1 / 27

ขนาดภาพ (Size of Shot)

ขนาดภาพ (Size of Shot). ขนาดภาพ ( Size of Shot ). ในการสร้างภาพยนตร์ได้แบ่งกลุ่มของขนาดภาพออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ กลุ่มภาพขนาดไกล กลุ่มภาพขนาดปานกลาง กลุ่มภาพขนาดใกล้. กลุ่มภาพขนาดไกล.

Download Presentation

ขนาดภาพ (Size of Shot)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ขนาดภาพ(Size of Shot)

  2. ขนาดภาพ (Size of Shot) ในการสร้างภาพยนตร์ได้แบ่งกลุ่มของขนาดภาพออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ • กลุ่มภาพขนาดไกล • กลุ่มภาพขนาดปานกลาง • กลุ่มภาพขนาดใกล้

  3. กลุ่มภาพขนาดไกล • ภาพขนาดไกลมากExtreme Long Shot (ELS) เป็นภาพขนาดกว้างสุด ไกลสุด มักใช้ร่วมกับเลนส์ไวด์เพื่อนำเสนอบรรยากาศของสภานที่ ให้เห็นองค์ประกอบทั้งหมดในฉากนั้น มักใช้เป็น Shot เริ่มต้นของในฉากหรือเริ่มต้นเรื่อง บางครั้งเรียกว่า Establishing Shot เป็นการสื่อความหมายที่แสดงถึงความโอ่อ่า มโหฬาร

  4. กลุ่มภาพขนาดไกล • ภาพขนาดไกล Long Shot (LS) ระยะห่างระหว่างกล้องกับผู้แสดงจะใกล้กว่าภาพขนาดไกลมาก แต่ยังมีมุมมองครอบคลุมบริเวณกว้างอยู่ เห็นผู้แสดงได้เต็มตัวรวมั้งบรรยากาศโดยรอบ มักใช้ในการเริ่มต้นฉาก หรือแนะนำตัวผู้แสดง

  5. กลุ่มภาพขนาดไกล • ภาพขนาดเต็มตัว Full Shot (FS) แสดงให้ภาพของผู้แสดงในขนาดเต็มตัว พอดีกับเฟรม ขอบภาพด้านบนชิดกับศรีษะขอบภาพด้านล่างชิดกับเท้า สามารถเห็นการเคลื่อนไหวกริยาท่าทางของผู้แสดงได้อย่างชัดเจน

  6. กลุ่มภาพขนาดกลาง • ภาพขนาดหัวเข่า Knee Shot (KS) เป็นภาพกว้างสุดในกลุ่มภาพขนาดกลาง ขนาดภาพอยู่ที่ประมาณหัวเข่าของผู้แสดง สามารถบอกรายละเอียดของผู้แสดงได้มากขึ้น บางครั้งใช้เชื่อมระหว่างภาพขนาดไกล และภาพขนาดใกล้ แต่จะให้รายละเอียดของฉากหลังน้อยลงตามลำดับ

  7. กลุ่มภาพขนาดกลาง • ภาพขนาดเอว (Waist Shot) เป็นภาพขนาดตั้งแต่เอวขึ้นไป เห็นรายละเอียดของผู้แสดงมากขึ้น มักเป็นใช้เป็นภาพที่มีการสนทนา หรือ Two Shot หรือ Three Shot

  8. กลุ่มภาพขนาดกลาง • ภาพขนาดอก Bust Shot หรือ Medium Shot (MS) เป็นขนาดภาพที่เห็นบ่อยที่สุดเพราะเป็นภาพขนาดกลางที่สามารถเสนอสีหน้า อากัปกริยา การเคลื่อนไหวของผู้แสดงได้ดี และใช้เป็นภาพเชื่อมต่อระหว่างภาพ LS กับ CU

  9. กลุ่มภาพขนาดใกล้ • ภาพขนาดใกล้ Close Up (CU) ถือเอาภาพตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นภาพขนาดใกล้ที่เห็นรายละเอียดต่างๆ ของผู้แสดงได้ชัดเจน มักใช้ในฉากที่ต้องการแสดงให้เห็นอารมณ์ทางสีหน้าของผู้แสดง แต่ไม่นิยมใช้ในช็อตที่ผู้แสดงมีการเคลื่อนไหวเพราะมีโอกาสหลุดเฟรมได้ง่าย

