปรแกรม นักวิเคราะห์โปรแกรม หรือผู้เขียนโปรแกรม ให้สามารถเข้าใจขั้นตอนทั้งหมดได้ เพราะไม่ใช่ภาษาคอมพิวเตอร์ • สามารถวิเคราะห์ความถูกต้องของโปรแกรมก่อนเขียนโปรแกรมจริง • ช่วยกระจายงานให้โปรแกรมเมอร์หลาย ๆ คน ช่วยเขียนโปรแกรมเป็นส่วน ๆ ได้ • สามารถนำผังลำดับการทำงานของโปรแกรมมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาโปรแกรมอื่น ๆ ที่มีลำดับขั้นตอนการทำงานคล้าย ๆ กัน

  4. ข้อจำกัดของผังงาน • ใช้สื่อความหมายระหว่างบุคคลมากกว่าที่จะสื่อกับเครื่อง • ไม่ทราบความสำคัญของแต่ละขั้นตอน • สิ้นเปลือง เพราะใช้กระดาษและอุปกรณ์มาก • ผังงานขนาดใหญ่ ปรับเปลี่ยนแก้ไขทำได้ยาก • ในผังงานจะบอกเพียงลำดับอย่างไร และปฏิบัติงานอะไร • ผังงานไม่สามารถแทนลักษณะคำสั่งในภาษาได้ชัดเจนตรงไปตรงมา

  5. ประเภทของผังงาน • แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ • ผังงานระบบ (System Flowchart) • ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) • ผังงานระบบ (System Flowchart) • เป็นแผนผังที่แสดงขอบเขตและลำดับขั้นตอนในการทำงานโดยรวม • แสดงภาพกว้าง ๆ ถึงองค์ประกอบที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด • ไม่มุ่งเน้นรายละเอียดในการปฏิบัติ • ไม่สามารถนำมาเขียนเป็นโปรแกรมได้

  6. รับข้อมูล โปรแกรม ปรับปรุงข้อมูล แฟ้มข้อมูล ออกรายงาน ประเภทของผังงาน(ต่อ) • ตัวอย่างผังงานระบบ

  7. ประเภทของผังงาน (ต่อ) • ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) • เป็นภาพแผนผังแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม • แยกออกมาจากผังงานระบบ โดยมีการลงรายละเอียด ใส่วิธีการ และจัดลำดับขั้นตอนของโปรแกรม • ตั้งแต่เริ่มต้นจากการรับข้อมูล ประมวลผล ตลอดจนการแสดงผลลัพธ์การทำงาน

  8. เริ่มต้น รับค่า a,b total=a+b พิมพ์ total จบ ประเภทของผังงาน (ต่อ) • ตัวอย่างผังงานโปรแกรม

  9. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน • ภาพสัญลักษณ์ ได้ถูกกำหนดมาตรฐานขึ้นจาก ANSI (American National Standards Institute) และ ISO (International Standard Organization) • สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้มีดังนี้

  10. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน(ต่อ)

  11. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (ต่อ)

  12. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (ต่อ)

  13. สัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยในการเขียนผังงาน • จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโปรแกรม • ในผังงานแต่ละงานจะมีจุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุดเพียงอย่างละหนึ่งแห่ง • การประมวลผล • ใช้สำหรับการประมวลผล การกำหนดค่า และการคำนวณ Start End Y=X2

  14. สัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยในการเขียนผังงาน(ต่อ) • การรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ • การรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์โดยไม่ระบุอุปกรณ์ • การแสดงผลลัพธ์ออกทางเครื่องพิมพ์ Write Y Read A Data

  15. สัญลักษณ์ที่ใช้บ่อยในการเขียนผังงาน(ต่อ) • การตัดสินใจ • มีลูกศรชี้เข้า 1 ทิศทาง ลูกศรชี้ออก 2 ทิศทาง • จุดเชื่อมต่อภายในหน้าเดียวกัน age>=50 N Y จุดเชื่อมต่อไปหน้าอื่น

  16. หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน • การเริ่มต้นที่ดีควรจะเขียนความต้องการและกระบวนการทำงานออกมาวางเป็นลำดับขั้นตอนเอาไว้ก่อน • ผังงานที่เขียนขึ้นควรชัดเจน ดูง่าย และไม่ควรมีจุดใดที่คลุมเครือสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้เขียนโปรแกรม • การกำหนดทิศทางการทำงานด้วยลูกศร ควรจะมีทิศทางจากบนลงล่าง หรือขวาไปซ้ายเท่านั้น • ใน 1 ภาพสัญลักษณ์เราควรจะใช้เส้นแสดงทิศทางการทำงานเข้าและออกเพียงเส้นเดียว • ในภาพสัญลักษณ์ที่มีการเลือกคำตอบ(Decision) ควรมีเส้นทางของทางเลือกเพียงเส้นทางเดียว

  17.   Start Start End End End หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน(ต่อ) • จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดมีลูกศรออกและเข้าเส้นทางเดียว • ผังงานที่มีความซับซ้อน ควรใช้ตัวเชื่อมมาช่วยลดจำนวนเส้นบอกทิศทาง ไม่ควรให้เส้นบอกทิศทางการทำงานพาดทับกัน • ต้องแน่ใจว่าผังงานมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด

  18. ลักษณะโครงสร้างในการเขียนผังงาน • โครงสร้างโดยทั่วไปในการเขียนผังงานมี 3 รูปแบบ คือ • โครงสร้างแบบลำดับ(Sequence Structure) • โครงสร้างแบบมีการเลือก(Selection Structure) • โครงสร้างแบบทำซ้ำ(Iteration Structure)

  19. ลักษณะโครงสร้างในการเขียนผังงาน(ต่อ) • โครงสร้างแบบลำดับ(Sequence Structure) • เป็นกระบวนการทำงานจากจุดเริ่มต้น เรียงลำดับไปทีละขั้นตอนไปจนถึงจุดสิ้นสุด เป็นโครงสร้างพื้นฐาน พบมากที่สุด • โครงสร้างแบบมีการเลือก(Selection Structure) • มีความซับซ้อนมากกว่าแบบลำดับ โดยจะมีการเลือกเส้นทางการทำงานมากกว่า 1 เส้นทาง • โครงสร้างแบบทำซ้ำ(Iteration Structure) • เป็นโครงสร้างที่ใช้สำหรับกำหนดเงื่อนไขในการทำงาน ถ้าผลลัพธ์ในการทำงานไม่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ก็จะวนกลับไปทำงานในจุดที่กำหนดให้ทำซ้ำนั้นใหม่เรื่อย ๆ จนเมื่อผลลัพธ์ตรงกับเงื่อนไข จึงจะไปทำงานลำดับต่อไป

  20. เริ่มต้น เท็จ ตรวจสอบ เงื่อนไข รับค่า a,b จริง ชุดคำสั่ง total=a+b พิมพ์ total จบ ลักษณะโครงสร้างในการเขียนผังงาน(ต่อ)

  21. เท็จ ตรวจสอบ เงื่อนไข ออกจาการทำซ้ำ จริง ชุดคำสั่งที่ต้อการทำซ้ำ ลักษณะโครงสร้างในการเขียนผังงาน(ต่อ)

  22. แบบฝึกหัดท้ายบท • จงวิเคราะห์งาน และเขียนผังงานจากปัญหาต่อไปนี้ • จงแก้ปัญหาเพื่อหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม โดยรับข้อมูลจากผู้ใช้ทางแป้นพิมพ์ • เขียนวิเคราะห์ความต้องการ(Requirement Analysis & Feasibility Study) • เขียนผังงาน(Flowchart)

  23. การเขียนผังงาน Flowchart THE END Next :การเขียนอัลกอริทึม

More Related