1 / 19

นิยาม และหลักการ ข้อมูล ความต้องการสารอาหาร ( RDA, Recommended Dietary Allowances)

นิยาม และหลักการ ข้อมูล ความต้องการสารอาหาร ( RDA, Recommended Dietary Allowances). ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ระบุข้อกำหนดปริมาณที่ควรจะได้ ในแต่ละวัน เท่าใดจึงจะดี และ “ ดี ” หมายถึงอะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์

Download Presentation

นิยาม และหลักการ ข้อมูล ความต้องการสารอาหาร ( RDA, Recommended Dietary Allowances)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นิยาม และหลักการ ข้อมูลความต้องการสารอาหาร(RDA, Recommended Dietary Allowances) ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารที่ร่างกายต้องการ • ระบุข้อกำหนดปริมาณที่ควรจะได้ ในแต่ละวันเท่าใดจึงจะดีและ “ดี” หมายถึงอะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ • สร้างรูปแบบสื่อให้เข้าใจง่าย และ (ประชาชนทั่วไปก็) ปฏิบัติตามได้ • อิงตามความต้องการของบุคคลมาตรฐานในแต่ละเพศและวัย • จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการของชาติ ใช้จำเพาะสำหรับแต่ละชาติ • มีหลักการกำหนดสร้าง ระดมองค์ความรู้จากทั่วโลกเป็นสากล • เพื่อความมั่นใจไม่เกิดผลเสียในระยะยาว และ • คำนึงถึงความปลอดภัยสำหรับประชากรส่วนใหญ่

  2. หลักการสากล (WHO) ในการจัดทำข้อกำหนด • ประเมินความต้องการเฉลี่ยสำหรับแต่ละชนิดสารอาหาร • ความต้องการแต่ละชนิดสารอาหารแปรตามวัย และสรีระ • บวกจำนวน 2SD เข้ากับค่าเฉลี่ยความต้องการที่ได้นั้น ถือเป็นระดับที่ควรได้เผื่อไว้เพื่อความปลอดภัย • คำนึงถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแต่ละชนิดสารอาหาร • เพิ่มการประเมินเป็นพิเศษสำหรับกลุ่ม หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ • ระบุข้อแม้สถานการณ์ที่ควรมีการปรับในการนำข้อกำหนดที่ได้นี้ไปใช้

  3. บุคคลมาตรฐาน ข้อแม้ที่ต้องระบุและปรับ • น้ำหนักและส่วนสูงที่ควรเป็น • เด็กทารกที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการปกติ (thriving) ได้รับนมแม่จากแม่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ (Healthy) • ระบุนิยาม “สุขภาพสมบูรณ์” • ระบุนิยาม “ผู้สูงอายุ” • ภูมิอากาศ • ขนาดการใช้กำลัง • ความผิดปกติในการจัดการสารอาหารในร่างกาย • ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง • การคลอดก่อนกำหนด • การบำบัด สารหรือยาที่กำลังได้รับ

  4. DRIs, Dietary reference intakesของแต่ละ nutrient ประมวลจาก 4 ค่าอ้างอิงของสารนั้น http://www.nap.edu/catalog/9956.html EAR, Estimated average requirement เสี่ยงต่อขาดสาร 0.5 เท่า RDA, Recommended dietary allowance เสี่ยงต่อขาดสาร 0.02 to 0.03 เท่า AI, Adequate Intake คือค่าระหว่าง RDA และ UL เสี่ยงต่อขาด/เกิดพิษน้อยมาก UL, Upper intake level คือระดับต่ำสุดที่ได้รับสารนั้นแล้วยังทนได้ ถ้าเกินเกิดพิษ

  5. คุณค่าของ DRI • ประมวลมาจาก ค่า nutrient-based reference values อย่างน้อย 4 ค่า • ให้ประชากรปลอดภัยและพอเพียงในการบริโภค • ลดความเสี่ยงต่อโรค chronic degenerative มากกว่าเพียงเพื่อไม่ให้เกิดอาการขาดสารอาหาร • มีข้อมูล (ไม่ใช่) ข้อกำหนด เกี่ยวกับสารในอาหารที่ไม่ใช่ essential nutrient ตามนิยามเดิม แต่พบว่าอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ • ใช้แทนค่าข้อกำหนดที่ใช้กันอยู่เดิมในอเมริกาและคานาดา • (Recommended Dietary Allowances in the United States and Recommended Nutrient Intakes in Canada) • เห็นตามฉลากอาหารทั่วไป และใช้แปลเป็นรูปปิรามิดอาหาร

