260 likes | 343 Views
Explore the fundamentals of e-commerce types such as B2C, B2B, and B2G, including trade principles and income generation methods. Learn the significance of Business-to-Customer transactions and the intricate Business-to-Business dealings. Discover Government-to-Citizen interactions and Consumer-to-Consumer exchanges. Dive into mobile commerce and the various technology-driven trade models.
E N D
291351 Electronic Commerce บทที่ 3 ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th
Outline • หลักการคู่ค้า • ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • รูปแบบธุรกิจของ B2C • รูปแบบธุรกิจของ B2B/B2G • รูปแบบการแสวงหารายได้ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หลักการของคู่ค้า • คู่ค้าที่จับคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ • กลุ่มธุรกิจ (Business) • กลุ่มรัฐบาล (Government) • กลุ่มประชาชน (Citizen) ผู้บริโภค (Consumer) หรือ ลูกค้า (Customer)
ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • ความสัมพันธ์หลักมีด้วยกัน 5 ลักษณะ • Business to Customer (B2C) • Business to Business (B2B) • Business to Government (B2G) • Government to Citizen (G2C) • Consumer to Consumer (C2C) • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Commerce: M-Commerce) • แบ่งตามลักษณะของเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำการค้าขาย
1. Business to Customer (B2C) • หมายถึง การที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค • ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้
รูปแบบของธุรกิจของ B2C • เว็บท่า (Portal) • Horizontal Portal • Vertical Portal • เว็บค้าปลีก (E-tailer) • เว็บเน้นเนื้อหา (Content Provider) • เว็บนายหน้า (Transaction Broker) • ตลาดออนไลน์ (E-marketplace) • เว็บให้บริการ (Service Provider) • เว็บชุมชนคนออนไลน์ (Community Provider)
2. Business to Business (B2B) • หมายถึง การซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง • ครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management) เป็นต้น • จะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
3. Business to Government (B2G) • หมายถึง เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐบาลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • การประมูลออนไลน์ โดยรัฐบาลดำเนินการจัดซื้อ โดยธุรกิจยื่นแบบประกวดราคาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • เว็บไซต์ของกรมสรรพากรอนุญาตให้ธุรกิจสามารถยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.30) • หรือเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทสามารถค้นหาและจองชื่อได้ • เช่น www.gprocurement.go.th • www.rd.go.th
รูปแบบของธุรกิจของ B2B และ B2G • รูปแบบการประมูลหรือแคตาล็อกออนไลน์ (Auction, E-catalog) • รูปแบบการรวบรวมหรือตลาดออนไลน์ (Aggregator/Exchange) • รูปแบบของความร่วมมือการทำงาน (Collaborative) • รูปแบบของการประมูลแบบย้อนกลับ (Bid/Reverse Auction)
Auction, E-catalog • มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในลักษณะ one-to-many • ผู้ขายเป็นได้ทั้งผู้ผลิตสินค้าหรือจะเป็นผู้จัดจำหน่ายก็ได้ • สามารถขายผ่าน E-catalog สำหรับลูกค้ารายใหญ่เป็นพิเศษจากลูกค้าทั่วไปได้
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction) • ความหมายของการประมูล • การประมูล(Auction)หมายถึงการเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์( E- Auction) การเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
ชนิดของการประมูล • Forward Auction • Reverse Auction • One Knock Auction • English Auction • Yankee Auction • Dutch Auction
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction: E-Auction) รูปแบบของกลโกง • หน้าม้าเสนอราคาหลอก • นำเสนอรูปภาพสินค้าที่บิดเบือนความจริง • จูงใจผู้ประมูลด้วยเกรดสินค้า • ขายสินค้าปลอม • ราคาประมูลต่ำแต่ค่าขนส่งแพง • ผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ • ผู้ซื้อต้องการสินค้าฟรี • ผู้ซื้อต้องการได้สินค้าที่ดีกว่าเดิม
กลโกงของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์กลโกงของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การป้องกันกลโกง • การพิสูจน์ว่าเป็นสมาชิกตัวจริง • การตรวจสอบว่าเป็นสินค้าของจริง • จัดให้มีบริการคัดระดับคุณภาพสินค้า • การแสดงความคิดเห็น • บริการตรวจสอบการชำระเงินและจัดส่งสินค้า
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต และ M-Auction • แนวโน้มของการประมูลสินค้าในอนาคตจะเป็นการประมูลสินค้าบนโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น (Mobile Auction) เนื่องจากมีข้อดีคือ 1. สะดวก และมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนมาก การประมูลสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือจะมีความสะดวก เนื่องจากไม่ต้องเดินทางไปสถานที่ประมูล และยังพกพาสะดวก 2. มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 3. ใช้งานง่ายและทำงานเร็ว
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต และ M-Auction • ข้อจำกัดของการประมูลสินค้าบนโทรศัพท์มือถือ • คุณภาพของการแสดงข้อมูลชนิดรูปภาพยังไม่ละเอียดมากพอ อีกทั้งจอภาพของเครื่องโทรศัพท์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถแสดงรูปภาพสินค้าบางประเภทได้ • ขนาดหน่วยความจำน้อย • มาตรฐานของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ • ระยะเวลาการใช้งานค่อนข้างจำกัด
Aggregator/Exchange • มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในลักษณะ Many-to-many • เป็นตลาดออนไลน์ที่ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน เหมือนใน B2C • แต่ผู้ซื้อและผู้ขายจะเป็นหน่วยงานธุรกิจ หรือรัฐบาล
Aggregator/Exchange • องค์ประกอบของการเป็นตลาด มี 3 ประการ คือ • สมาชิกที่เกี่ยวข้องกับตลาด • ความปลอดภัยของการค้าภายในตลาด • การบริการของตลาด
ประเภทของตลาดออนไลน์ • ตลาดออนไลน์ที่เป็นที่รวมของผู้ซื้อผู้ขายจากหลาย ๆ อุตสาหกรรม • ตลาดออนไลน์ที่มุ่งเฉพาะเจาะจงอุตสาหกรรมประเภทเดียว
Collaborative • มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในลักษณะ One-to-One • นอกจากจะเป็นการทำธุรกรรมของบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทแล้ว • ยังหมายถึง บริษัทหลาย ๆ บริษัทเข้าร่วมกันวางแผน ออกแบบ พัฒนา วิจัย จัดการ โดยผ่านเครือข่ายเฉพาะกลุ่ม
Bid/Reverse Auction • มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในลักษณะ Many-to-One • เป็นลักษณะของการจัดซื้อของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน • ที่มีการกำหนดลักษณะของสินค้าที่ต้องการ และให้ทางผู้สนใจเสนอราคามา • โดยใครเสนอราคามาได้ต่ำสุด ก็จะเป็นผู้ได้ขายสินค้านั้น
4. Government to Citizen (G2C) • คือ การบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • เช่น การคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต • การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5. Consumer to Consumer (C2C) • เป็นการค้าระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือระหว่างผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง • มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร • หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง เช่น ขายของมือสอง
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ • ธุรกิจหลายแห่ง ใช้ช่องทางการสื่อสารด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการทำการค้า • มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการ • เช่น แอพพลิเคชั่นบนมือถือของสายการบินนกแอร์
รูปแบบของการแสวงหารายได้รูปแบบของการแสวงหารายได้ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งรูปแบบรายได้ ดังนี้ • รายได้จากการโฆษณา • รายได้จากค่าสมาชิก • รายได้จากค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรม • รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ • รายได้จากโปรแกรมแบบเชื่อมโยง