1 / 51

บทที่ 6 ต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิต

บทที่ 6 ต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิต. แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน. ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost): โอกาสที่มีมูลค่าสูงสุดที่ต้องเสียไป หรือผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ผลิตไม่ได้รับจากการ เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตไปในทางอื่น. แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน(ต่อ).

Download Presentation

บทที่ 6 ต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 ต้นทุนการผลิตและรายรับจากการผลิต

  2. แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุนแนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost): โอกาสที่มีมูลค่าสูงสุดที่ต้องเสียไป หรือผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ผลิตไม่ได้รับจากการ เลือกใช้ทรัพยากรการผลิตไปในทางอื่น

  3. แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน(ต่อ)แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน(ต่อ) Ex. ถ้ามีทางเลือก 3 ทางในการพัฒนาที่ดินว่างเปล่า เราจะเลือกทำโครงการที่มีค่าเสียโอกาสน้อยที่สุด 1.พัฒนาเป็นลานจอดรถ ให้ผลตอบแทน 100,000 บาท/เดือน 1. ที่ดินว่างเปล่า 2.พัฒนาเป็นตึกแถวให้เช่า ให้ผลตอบแทน 250,000 บาท/เดือน 2. 3. 3.พัฒนาเป็นร้านอาหาร ให้ผลตอบแทน 150,000 บาท/เดือน

  4. แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน(ต่อ)แนวคิดทางเกี่ยวกับต้นทุน(ต่อ) Ex. มีเงินอยู่ 10 ล้านบาท มี 4 ทางเลือกในการลงทุน เราจะเลือกทำโครงการที่มีค่า เสียโอกาสน้อยที่สุด 1.ซื้อทองคำ ให้ผลตอบแทน 80,000 บาทภายใน 1 ปี 1. 2.ฝากธนาคาร ให้ผลตอบแทน 50,000 บาทภายใน 1 ปี 10 ล้านบาท 2. 3.เล่นหุ้น ให้ผลตอบแทน 100,000 บาทภายใน 1 ปี 3. 4. 4.ปล่อยกู้นอกระบบ ดอกร้อยละ 20 ให้ผลตอบแทน 2,000,000 บาทภายใน 1 ปี

  5. ต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Explicit Cost and Implicit Cost) 1.ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost ):ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงและมีการจ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริงๆ 2.ต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit Cost):คือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการผลิตจริงๆ แต่ไม่มีการจ่ายออกไปเป็นตัวเงิน เกิดจากการนำปัจจัยการผลิตที่ตนเองเป็นเจ้าของมาใช้ในการผลิต (โดยทั่วไปก็คือ Opportunity Cost)

  6. ต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (ต่อ) เครื่องครัว: ซื้อใหม่ 10,000 บาท เปิดร้านข้าวแกง ใช้ตึกแถวที่พ่อแม่ยกให้มาทำ 1. โต๊ะเก้าอี้: ซื้อใหม่ 50,000 บาท เจ้าของร้านข้าวแกง เปิดร้านข้าวแกง 2. 3. ตู้กับข้าว: ซื้อใหม่ 20,000 บาท 4. ตึกแถว: มีอยู่แล้ว พ่อแม่ยกให้

  7. ต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (ต่อ) ตู้กับข้าว: ซื้อใหม่ 20,000 บาท โต๊ะเก้าอี้: ซื้อใหม่ 50,000 บาท เครื่องครัว: ซื้อใหม่ 10,000 บาท 1.ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost) + + ค่าเสียโอกาสของเจ้าของกิจการ ค่าเสียโอกาสของสถานที่ 2.ต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit Cost) +

  8. ต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (ต่อ) ธุรกิจคาร์แคร์ 1.ซื้อเครื่องมือล้างรถ ราคา 50,000 บาท เจ้าของกิจการ เปิดบริการคาร์แคร์ 2.จ้างเด็กล้างรถ ราคา 10,000 บาท 3.สถานที่ไม่ต้องซื้อ มีอยู่แล้ว

  9. ต้นทุนชัดแจ้งและต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (ต่อ) เครื่องมือล้างรถ ราคา 50,000 บาท จ้างเด็กล้างรถ ราคา 10,000 บาท 1.ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost) + ค่าเสียโอกาสของเจ้าของกิจการ ค่าเสียโอกาสของสถานที่ 2.ต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit Cost) +