  6. Food-based dietary guideline • แปลจากตาราง เป็นภาพให้ประชาชนเข้าใจง่าย ทำตามได้ เช่น โดยองค์กรช่วยคุ้มครองผู้บริโภคได้แก่ Council for Responsible Nutrition (CRN) สถาบัน Linus Pauling ใน Oregon State University Center for Nutrition Policy and Promotion, US Department of Agriculture (http://www.cnpp.usda.gov) • ทำเป็นรูปจาน หรือปิรามิด (สำหรับแต่ละวัย และโรค)

  7. ตัวอย่างรูปแบบสื่อชนิดFood-based dietary guidelineของปริมาณอาหาร 6 หมู่ที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับเด็กอเมริกัน 2-6 ปี

  8. ตัวอย่างรูปแบบสื่อชนิดFood-based dietary guidelineของปริมาณอาหาร 6 หมู่ที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย • ข้าวและแป้ง 4-6 ถ้วยตวง • เนื้อสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง 90-180 กรัม • นม 1-2 ถ้วยตวง • ผักอย่างน้อย 1 ถ้วยตวง • ผลไม้อย่างน้อย 1 ถ้วยตวง • ไขและน้ำมันน้อยกว่า 5 ช้อนโต๊ะ

  9. ความต้องการพลังงานประจำวันสำหรับคนปกติความต้องการพลังงานประจำวันสำหรับคนปกติ • แปรตามอายุ น้ำหนักที่ควร (IBW) เชื้อชาติ และ กิจกรรม • รวมต้องการประมาณวันละ1800-2000 kcal แบ่งเป็น • พลังงานพื้นฐาน (การทำงานอวัยวะ หรือ Basal metabolic rate ย่อ BMR และพลังงานใช้ในการจัดการสารอาหาร หรือ Diet induced thermogenesis)หรือ พลังงานพื้นฐานขณะไม่มีกิจกรรม (Resting energy expenditure ย่อ REE) • พลังงานสำหรับกิจกรรม (Physical activity) • สัดส่วนร้อยละพลังงานจากอาหารproteinต่อ ไขมัน ต่อ แป้งและน้ำตาล= 20 ต่อ 30 ต่อ 50 ของพลังงานรวม • อาจประมาณความต้องการ protein (กรัม/นน.ตัว/วัน) ก่อน โดยให้พลังงานที่เหลือ ต่อ กรัม ไนโตรเจน ต้องไม่ต่ำกว่า 100 kcal

  10. วิธีการประเมินปริมาณพลังงานพื้นฐานที่ต้องการวิธีการประเมินปริมาณพลังงานพื้นฐานที่ต้องการ • ใช้ calorimeter วัดค่า BMR หรือ REE (ไม่มีกิจกรรม) นำมาสร้างเป็นตาราง หรือทำเป็นสูครคำนวณตาม อายุ นน.ตัว (IBW) และสส.(US RDAs, 1989) • ใช้สูตรคำนวณ ซึ่งได้มาจากการวัดโดยใช้ calorimeter แล้วสร้างเป็นสมการ เช่น สมการหาค่า BMR ของ Harris-Benedict BMR ชาย = 655 + (9.5 x W) + (1.8 x H) – (4.7 x A) BMR หญิง = 66 + (13.7 x W) + (5.0 x H) – (6.8 x A) โดย W = น้ำหนักตัว (กก.); H = ส่วนสูง (ซม.); A = อายุ (ปี) สูตรนี้ให้ค่า BMR สูงกว่าความเป็นจริงประมาณร้อยละ 15 และไม่นับรวมที่ต้องการเพิ่มจาก catabolic rate สูงจากไข้ (ร้อยละ 13 ต่อแต่ละองศา ที่เพิ่มจาก 37๐C)

  11. Direct และ indirect calorimetry • Calorimetry เป็นวิธีวัดพลังงานจากกระบวนการสันดาป สารอาหาร + O2ได้ CO2 + น้ำ + พลังงาน • วัดรังสีความร้อนที่แผ่ออกจากร่างกายโดยตรงและเป็นระบบปิด เรียก Direct calorimetry • วัดอัตราปริมาณ CO2ที่ได้ต่อปริมาณ O2ที่ใช้ไป โดยเป็นระบบเปิด เรียก indirect calorimetry • เรียกอัตรา CO2ต่อ O2ว่า respiratory quoteint (RQ) • วัด RQ ขณะพักแล้วนำไปคำนวณได้ค่าพลังงาน REE

