1 / 56

e-Government & DATA

e-Government & DATA. วรพจน์ ชัยพรหมประสิทธิ์. September 2003. >. EXIT. หัวข้อที่บรรยาย. 1 e-Government 2 ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล. <. >. MAIN MENU. EXIT. e-Government. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ วิธีการบริหารจัดการภาค รัฐสมัยใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ

zulema
Download Presentation

e-Government & DATA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. e-Government & DATA วรพจน์ ชัยพรหมประสิทธิ์ September 2003 > EXIT

  2. หัวข้อที่บรรยาย 1 e-Government 2 ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  3. e-Government รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ วิธีการบริหารจัดการภาค รัฐสมัยใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร (ICT) มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประ สิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐ ปรับปรุงการให้ บริการประชาชนทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารและภาระ หน้าที่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  4. http://www.egovernment.or.th September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  5. หลักการ หลักสำคัญของการสร้าง e-Government คือ การนำบริการของภาครัฐสู่ประชาชน โดยใช้ อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการให้บริการ โดยยึด หลักต่อไปนี้ • ที่เดียว • ทันใด • ทั่วไทย • ทุกเวลา • ทั่วถึง เท่าเทียม • ธรรมาภิบาล (โปร่งใส) September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  6. คำสั่งที่ 242/2544 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2544 ให้มีคณะ กรรมการดำเนินงานโครงการรัฐบาลอิเล็ก ทรอนิกส์ ขึ้น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 เพื่อดำเนินการให้รัฐบาลไทยเข้าสู่ความเป็น รัฐอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี 2550 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  7. บทบาทข้าราชการ ข้าราชการที่จะต้องเดินทางสู่ระบบใหม่จะต้องเปลี่ยน ความนิยมในระบอบ อมาตยาธิปไตยเข้าสู่ความเป็น ประชาธิปไตย โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และ ให้บริการต่อประชาชนซึ่งเป็นผู้เสียภาษีเสมือนเป็นลูก ค้าของตนที่ต้องเอาอกเอาใจเป็นพิเศษ September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  8. ข้าราชการยุคใหม่ • ปรับทัศนคติในการบริการ • ปรับปรุง ทักษะในการใช้ IT เช่น การเปิด Web Site การรับส่ง e-mail • ศึกษา และหาแนวทางใหม่ๆ ในการให้บริการ • รวมรวม ข้อมูล สารสนเทศ และปรับให้เป็นความรู้ (Knowledge) ในที่สุด • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกลยุทธ์ในการทำงาน เสมือนกับ ปากกา ดินสอ และ พิมพ์ดีด ในสมัยก่อน September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  9. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 1. ทุกส่วนราชการต้องมีเว็บไซต์ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน โดยที่มี Domain Name ขององค์กร และมีข้อมูล และผู้รับผิดชอบในการทำให้เป็นปัจจุบัน ภายใน 1 เมษายน พ.ศ. 2546 2. ทุกส่วนราชการต้องพัฒนาให้มีเว็บบอร์ดและไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ตอบกลับ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ภายใน 30 เมษายน พ.ศ. 2546 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  10. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 3. ทุกผู้บริหารขององค์กรภาครัฐทั้งหมดจะต้องมีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และต้องมีกระบวนการตอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ภายใน 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  11. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 4. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะพัฒนาระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (PKI) เพื่อแจกจ่ายให้หน่วยงานต่างๆ ที่ยังไม่ได้ใช้งานระบบไปรษณีย์อิเล็ก ทรอนิกส์แบบปลอดภัย ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2546 Public Key Infrastructure-PKI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วยกุญแจ 2 ดอก คือกุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) โดยบุคคลหนึ่ง จะมีกุญแจทั้ง 2 ดอกดังกล่าว September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  12. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 5. คณะทำงานมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จะพัฒนาโครงสร้างเบื้องต้นในการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประชาชน (เป็นข้อมูลประชาชนที่ใช้รหัสประจำตัว 13 หลักร่วมกัน เช่น รหัสประจำตัวประชาชนของกรมการปกครอง รหัสผู้เสียภาษี รหัสผู้ประกันตน และรหัสประจำตัวข้าราชการ เป็นต้น) ให้เสร็จใน 30 กันยายน พ.ศ. 2546 และสมบูรณ์ในระดับส่ง Transaction ข้าม Domain ที่สำคัญๆ ภายในปี พ.ศ. 2547 ประมาณร้อยละ 40 และให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยทุกส่วนราชการต้องให้การสนับสนุนอย่าง เต็มที่ September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  13. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 6. ให้มีเจ้าภาพกลางในการพัฒนาระบบ Back Office กลาง ในส่วนที่ขาด โดยเริ่มจากระบบสารบรรณ ระบบการเงิน บัญชี งบประมาณ ใน 30 กันยายน พ.ศ. 2547 และระบบอื่นๆ อย่างช้าในปี พ.ศ. 2548 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  14. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 7. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะร่วมมือ กับส่วนราชการต่างๆ ในการพัฒนา e-Procurement (ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อจากการทำ e-Auction) โดยการเน้นประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดจ้าง และความโปร่งใสในการดำเนินการ ตลอดจนจัดทำให้เกิด Enterprise Resources Planning (ERP) ในระบบราชการทั้งหมด ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2548 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  15. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 8. .จัดทำระบบทะเบียนราษฎรและบัตร Smart Card ให้สำเร็จตามแนวทาง e-Citizen และเริ่มต้นภายในปี พ.ศ. 2546 9. บูรณาการงาน One Stop Service ให้เกิดต้นแบบการชำระเงินผ่าน Counter Service ขึ้น ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2546 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  16. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) • 10. จัดทำ Call Center ของรัฐบาล และกระทรวง กรม ต่างๆ โดยให้ ทศท. เป็นผู้ดำเนินการภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2546 • 11. ร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการพัฒนาเจ้าหน้า • ที่ตำรวจให้มีขีดความสามารถในการสืบสวนสอบสวนด้าน • อิเล็กทรอนิกส์ และสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรม • อิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2547 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  17. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) • 12. ให้มีทีมงานของ CIO เพื่อให้เป็นกลไกหลักในการประสานงานผู้บริหารด้านสารสนเทศระดับสูงของรัฐและเอกชน ที่จะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปัญหา ตลอดจนเป็นที่ประชุมเพื่อหาข้อยุติในเรื่องต่างๆ ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2546 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  18. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 13. ปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร โดยการให้กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเจ้าภาพในการประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ ในการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ทัศนคติ ลดแรงต่อต้านภายในองค์กร และแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบข้อบังคับ ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องจากการใช้ e-Government ขององค์กรต่างๆ September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  19. เป้าหมายสำคัญ (Milestones) 14. ประสานงาน และช่วยอำนวยการ ให้ PMOC, MOC ให้สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้ภายใน 30 กันยายน พ.ศ. 2546 15. เปิดเว็บไซต์ e-Citizen Portal ให้บริการใน 1 เมษายน พ.ศ. 2546 September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  20. PMOC MOC DOC DOC ศูนย์ปฏิบัติการกรม MOC ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง PMOC ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี September 2003 < > MAIN MENU EXIT

