1 / 91

เกณฑ์คุณภาพการศึกษา ปี 2555-2556

เกณฑ์คุณภาพการศึกษา ปี 2555-2556. 2555-2556 Baldrige Education Criteria. กรอบความคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์. ๒ การวาง แผนกลยุทธ์. ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร. ๑ การนำองค์กร. ๗ ผลลัพธ์. ๓

bonita
Download Presentation

เกณฑ์คุณภาพการศึกษา ปี 2555-2556

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาปี 2555-2556 2555-2556 Baldrige Education Criteria

  2. กรอบความคิดของเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ ๒ การวาง แผนกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ๖ การจัดการ กระบวนการ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

  3. บทนำ: โครงร่างองค์กร โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ คือภาพรวมขององค์กร เป็นสิ่งสำคัญที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน และเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่ เป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินตนเอง และการเขียนรายงานเพื่อสมัครขอรับรางวัล ความสำคัญ ช่วยในการระบุสารสนเทศที่สำคัญ ข้อกำหนด และผลลัพธ์การดำเนินการที่สำคัญ ใช้ตรวจประเมินรายงานวิธีการ และผลการดำเนินงาน รวมถึงการตรวจเยี่ยมเพื่อทำความเข้าใจองค์กร องค์กรอาจนำโครงร่างองค์กรมาใช้เพื่อการประเมินตนเองเบื้องต้น

  4. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร: ลักษณะที่สำคัญขององค์กรคืออะไร อธิบายถึงสภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กรและความสัมพันธ์ที่สำคัญกับลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  5. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร : ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (๑) ผลิตภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์หลัก, เป้าหมายความสำเร็จ, กลไกที่ใช้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ (๒) วิสัยทัศน์และพันธกิจ: วัฒนธรรม เจตจำนง วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ สมรรถนะ หลัก และความเกี่ยวข้องกับพันธกิจ (๓) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร: การจำแนกบุคลากร ระดับการศึกษา ความผูกพัน กับพันธกิจและวิสัยทัศน์ ความหลากหลายของลักษณะงาน กลุ่มต่างๆในองค์กร (๔) สินทรัพย์: อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และวัสดุอุปกรณ์ขององค์กร (๕) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ: สภาพแวดล้อมภายใต้กฎ ระเบียบ กฎ ระเบียบเกี่ยวกับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดทะเบียน มาตรฐาน สิ่งแวดล้อมการเงิน ฯลฯ

  6. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร : ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร (๑) โครงสร้างองค์กร: ลักษณะโครงสร้าง ระบบการกำกับดูแล และระบบรายงาน (๒) ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย: ส่วนตลาด กลุ่มลูกค้า และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มดังกล่าว ความแตกต่างของความต้องการของแต่ละกลุ่ม (๓) ผู้ส่งมอบและพันธมิตร: ประเภทและบทบาทของผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ กลไกที่สำคัญและการสื่อสาร บทบาทของกลุ่มดังกล่าวในการสร้างนวัตกรรม และข้อกำหนดสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน

  7. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๑. ลักษณะองค์กร: ลักษณะที่สำคัญขององค์กรคืออะไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (STAKEHOLDERS) บุคคลหรือกลุ่มที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติและความสำเร็จขององค์กร อาทิ ลูกค้า คู่ความร่วมมือ คณะกรรมการกำกับดูแล ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ ผู้เสียภาษี องค์กรที่ดูแลกฎ ระเบียบ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้ทุนดำเนินการ ชุมชนและสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น

  8. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๒. สภาวการณ์ขององค์กร : ก. สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน (๑) ลำดับในการแข่งขัน: ลำดับที่ ขนาดและการเติบโตเทียบกับองค์กรอื่นในลักษณะเดียวกัน จำนวนและประเภทคู่แข่ง (๒) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน: การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โอกาสในการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือ (๓) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ: แหล่งข้อมูลสำคัญเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขันในธุรกิจเดียวกัน และธุรกิจอื่น ข้อจำกัดในการได้มาซึ่งข้อมูล

  9. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๒. สภาวการณ์ขององค์กร : ข. บริบทเชิงกลยุทธ์ ความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญด้านธุรกิจ/บริการ ด้านการปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในมุมกว้าง และด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร

  10. บทนำ: โครงร่างองค์กร ๒. สภาวการณ์ขององค์กร : ค. ระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ ส่วนประกอบสำคัญของระบบปรับปรุงผลการดำเนินการ รวมทั้งกระบวนประเมินผล กระบวนการเรียนรู้ระดับองค์กรและกระบวนการสร้างนวัตกรรม