  10. ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนทางบัญชี (Economics cost and Accounting Cost) 1.ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Cost)คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้านั้น ไม่ว่าจะมีการจ่ายไปจริงหรือไม่ก็ตาม Economics cost= Implicit Cost + Explicit Cost 2.ต้นทุนทางบัญชี (Accounting Cost)คือ ต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ผู้ผลิตได้มีการจ่ายจริงและได้ลงบันทึกรายการทางบัญชีไว้ Accounting cost = Explicit Cost

  11. ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนทางบัญชี (ต่อ) ตู้กับข้าว: ซื้อใหม่ 20,000 บาท โต๊ะเก้าอี้: ซื้อใหม่ 50,000 บาท เครื่องครัว: ซื้อใหม่ 10,000 บาท 1.ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost) + + ค่าเสียโอกาสของเจ้าของกิจการ ค่าเสียโอกาสของสถานที่ 2.ต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit Cost) +

  12. ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนทางบัญชี (ต่อ) เครื่องมือล้างรถ ราคา 50,000 บาท จ้างเด็กล้างรถ ราคา 10,000 บาท 1.ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost) + ค่าเสียโอกาสของเจ้าของกิจการ ค่าเสียโอกาสของสถานที่ 2.ต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit Cost) +

  13. ต้นทุนเอกชนและต้นทุนทางสังคม (Private Cost and Social Cost) 1.ต้นทุนเอกชน (Private Cost):ต้นทุนการผลิตที่เจ้าของหน่วยผลิตจะต้องจ่ายโดยตรงรวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆ ดังนั้น ต้นทุนเอกชนจะเท่ากับต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ 2.ต้นทุนทางสังคม (Social Cost):ต้นทุนจากการผลิตทั้งหมดทั้งที่เจ้าของหน่วยผลิตจะต้องจ่ายโดยตรงรวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆและที่เกิดขึ้นกับสังคม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต ต้นทุนที่ตกแก่บุคคลอื่นในสังคมเรียกว่า ผลกระทบภายนอก (Externality) Social Cost = Private Cost + Externalities = Private Cost + (External Cost - External Benefit)

  14. ต้นทุนเอกชนและต้นทุนทางสังคม (ต่อ) ผลกระทบภายนอกมี 2 ชนิด 1. ถ้าผลกระทบภายนอก (Externalities) ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม Externalities= External Benefits 2. ถ้าผลกระทบภายนอก (Externalities) ก่อให้เกิดผลเสียกับสังคม Externalities = ExternalCosts

  15. ต้นทุนเอกชนและต้นทุนทางสังคม (ต่อ) ต้นทุนเอกชน ต้นทุนจากการซื้อที่ดิน / เครื่องจักรกล / จ้างแรงงาน / ค่าเสียโอกาสต่างๆ / ฯลฯ โครงการนิคมอุตสาหกรรม สังคมร่ำรวยขึ้น เศรษฐกิจดี มีการจ้างงานมากขึ้น Externalities เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม คนป่วยจากสารพิษ

  16. สรุป ต้นทุนประเภทต่างๆ

  17. กำไร (Profit) กำไรเอกชน = รายรับ – ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ กำไร = 0 กำไรปกติ(Normal Profit) กำไร > 0 กำไรเกินปกติ(Abnormal Profit)

  18. กำไร (ต่อ) Ex. โครงการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางตรงข้ามหมอชิดเก่าอนุญาติให้จอดรถได้ฟรี (รายรับเท่าศูนย์) แต่มีต้นทุนที่ต้องจ่ายออกไปจริงๆเท่ากับ 20 ล้านบาท และมีค่าเสียโอกาสของที่ดิน 100 ล้านบาท โครงการนี้ก่อให้เกิดผลดีกับสังคม (External Benefit) คือ ทำให้คนกรุงเทพใช้รถส่วนตัวน้อยลงซึ่งทำให้ชาติประหยัดค่านำเข้าน้ำมัน 500 ล้านบาท และทำให้มีคนใช้ระบบขนส่งมวลชนทั้งรถเมล์และรถไฟฟ้ามากขึ้นคิดเป็นเงินเท่ากับ 10 ล้านบาท ทำให้มีคนมาเที่ยวสวนจตุจักรมากขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้ พ่อค้าแม่ค้าในสวนจตุจักรมีรายได้มากขึ้นคิดเป็นเงิน 300 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การมีโครงการนี้ทำให้ รถบริเวณนี้ติดขัดมากขึ้น ก่อให้เกิดการเสียเวลาและ พลังงานซึ่งสามารถคิดเป็นเงินได้เท่ากับ 50 ล้านบาท ถ้า นศ. เป็นนักลงทุน นศ. จะทำโครงการนี้ไหม? และ ถ้า นศ.เป็นรัฐบาล นศ. จะทำโครงการนี้ไหม?

