311 likes | 433 Views
แนวทางการจัดทำแผน งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2551. 1. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด 2. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ คลินิก รพ.เอกชน สถานบริการนวดเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ
E N D
แนวทางการจัดทำแผน งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2551
1. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ ยา อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย วัตถุเสพติด 2. งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ คลินิก รพ.เอกชน สถานบริการนวดเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ 3. งานพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย เครือข่ายการ คบ. เผยแพร่และตรวจสอบการโฆษณา 4. งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พัฒนาบริการ ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร 5. งานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ( OTOP )
งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์
1.การลดและขจัดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ที่ไม่เหมาะสมสถานการณ์ปัญหา- การจำหน่ายยาลูกกลอนที่ไม่มีทะเบียน - ยาแผนปัจจุบันปลอมปนในยาแผนโบราณ- ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลยาก และโรคหนังเน่า 1. ผลิตภัณฑ์ด้านยา
สเตียรอยด์คืออะไร ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไต การแพทย์ ใช้เป็นสารในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าว กฎหมายกำหนดเป็น “ยาควบคุมพิเศษ ” เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง
อันตรายของสเตียรอยด์ • การติดเชื้อ ภูมิต้านทานลด • กดการทำงานของระบบที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน • แผลในกระเพาะอาหาร • กระดูกผุ(Osteoporosis) • ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลยาก น้ำตาลสูง กว่าปกติ
แหล่งสเตียรอยด์ที่สำคัญแหล่งสเตียรอยด์ที่สำคัญ • ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอน • ยาชุด • ยาพระ • ยานี้มี อย.
มิติที่ 1 การประชาคมชาวบ้านหรือชุมชน มิติที่ 2 การทำงานในรูปแบบเครือข่าย - เครือข่าย อสม. - เครือข่าย อย.น้อย - เครือข่ายวิทยุชุมชน - เครือข่ายผู้นำชุมชน มิติที่ 3 การประชาสัมพันธ์ และสื่อสารกับสังคม มิติที่ 4 การกำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมาย
2. การดำเนินงานความปลอดภัยด้านยา (Drug Safety) “ ยาปลอดภัย ผู้ป่วยปลอดภัย ” Drug Safety Patient Safety สถานการณ์ปัญหา ประเทศไทย ปี 2547 - มีการแพ้ยา ร้อยละ 9 ของผู้ใช้ยา - พิการ ร้อยละ 23 - เสียชีวิต ร้อยละ 11
แนวทางการดำเนินงาน จัดระบบการบริหารจัดการด้านยาให้รัดกุม คือ 1. จัดระบบตรวจทานยาก่อนจ่ายทั้งชื่อยาและคำสะกดชื่อ 2. หลีกเลี่ยงการรับคำสั่งด้วยปากเปล่า 3. ให้อ่าน ตรวจทานชื่อยา และการสั่งใช้ทุกครั้งให้ตรงกับผู้ป่วย 4. ให้เข้มงวดการพิจารณายาตัวใหม่ที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาล 5. ให้พัฒนาระบบการรวบรวมและจัดทำคู่มือ กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่พึง ประสงค์ทางยา และเหตุการณ์พึงสังวรณ์จากการใช้ยา 6. มีเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารด้านยา โดยตรง ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลมีระบบเตือนภัยและการป้องกันอย่าง รวดเร็ว
ผลิตภัณฑ์อาหาร 1. การเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร 1. อาหารตระกูลเส้น ( เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ก๋วยจั๊บ ขนมจีน) 2. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ไส้กอก ลูกชิ้น หมูยา แหนม ฮอทดอก กุนเชียง 3. ผลิตภัณฑ์ขนมเด็ก 4. ถังน้ำเย็น ถังก๋วยเตี๋ยวโรงเรียน ปลอดภัยไร้สารตะกั่ว 6. เฝ้าระวังความอาหารจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด 5. ปลาส้ม 7. แตงโมไร้สารเคมี
นโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเครื่องสำอางนโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเครื่องสำอาง นโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากเครื่องสำอาง 1. กำหนดเป็นกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิต /ผู้นำเข้าจะต้องมาดำเนินการ แจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต่อ อย. ก่อนวางจำหน่าย 2. ส่งเสริมให้การผลิตเครื่องสำอางปฏิบัติตามแนวทาง GMP 3.ให้ส่วนภูมิภาคดำเนินการรับแจ้งรายละเอียดเครื่องสำอาง การตรวจประเมิน GMP และการตรวจสอบติดตามผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางภายหลังออกสู่ตลาด 4. การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบใดๆ ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตัวชี้วัดในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตัวชี้วัดในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า มีความปลอดภัยจากสารห้ามใช้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จาก baseline ปี 2550
แนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวังสุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางกลุ่มเสี่ยง ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนร้านจำหน่าย ตรวจติดตามดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน รณรงค์ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ผิดกฎหมายและอันตรายที่เกิดกับผู้ใช้
สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ จำนวนสถานพยาบาลเอกชน จังหวัดยโสธรมีทั้งหมด 69 แห่ง ได้แก่ 1. คลินิก 67 แห่ง 2. รพ.เอกชน 2 แห่ง ตัวชี้วัดในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากบริการสุขภาพ ตรวจ ควบคุม กำกับมาตรฐานสถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาล และคลินิก ร้อยละ 100
แนวทางการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 • การเป็นผู้อนุญาตตามกฎหมาย • ตรวจมาตรฐานประจำปี รพ.เอกชน และคลินิกทุกแห่ง • สอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง ผู้กระทำผิดกฎหมาย และดำเนินคดีต่อ ผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย • รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสถานพยาบาล และดำเนินการตามขั้นตอน
แนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับงานธุรกิจบริการสุขภาพแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับงานธุรกิจบริการสุขภาพ • การตรวจและประเมินมาตรฐานสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ เพื่อให้สถานประกอบการจัดให้มีไว้ซึ่งมาตรฐาน • การพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้สถานประกอบการสามารถ จัดบริการได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการและตามมาตรฐานสากล
3. งานแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
สภาพปัญหา • การแพทย์แผนไทยขาดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง • - ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น • - กระแสความนิยมการใช้การแพทย์ทางเลือกที่เพิ่มสูงขึ้น
การแพทย์แผนไทย เป้าประสงค์ ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ถ่ายทอดและคุ้มครองภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรอย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ - คนไทยแข็งแรง - พัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก
การแพทย์แผนไทย ตัวชี้วัด • ร้อยละ 7.5ของประชาชนที่มีหลักประกันสุขภาพได้รับบริการด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ • ร้อยละ 90ของ รพท. / รพช. มีการให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ • ร้อยละ 93ของ สอ. มีการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยระดับ 1ขึ้นไป
การแพทย์แผนไทย แนวทางการดำเนินงานด้านการแพทย์ ปีงบ51 • การพัฒนาคุณภาพบริการในสถานบริการสุขภาพของรัฐ • 2. การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย • 3. ส่งเสริมการพึ่งตนเองของประชาชน • 4. การประชาสัมพันธ์ • 5. การใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน
การใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันการใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน • มิติที่ 1 สร้างการรับรู้นโยบายและแนวทาง • มิติที่ 2 สร้างการพร้อมใช้ • มิติที่ 3 สร้างการยอมรับ
4. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย อย.น้อย คือ การที่เด็กที่อยู่ในวัยเรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ตระหนักถึงเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริโภคอาหาร มารวมกลุ่มกันตั้งเป็น “ ชุมชนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ”
วัตถุประสงค์ 1. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ ไปยังเพื่อนและครอบครัว 2. นักเรียน อย.น้อย นำกิจกรรมไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา พฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน เป้าหมาย โรงเรียนมัธยม โรงเรียนขยายโอกาส 100% โรงเรียนอาชีวะ 2 แห่ง
5. งานส่งเสริม OTOP ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะพหุภาคี กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สุขภาพชุมชน ภายใต้หลักสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของผู้บริโภค ประการที่สอง สนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ- ชุมชน และท้องถิ่น มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ประการสุดท้าย ให้สังคมมีความเข้มแข็ง ดำรงชีวิตตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ปีงบประมาณ 2551 1. กลุ่มเป้าหมาย 2. ผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้ผลิตชุมชน 3. พหุภาคีระดับต่างๆ 4. ประชาชนผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้ผลิตชุมชนผลิตภัณฑ์และกลุ่มผู้ผลิตชุมชน แผนงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 1. ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนมีคุณภาพ ปลอดภัย 2. กลุ่มผู้ผลิตชุมชนได้รับใบอนุญาต/ขึ้นทะเบียน/ใบรับรอง ได้รวดเร็ว 3. กลุ่มผู้ผลิตชุมชนปฏิบัติผิดกฏหมายลดลง (หลังได้รับใบอนุญาต/ขึ้นทะเบียน/ใบรับรอง) 4. ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนมีศักยภาพในการส่งออกมากขึ้น
พหุภาคีระดับต่างๆ แผนงานพัฒนาองค์การและวิชาการ 1. พหุภาคีทุกระดับมีนโยบายในการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ชัดเจนและเหมาะสม 2. พหุภาคีทุกระดับมีการประสานความร่วมมือระหว่างกัน ในการดำเนินงาน 3. ระบบการทำงานของพหุภาคีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีการสื่อสารและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 4. ระเบียบ กฏหมายที่เป็นอุปสรรคได้รับการปรับปรุง แก้ไขให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
ประชาชนผู้บริโภค แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 1. ประชาชนผู้บริโภคมีความรู้ในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชุมชนได้อย่างถูกต้องและพิทักษ์ตนเองได้ 2. ประชาชนผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชุมชนที่ถูกต้อง เหมาะสม 3. ประชาชนผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเมื่อเกิดความเสียหาย จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน