1 / 36

น้ำสำหรับงานคอนกรีต ( Water for concrete )

น้ำสำหรับงานคอนกรีต ( Water for concrete ). โดย นาย ไตรภพ รามดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 5310110190 นาย นรพงศ์ ทองคง รหัสนักศึกษา 5310110273 นาย บุลกิต ยอดแก้ว รหัสนักศึกษา 5310110323.

xerxes
Download Presentation

น้ำสำหรับงานคอนกรีต ( Water for concrete )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. น้ำสำหรับงานคอนกรีต ( Water for concrete) • โดย • นาย ไตรภพ รามดิษฐ์ รหัสนักศึกษา 5310110190 • นาย นรพงศ์ ทองคง รหัสนักศึกษา 5310110273 • นาย บุลกิต ยอดแก้ว รหัสนักศึกษา 5310110323

  2. น้ำ เป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้ในหลายๆ สถานที่ อาทิ ทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และในหลายๆ รูปแบบ เช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน ลูกเห็บ เมฆ และไอน้ำ ที่มาhttpwww.google.co.thimgresq=%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9 น้ำ ( water)

  3. ปริมาณและคุณภาพของน้ำเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกำลังอัดของคอนกรีต คุณภาพของน้ำมีความสำคัญมากเพราะสิ่งเจือปนต่างๆในน้ำอาจมีผลต่อคุณสมบัติของคอนกรีต เช่นเวลาการแข็งตัว กำลังอัดทำให้สีของคอนกรีตไม่สม่ำเสมอ และอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อนเหล็กเสริม ด้วยเหตุนี้การเลือกน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำรับผสมหรือบ่มคอนกรีตจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ที่มา httpwww.google.co.thimgresq=%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD ความสำคัญของน้ำ

  4. 1. น้ำสำหรับผสมคอนกรีต (Mixing Water) 2. น้ำสำหรับล้างมวลรวม (Washing Water) 3. น้ำสำหรับบ่มคอนกรีต (Curing Water) ที่มา httpwww.google.co.thimgresq=%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%i น้น้ำสำหรับงานคอนกรีตแบ่งตามสภาพการใช้งาน

  5. 1. ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับปูนซีเมนต์ เชื่อมประสานหิน-ทรายเข้าด้วยกัน เกิดเป็นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงคล้ายหิน สามารถรับน้ำหนักได้ 2. ทำให้คอนกรีตสดมีความเหลว สามารถไหลลงแบบหล่อได้งาย 3. ที่เคลือบหิน-ทรายให้เปียก เพื่อปูนซีเมนต์สามารถยึดเกาะได้ดีและติดแน่น โดยหลักทั่วไป ถ้าน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตปราศจาก รส กลิ่น และสี จะถือว่ามีความสะอาดเพียงพอสำหรับใช้ผสมคอนกรีต หน้าที่หลักของน้ำสำหรับผสมคอนกรีต (Mixing Water)

  6. ถ้าในน้ำท่าผสมคอนกรีตมีสิ่งเจือปนอยู่มากเกินระดับหนึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพ อันได้แก่ 1)กำลังและความทนทานของคอนกรีตลดลง 2)เวลาการก่อตัวเปลี่ยนแปลงไป 3)คอนกรีตเกิดการหดตัวมากกว่าปกติ 4)อาจมีการละลายของสารประกอบภายใน สิ่งเจือปนที่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของคอนกรีตมี 3 ประเภท คือ ตะกอน สารละลาย อนินทรีย์ และสารละลายอินทรีย์ หากมีสิ่งเจือปนเหล่านี้ในปริมาณน้อย ก็จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง สิ่งเจือปน

  7. น้ำเป็นของเหลว จึงมีสารปนเปื้อนได้ง่าย สารปนเปื้อนเหล่านี้ได้แก่ 1.สารแขวนลอย (Suspended matters) 2.สารที่ละลายได้ในน้ำ (Dissoluble matters) -สารละลายอนินทรีย์(Soluble inorganic) - สารละลายอินทรีย์(Organic solvents) สารปนเปื้อน(Contaminant)

  8. สารแขวนลอย (Suspended matters) ได้แก่ ตะกอนดินเหนียว ฝุ่นผง สนิมเหล็ก ตะไคร่น้ำ และสารอินทรีย์ต่างๆ 1 ทำให้การยึดเกาะระหว่างซีเมนต์เพสต์กับมวลรวมลดลง 2 คอนกรีตมีการหดตัวมากขึ้น 3 ทำให้เกิดรอยด่างหรือขี้เกลือ (Efflorescence) สารแขวนลอยในน้ำ ไม่ควรเกิน 2000 ppmหรือ 2 กรัม/ลิตร กำจัดได้ โดยการปล่อยให้น้ำตกตะกอนหรือกรองด้วยเครื่องกรองทราย (Sand filter) สารแขวนลอย (Suspended matters)