  11. กรอบความคิดของเกณฑ์ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินว่าการกระทำของผู้นำระดับสูงขององค์กรได้ชี้นำและทำให้องค์กรมีความยั่งยืนอย่างไร ตรวจประเมินระบบการกำกับดูแลองค์กร วิธีการที่องค์กรใช้เพื่อบรรลุด้านกฎหมาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง และการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ ๒ การวางแผนกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ การดำเนินการ ๓ การมุ่งเน้นลูกค้า ๖ การมุ่งเน้น การปฏิบัติ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

  12. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๑ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร : ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ (๑) วิสัยทัศน์และค่านิยม: การดำเนินการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม การถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ ความมุ่งมั่นของผู้นำระดับสูงต่อค่านิยมขององค์กร (๒) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม: การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม การสร้างบรรยากาศของการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรม

  13. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๑ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร : ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ (๓) การสร้างองค์กรที่ยั่งยืน: ผู้นำระดับสูงมีวิธีการทำให้องค์กรมีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จในเรื่อง.... - การสร้างบรรยากาศของการปรับปรุงผลการดำเนินการ การบรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ การสร้างนวัตกรรม การเป็นผู้นำผลการดำเนินการและความคล่องตัวขององค์กร - การสร้างวัฒนธรรมบุคลากรที่ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าอย่างคงเส้นคงวาและเสริมสร้างความผูกพันของลูกค้า - สร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งระดับองค์กรและระดับบุคคล - พัฒนาและเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำ - มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ระดับองค์กร วางแผนสืบทอดตำแหน่ง และการพัฒนาผู้นำในอนาคตขององค์กร

  14. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๑ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร : ข. การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์กร • การสื่อสาร: วิธีดำเนินการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรในองค์กร และวิธีดำเนินการที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่อง... • - การกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาแบบสองทาง • - การสื่อสารที่เป็นการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ • - การให้รางวัล ยกย่อง ชมเชย และการให้ความสำคัญกับลูกค้า/ธุรกิจ (๒) การทำให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง: การดำเนินการที่ทำให้เกิดการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง การปรับปรุงผลการดำเนินการ วิธีการระบุสิ่งที่ต้องทำในการกำหนดความคาดหวังของผลการดำเนินการ วิธีการสร้างคุณค่าที่คำนึงถึงความสมดุลระหว่างลูกค้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  15. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ก. การกำกับดูแลองค์กร (๑) ระบบการกำกับดูแลองค์กร: วิธีดำเนินการทบทวนและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในเรื่องสำคัญในระบบการกำกับดูแลองค์กร... - ความรับผิดชอบของผู้บริหาร - ความรับผิดชอบด้านการเงิน - ความโปร่งใส การคัดเลือกคณะกรรมการที่กำกับดูแลองค์กรและนโยบายการเปิดเผยข้อมูล - ความอิสระในการตรวจสอบภายในและภายนอก - การปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ถือหุ้น

  16. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ก. การกำกับดูแลองค์กร (๒) การประเมินผลการดำเนินการ: - วิธีดำเนินการประเมินผลการดำเนินการ และการใช้ผลการดำเนินการกำหนด ค่าตอบแทนของผู้นำองค์กร - วิธีการประเมินผลการดำเนินการของคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร และการใช้ ผลการทบทวนผลการดำเนินการไปพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิผลของการนำองค์กร ของผู้นำ ของคณะกรรมการฯ และของระบบการนำองค์กรในโอกาสต่อไป

  17. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ข. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม • การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ: • - วิธีการดำเนินการคาดการณ์ล่วงหน้ากรณีที่ผลิตภัณฑ์และการปฏิบัติเกิดผลกระทบ • เชิงลบต่อสังคมทั้งในปัจจุบัน และอนาคต • - วิธีการเตรียมการเชิงรุกเกี่ยวกับความกังวลและผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดขึ้น • - วิธีการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มี • ประสิทธิผล • - กระบวนการ ตัวชี้วัด และเป้าประสงค์สำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบและการดำเนินงานเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

  18. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อองค์กร ในมุมกว้าง : ข. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม (๒) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม: - วิธีการดำเนินการเสริมสร้างและการสร้างความมั่นใจในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม - กระบวนการ ตัวชี้วัดที่สำคัญในการส่งเสริมและการกำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมภายใต้โครงสร้าง การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า พันธมิตร ผู้ส่งมอบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ - วิธีการดำเนินการในการกำกับดูแลกรณีที่มีการกระทำที่ขัดต่อประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม

  19. หมวดที่ ๑ การนำองค์กร ๑.๒ การกำกับ ดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมใน มุมกว้าง : ค. ความรับผิดชอบต่อสังคมในมุมกว้าง และการสนับสนุนชุมชนที่สำคัญ (๑) ความผาสุกของสังคมในวงกว้าง: - การกำหนดกลยุทธ์และการปฏิบัติที่คำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของสังคม - การมีส่วนในการสร้างความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (๒) การสนับสนุนชุมชน: - วิธีการดำเนินการสำคัญในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน - วิธีการกำหนดชุมชนที่สำคัญขององค์กร - กิจกรรมที่องค์กร ผู้นำองค์กรและบุคลากรในการใช้สมรรถนะหลักขององค์กรเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

  20. กรอบความคิดของเกณฑ์ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการขององค์กรอย่างไร รวมทั้งตรวจประเมินการนำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เลือกไว้ไปปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า ๒ การวางแผน เชิงกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ การดำเนินการ ๓ การมุ่งเน้นลูกค้า ๖ การมุ่งเน้น การปฏิบัติ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

  21. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: อธิบายถึงวิธีการที่องค์กรใช้ในการสร้างกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับความท้าทายเชิงกลยุทธ์และใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรและเป้าประสงค์ที่เกี่ยวข้อง

  22. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: ก. การจัดทำกลยุทธ์ (๑) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์: - วิธีการ ขั้นตอน ผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ การระบุจุดบอดที่อาจจะเกิดขึ้นของกระบวนการจัดทำกลยุทธ์ - วิธีการกำหนดสมรรถนะหลักขององค์กร ความท้าทายและความได้เปรียบเชิง กลยุทธ์ขององค์กร - วิธีการกำหนดกรอบเวลาของแผนระยะสั้น ระยะยาว

  23. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: ก. การจัดทำกลยุทธ์ (๒) การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์: - วิธีการสร้างความมั่นใจในการนำองค์ประกอบต่อไปนี้มาประกอบการวางแผนกลยุทธ์ วิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ... ๑) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์กร ๒) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ตลาด ผลิตภัณฑ์ ความนิยมขิงลูกค้า การแข่งขัน ภาวะทางเศรษฐกิจ กฎระเบียบ และข้อบังคับ ๓) ความยั่งยืน สมรรถนะหลัก การคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคตขององค์กรและคู่แข่งขัน หรือการเทียบเคียงองค์กรในระดับเดียวกัน ๔) ความสามารถในการแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

  24. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๑ การจัดทำกลยุทธ์: ข. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (๑) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ: - อะไรคือวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ - ตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สำคัญ - เป้าประสงค์ที่สำคัญที่สุดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (๒) การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์:ตอบสนองในสิ่งต่อไปนี้.... - ความท้าทาย การได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ โอกาสในการสร้างนวัตกรรมของผลผลิต การปฏิบัติการ และรูปแบบการดำเนินการ - การใช้ประโยชน์จากสมรรถนะหลักขององค์กรปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต - ความสมดุลระหว่างความท้าทาย โอกาส และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด - การยกระดับความสามารถขององค์กรในการปรับตัว

  25. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : อธิบายถึงวิธีการแปลงวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ไปสู่แผนปฏิบัติการ สรุปแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ตัวชี้วัดสำคัญของแผนปฏิบัติการ การคาดการณ์ผลกรดำเนินการในอนาคตเปรียบเทียบกับตัวชี้วัด

  26. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (๑) การทำแผนปฏิบัติการ: - วิธีการและสาระสำคัญของการจัดทำแผนปฏิบัติการ - ความสัมพันธ์ต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ - สาระของการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ ลูกค้าและตลาด ผู้ส่งมอบและพันธมิตร และวิธีการดำเนินการ (๒) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ: - วิธีการถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร บุคคล ผู้ส่งมอบและพันธมิตร - วิธีการที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผลการดำเนินการที่สำคัญตามแผนฯมีความยั่งยืน