  21. ข้อมูล (Data) • ข้อมูลมีกี่ประเภท • ข้อมูลที่ดีมีลักษณะอย่างไร • งานที่ต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ • ฐานข้อมูล < > MAIN MENU EXIT

  22. ข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง • การจัดแบ่งประเภทข้อมูล ทำได้หลายวิธี แล้ว • แต่จะพิจารณาในด้านใด • ข้อมูลพิจารณาในด้านการปฏิบัติงาน • ข้อมูลพิจารณาในด้านองค์กร • ข้อมูลพิจารณาในด้านการบันทึกข้อมูล < > MAIN MENU EXIT

  23. ข้อมูลพิจารณาในแง่การปฏิบัติงานข้อมูลพิจารณาในแง่การปฏิบัติงาน • ข้อมูลพิจารณาในแง่การปฏิบัติงาน • ข้อมูลปฏิบัติงาน หมายถึงข้อมูลย่อยที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องๆ ตามลักษณะของการปฏิบัติงาน หรือลักษณะของงาน เช่น ข้อมูลเวลาเข้าทำงาน ข้อมูลผู้ได้รับการรับรอง • ข้อมูล Archive หมายถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บไว้อ้างอิง หรือใช้เป็นหลักฐานต่อไปในอนาคต มักจะได้แก่ข้อมูลเก่าที่ใช้งานแล้วและไม่จำเป็นต้องเก็บค้างไว้ในระบบอีก จึงย้ายไปแยกเก็บต่างหาก < > MAIN MENU EXIT

  24. ข้อมูลพิจารณาในแง่การปฏิบัติงานข้อมูลพิจารณาในแง่การปฏิบัติงาน • ข้อมูลพิจารณาในแง่การปฏิบัติงาน (ต่อ) • ข้อมูลบริหาร หมายถึงข้อมูลที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้ว โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้ในการวางแผน ควบคุม ตัดสินใจของผู้บริหาร ข้อมูลบริหารนี้ เรียกรวมว่า สารสนเทศ (Information) < > MAIN MENU EXIT

  25. ข้อมูลพิจารณาในแง่องค์กรข้อมูลพิจารณาในแง่องค์กร • ข้อมูลพิจารณาในแง่องค์กร • ข้อมูลภายใน หมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานเอง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน งบประมาณ การใช้จ่าย พัสดุคงคลัง ข้อมูลเหล่านี้สามารถบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของเราไม่ยากนัก • ข้อมูลภายนอก หมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นภายนอกหน่วยงาน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจการดำเนินงานของหน่วยงานอื่น ถ้าเป็นเรื่องบริษัท ข้อมูลภายนอกคือข้อมูลบริษัทคู่แข่ง หน่วยงานราชการโดยทั่วไปยังไม่ได้สนใจเก็บบันทึกข้อมูลภายนอกเอาไว้ใช้งานมากนัก < > MAIN MENU EXIT

  26. ข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูลข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูล • ข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูล • ข้อมูลเชิงจำนวน (Numeric Data) หมายถึงข้อมูลที่บันทึกเป็นตัวเลข และอาจนำมาใช้ในการคำนวณได้ เช่น เงินเดือนของข้าราชการ • ข้อมูลอักขระ (Character Data) หรือข้อความ (Text) หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและสัญลักษณะที่แสดงออกมาได้ จัดเรียงลำดับได้ แต่นำไปคำนวณไม่ได้ เช่น ชื่อข้าราชการ รายชื่อบริษัท ที่อยู่ < > MAIN MENU EXIT

  27. ข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูลข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูล • ข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูล(ต่อ) • ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data) หมายถึงข้อมูลที่เป็นจุดพิกัดของรูป หรือแผนที่สำหรับให้คอมพิวเตอร์ใช้ในการสร้างรูปและแผนที่นั้น ปัจจุบันนิยมใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แบบก่อสร้าง • ข้อมูลเสียง (Sound) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถทำงานกับเสียงได้หลายแบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบ MIDI สามารถใช้กับงานสังเคราะห์เสียงดนตรีได้ คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งแผงวงจรเสียง (SoundCard) สามารถแสดงเสียงได้อย่างมีคุณภาพ < > MAIN MENU EXIT

  28. ข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูลข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูล • ข้อมูลพิจารณาในแง่การบันทึกข้อมูล(ต่อ) • ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image) หมายถึงข้อมูลที่แสดงความเข้มและสีของรูปภาพหรือเอกสาร โดยอาจใช้เครื่อง Scanner บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลประเภทนี้สามารถนำมาแสดงทางจอภาพได้ ย่อหรือขยายได้ แต่ไม่สามารถนำมาใช้คำนวณ หรือดำเนินการอย่างอื่นได้ ปัจจุบันนิยมผนวกข้อมูลภาพลักษณ์ของข้าราชการลงในระบบบุคลากรด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นทั้งข้อมูล และรูปภาพของเจ้าของข้อมูล < > MAIN MENU EXIT