  9. น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี ดังนั้น จึงมีสารต่างๆ มากมายละลายในน้ำโดยที่เราไม่สามารถมองเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำในแม่น้ำลำคลองซึ่งไหลผ่านป่าเขาที่มีแร่ธาตุ สารต่างๆ จำนวนมากจะละลายอยู่ในน้ำ สารที่ละสายในน้ำแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.สารละลายอนินทรีย์(Soluble inorganic) 2. สารละลายอินทรีย์(Organic solvents) สารละลายได้ในน้ำ (Dissoluble matters)

  10. โดยทั่วไป สารอนินทรีย์ที่ละลายในน้ำปริมาณไม่เกิน 2000 ppmหรือ 2 กรัมต่อลิตร สามารถนำไปใช้ผสมคอนกรีตได้อย่างปลอดภัย แต่สารบางชนิดมีผลต่อคอนกรีตมากแม้จะมีปริมาณเล็กน้อย เช่นเกลือคาร์บอเนต เกลือไบคาร์บอเนต เกลือคลอไรด์ เกลือซัลเฟต และเกลือซัลไฟด์ ของโปตัสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม เป็นต้น สารละลายอนินทรีย์(Soluble inorganic)

  11. เกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตเกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต น้ำที่มีเกลือของคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตปนอยู่ปริมาณมาก จะทำให้คอนกรีตก่อตัวและแข็งตัวเร็วมาก ข้อแนะนำปริมาณของเกลือละลายอยู่ในน้ำ เกลือโซเดียมคาร์บอเนตและโซเดียมไบคาร์บอเนต ไม่เกิน 1,000 ppmหรือ 1 กรัมต่อลิตร เกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตของแคลเซียมและแมกนีเซียม ไม่เกิน 400 ppmหรือ 0.4 กรัมต่อลิตร เกลือคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต(Carbonate and bicarbonate)

  12. มีผลให้คอนกรีตก่อตัวและแข็งตัวเร็ว กำลังของคอนกรีตในช่วงต้นสูง แต่กำลังช่วงปลายลดต่ำลง สมัยก่อนเคยมีการใช้เกลือคลอไรด์เป็นสารผสมเพิ่มในการเร่งให้คอนกรีตแข็งตัวเร็ว แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เนื่องจากเกลือคลอไรด์จะทำให้เหล็กเสริมในคอนกรีตเป็นสนิมได้ ข้อแนะนำคือ ปริมาณของเกลือเหล่านี้ที่ละลายในน้ำต้องไม่เกิน 500 ppmหรือ 0.5 กรัมต่อลิตร เกลือคลอไรด์ ของแคลเซียม โซเดียม และแมกนีเซียม(Salt Chloride of Calcium Sodium and Magnesium)

  13. มีผลทำให้กำลังของคอนกรีตลดลงอย่างมาก 1.น้ำที่มีโซเดียมซัลเฟตปนอยู่ 5,000 ppmหรือ 5 กรัมต่อลิตร จะทำให้กำลังคอนกรีตลดลง 4 % 2.ถ้ามีปนอยู่ 10,000 ppmหรือ 10 กรัมต่อลิตร จะทำให้กำลังคอนกรีตลดลง 10 % ข้อแนะนำ ปริมาณของเกลือเหล่านี้ที่ละลายในน้ำต้องไม่เกิน 1,000 ppmหรือ 1 กรัมต่อลิตร เกลือซัลเฟต เกลือซัลเฟตของโซเดียมและเเมกนีเซียม(Sulfate ,Salt Sulfate of Sodium and Magnesium)

  14. น้ำที่มีสารเหล่านี้เจือปนอยู่ในปริมาณเกินกว่า 500 ppmหรือ 0.5 กรัมต่อลิตร จะหน่วงการก่อตัวของซีเมนต์เพสต์ ทำให้คอนกรีตแข็งตัวช้าลง เกลือของแมงกานีส ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวช้าลง ยอมให้ละลายปนอยู่ในน้ำได้ไม่เกิน 500 ppmหรือ 0.5 กรัมต่อลิตร เกลือฟอสเฟต อาร์ซีเนต บอเรต (Phosphate Borates)