  27. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (๓) การจัดสรรทรัพยากร: - วิธีการสร้างความมั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและอื่นๆเพียงพอตามแผนฯ - วิธีจัดสรรทรัพยากร การจัดการด้านความเสี่ยงด้านการเงินและอื่นๆ (๔) แผนด้านบุคลากร: - แผนด้านบุคลากรที่สำคัญที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ - แผนปฏิบัติการระยะสั้น ระยะยาวที่คำนึงผลกระทบต่อบุคลากร - การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับขีดความสามารถและอัตรากำลัง

  28. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (๕) ตัววัดผลการดำเนินการ: - ตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่สำคัญที่ใช้ติดตามผลลัพธ์และประสิทธิผล - วิธีการที่จะสร้างความมั่นใจถึงระบบการวัดผล ความสอดคล้อง ครอบคลุมเรื่องที่ปฏิบัติและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด (๖)การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ: - วิธีการปรับเปลี่ยนแผนและการนำไปใช้ปฏิบัติตามสถานการณ์บังคับ

  29. หมวดที่ ๒ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ๒.๒ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : ข. การคาดการณ์ผลการดำเนินการ - การคาดการณ์ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่สำคัญที่ - ผลการดำเนินการตามที่คาดการณ์กับระดับเทียบเคียงที่สำคัญ เป้าประสงค์ และผลการดำเนินการที่ผ่านมา - ผลการดำเนินการตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่งหรือองค์กรในระดับเดียวกัน

  30. กรอบความคิดของเกณฑ์ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการตรวจประเมินวิธีการที่องค์กรสร้างความผูกพันกับลูกค้าเพื่อความสำเร็จด้านการตลาดในระยะยาว กลยุทธ์ในการสร้างความผูกพันที่ครอบคลุมวิธีการรับฟังเสียงของลูกค้า เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการปรับปรุงและค้นหาโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ๒ การวางเชิง แผนกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ การดำเนินการ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ๖ การมุ่งเน้น การปฏิบัติ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

  31. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๑ เสียงของลูกค้า : อธิบายวิธีการที่องค์กรรับฟังลูกค้า และได้สารสนเทศ ด้านความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ ก. การรับฟังลูกค้า (๑) การรับฟังลูกค้าในปัจจุบัน: - วิธีการที่องค์กรรับฟังลูกค้า กลุ่มลูกค้า และส่วนการตลาด เพื่อให้ได้สารสนเทศมาปฏิบัติ - วิธีการที่องค์กรใช้สื่อสังคมออนไลน์ เทคโนโลยีบนเวบเพื่อรับฟังในช่วงที่เป็นลูกค้า - วิธีการติดตามความคิดเห็นลูกค้าเกี่ยวกับ คุณภาพ การสนับสนุน และการทำธุรกรรมเพื่อได้ข้อมูลป้อนกลับที่ทันเวลาและนำไปใช้ต่อได้

  32. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๑ เสียงของลูกค้า : ก. การรับฟังลูกค้า (๒) การรับฟังลูกค้าในอนาคต: - วิธีการที่องค์กรรับฟังลูกค้าในอดีต อนาคต และลูกค้าของคู่แข่ง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ต่อได้ และเพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนลูกค้า และการทำธุรกรรม

  33. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๑ เสียงของลูกค้า : ข. การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้า (๑) ความพึงพอใจและความผูกพัน: - วิธีการที่ใช้ประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้า - ความแตกต่างของวิธีการระหว่างลูกค้า กลุ่มลูกค้า และส่วนตลาด - วิธีประเมินที่ให้ได้สารสนเทศที่สนองให้เหนือความคาดหวังของลูกค้า และสร้างความผูกพัน (๒) ความพึงพอใจเปรียบเทียบกับคู่แข่ง - วิธีการที่ให้ได้สารสนเทศความพึงพอใจของลูกค้าเปรียบเทียบกับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อคู่แข่ง - วิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศระดับความพึงพอใจของลูกค้าเทียบกับลูกค้าองค์กรอื่น หรือระดับเทียบเคียงธุรกิจ

  34. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๑ เสียงของลูกค้า : ข. การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้า (๓) ความไม่พึงพอใจ: - วิธีการที่ใช้ประเมินความไม่พึงพอใจของลูกค้า - สารสนเทศที่นำไปใช้ในอนาคตเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต และ ที่สนองเหนือความคาดหวังของลูกค้า