  19. กำไร (ต่อ) Ex. โครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมดแก่ผู้ลงทุน 10,000 ล้านบาท โดยผู้ลงทุนต้องลงทุนด้านต่างๆ (จ่ายออกไปเป็นเงิน) เท่ากับ 2,000 ล้านบาท และสมมติให้ค่าเสียโอกาสของผู้ลงทุนและของปัจจัยการผลิตต่างๆมีมูลค่ารวมเท่ากับ 500 ล้านบาท โครงการนี้ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในด้านต่างๆ เช่น มีการจ้างงานกว่า 1,500 ตำแหน่ง และทำให้ประเทศชาติได้ผลประโยชน์จากการส่งออก ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเงินจากผลดีต่างๆเหล่านี้มีมูลค่าเท่ากับ 5,000 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศซึ่งทำให้ชาวบ้านบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคต่างๆและเสียชีวิตตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว นอกจากนั้นยังทำลายบรรยากาศของเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียได้ทั้งหมดเท่ากับ 20,000 ล้านบาท ถ้า นศ. เป็นผู้ประกอบการ นศ. จะทำโครงการนี้หรือไม่? และถ้า นศ. เป็นรัฐบาล นศ. จะยอมให้เกิดโครงการนี้หรือไม่?

  20. การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในระยะสั้นการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น การผลิตระยะสั้น คือ ระยะเวลาของการผลิตที่จะต้องมีปัจจัยคงที่อย่าง น้อยหนึ่งตัวทำงานร่วมกับปัจจัยแปรผัน ต้นทุนการผลิตระยะสั้น จะประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน Total Cost = Fixed Cost + Variable Cost (TC หรือ C) (FC) (VC)

  21. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost: FC)และต้นทุนแปรผัน (Variable Cost: VC) 1.ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost: FC):คือต้นทุนในการจัดหาปัจจัยคงที่เพื่อการผลิต เช่นค่าก่อสร้าง, ค่าที่ดิน, ค่าเครื่องจักร เป็นต้น 2.ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost: VC):คือต้นทุนในการจัดหาปัจจัยแปรผัน เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ค่าวัตถุดิบ เป็นต้น

  22. ต้นทุนระยะสั้น 1.ต้นทุนทั้งหมดในระยะสั้น (Total Cost : TC or C)คือผลรวมของต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน C = FC + VC 2.ต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost : MC)คือ ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงจากการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 1 หน่วย MCn = Cn – Cn-1 MC =  C /  Q = dC / dQ =Slope C ในระยะสั้น MC =  VC /  Q = dVC/dQ เพราะ FC จะคงที่

  23. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) 1.ต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost : AC)คือ ต้นทุนการผลิตทั้งหมดที่คิดเฉลี่ยต่อหน่วยสินค้า AC = C / Q AC = AFC + AVC โดยที่ AFC= ต้นทุนคงที่เฉลี่ย (Average Fixed Cost) AVC = ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (Average Variable Cost)

  24. จำนวนผลผลิต ต้นทุนคงที่ ต้นทุนแปรผัน ต้นทุนทั้งหมด Q FC VC C = FC + VC 0 550 0 550 1 550 300 850 2 550 550 1100 3 550 750 1300 4 550 1050 1600 5 550 1550 2100 6 550 2250 2800 7 550 3150 3700 8 550 4250 4800 ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชนิดต่างๆ

  25. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) ความสัมพันธ์ระหว่าง C, FC, VC

  26. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) • ต้นทุนคงที่เฉลี่ย (Average Fixed Cost : AFC)คือ ต้นทุนคงที่ทั้งหมดคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อหน่วยสินค้า AFC = FC / Q , AFC จะมีค่าลดลงตลอดเมื่อ Q เพิ่ม • ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (Average Variable Cost : AVC)คือ ต้นทุนแปรผันทั้งหมดที่เป็นคิดค่าเฉลี่ยต่อหน่วยของสินค้า AVC = VC / Q