  10. กลุ่มภาพขนาดใกล้ • ภาพระยะใกล้มาก Big Close Up (BCU) เป็นภาพระยะใกล้กว่า CU ให้รายละเอียดกว่า มีขนาดภาพประมาณปลายคางถึงบนสุดศรีษะ • ภาพระยะใกล้สุด Extreme Close Up (ECU) เป็นภาพระยะใกล้สุด แสดงรายละเอียดเฉพาะจุดของผู้แสดงหรือ Subject เช่น ดวงตา ปาก หรือจมูกเท่านั้น

  11. มุมมอง (Camera Angle) • มุมกล้องระดับสายตานก (bird’s eye view) เป็นการตั้งกล้องในตำแหน่งเหนือศรีษะโดยตรงของสิ่งที่ถ่าย ภาพที่ถูกบันทึกจะมีมุมมองเดียวกับนกที่มองดิ่งลงมายังพื้นดิน เมื่อผู้ชมเห็นภาพแบบนี้จะมีความรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจ้องดูเหตุการณ์อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น บางครั้งให้ความรู้สึกสิ้นหวัง หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้

  12. มุมกล้องระดับสูง(High angle) ตำแหน่งของกล้องจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกภาพต้องกดกล้องลงมา มุมนี้ทำให้สามารถเห็นเหตุการณ์ทั่วถึงทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เหมาะสำหรับฉากที่ต้องการให้เห็นความงามของทัศนียภาพ จึงนิยมใช้คู่กับภาพ LS แต่ในมุมนี้บางครั้งยังให้ความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายดูเล็กลง ดูต่ำต้อย ไร้ค่า ไร้ความหมาย หรือสิ้นหวัง หรือพ่ายแพ้ด้วย

  13. มุมกล้องระดับสายตา (eye level) เป็นการตั้งกล้องในระดับเดียวกับสายตาของผู้แสดง เป็นระดับกล้องที่มักใช้บ่อยที่สุด การนำเสนอในมุมมองนี้ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกเหมือนดูเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง มีความเสมอภาค เป็นกันเองกว่ามุมกล้องในระดับอื่น

  14. มุมกล้องระดับต่ำ(low angle) กล้องจะตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกต้องเงยกล้องขึ้น ภาพในมุมนี้จะให้อิทธิพลความรู้สึกของผู้ชมว่าสิ่งที่ถ่ายนั้นมีอำนาจ มีพลัง ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม หรือแสดงถึงความสง่างาม มีชัยชนะ จึงนิยมใช้กับภาพโบสถ์วิหาร ตึกสูง การเคลื่อนพลของกองทัพ นักรบที่สูงใหญ่กำยำ

  15. การเคลื่อนไหวกล้อง • การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของกล้องฯ การเคลื่อนไหวในแนวนอน การเคลื่อนไหวในแนวตั้ง • การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์

  16. การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • การแพน (Pan) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวนอน โดยตั้งกล้องอยู่บนขาตั้ง หรือมือถือ การแพนอาจเป็นการแพนกล้องจากขวาไปซ้าย หรือซ้ายไปขวา การแพนมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาของภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง หรือต้องการเสนอ Subject ที่มีความกว้างยาวเกินกว่าในกรอบภาพหนึ่ง

  17. การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • แพนแบบสำรวจ (surveying pan) เป็นกวาดกล้องแทนสายตาของผู้ชม หรือผู้แสดงเพื่อสำรวจหรือมองหาอะไรสักอย่าง มักพักบ่อยในภาพยนตร์สารคดี ตื่นเต้น สยองขวัญ ฯลฯ • แพนตาม (following pan) เป็นการแพนตาม subject หรือผู้แสดงที่มีการเคลื่อนไหวไปมา การแพนในลักษณะนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพด้วย โดยเฉพาะช่องว่างทางด้านหน้าของ subject ที่เรียกว่า look space หรือ nose space

  18. การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • แพนแบบหยุดเป็นระยะ (interrupt pan) เป็นการกวาดกล้องแล้วหยุดที่จุดใดจุดหนึ่งก่อนสักระยะแล้วแพนต่อ เช่นการกวาดกล้องแทนสายตาที่กำลังมองไปรอบๆ แล้วหยุดเมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งสะดุดตา จากนั้นจึงกวาดกล้องต่อ จากจุด 1 ไปจุด 2 ไปจุด 3 เป็นต้น • swish pan หรือ whip pan เป็นการกวาดกล้องในแนวนอนในจังหวะที่เร็วมากๆ เพื่อให้ภาพพร่ามัวไม่ชัดเจน เหมาะสำหรับใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างช็อต มักใช้ในเวลาเมื่อต้องการสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงของเวลาหรือเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว

  19. การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • การดอลลี่ (dolly) การที่กล้องตั้งอยู่บนพาหนะที่มีพาหนะที่เลื่อนไปมาได้บนพื้น หรือบนราง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาสิ่งที่ถ่ายก็เรียกว่า dolly in แต่ถ้าเคลื่อนออกก็เรียกว่า dolly out

  20. การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • การแทรกค์ (tracking,trucking) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวขนานกับสิ่งที่ถ่าย คล้ายๆ กับการดอลลี่แต่ในทิศทางที่ต่างกัน มักใช้ติดตามนักแสดงที่กำลังเดินหรือวิ่ง โดยที่ขนาดภาพจะคงที่แต่ background จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ • การอาร์ค (arc) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวรัศมีโค้งครึ่งวงกลม โดยมีนักแสดงหรือ subject เป็นจุดศูนย์กลาง เป็นการเสนอภาพเพื่อแสดงมิติของของ subject หากใช้อย่างเหมาะสมก็ทำให้ภาพดูน่าสนใจได้มาก

  21. การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง • การทิลต์ (tilt) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง ถ้าเงยกล้องขึ้นก็เรียกว่า ทิลต์อัป (tilt up) ถ้ากดกล้องลงก็เรียกกว่า ทิลต์ดาวน์ (tilt down) ในการถ่ายทำนิยมใช้การทิลต์เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของนักแสดง เช่น ขึ้นลงบันได การก้มเงยของนักแสดงหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความสูง เช่น ตึกสูง เจดีย์ โบสถ์ ฯลฯ

  22. การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง • พีเดสตอล (pedestal) เป็นการเคลื่อนกล้องขึ้นลงในแนวดิ่ง โดยปกติจะวางกล้องบนขาตั้งกล้องที่สามารถปรับระดับความสูงได้ เช่น เมื่อต้องการถ่ายภาพในระดับสายตาเด็ก กล้องก็จะทำการ ped down ลงมาที่ใบหน้าเด็ก ต่อมาเมื่อต้องการถ่ายภาพระดับสายตาผู้ใหญ่ที่กำลังยืน กล้องก็จะ ped up ให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตาผู้ใหญ่

  23. การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง • เครน(Crane) เป็นการเคลื่อนไหวกล้องโดยให้กล้องติดอยู่ที่ปลายแขนด้านหนึ่งของอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครน เครนจะมีอยู่หลายแบบ หลายขนาด ถ้าเป็นขนาดใหญ่ ผู้กำกับ ช่างภาพ ผู้อำนวยการผลิต สามารถขึ้นไปนั่งทำงานพร้อมกันได้เลย การเคลื่อนไหวของแขนเครนนั้นสามารถทำได้อย่างอิสระ ทั้งขึ้น ลง ซ้าย ขวา ฯลฯ ในสตูดิโอขนาดใหญ่มักจะมีการใช้เครนด้วยเสมอ

  24. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์ • Zoom in,Zoom out เลนส์ซูมสามารถเปลี่ยนขนาดภาพได้โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวกล้อง หรือเปลี่ยนตำแหน่งการตั้งกล้อง ถ้าเป็นการเปลี่ยนจากภาพมุมกว้างมาเป็นมุมแคบก็เรียกว่า Zoon in แต่ถ้าเปลี่ยนจากมุมแคบมาเป็นมุมกว้างก็เรียกว่า Zoom out ผลที่เกิดกับผู้ชมคือ ผู้ชมจะมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายถูกดึงเข้าใกล้หรือถอยห่างออกไป

  25. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์ • การShift focus คือการเปลี่ยนจุดโฟกัสของภาพ เช่น ในฉากที่มีนักแสดงสองคนสนทนากัน คนหนึ่งอยู่บริฉากหน้าของภาพ อีกคนอยู่บริเวณฉากหลัง เมื่อคนที่หนึ่งพูดกล้องก็ปรับโฟกัสมาที่คนแรก เมื่อคนที่สองพูดกล้องก็ปรับโฟกัสมาที่คนที่สองแทน เป็นต้น

  26. กล้องวิดีโอและกล้องภาพยนตร์กล้องวิดีโอและกล้องภาพยนตร์ VDO CAMERA CINEMA CAMERA

  27. ประเภทของกล้องวิดีโอ • กล้องระดับมือสมัครเล่น (Handy Cam,Home User) • กล้องระดับมืออาชีพ (Professional VDO Camera)

More Related