  35. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๒ ความผูกพันของลูกค้า : อธิบายวิธีการที่องค์กรกำหนดผลิตภัณฑ์และกลไกการสื่อสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนลูกค้ารวมทั้งอธิบายวิธีสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ก. ผลิตภัณฑ์และการสนับสนุนลูกค้า (๑) ผลิตภัณฑ์: - วิธีการกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการตามความต้องการลูกค้าและตลาด - วิธีการที่องค์กรกำหนดและสร้างนวัตกรรมให้ผลิตภัณฑ์สนองความต้องการและที่เหนือความคาดหวังของกลุ่มลูกค้าและส่วนตลาด - วิธีการค้นหาและสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่เพื่อดึงดูดลูกค้า และสร้างโอกาสในการขยายความสัมพันธ์กับลูกค้าในปัจจุบัน

  36. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๒ ความผูกพันของลูกค้า : ก. ผลิตภัณฑ์และการสนับสนุนลูกค้า (๒) การสนับสนุนลูกค้า: - วิธีการที่จะให้ลูกค้าสืบค้นสารสนเทศและรับการสนับสนุน - วิธีการที่ทำให้ลูกค้าทำธุรกรรมกับองค์กรและให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสนับสนุนลูกค้า - รูปแบบและกลไกการสื่อสารที่สำคัญในการสนับสนุนลูกค้า และที่แตกต่างระหว่างลูกค้า กลุ่มลูกค้า หรือส่วนตลาดแต่ละกลุ่ม - วิธีการระบุข้อกำหนดที่สำคัญในการสนับสนุนลูกค้า - วิธีสร้างความมั่นใจถึงการถ่ายทอดข้อกำหนดไปยังทุกคนและทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนลูกค้าสู่การปฏิบัติ

  37. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๒ ความผูกพันของลูกค้า : ก. ผลิตภัณฑ์และการสนับสนุนลูกค้า (๓) การจำแนกลูกค้า: - วิธีการใช้สารสนเทศจำแนกลูกค้า และส่วนตลาดในปัจจุบันและอนาคต - วิธีการนำลูกค้าของคู่แข่ง และลูกค้าของตลาดอื่นๆที่พึงมีในอนาคตมาจำแนก - วิธีการในการกำหนดลูกค้า กลุ่มลูกค้า และส่วนตลาดเพื่อให้มาซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (๔) การใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า: - วิธีการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับลูกค้า ตลาดและผลิตภัณฑ์เพื่อปรับปรุงการตลาดที่มีวัฒนธรรมมุ่งเน้นลูกค้ามากยิ่งขึ้น และโอกาสในการสร้างนวัตกรรม

  38. หมวดที่ ๓ การมุ่งเน้นผู้เรียนฯ ๓.๒ ความผูกพันของลูกค้า : ข. การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (๑) การจัดการความสัมพันธ์: - วิธีการในการทำตลาด สร้าง และตัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าจนบรรลุในเรื่อง... ๑. เพิ่มลูกค้าใหม่และส่วนแบ่งการตลาด ๒. รักษาลูกค้า ตอบสนองความต้องการ และทำให้เหนือความคาดหวัง ๓. เพิ่มความผูกพันกับลูกค้า (๒) การจัดการกับข้อเรียกร้อง: - วิธีการจัดการกับข้อเรียกร้อง และความมั่นใจกับข้อเรียนร้องว่าจะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิผล - กระบวนการจัดการข้อเรียนร้องที่จะเรียกความเชื่อมั่นของลูกค้ากลับมาเพื่อสร้างความพึงพอใจและความผูกพันกลับมา

  39. กรอบความคิดของเกณฑ์ โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และสภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการประเมินว่าองค์กรเลือก รวบรวม วิเคราะห์ และปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และสินทรัพย์ทางความรู้อย่างไร การบริหารจัดการเทคโนโลยี และการใช้ผลการทบทวนเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินการ ๒ การวางเชิง แผนกลยุทธ์ ๕ การมุ่งเน้น บุคลากร ๑ การนำองค์กร ๗ ผลลัพธ์ การดำเนินการ ๓ การมุ่งเน้นลูกค้า ๖ การมุ่งเน้น การปฏิบัติ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

  40. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ ขององค์กร : อธิบายวิธีการที่ใช้ในการวัด วิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุงผลการดำเนินการโดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศในทุกระดับ และทุกส่วนงานขององค์กร

  41. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ : ก. การวัดผลการดำเนินการ (๑) ตัววัดผลการดำเนินการ: - วิธีการเลือก รวบรวม ปรับ บูรณาการข้อมูลและสารสนเทศให้ไปในทิศทางเดียวกันในการติดตามการปฏิบัติการประจำวันและผลการดำเนินการโดยรวมขององค์กร - ตัวชี้วัดผลการดำเนินการ ตัวชี้วัดด้านการเงินที่สำคัญทั้งระยะสั้นและระยะยาว - ระยะเวลาของการติดตาม - วิธีการในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กรและการสร้างนวัตกรรม

