1 / 10

ระบบ e-learning มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดทำโดย นางสาวพัชริ นทร์ ดาสี นางสาวศรัญญา แสนคำ

ระบบ e-learning มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดทำโดย นางสาวพัชริ นทร์ ดาสี นางสาวศรัญญา แสนคำ นางสาวหทัยชนกสมศรี นางสาวปริชาติ คำขชิก เสนอ อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด วิชานวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา. e-Learning ในมหาวิทยาลัย โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ tsupon@spu.ac.th

chloe
Download Presentation

ระบบ e-learning มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดทำโดย นางสาวพัชริ นทร์ ดาสี นางสาวศรัญญา แสนคำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบ e-learning มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดทำโดย นางสาวพัชรินทร์ดาสี นางสาวศรัญญาแสนคำ นางสาวหทัยชนกสมศรี นางสาวปริชาติคำขชิก เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด วิชานวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา

  2. e-Learning ในมหาวิทยาลัย โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ tsupon@spu.ac.th ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ 606 วันที่ 30 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548

  3. ระบบ e – learningของมหาวิทยาลัยศรีประทุม กระแสของการเรียนรู้ ในยุคของสารสนเทศ (Information Age) เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก แหล่งการเรียนรู้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ และภูมิศาสตร์อีกต่อไป เนื่องจากมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย ทำให้การเรียนรู้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ที่เราเข้าใจกันในนาม การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Learning หรือ e-Learning สำหรับในมหาวิทยาลัย การเรียนในห้องเรียนเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งยวดส่วนหนึ่ง เพราะทำให้นักศึกษาได้สัมผัสสถานการณ์ชีวิตจริงกับอาจารย์ผู้สอนโดยตรง แต่ทุกมหาวิทยาลัยต่างก็สร้างระบบ e-Learning ขึ้นมา เพื่อช่วยและสนับสนุนนักศึกษาด้วยกันทั้งนั้น เช่น ในบางกรณีนักศึกษาบางคนไม่ได้เข้าเรียน หรือเรียนไม่ทัน ก็สามารถมาใช้ระบบ e-Learning นี้เรียนทบทวนบทเรียนต่างๆ ได้ ระบบ e-Learning มีองค์ประกอบม มาตรฐานหลัก 3 ประการคือ

  4. 1. อภิข้อมูล (Metadata) คือเป็นส่วนของข้อมูลที่ใช้ควบคุมข้อมูล ที่มีลักษณะบ่งบอกให้รู้ว่า ข้อมูล นี้เป็นประเภทอะไรบ้าง ใครเป็นผู้สร้าง หรือนำข้อมูลใช้เพื่ออะไร เมตะจึงเป็นส่วนที่ใช้ อธิบายรายละเอียดของตัวข้อมูล (ยืน ภู่วรวรรณ : 2545 : 264) ผู้พัฒนาระบบส่วนใหญ่ลง ความเห็นร่วมกันว่า Metadata เป็นหัวใจของระบบ e-Learning (Heart of e-Learning) ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนในด้านดรรชนี , การจัดเก็บ, การค้นหาข้อมูล และการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 2. สวนประกอบของเนื้อหา (Content Packaging) คือ ส่วนที่ประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ของ การเรียน และสารสนเทศ ที่จะบอกให้รู้ว่า จะเอาอะไรใส่เข้าไปในแต่ละบทเรียน ซึ่งก็จะมีกฏระเบียบตามแต่ชนิดสำหรับถ่ายโอนส่วนประกอบของเนื้อหาในบทเรียนไปยังผู้เรียน

  5. 3. ชีวประวัติสั้นๆ ของผู้เรียน (Learner Profiles) คือ ประวัติย่อของผู้เรียน ซึ่งจะประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล, แผนการเรียนรู้, ประวัติการเรียนรู้, ความต้องการในการเข้าถึงการเรียนรู้, ใบประกาศนียบัตร และคุณวุฒิ, ความเชี่ยวชาญ/สมรรถนะ (Skills/Competencies) นอกจากนั้น ระบบนี้ยังต้องการส่วนประกอบของข้อมูลสำหรับการสื่อสารของผู้เรียน เช่น แต้ม หรือสถานะการแข่งขัน (Ryann K. Ellis : 2005 :1) ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม www.spu.ac.th ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุมจะใช้คำว่า SPU-LMS (Sripatum University-Learning ManagementSystem) หรือ SPU e-Learning ซึ่งในหน้าหลักนี้จะประกอบไปด้วยเมนูต่างๆ

  6. การสร้างรายวิชาใหม่ (Create a New Course) หมายถึง รายวิชาใดที่ยังไม่มีในระบบ อาจารย์สามารถเข้าไปสร้างขึ้นใหม่ได้ด้วยตัวเอง ระบบจัดการรายวิชา (Course Management) อาจารย์สามารถเข้าไปทำการจัดการราย วิชาที่ตัวเองสอน เช่น การเข้าไปเพิ่มเนื้อหาของบทเรียน

  7. รูปภาพ ตัวอย่างเว็บไซต์ e-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดเวลาทีwww.spu.ac.th

  8. ระบบจัดการโครงการสอน (Course Outline Management) อาจารย์ผู้สอนสามารถเข้าไป จัดการเกี่ยวกับโครงการได้ เช่น ปรับเปลี่ยนโครงการสอน ให้ตรงตามฝ่ายวิชาการเสนอแบบฟอร์มมาให้ ระบบการจัดการแผนการสอน (Lesson Plan Management) ผู้สอนสามารถเข้าไปเพิ่มหรือ แก้ไขเกี่ยวกับแผนการสอนได้เอง ระบบการทดสอบ (Testing Systems) ผู้สอนสามารถเข้าไป สร้างแบบทดสอบ หรือแบบฝึก หัดเองได้ โดยให้ตรงตามเนื้อหาในแต่ละบทเรียน

  9. ระบบการตรวจสอบสถิติ (Tracking) ผู้สอนสามารถเข้าไปตรวจสอบสถิติของจำนวนนัก ศึกษาที่เข้ามาใช้บริการของเว็บไซต์รายวิชาได้ ระบบการสื่อสาร (Communication) มีระบบการสนทนาอำนวยความสะดวกให้ เช่น การับ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) หรือในกรณีมีปัญหา ผู้ใช้สามารถส่งอีเมล์ติดต่อกับผู้ดูแลระบบได้โดยตรง ค้นหาผู้สอน (Search Instructor) นักศึกษาสามารถเข้าไปค้นหาอาจารย์ผู้สอนว่า ชื่ออะไร ประจำอยู่คณะไหน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อเบอร์อะไร เป็นต้น

  10. ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นห้องสนทนาระหว่างผู้เข้ามาใช้บริการ อาจแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนร่วมกันได้ นับได้ว่า ระบบ e-Learning ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน และผู้เรียนเป็นอย่างมาก จากตัวอย่างของ e-Learning ของมหาวิทยาลัยศรีปทุมนี้ มีบางวิชาที่ทางมหาวิทยาลัย ได้ให้ศูนย์มีเดีย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เข้าไปถ่ายทำเป็นวิดีโอ ในขณะที่อาจารย์กำลังดำเนินการสอน และนำมาใส่ไว้ในระบบ e-Learning นี้ด้วย นักศึกษาผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียน หรือเรียนไม่ทัน สามารถเข้ามาเปิดวิดีโอผ่านเว็บไซต์ e-Learning ของมหาวิทยาลัยได้ เพื่อทำการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยไม่จำกัดสถานที่และวันเวลา ซึ่งถือได้ว่า เป็นการให้บริการที่ทันสมัย และทันสถานการณ์.

More Related