440 likes | 1.18k Views
Chapter 11 Location Planning. Aj-Kulachatr C. Na Ayudhya Naresuan University Payao Campus Semester 1/50. Location Planning for Oil & Gas Supply chain. การวางแผนทำเลที่ตั้ง ( Location Planning). หลักการสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้ง
E N D
Chapter 11Location Planning Aj-Kulachatr C. Na Ayudhya Naresuan University Payao Campus Semester 1/50
การวางแผนทำเลที่ตั้ง (Location Planning) หลักการสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้ง คลังสินค้าหรือโรงงานใน Supply Chain ขององค์กรหนึ่งๆ เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่มีการลงทุนค่อนข้างสูง เป็นกิจกรรมการพักสินค้าและแปรรูปสินค้า ซึ่งมีผลต่อระยะทางในการเดินทางในระบบโลจิสติกส์เป็นอย่างยิ่ง หากการเลือกทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อต้นทุนค่าขนส่งในระยะยาว ดังนั้นการวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงานหรือคลังสินค้าให้สอดคล้องกับความจำเป็นและต้นทุนค่าขนส่ง จำเป็นต้องมีการวางแผนตั้งแต่แรกเริ่มในการสร้างองค์กร ผู้บริหารโลจิสติกส์จึงต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถพยากรณ์ระยะยาวได้ ธุรกิจที่ดำเนินการผลิตส่วนใหญ่ มักจะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ และสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการผลิต สินค้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ จะฝากขายผ่านระบบคนกลางทางการตลาด จึงไม่จำเป็นที่โรงงานต้องอยู่ใกล้ตลาดหรือลูกค้า เช่น คลังน้ำมัน แต่ธุรกิจบริการที่จำเป็นต้องให้บริการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าอย่างใกล้ชิด จำเป็นต้องอยู่ใกล้ลูกค้า หรือย่านชุมชนที่ลูกค้าสะดวกในการเข้าไปใช้บริการ เช่น ร้านค้าปลีก สปา
Location Planning • ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง • การคมนาคมขนส่ง : ถนน บริการทางคมนาคม รถไฟ เรือ เครื่องบิน ระบบการขนส่งต่างประเทศ สะดวกสบาย • ปัจจัยการผลิต: • วัตถุดิบ: มีวัตถุดิบที่เพียงพอ น้ำหนัก ปริมาณ ที่เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย • แรงงาน: มีแรงงานที่มีฝีมือเพียงพอต่อการจ้างงาน • ค่าก่อสร้าง: ค่าแรงและวัสดุก่อสร้างไม่แพงและเพียงพอ • ค่าใช้จ่ายในการจัดหาจัดซื้อ : ต่ำ • ราคาที่ดิน : ราคาต่ำและคุ้มต่อการคืนทุน • ตลาด: ลูกค้า ชุมชน และแหล่งจำหน่ายสินค้าเพียงพอ • สาธารณูปโภค: น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบบำบัดครบครัน สิริกาญจน์ ปองทอง , 2547
Location Planning • ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้ง • การบริการทางสังคม: มีสถานีตำรวจ ดับเพลิง เทศบาลโรงพยาบาล โรงเรียน ครบถ้วน • สิ่งแวดล้อม: ภูมิอากาศดี มลภาวะน้อย ความชื้นเหมาะสม ไม่มีแสง เสียงรบกวน กฎหมาย: ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีการค้า ค่าเบี้ยประกันต่างๆ เหมาะสม • ทัศนคติของชุมชน: ทัศนคติของชุมชนที่ล้อมรอบทำเลที่ตั้งโรงงานต้องสนับสนุนต่อการสร้างโรงงาน • คู่แข่งขัน: ควรมีความร่วมมือกันระหว่างคู่แข่งในทางที่ดี • มีโอกาสความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้นในอนาคต สิริกาญจน์ ปองทอง , 2547
Location Planning ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง การศึกษาปัจจัย • การวิเคราะห์ทางเลือก • เทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ • เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ไม่เลือก การตัดสินใจ เลือก ลงทุนก่อสร้าง
การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจผลิตสินค้า (โรงงานหรือคลังสินค้า) ใกล้แหล่งวัตถุดิบ ใกล้แรงงาน ชุมชนยอมรับ เส้นทางการคมนาคมดี สาธารณูปโภคเพื่อการผลิตครบ คุณภาพและมาตรฐานการดำรงชีวิตต้องดี สิริกาญจน์ ปองทอง , 2547 การเลือกทำเลที่ตั้งธุรกิจบริการและการจำหน่าย (ค้าส่งค้าปลีก) ใกล้ลูกค้า ค่าขนส่ง (สินค้ามีการกระจายตัวสูง จึงมีค่าขนส่งสูง) เส้นทางการคมนาคมเพียงพอและเข้าถึงเป้าหมาย คู่แข่งขัน เลี่ยงใกล้รายใหญ่ รวมกลุ่มกับรายย่อย (Market Place) การตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง
เครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งเครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง เชิงคุณภาพ • Factor Rating Method เชิงปริมาณ • Load-distance Technique • Cost Comparison • Break-even Analysis • Transportation model
Load-distance Technique ขั้นที่ 1เทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง • เป็นวิธีการเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมเพียงแห่งเดียวจากหลายทำเลที่เสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกตั้งแต่ 2 ทำเลขึ้นไป โดยการคำนวณหาระยะห่างของแต่ละทำเลกับแหล่งวัตถุดิบหรือตลาด แล้วคูณระยะทางเหล่านั้นเข้ากับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยใช้หลักการวัดเป็นเส้นตรง • การหาระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้งกับเป้าหมาย : ใช้หลักการวัดระยะทางเส้นตรงด้วยกฎสามเหลี่ยมของพิธากอรัสN กับ M ห่างกันเท่าไร C2 = A2 + B2 C2 = 32 + 42 = 25 C = 5 M C2 = A2+B2 A=3 N B=4
Pythagoras • The square on the hypotenuse is equal to the sum of the squares on the other two sides. • If we let c be the length of the hypotenuse and a and b be the lengths of the other two sides, the theorem can be expressed as the equation • a2 + b2 = c2
Load-distance (LD) Technique ขั้นที่ 2คำนวณระยะทางร่วมที่ได้ทั้งสองทำเล เข้ากับค่าขนส่งต่อระยะทาง LD = li x di โดยที่ Ii = อัตราค่าขนส่งต่อระยะทางหรือจำนวนเที่ยวหรือจำนวนหน่วยสินค้า Di = ระยะทางระหว่างทำเลในแต่ละแหล่ง ขั้นที่ 3เลือกทำเลที่ตั้งที่มีค่า LD รวมต่ำที่สุด ตัวอย่างเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ระหว่างทำเล X กับ Y ควรเลือกทำเลใด โดยสมมติว่าค่าขนส่งสินค้า 6 บาท วัตถุดิบ 5 บาท (ต่อกิโลเมตร) n i=1
Load-distance Technique ; Demand • กขค = Demand, (หน่วย ; กิโลเมตร) ก ข X 4 A B 4 Y C ค
ขั้นที่ 1 คำนวณ Load-distance ; Demand สมมติว่าค่าขนส่งสินค้า 6 บาท (ต่อกิโลเมตร) การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับตลาด (Demand) ของ X • พิกัด X – ก มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(52 + 22) = 5.39 km • พิกัด X – ข มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 22) = 2.83 km • พิกัด X – ค มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 42) = 5.66 km ทำเล X มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางไปตลาดทั้งหมด = 13.82 km การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับตลาด (Demand) ของ Y • พิกัด Y – ก มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(32 + 52) = 5.83 km • พิกัด Y – ข มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 52) = 6.40 km • พิกัด Y – ค มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 12) = 2.24 km ทำเล Y มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางไปตลาดทั้งหมด = 14.47 km
Load-distance Technique ; Supply • ABC = Supply, (หน่วย ; กิโลเมตร) ก ข X A B Y C ค
ขั้นที่ 1 คำนวณ Load-distance ; Supply สมมติว่าค่าขนส่งวัตถุดิบ 5 บาท (ต่อกิโลเมตร) การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับแหล่งวัตถุดิบ (Supply) ของ X • พิกัด X - A มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(42 + 12) = 4.12 km • พิกัด X - B มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(32 + 22) = 3.61 km • พิกัด X - C มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(02 + 32) = 3.00 km ทำเล X มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจากแหล่งวัตถุดิบทั้งหมด = 10.73 km การคำนวณหาระยะห่างระหว่างที่ดินกับแหล่งวัตถุดิบ (Supply) ของ Y • พิกัด Y - A มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 22) = 2.83 km • พิกัด Y - B มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(52 + 12) = 5.10 km • พิกัด Y - C มีระยะทางเท่ากับ = SQRT(22 + 02) = 2.00 km ทำเล Y มีระยะทางที่ต้องใช้เดินทางจากแหล่งวัตถุดิบทั้งหมด = 9.93 km