  29. ข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร • ข้อมูลที่ดี จะต้องมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ • เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสนใจจะทราบหรือจำเป็น • สมบูรณ์ • ทันสมัย เป็นปัจจุบัน • ถูกต้อง • สืบค้นได้สะดวก < > MAIN MENU EXIT

  30. ข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร • เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสนใจจะทราบหรือจำเป็น • ในการเลือกเก็บข้อมูลควรเลือกเก็บเฉพาะข้อมูลที่เราสนใจจะทราบหรือมีจุดมุ่งหมายเท่านั้น ในการจัดเก็บไม่จำเป็นต้องพยายามเก็บข้อมูลทุกเรื่องและทุกประเด็นจนเกินไป เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าจัดเก็บ • (เป็นไปไม่ได้ที่เราจะจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างได้หมด) < > MAIN MENU EXIT

  31. ข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร • สมบูรณ์ • ในขณะที่เราอาจพิจารณาเก็บข้อมูลเฉพาะเรื่องที่เราสนใจนั้น เราก็จะต้องตระหนักด้วยว่า ข้อมูลที่จัดเก็บมานั้นจะต้องสมบูรณ์มากพอ เช่นในระบบบุคลากร เราอาจสนใจกับวุฒิความสามารถ แต่ถ้าเราไม่เก็บบันทึกข้อมูลเรื่องวันเกิด และเพศ ข้อมูลที่เราก็ไม่สมบูรณ์และเราไม่สามารถบอกได้ว่า มีความแตกต่างหรือไม่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งสองเพศ หรือบุคลากรที่อายุต่างกัน < > MAIN MENU EXIT

  32. ข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร • ทันสมัย เป็นปัจจุบัน • ข้อมูลที่เราเก็บไว้นั้น จะมีลักษณะคงที่จนกว่าเราจะเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายความว่าข้อมูลอาจล้าสมัยก็ได้ ซึ่งถ้าเรานำข้อมูลนั้นไปใช้ ก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ เราจึงต้องวางแผนบันทึกเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ < > MAIN MENU EXIT

  33. ข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร • ถูกต้อง • เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะถ้าข้อมูลผิดก็จะทำให้การปฏิบัติงานและการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลนั้นเป็นพื้นฐานต้องพลอยผิดพลาดด้วย ในบางงานการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องทั้งหมดอาจเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ควรจัดเก็บให้มีความแม่นยำมากพอที่จะนำใช้ < > MAIN MENU EXIT

  34. ข้อมูลที่ดี มีลักษณะอย่างไร • สืบค้นได้สะดวก • การเก็บข้อมูลเอาไว้นั้นจะปราศจากประโยชน์ หากเก็บไว้แล้วไม่สามารถสืบค้นออกมาใช้งานได้ ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบว่า การเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของเรานั้นไม่ใช่เป็นการเก็บทิ้ง แต่เป็นการเก็บที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ตลอดเวลา นั่นคือ มีการเก็บบันทึกไว้เป็นแฟ้มต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการใช้งาน < > MAIN MENU EXIT

  35. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล เรามีอาจ อื่นๆ ที่จะต้องกระทำกับข้อมูลอยู่หลายอย่างด้วยกัน 1. การเก็บข้อมูล (Data Acquisition) 2. การบันทึกข้อมูล (Data Entry) 3. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data Edit) 4. การจัดแฟ้มข้อมูล (Filing) 5. การประมวลผล (Data Processing) 6. การสอบถามและการสืบค้นข้อมูล (Data Query and Data Retrieval) < > MAIN MENU EXIT

  36. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง 7. การปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (Update) 8. การจัดทำรายงาน (Reporting) 9. การทำสำเนา (Duplication) 10. การสำรองข้อมูล (Backup) 11. การกู้ข้อมูล (Data Recovery) 12. การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) 13. การทำลายข้อมูล (Data Scraping) < > MAIN MENU EXIT