  42. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ : ก. การวัดผลการดำเนินการ (๒) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ: - วิธีการเลือกและสร้างความมั่นใจในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบสนับสนุนการตัดสินใจระดับปฏิบัติการ ระดับกลยุทธ์ และการสร้างนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิผล (๓) ข้อมูลลูกค้า: - วิธีการเลือกและสร้างความมั่นใจในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศจากเสียงของลูกค้าเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจระดับปฏิบัติการ ระดับกลยุทธ์ และการสร้างนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิผล

  43. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ : ก. การวัดผลการดำเนินการ (๔) ความคล่องตัวของการวัดผล: - ความมั่นใจขององค์กรต่อระบบการวัดผลการดำเนินการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกองค์กรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและที่ไม่ได้คาดคิด

  44. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ : ข. การวิเคราะห์ และทบทวนผลการดำเนินการ • วิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถขององค์กร • วิธีการที่องค์กรใช้ตัววัดผลการดำเนินการที่สำคัญในการทบทวน • เรื่องที่องค์กรนำมาวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการทบทวนและยืนยันผลสรุปนั้นนำมาใช้ได้ • การใช้การทบทวนเพื่อผลสำเร็จขององค์กร ผลการดำเนินการเชิงการแข่งขัน ความมั่นคงทางการเงิน ความก้าวหน้าเทียบกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ประเมินความสามารถในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่เป็นความต้องการขององค์กร และความ ท้าทายในสภาพแวดล้อมที่องค์กรดำเนินการอยู่

  45. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ : ค. การปรับปรุงผลการดำเนินการ (๑) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ: - วิธีการในการใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศข้ามหน่วยงานและกระบวนการทำงาน (๒) ผลการดำเนินการในอนาคต: - วิธีการในการใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการและข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขันที่สำคัญเพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต

  46. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๑ การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการ : ค. การปรับปรุงผลการดำเนินการ (๓) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและนวัตกรรม: - วิธีการในการใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการใปใช้จัดอันดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องนำไปปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและนำไปเป็นโอกาสสร้างนวัตกรรม - วิธีการในการถ่ายทอดเรื่องที่จัดลำดับความสำคัญเพื่อให้กลุ่มงานและระดับปฏิบัติการนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร - วิธีการการถ่ายทอดเรื่องที่จัดลำดับความสำคัญไปสู่ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ ทั้งนี้เพื่อให้การนำไปปฏิบัติมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

  47. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๒ การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ : อธิบายวิธีการที่องค์กรสร้างและจัดการสินทรัพย์ทางความรู้ขององค์กร และวิธีการดำเนินการที่จะสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับบุคลากร ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ รวมทั้งลูกค้ามีคุณภาพและพร้อมใช้งาน

  48. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๒ การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ : ก. การจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการจัดการความรู้ • คุณลักษณะ:วิธีการสร้างความมั่นใจว่าข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ขององค์กรมีลักษณะ ดังนี้... • - แม่นยำ ถูกต้อง เชื่อถือได้ • - ทันกาล • - ปลอดภัยและเป็นความลับ (๒) ข้อมูลและสารสนเทศพร้อมใช้งาน: - วิธีการที่จะให้ข้อมูลและสารสนเทศมีความพร้อมใช้งานสำหรับบุคลากร ผู้ส่งมอบ พันธมิตร ผู้ให้ความร่วมมือ และลูกค้า

  49. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๒ การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ : ก. การจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการจัดการความรู้ (๓) การจัดการความรู้:วิธีการในการจัดการความรู้เพื่อบรรลุผล ดังนี้... - การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร - การถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ระหว่างองค์กรกับลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ - ความรวดเร็วในการระบุ การแบ่งปัน และการนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศไปดำเนินการ - การรวบรวมความรู้และถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

  50. หมวดที่ ๔ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ๔.๒ การจัดการสารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ : ข. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ : (๑) ลักษณะของฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์: - วิธีการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย และใช้งานง่าย (๒) การพร้อมใช้งานในภาวะฉุกเฉิน : - วิธีการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลสารสนเทศ ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองลูกค้า และความต้องการทางธุรกิจ/กิจการอย่างมีประสิทธิผล

More Related