ขั้นที่ 2 คำนวณระยะทางร่วมที่ได้ทั้งสองทำเล เข้ากับค่าขนส่งต่อระยะทาง • LDx = [X ไปตลาด x 6]+ [X ไปวัตถุดิบ x 5] (13.82 x 6) + (10.73 x 5)136.57 บาท • LDy = [Y ไปตลาด x 6]+ [Y ไปวัตถุดิบ x 5] (14.47 x 6) + (9.93 x 5)136.47 บาท ขั้นที่ 3 เลือกคำตอบที่ค่าขนส่งต่ำกว่า คำตอบ คือ เลือกทำเล Y ให้ค่าขนส่งตามระยะทางต่ำกว่า X
Cost Comparison • การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม (Cost Comparison) TC = ต้นทุนการผลิตรวม TFC = ต้นทุนคงที่รวม TVC = ต้นทุนผันแปรรวม VC = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย Q = จำนวนสินค้าที่จะผลิต TC = TFC + TVC TVC = VC(Q) TC = TFC + VC(Q)
ตัวอย่าง: การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม(Cost Comparison) บริษัท 3A จำกัด กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 ทำเลให้เลือกดังนี้ เมือง A มีต้นทุนคงที่ 2.0 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 100 บาท/หน่วย เมือง B มีต้นทุนคงที่ 2.5 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 45 บาท/หน่วย เมือง C มีต้นทุนคงที่ 1.1 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 200 บาท/หน่วย ถ้าบริษัทนี้พยากรณ์ได้ว่าจะมีกำลังการผลิตปีละ 10,000 หน่วย บริษัทแห่งนี้ควรเลือกทำเลใดในการตั้งโรงงานจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด ทดลองใช้ MS-Excel ในการสร้างสมการหรือสูตรเพื่อการคำนวณ และหาคำตอบ
Location Planning ตัวอย่าง: การประเมินและเปรียบเทียบต้นทุนรวม (Cost Comparison) บริษัท 3B จำกัด กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง มี 3 ทำเลให้เลือกดังนี้ เมือง A มีต้นทุนคงที่ 1.0 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 200 บาท/หน่วย เมือง B มีต้นทุนคงที่ 2.5 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 80 บาท/หน่วย เมือง C มีต้นทุนคงที่ 1.3 ล้านบาท ต้นทุนผันแปร 160 บาท/หน่วย ถ้าบริษัทนี้พยากรณ์ได้ว่าจะมีกำลังการผลิตปีละ 15,000-20,000 หน่วย บริษัทแห่งนี้ควรเลือกทำเลใดในการตั้งโรงงานจึงจะมีต้นทุนต่ำที่สุด ทดลองใช้ MS-Excel ในการสร้างสมการหรือสูตรเพื่อการคำนวณ และหาคำตอบ
Break-even Analysis การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมิน เช่น ค่าที่ดิน ค่าแรง ค่าโสหุ้ยในการผลิต ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าต่างๆ มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาจุดคุ้มทุนที่ต่ำที่สุด ได้ว่าทำเลใดมีการเข้าใกล้จุดคุ้มทุนเร็วที่สุด ทำเลนั้นจะเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้ง
Break-even point analysis TR = TC P(Q) = TFC + VC(Q) P(Q) – VC(Q) = TFC Q (P-VC) = TFC Q = TFC (P-VC) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • TC = ต้นทุนการผลิตรวม TFC = ต้นทุนคงที่รวม TVC = ต้นทุนผันแปรรวม VC = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย Q = จำนวนสินค้าที่จะผลิตTC = TFC + VC(Q) TR = รายได้รวม TR = P x Q P = ราคาขายต่อหน่วย
Volume BEP Unit BEP
Break Even Point Analysis ตัวอย่าง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง ผู้บริหารธุรกิจแห่งหนึ่งกำหนดราคาขายสินค้าไว้ที่หน่วยละ 10 บาท กำลังพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่โดยมีข้อมูลต้นทุนดังนี้ ทดลองใช้ MS-Excel ในการสร้างสมการหรือสูตรเพื่อการคำนวณ และหาคำตอบ