  37. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การเก็บข้อมูล (Data Acquisition) • เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลดิบมาใช้ เช่น ฝ่ายสารบรรณบันทึกว่าได้รับหนังสือจากหน่วยงานใดเวลาเท่าใด การเก็บข้อมูลนั้นเป็นกิจกรรมแรกของกรรมวิธีการบันทึกข้อมูล และเป็นงานที่ต้องให้ความสนใจมาก เพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการจดบันทึกได้ ถ้าหากเขียนหวัด หรือทำงานอย่างลวกๆ ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่บริษัทต่างๆ จะพยายามใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อัตโนมัติมาเก็บข้อมูลมากขึ้น เพราะช่วยให้เก็บข้อมูลได้ถูกต้องโดยใช้เวลาน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Bar Code ก็เป็นการทำให้สามารถเก็บข้อมูลเข้าเครื่องได้โดยอัตโนมัติ < > MAIN MENU EXIT

  38. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การบันทึกข้อมูล (Data Entry) • เป็นกิจกรรมในการนำข้อมูลที่เก็บมาได้แล้วมาบันทึกเข้าสู่ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การใช้แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลเชิงจำนวนและข้อมูลอักขระได้อย่างสะดวก การใช้เครื่อง Scanner ทำให้เราบันทึกภาพลักษณ์ของเอกสารได้ การใช้กล้อง Digital ถ่ายภาพทำให้เราบันทึกภาพบุคลากรได้ และการใช้เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) ช่วยให้เราอ่านภาพพิกัดของแผนที่เก็บไว้ในเครื่องได้ < > MAIN MENU EXIT

  39. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data Edit) • ในการบันทึกข้อมูลนั้น บางครั้งอาจจะผิดพลาดได้ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลผิดพลาดไปจากความจริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหลังจากการบันทึกแล้ว การตรวจสอบนี้มีสองแบบ คือ • Verification เป็นการตรวจว่าข้อมูลที่บันทึกไว้นั้นตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเอกสารต้นฉบับหรือไม่ • Validation เป็นการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของข้อมูล เช่น ถ้าใช้รหัสเพศของบุคลากร คือ M กับ F ก็ต้องตรวจสอบว่าข้อมูลในช่องรหัสเพศต้องไม่เป็นช่องว่าง อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ตรวจว่าไม่มีวันที่ 30/2/01 เพราะเดือนกุมภาพันธ์ย่อมไม่มีวันที่ 30 < > MAIN MENU EXIT

  40. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การจัดแฟ้มข้อมูล (Filing) • หากเป็นเอกสารหมายถึงการเก็บเอกสารลงในแฟ้มให้ถูกที่ถูกตำแหน่ง ในระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงการแยกเก็บเป็นแฟ้มต่างๆ ตามเรื่องที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะเดียวกันแฟ้มนั้นๆ ก็ต้องจัดในลักษณะที่สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก ยกตัวอย่างเช่น สมุดโทรศัพท์จัดเรียงชื่อผู้เช่าโทรศัพท์ตามลำดับอักษรชื่อต้น เมื่อเราต้องการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ก็เพียงแต่พลิกหาหมวดอักษรไล่ดูรายชื่อจนพบ แล้วก็ไล่ดูนามสกุลต่อ รวมแล้วก็ไม่เสียเวลาเท่าใด แต่ถ้าหากสมุดโทรศัพท์จัดเรียงชื่อผู้เช่าตามลำดับหมายเลขโทรศัพท์ การค้นหาชื่อเพื่อนในสมุดโทรศัพท์แบบนี้คงจะทำไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้การจัดแฟ้มข้อมูลของคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหลักการ และวิธีการที่เหมาะสมกับการใช้งาน < > MAIN MENU EXIT

  41. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การประมวลผล (Data Processing) • การเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ในแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ก็เพื่อจะนำมาใช้ในการประมวลผลให้เกิดเป็นรายงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้และผู้บริหารต้องการ การประมวลผลนั้นจะกระทำโดยโปรแกรมซึ่งเราจะต้องจัดเตรียมไว้ก่อนแล้ว < > MAIN MENU EXIT

  42. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การสอบถามและการสืบค้นข้อมูล (Data Query and Data Retrieval) • ในบางครั้งเราจัดเก็บข้อมูลเอาไว้ เพื่อสอบถามหรือค้นหาข้อมูลมาใช้งานตามใจชอบ ยกตัวอย่างเช่น การค้นว่าเที่ยวบินที่ต้องการมีผู้จองที่นั่งไว้เต็มแล้วหรือยัง การสอบถามยอดเงินในบัญชีผ่านระบบ ATM การค้นว่าบริษัทที่ได้รับการรับรอง อยู่ภายใต้รหัสกิจกรรม ISIC 30 • หรือ 72 มีจำนวนกี่ราย • ปัจจุบันมีผู้พัฒนาภาษาสำหรับสอบถามข้อมูลที่ใช้ง่ายขึ้น ภาษานั้นมีชื่อว่า SQL ซึ่งย่อมาจาก Structured Query Language < > MAIN MENU EXIT

  43. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (Update) • ข้อมูลจะเป็นประโยชน์ถ้าหากข้อมูลถูกต้องเป็นปัจจุบัน ดังนั้นเราจะต้องดูแลให้เจ้าหน้าที่ของเราปรับข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ การปรับนี้จะทำบ่อยครั้งแค่ไหนก็สุดแต่ความจำเป็นในแต่ละเรื่อง • การจัดทำรายงาน (Reporting) • หนึ่งในเป้าหมายของการประมวลผลก็คือ การจัดทำรายงานเพื่อส่งให้แก่ผู้ใช้และผู้บริหาร รายงานแบบเก่า ๆ มักเป็นตารางตัวเลขที่มีรายละเอียดมากทำให้อ่านและเข้าใจได้ยาก บางทีผู้ใช้รายงานอาจมองข้ามความสำคัญของตัวเลขบางรายการ ดังนั้นในปัจจุบันจึงนิยมเปลี่ยนไปจัดทำรายงานในรูปแบบกราฟต่าง ๆ มากขึ้น < > MAIN MENU EXIT

  44. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การทำสำเนา (Duplication) • เป็นการนำรายงานมาถ่ายเอกสารทำสำเนาเพิ่มเติม หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์รายงานหลายๆ ชุด รวมไปถึงการนำแฟ้มข้อมูลมาทำสำเนาเพื่อส่งไปให้หน่วยงานอื่นใช้ด้วย • ในสมัยก่อนก่อนส่งข้อมูลให้คนอื่นนั้น เราอาจจะต้องทำสำนาหลายชุดตามหน่วยงานที่เราต้องการส่งให้ แต่ในปัจจุบันเอกสารบางประเภทเราสามารถทำข้อมูลเพียงชุดเดียว แล้วไปวางไว้ใน Web Site เพื่อให้หน่วยงานที่ต้องการข้อมูลมา Download เอง < > MAIN MENU EXIT

  45. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การสำรองข้อมูล (Backup) • เป็นการทำสำเนาข้อมูลทั้งหมดลงในสื่อบันทึกข้อมูล เช่น เทปแม่เหล็ก หรือจานแม่เหล็ก แล้วนำสื่อนั้นไปแยกเก็บไว้ต่างหากเพื่อสำรองไว้ใช้ในกรณีที่แฟ้มข้อมูลเดิมในระบบคอมพิวเตอร์มีอันถูกทำลาย หรือสูญหายไปด้วยประการใดก็ตาม การสำรองข้อมูลนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นผู้บริหารเราจะต้องคอยดูแลให้มีการสำรองข้อมูลของหน่วยงานของอยู่เสมอ ยิ่งถ้าเป็นข้อมูลสำคัญมากควรสำรองทุกวันหลังเสร็จงานประจำ แต่ถ้าเป็นข้อมูลอื่นอาจสำรองทุกสัปดาห์ก็ได้ < > MAIN MENU EXIT