  15. ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวช้าลง ทำให้ระยะเวลาการก่อตัวและแข็งตัวช้าลง ยอมให้มีละลายปนอยู่ในน้ำได้ ไม่เกิน 500 ppmหรือ 0.5 กรัมต่อลิตร ที่มาhttpwww.google.co.thimgresq=%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B เกลือของแมงกานีส ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง(Manganese Tin Zinc LeadCopper)

  16. กรด น้ำที่มีกรดอนินทรีย์ละลายปนอยู่ เช่น กรดไฮโดรคลอริคกรดซัลฟูริค ในระดับความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 3 ในปริมาณไม่เกิน 10,000 ppmหรือ 10 กรัมต่อลิตร สามารถนำไปผสมคอนกรีตได้ โดยไม่มีผลต่อกำลังของคอนกรีต ด่าง น้ำที่มีด่างผสม เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และ โปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ใน ปริมาณเกินกว่า 500 ppmหรือ 0.5 กรัมต่อลิตร อาจจะมีปฏิกิริยากับมวลรวมที่เป็น Reactive aggregateได้ ซึ่งจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหาย กรดและด่าง (Acid and Alkali)

  17. น้ำตาล ถ้ามีน้ำตาลละลายในน้ำปนอยู่มาก 0.5 กรัมต่อลิตร จะทำให้การก่อตัวและการแข็งตัวของคอนกรีตช้าลง ภาพขยาย ของน้ำตาล ที่มาวีกีพีเดีย คำว่า น้ำตาล น้ำตาล (sugar)

  18. น้ำทะเล น้ำทะเลจะมีโซเดียมคลอไรด์ประมาณ 79 % นอกนั้นเป็น แคลเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต และแคลเซียมซัลเฟต น้ำทะเลประกอบด้วยสารที่มีผลต่อกำลังและความทนทานของคอนกรีต ดังนั้น จึงไม่ควรใช้น้ำทะเลผสมคอนกรีต ปริมาณสารต่างๆในน้ำทะเลโดยเฉลี่ย ที่มา httpwww.google.co.thimgresq=%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5&um=1&hl=th&sa=N&biw=1138&bih=555&tbm=isch&tb น้ำทะเล ( sea )

  19. ตารางที่เกลือต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำทะเลตารางที่เกลือต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล

  20. ผลการใช้น้ำทะเลผสมคอนกรีตพบว่า คอนกรีตสดจะมีการก่อตัวเร็วและกำลังอัดในระยะต้นจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากคลอไรด์ไอออน แต่กำลังที่อายุ 28 วันจะต่ำกว่าคอนกรีตที่ใช้น้ำจืดผสม นอกจากนี้ สารคลอไรด์จะทำให้เหล็กเสริมในคอนกรีตเป็นสนิมได้ สนิมเหล็กจะค่อยๆ ขยายตัวดันให้คอนกรีตแตกร้าว ส่วนสารซัลเฟตนั้นจะทำปฏิกิริยากับ C3A เป็นผลให้คอนกรีตแตกร้าวได้เช่นกัน ผลจากการใช้น้ำทะเลผสมคอนกรีต

  21. ที่มา Power Point เก่า ของรุ่นพี่ ภาควิชาวิศวะกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่ง ได้รับความเสียหายจากคลอไรด์

  22. มักจะเป็นน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือที่อยู่อาศัยไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำที่ปนเปื้อนสารละลายอินทรีย์เหล่านี้จะทำให้กำลังคอนกรีตลดลง หรือก่อให้เกิดฟองอากาศในคอนกรีตปริมาณสูง ที่มา httpwww.google.co.thimgresq=%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA สารละลายอินทรีย์(Organic solvents)

  23. ความสะอาด น้ำต้องไม่มีสารเน่าเปื่อย ปฏิกูลหรือตะไคร่น้ำ สี น้ำต้องใส ถ้ามีสีแสดงว่ามีสารแขวนลอยต่างๆมาก กลิ่น น้ำต้องไม่มีกลิ่นเน่า ถ้ามีกลิ่นก็มักจะมีสารอินทรีย์ปนอยู่มาก รส น้ำต้องไม่มีรส ถ้ามีรสกร่อยหรือเค็ม แสดงว่ามีเกลือแร่อยู่มาก ถ้ามีรสเปรี้ยวแสดงว่าเป็นกรด ถ้าฝาดแสดงว่าเป็นด่าง แต่โดยทั่วไปความเป็นกรดหรือด่างของน้ำมักไม่มากจนสามารถชิมรสแล้วรู้ ความกระด้างน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตควรเป็นน้ำอ่อน วิธีสังเกตอย่างง่ายว่าน้ำนั้นใช้ผสมคอนกรีตได้หรือไม่