Transportation model • การเลือกทำเลที่ตั้งโดยเปรียบเทียบค่าขนส่งรวมด้วย ตัวแบบการขนส่ง (Transportation Model) ตัวแบบการขนส่งเป็นเทคนิคการคำนวณในลักษณะของโปรแกรมเส้นตรง (Linear Programming) ที่ใช้คำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุด(Minimizing cost) สำหรับการกระจายสินค้าของโรงงานที่มีสถานที่ผลิตหลายแห่งและมีสถานที่ส่งสินค้าหลายแห่ง โดยที่ค่าขนส่งของแต่ละเส้นทางขนส่งมีค่าไม่เท่ากัน (ขึ้นกับระยะทางที่ห่างกัน) ดังนั้นโรงงานจะสามารถทราบได้ว่าควรจะกระจายสินค้าด้วยเส้นทางใดจึงจะได้ค่าขนส่งรวมต่ำที่สุด จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์ทางเลือกเพื่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานได้เป็นอย่างดี Demandปลายทาง Supplyต้นทาง
โรงงาน1 โรงงาน2 โรงงาน3 โรงงาน5 โรงงาน4 ร้านค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย พ่อค้าส่ง ร้านค้าปลีก ลูกค้า Transportation เส้นทางการขนส่งแต่ละเส้นมีระยะทางไม่เท่ากัน จึงมีค่าขนส่งแตกต่างกันตามระยะทาง
Transportation Model ขั้นตอนการคำนวณหาต้นทุนค่าขนส่งรวมต่ำสุดด้วยตัวแบบการขนส่งและใช้ Microsoft Excel ในการ Solution เพื่อหาคำตอบ • หาผลรวมสินค้าของแหล่งผลิต (Supply) และแหล่งรับสินค้า (Demand) • สร้างตารางเมตริกซ์ (Matrix Square) • สร้างแถวนอน (Row) = จำนวนโรงงานหรือแหล่งผลิตสินค้า (Supply) • สร้างแถวตั้ง (Column) = จำนวนแหล่งที่จะรับสินค้า (Demand) • เมื่อนำแถวนอนกับแถวตั้งมารวมกันจะได้ Matrix Square โดยจะเกิดช่องที่เกิดจากการตัดกันของ Row / Column เรียกว่า Cell ถ้าเกิดจากการตัดกันของ Row ที่ 1 กับ Column ที่ 2 เรียก Cell นั้นว่า C12 • กำหนดค่าขนส่งในแต่ละเส้นทาง และระบุลงไปใน Matrix • สร้าง Matrix Square ลงใน Spread Sheet (Excel) • ต้องเป็น Version ที่มี Solver Parameter adds-in • หรือใช้โปรแกรม QM for Window
Transportation Model; Matrix ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลลงเมทริกซ์บริษัทแห่งหนึ่งมีโรงงานผลิตสินค้าอยู่ 3 แห่ง แห่งละ 500 ,600 และ 400 หน่วย ตามลำดับ โดยมีเอเย่นต์อยู่ 4 ราย แต่ละรายรับสินค้าได้จำกัดจำนวน คือ 260 , 380 , 490 และ 370 หน่วยตามลำดับ เขียนเป็นแผนภาพและระบุค่าขนส่งได้ดังนี้ 2 26 5 8 1 50 6 38 7 4 60 17 49 10 18 5 40 37 3 ค่าขนส่ง: บาทต่อหน่วยสินค้า 7
Industrial Estate • นิคมอุตสาหกรรม • คือแหล่งทำเลที่ตั้งซึ่งรวมโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลายชนิดไว้ในที่ๆ เดียวกัน โดยมีการจัดระเบียบการใช้พื้นที่และจัดสรรสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกัน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนเป็นการควบคุมมลพิษ และไม่รบกวนมาตรฐานการดำรงชีวิตของชุมชน • นิคมอุตสาหกรรมส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน แต่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและกระบวนการขนส่ง เช่น ท่าเรือ ทะเล ท่าอากาศยาน • รัฐบาลได้มีการจัดตั้ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรางอุตสาหกรรม เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2517
Port (ท่าเทียบเรืออุตสาหกรรม) ท่าเรือสาธารณะ (Public Terminal - PT) ท่าเรือสาธารณะ (Public Terminal - PT) เป็นท่าเรือที่ไม่จำกัดจำนวนผู้ที่ใช้บริการ ท่าเรือประเภทนี้ กนอ. ลงทุนก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้ทั้งท่าเทียบเรือ โกดังสินค้า พื้นที่หน้าท่า และอุปกรณ์หน้าท่า ท่าเรือเฉพาะกิจ (Dedicated Terminal - DT) เป็นท่าเรือที่จำกัดผู้ที่เข้ามาใช้บริการ เฉพาะให้กลุ่มของผู้ประกอบการ ท่าเรือเฉพาะกิจ (Dedicated Terminal - DT)
บรรณานุกรม คำนาย อภิปรัชญาสกุล. โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน “กลยุทธ์ทำให้รวยช่วยประหยัด”,--กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นัฎพร, 2546. สิริกาญจน์ ปองทอง.เอกสารประกอบการสอน วิชาการจัดการการผลิตและการ----ดำเนินงาน.-- เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยพายัพ , 2547.