  12. ร้อยละ 50 พลังงานที่ควรได้ มาจากจำพวกแป้งและน้ำตาล • จากพลังงานที่ควรได้วันละ 1400-2000 kcal เป็นสัดส่วนจากอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลคือ 700-1000 kcal หรือ = 175-250 กรัม • แบ่งเป็น • แป้ง พืชหัว ราก ฝัก ผล ธัญพืชรวม 4-8 ถ้วย = 75-150 กรัม • น้ำตาลจากผลไม้ 1-2 ถ้วย • นม 1 ถ้วย (250 มล) = 12 กรัม

  13. เลือกอาหารจำพวกแป้งมากกว่าน้ำตาลเลือกอาหารจำพวกแป้งมากกว่าน้ำตาล • อาหารจำพวกน้ำตาล ได้แก่ • น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม (syrup) น้ำผลไม้ • อาหารจำพวกแป้ง ได้แก่ • ข้าว แป้ง พืชหัว ราก ผล ฝัก เมล็ด • อาหารจำพวกแป้งจากพืชให้ใยอาหาร (Dietary fiber) ด้วย • ใยอาหารคือส่วนของผนังเซลล์พืช • คนไม่มี enzyme ย่อยใยอาหารใยอาหารจึงมีประโยชน์ชะล้างกากอาหารในลำไส้ ให้ความรู้สึกอิ่ม • แนะนำให้ได้วันละ 20 กรัม • ใยอาหารและน้ำตาล oligosaccharide เป็น probiotics

  14. วิธีประเมินความต้องการ protein ในคนปกติ • ใช้การทดสอบหาดุล nitrogen ที่ให้ในระดับต่าง ๆ • Plot graph ระหว่าง ปริมาณ และ ค่าดุล nitrogen พบว่าดุลเป็น > 0 แม้ใช้อาหาร protein จำนวนน้อยในการทดสอบ เมื่อเป็นอาหาร protein ที่มีคุณภาพ (ไข่) และได้พลังงานอย่างน้อย 100 kcal ต่อ 1 กรัม nitrogen • วิธี factorial method (ดูจาก obligatory loss) • วัดปริมาณ nitrogen ที่ขับออกเมื่อไม่ได้ protein เลย • วัดปริมาณ indispensable amino acids ที่ต้องการจาก • ให้แล้วอาการจากการขาดกรด amino นั้น หายไป • ให้กรด amino นั้นในขนาดต่าง ๆ แล้วดูดุล nitrogen • ใช้สารรังสี13C ติดตาม

  15. ไขมันและน้ำมันที่ให้พลังงานเกือบทั้งหมดเป็นสาร triglycerides • ควรกินไม่เกินวันละ 65 กรัม (เทียบเท่าน้ำมัน 4-5 ช้อนโต๊ะ) • เลือกน้ำมันจากพืชเพื่อให้ได้กรดไขมันไม่อิ่มตัวและกรดไขมันจำเป็น linoleic (w6) ซึ่งร่างกายเปลี่ยนเป็นกรดไขมันจำเป็น arachidonic ได้ • กรดไขมันจำเป็นa-linolenic (w3) ได้จากปลาทะเล (มีมากในปลาทู)และถั่วเหลือง • เลี่ยงน้ำมันจากสัตว์รวมทั้งที่มองไม่เห็น โดยตรงในเนื้อสัตว์

  16. วิธีการประเมินความต้องการสารอาหารปริมาณน้อยวิธีการประเมินความต้องการสารอาหารปริมาณน้อย • ใช้การสังเกตอาการพร้อมวัดระดับสารนั้นในเลือด • ใช้การทดสอบหาดุล • ใช้กับแร่ธาตุปริมาณน้อย • สังเกตอาการขาดได้ยาก • อาการขาดเป็นอันตราย • ให้สารอาหารแก่ผู้ที่มีอาการสังเกตปริมาณที่ทำให้อาการหายไป อาการหมายถึงตั้งแต่การทำงานของสารในระดับชีวเคมี

  17. ความต้องการสารอาหารของบุคคลแตกต่างกันความต้องการสารอาหารของบุคคลแตกต่างกัน • แม่และลูกในครรภ์ • ก่อนตั้งครรภ์ • ขณะตั้งครรภ์เพื่อการตั้งครรภ์ที่ดี • ให้นมบุตร • ต้องการปกติตามวัย ได้แก่ ทารก เด็กวัยรุ่นวัยกลางคนวัยสูงอายุ เพื่อหวังผลเจริญเติบโต สุขภาพดี ป้องกันโรค • ต้องการยามเจ็บป่วย เพื่อชดเชย ช่วยฟื้นตัว และลดภาวะแทรกซ้อน

More Related