  46. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การกู้ข้อมูล (Data Recovery) • เป็นงานที่ต้องทำเมื่อแฟ้มข้อมูลจริงถูกทำลายและเราต้องนำข้อมูลสำรองกลับมาใช้ วิธีการก็คือจะต้องบรรจุข้อมูลที่สำรองไว้ใน Tape แม่เหล็กลงในจานแม่เหล็กของระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ พร้อมกับปรับปรุงข้อมูลอื่น ๆ ที่ได้เปลี่ยนไปในช่วงหลัง Backup ครั้งสุดท้าย < > MAIN MENU EXIT

  47. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) • เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น การส่งข้อมูลดิบจากจุดที่บันทึกข้อมูลซึ่งอาจจะอยู่คนละจังหวัด ไปเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร หรือการส่งรายงานที่ประมวลผลที่กรุงเทพมหานคร ไปให้ผู้ใช้ที่อยู่จังหวัดอื่น ๆ การส่งข้อมูลนี้อาจกระทำได้โดยการส่งแผ่นดิสเกตต์ที่ใช้บันทึกข้อมูลไปทางไปรษณีย์ หรือส่งผ่านระบบเครือข่ายภายใน หรือ Internet < > MAIN MENU EXIT

  48. งานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้างงานที่จะต้องกระทำกับข้อมูลมีอะไรบ้าง • การทำลายข้อมูล (Data Scraping) • เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำลายข้อมูลที่ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้แล้ว หรืออาจเป็นความลับทางราชการที่ไม่ควรให้ผู้ใดรับทราบ ในกรณีเอกสารเราอาจทำลายได้โดยใช้เครื่องทำลายเอกสาร ส่วนในกรณีของสื่อบันทึกคอมพิวเตอร์ เราอาจใช้วิธีต่างๆ ได้หลายวิธี เช่น ถ้าเป็นจานแม่เหล็ก เราอาจสั่งให้คอมพิวเตอร์จัดเนื้อที่ใหม่ (Format) หรือถ้าเป็นเทปแม่เหล็กเราอาจนำเทปนั้นไปบันทึกทับก็ได้ < > MAIN MENU EXIT

  49. แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ แฟ้มเอกสารมักจะเรียงเป็นเรื่องย่อย มีเอกสารหนังสือติดต่อหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนั้นรวมไว้หมด ในหนึ่งแฟ้มเอกสารจะพบรายละเอียดของเรื่องย่อยนั้นครบถ้วนทุกอย่าง เช่น แฟ้มบุคลากรก็จะเป็นแฟ้มเกี่ยวกับคน ๆ หนึ่ง และแฟ้มนี้จะรวมไว้ในตู้ ซึ่งเป็นตู้แฟ้มบุคลากร แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น เราเลือกบันทึกรายละเอียดบางอย่างของเรื่องเดียวกันลงไปในนั้น เช่น แฟ้มข้อมูลบุคลากรจะบันทึกข้อมูลพื้นฐานของบุคลากรทุกคนไว้ในแฟ้มโดยแยกเป็น Record ของละคน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงแฟ้มบุคลากรที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เราจึงหมายถึงแฟ้มที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ทุกคน แต่เมื่อกล่าวถึงแฟ้มเอกสาร เราหมายถึงแฟ้มที่เก็บข้อมูลของเจ้าหน้าที่คนเดียว < > MAIN MENU EXIT

  50. ตัวอย่างแฟ้มข้อมูลบุคลากรตัวอย่างแฟ้มข้อมูลบุคลากร หมายเลข ชื่อ เพศ วันเกิด ตำแหน่ง 12045 สมชาย คณิตไว ช 11/1/01 จ.ระบบ 6 12456 สมหญิง สวยเสมอ ญ 18/2/15 จ.ระบบ 3 12472 สมศักดิ์ ตรีโกณ ช 06/6/16 จ.ระบบ 3 Record 1 Record 2 Record 3 Field 1 Field 2 Field 3 Field 4 Field 5 < > MAIN MENU EXIT

More Related