  24. วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบคุณภาพของน้ำว่าเหมาะสำหรับการผสมคอนกรีตหรือไม่ BS 3148 : 1980 ให้นำตัวอย่างน้ำมาผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อทำการตรวจสอบคุณสมบัติ 2 ประการ คือ • เวลาของการก่อตัวเบื้องต้น (Initial setting time) ต่างจากตัวอย่างที่ผสมด้วยน้ำกลั่นไม่เกิน 30 นาที • ค่าเฉลี่ยกำลังอัดของแท่งตัวอย่างมอร์ตาร์ (Mortar cube) จะต้องไม่แตกต่างจากค่าที่ได้จากการใช้น้ำกลั่นมาผสม เกินกว่า 10 % วิธีดังกล่าวนี้อาจจะไม่เหมาะสมกับน้ำที่มีเกลือซัลเฟต หรือน้ำที่มีเกลือคาร์บอเนต หรือเกลือไบคาร์บอเนตของโซเดียมและโปตัสเซียม เนื่องจากสารดังกล่าวจะมีผลต่อคอนกรีตในระยะยาว การทดสอบทางกายภาพ

  25. ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้น้ำที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่ ให้เก็บตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อตรวจหาสารที่ปนเปื้อนในน้ำตามตารางที่ 4.2 การทดสอบทางเคมี

  26. การทดสอบทางเคมี

  27. ข้อกำหนดโดยทั่วไปที่เกี่ยวกับน้ำผสมคอนกรีต จะต้องมีขอบเขตระดับความเข้มข้นไม่เกินค่าดังต่อไปนี้ ปริมาณของแข็ง ไม่มากกว่า 2000 ppm ค่าความเป็นกรดด่าง(PH) อยู่ในช่วง 6-8 ปริมาณซัลเฟต ไม่มากกว่า 1000 ppm ปริมาณคลอไรด์ ไม่มากกว่า 500 ppm ข้อกำหนดของน้ำผสมคอนกรีต

  28. ข้อกำหนดของเขตความเข้มข้นของสิ่งเจือปนข้อกำหนดของเขตความเข้มข้นของสิ่งเจือปน

  29. ข้อกำหนดของเขตความเข้มข้นของสิ่งเจือปนข้อกำหนดของเขตความเข้มข้นของสิ่งเจือปน

  30. การทดสอบน้ำผสมคอนกรีตนี้ จะทำการทดสอบเปรียบเทียบการก่อตัวและกำลังอัดกับน้ำกลั่น ปริมาณที่จะนำมาทดสอบจะต้องไม่น้อยกว่า 5 ลิตร น้ำที่เหมาะสำหรับผสมคอนกรีตควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1) ค่าการก่อตัวเริ่มต้น (Initial setting time) ต่างจากตัวอย่างที่ทำจากน้ำกลั่นไม่เกิน 30 นาที 2) ค่าเฉลี่ยของกำลังอัดของตัวอย่างที่ใช้น้ำที่นำมาทดสอบต้องได้ค่าไม่น้อยกว่า 90%ของกำลังอัดของตัวอย่างที่ใช้น้ำกลั่น ถ้าผลการทดสอบที่ได้ออกนอกค่าที่กำหนด แสดงว่าน้ำนั้นมีผลต่อคอนกรีต อาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนแหล่งน้ำที่จะนำมาผสมคอนกรีต หรือถ้าผลการทดสอบแสดงว่าค่ากำลังอัดของตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 80% ของค่ากำลังอัดเฉลี่ยของตัวอย่างที่ใช้น้ำกลั่น อาจใช้น้ำนี้แต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมคอนกรีต การทดสอบคุณสมบัติ

  31. น้ำสำหรับล้างคอนกรีต ควรมีคุณสมบัติเหมือนน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต เพราะน้ำนี้จะเคลือบอยู่บนผิวของมวลรวมและสามารถเข้าไปทำอันตรายต่อคอนกรีตเหมือนกับน้ำที่ใช้ผสม ข้อที่ควรระวังคือ ต้องคอยเปลี่ยนน้ำที่ใช้ล้างมวลรวมสม่ำเสมอ เพราะเมื่อล้างไปช่วงเวลาหนึ่ง น้ำจะขุ่น การใช้ต่อไปจะไม่เกิดผลดีอย่างไร กลับอาจทำให้เกิดความสกปรกขึ้นด้วย ส่วนน้ำสำหรับบ่มคอนกรีต ไม่ควรมีสิ่งเจือปนที่จะทำปฏิกิริยากับคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว คุณภาพของน้ำที่ใช้ล้างมวลรวมและบ่มคอนกรีต

  32. การบ่มคอนกรีตทำเพื่อให้คอนกรีตมีน้ำเพียงพอสำหรับการทำปฏิกิริยา Hydration กับปูนซีเมนต์ การบ่มโดยทั่วไปจะใช้น้ำพรมบนคอนกรีต ทำให้คอนกรีตเปียกชื้น ดังนั้น น้ำสำหรับบ่มคอนกรีต ควรเป็นน้ำจืดสะอาดพอสมควร น้ำทะเลจะทำให้ผิวคอนกรีตเป็นรอยด่าง หรือรอยขี้เกลือ (Efflorescence) นอกจากนี้ จะทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ง่าย ส่วนน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดค่า pH ต่ำกว่า 6.5 จะสามารถกัดกร่อนคอนกรีตได้ น้ำสำหรับบ่มคอนกรีต (Water for Curing Concrete)

  33. มวลรวมที่สกปรก มีฝุ่นผงหรือดินเหนียวเกาะติดผิว ควรต้องล้างทำความสะอาดก่อนที่จะนำไปผสมคอนกรีต ดังนั้น น้ำที่ใช้ล้างจึงควรเป็นน้ำที่ใช้สำหรับผสมคอนกรีต เพราะน้ำนี้จะเคลือบอยู่บนผิวของมวลรวม และสามารถเข้าไปทำอันตรายต่อคอนกรีตเหมือนกับน้ำที่ใช้ผสม การล้างโดยทั่วไปให้ใช้น้ำฉีดผ่านมวลรวมแล้วปล่อยให้น้ำล้างทิ้งไป วิธีนี้ดีที่สุดแต่จะเปลืองน้ำมาก วิธีที่นิยมใช้กันมักจะใส่น้ำในถัง 200 ลิตร ใช้บุ้งกี๋ใส่หินแล้วจุ่มลงไปล้างในถัง ซึ่งจะสะดวกและประหยัดกว่าวิธีแรก ข้อที่ควรระวังคือ ต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำที่ใช้ล้างเมื่อน้ำขุ่นมากแล้ว น้ำสำหรับล้างมวลรวม (Aggregate Washing Water)

  34. ASTM C 1602 ซึ่งเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับน้ำที่ใช้ผลิตคอนกรีตได้ระบุถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ไว้ดังนี้ 1. น้ำที่ใช้ผสมหลักซึ่งอาจเป็นน้ำประปาหรือน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ หรือน้ำจากกระบวนการผลิตคอนกรีต 2. น้ำแข็งสำหรับลดอุณหภูมิของคอนกรีตสามารถใช้ผสมคอนกรีตได้และน้ำแข็งจะต้องละลายหมดเมื่อทำการผสมคอนกรีตเสร็จ 3. ASTM C49 ยินยอมให้มีการเติมน้ำภายหลังโดยพนักงานขับรถเพื่อเพิ่มค่ายุบตัวคอนกรีตให้ได้ตามที่ระบุแต่ทั้งนี้ W/C จะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ข้อกำหนดใหม่สำหรับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต

  35. 4. น้ำส่วนเกินจากมวลรวม (Free Water) ถือเป็นส่วนหนึ่งของน้ำผสมคอนกรีต จะต้องปราศจากสิ่งเจือปนที่เป็นอันตราย 5. น้ำที่ผสมอยู่ในสารผสมเพิ่มโดยจะถือเป็นส่วนหนึ่งของน้ำผสมคอนกรีต ถ้าน้ำมีปริมาณมากพอที่จะส่งผลค่า W/C เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ 0.01 ขึ้นไป ข้อกำหนดใหม่สำหรับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต

  36. การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ น้ำที่จะนำกลับมาใช้ผสมคอนกรีตใหม่ได้ก็จะมาจากแหล่งต่างดังนี้ 1. น้ำที่ใช้ล้างเครื่องผสมคอนกรีตหรือน้ำจากส่วนผสมคอนกรีต 2. น้ำจากบ่อกักเก็บที่รองรับน้ำฝนจากพื้นที่การผลิต 3. น้ำอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของ คอนกรีตผสมอยู่ โดยน้ำที่จะนำมาใช้ใหม่นี้จะต้องมีค่า Solids Content ไม่เกิน 5 % ของปริมาณน้ำทั้งหมด และควรทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C 1603 ข้อกำหนดใหม่สำหรับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีต

More Related