  27. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) ทำต้นทุนชนิดต่างๆให้เป็นค่าเฉลี่ย AC, AVC, AFC, MC พิสูจน์ ที่ min.AC, AC = MC ที่ min.AVC, AVC = MC ต้นทุน MC AC AVC ระยะห่างเท่ากัน AFC 0 ปริมาณผลผลิต

  28. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) ความสัมพันธ์ระหว่าง AC, AVC, AFC, MC • AFC จะลดลงเรื่อยๆเมื่อ Q เพิ่มขึ้น • ที่ min.AC, AC = MC • ที่ min.AVC, AVC = MC • ระยะห่างระหว่าง AC และ AVC คือ AFC • AC, AVC : U shape

  29. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) เนื่องจากต้นทุนมีหลายชนิด ต้นทุนแบบไหนที่เราต้องการให้มีค่าต่ำสุด? TC? หรือ AC? หรือ MC? หรือ AVC? หรือ AFC? หรือ ?????

  30. ต้นทุนระยะสั้น (ต่อ) เราต้องการ “AC” ต่ำสุด

  31. ต้นทุนการผลิตระยะยาว การผลิตระยะยาว คือ การผลิตที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนปัจจัยการผลิตทุกชนิดได้หมด นั่นคือ ไม่มีปัจจัยคงที่ ต้นทุนการผลิตระยะยาว (Long Run Cost : LTC) จะมีเฉพาะต้นทุนแปร ผันเท่านั้น LTC= VC

  32. ต้นทุนการผลิตระยะยาว (ต่อ) ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยระยะยาว (Long Run Average Cost: LAC) คือ ต้นทุนการผลิตทั้งหมดที่คิดเฉลี่ยต่อหน่วยผลผลิตระยะยาว LAC = LTC / Q LAC ต้นทุน LAC* 0 ผลผลิต Q*

  33. ต้นทุนการผลิตระยะยาว (ต่อ) เนื่องจากตำแหน่งของเส้น AC ในระยะสั้น (หรือเรียกว่า SAC) จะขึ้นอยู่กับปริมาณ การใช้ปัจจัยคงที่ ดังนั้นเราจะเลือกใช้ปัจจัยคงที่ในปริมาณที่ทำให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด ต้นทุน SAC1 SAC4 SAC2 SAC3 SAC1 ใช้ปัจจัยคงที่เท่ากับ x=x1 SAC2 ใช้ปัจจัยคงที่เท่ากับ x=x2 SAC3 ใช้ปัจจัยคงที่เท่ากับ x=x3 SAC4 ใช้ปัจจัยคงที่เท่ากับ x=x4 โดยที่ X1<X2<X3<X4 ผลผลิต

  34. ต้นทุนการผลิตระยะยาว (ต่อ) Ex. การปลูกข้าวในระยะสั้นชาวนาจะเพิ่มผลผลิตโดยการเพิ่มปุ๋ยและจำนวนแรงงานแทน การปรับเปลี่ยนขนาดที่ดิน (สมมติใช้ที่ดิน 2 ไร่) จะได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด 13000 บาท โดย ได้ผลผลิตเป็นข้าวสาร 200 กระสอบ ต้นทุน MC AC=SAC 13000 ผลผลิต 200

  35. ต้นทุนการผลิตระยะยาว (ต่อ) Ex. (ต่อ) สมมติให้ต่อมาชาวนาสามารถเพิ่มขนาดที่ดินได้ (ปัจจัยคงที่กลายเป็นปัจจัยแปรผัน:ระยะยาว) เขาจะ พยายามหาขนาดที่ดินที่ทำให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำที่สุด ต้นทุน AC2 ระยะสั้น AC8 AC4 AC6 13000 12000 11000 10000 ผลผลิต 200 400 600 800

  36. LAC ต้นทุนการผลิตระยะยาว (ต่อ) ที่ต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด AC3=LAC=MC3=LMC ต้นทุน AC4 AC2 AC1 AC3 10000 0 ผลผลิต(กระสอบ) 600

  37. รายรับจากการผลิต(Total Revenue) • รายรับจากการผลิต(Total Revenue : TR) รายได้ที่ผู้ขายได้รับจากการขายสินค้าและบริการในราคาตลาด • รายรับเพิ่ม(Marginal Revenue : MR ) รายรับทั้งหมดที่เปลี่ยนแปลงจากการที่ผู้ผลิตขายสินค้าเพิ่มขึ้น 1 หน่วย • รายรับเฉลี่ย(Average Revenue : AR) รายรับทั้งหมดที่ผู้ผลิตได้รับคิดเฉลี่ยต่อหน่วยผลผลิต TR = P.Q MRn = TRn – TRn-1 MR = TR / Q = dTR / dQ = slope TR AR = TR / Q

  38. รายรับจากการผลิต (ต่อ) การวิเคราะห์ผลกำไรจะแบ่งเป็น 2 กรณี 1. สินค้ามีราคาคงที่ (เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นเป็นอินฟินิตี้) ตลาดสมบูรณ์ 2. สินค้ามีราคาไม่คงที่ (เป็นไปตามของอุปสงค์) ตลาดไม่สมบูรณ์

  39. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 1. สินค้าราคาคงที่ (เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นอินฟินิตี้) (เกิดขึ้นในตลาดสมบูรณ์) ความสัมพันธ์ ระหว่าง MR, AR, TR กรณีราคาสินค้าคงที่

  40. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 1. ราคาสินค้าคงที่ (ต่อ) AR,MR,P 10 MR=AR=P=D Q 0

  41. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 1. สินค้าราคาคงที่(ต่อ):อะไรคือเงื่อนไขของกำไรสูงสุด? TR,TC TR TC เงื่อนไขของกำไรสูงสุด Slope TR = Slope TC MR = MC A Profit B 0 Q* ปริมาณสินค้า

  42. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 1. สินค้าราคาคงที่ (ต่อ): โดยทั่วไปเราจะใช้เงื่อนไข MR = MC จากเส้น MR และ MC โดยตรงเพื่อหาราคา (P*) และปริมาณผลิตผล (Q*) ที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด MR,MC,AR,P MC B MR=AR=P=D MC=MR=P* Q 0 Q*

  43. รายรับจากการผลิต (ต่อ) Ex. สมมติให้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทั้งหมด (TC) กับปริมาณผลผลิต (Q) ได้เท่ากับ TC = C = 10Q + 5 (Q^2) และให้สินค้ามีราคาคงที่ที่หน่วยละ 20 บาท จงหาปริมาณผลผลิตและระดับราคาที่จะทำให้ผู้ผลิตได้กำไรสูงสุด (ตอบ Q=1, P=20)

  44. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 2. สินค้ามีราคาไม่คงที่ (เป็นไปตามกฎของอุปสงค์) (เกิดขึ้นในตลาดไม่สมบูรณ์) ความสัมพันธ์ระหว่าง MR, AR, TR เมื่อราคาสินค้าลดลง

  45. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 2. ราคาสินค้าไม่คงที่ (ต่อ) TR,AR,P Max.TR MR จะชันกว่า AR สองเท่าเสมอ AR=D TR Q 0 MR

  46. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 2. สินค้าราคาไม่คงที่ (ต่อ):อะไรคือเงื่อนไขของกำไรสูงสุด? TC,TR TC A Profit เงื่อนไขของกำไรสูงสุด Slope TR = Slope TC MR = MC B TR 0 ปริมาณสินค้า Q*

  47. รายรับจากการผลิต (ต่อ) 2. สินค้าราคาไม่คงที่ (ต่อ): โดยทั่วไปเราจะใช้เงื่อนไข MR = MC จากเส้น MR และ MC โดยตรงเพื่อหาราคา (P*) และปริมาณผลิตผล (Q*) ที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด MR,MC,AR,P MC A B P* MC=MR AR 0 Q* MR

  48. รายรับจากการผลิต (ต่อ) Ex. สมมติให้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทั้งหมด (TC) กับปริมาณผลผลิต (Q) ได้เท่ากับ TC = 10Q + 5 (Q^2) และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับ ความต้องการของตลาดได้เท่ากับ P = 100 – 4Q จงหาปริมาณผลผลิตและระดับ ราคาที่จะทำให้ผู้ผลิตได้กำไรสูงสุด (ตอบ Q=5, P=80)

More Related