1 / 80

หน่วยเรียนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ( Introduction of fish and fishery products )

หน่วยเรียนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ( Introduction of fish and fishery products ). อ.พาขวัญ ทองรักษ์. 1.1 ความสำคัญของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ 1.1.1 ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์ 1. เพื่อการบริโภค : ย่อยง่าย มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2. เป็นแหล่งยารักษาโรค + เครื่องสำอาง

wolfe
Download Presentation

หน่วยเรียนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ( Introduction of fish and fishery products )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยเรียนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์(Introduction of fish and fishery products) อ.พาขวัญ ทองรักษ์

  2. 1.1 ความสำคัญของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ 1.1.1 ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์ 1. เพื่อการบริโภค :ย่อยง่าย มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2. เป็นแหล่งยารักษาโรค + เครื่องสำอาง 3. ทำให้เกิดอาชีพต่างๆ จากอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ 4. สร้างรายได้เข้าประเทศ: ส่งออก 1.1.2 ความสำคัญที่มีสัตว์และพืช 1. ใช้เป็นอาหารสัตว์ : fish meal, algae, เปลือกหอย 2. ใช้เป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยสำหรับพืช : waste 3. ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเร่งการเจริญเติบโต : chitin

  3. ลำดับการส่งออกสินค้าไทย ปี 2547 ไทยติดอันดับ 24 ของโลก จาก 96 ประเทศ (ดับบลิวทีโอ) โดยมีมูลค่าการส่งออก 3.5 ล้านล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 6% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา • สินค้าที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลกคือ ยางธรรมชาติ ข้าว ปลาเพื่อการบริโภค และแป้งมัน โดยเฉพาะยางธรรมชาติที่ไทยมีสัดส่วนในตลาดสูงถึง 42% มูลค่าส่งออกประมาณ 111,840 ล้านบาท อันดับ 2 ได้แก่ ผลไม้แห้ง กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก เนื้อแห้ง เนื้อผ่านการถนอมอาหาร • อันดับ 3 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ น้ำตาลทราย ปูนซีเมนต์ เสื้อผ้าเด็ก สารเหนียวจากแป้งพวกเด็กซ์ตริน หินมีค่าและกึ่งมีค่า ชิ้นส่วนนาฬิกา เสื้อผ้าถักเย็บ

  4. ลำดับที่ 4เซรามิค เสื้อสูท และเสื้อแจ๊กเก็ต • ลำดับที่ 5เนื้อสัตว์เป็นอาหาร ลวดไฟเบอร์สังเคราะห์ เสื้อผ้าถัก • ลำดับที่ 6เสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อน • ลำดับที่ 7ชิ้นส่วนวิดีโอและหัวอ่าน แผงวงจรสวิตช์ • ลำดับที่ 8เครื่องประดับอัญมณี อาหารสัตว์ เครื่องซักผ้า • ลำดับที่ 9อุปกรณ์มอเตอร์ไฟฟ้า เนื้อปลาเป็นชิ้นพร้อมปรุง • ลำดับที่ 10แผงวงจรไฟฟ้า ทรานซิสเตอร์ไดโอด เป็นต้น

  5. กรดไขมันไลโนเลนิก(linolenic)เป็นสารเริ่มต้น ที่ร่างกายสามารถนำไปสังเคราะห์เป็น EPA และ DHA พบมากในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ทูน่า และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ • Fish oil which is rich in omega-3 acids especially eicosapentaenoic acid (EPA, 20:53)potentially reduce the risk of heart disease by lowering serum triglyride level, reduce platelet aggregation, synthesis the active prostaglandin l3, the vasodilator, and inactive thromboxane A3, platelet aggregating agent. docosahexaenoic acid (22:6-3, DHA): ช่วยในการพัฒนาของเซลล์ สมองของเด็ก ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสองเสื่อม

  6. ประโยชน์จากเปลือกสัตว์น้ำผลิต ไคโตซานพ่นเคลือบคงความสดผลไม้

  7. พระราชดำรัสทางด้านการประมงพระราชดำรัสทางด้านการประมง “ควรดำเนินการพัฒนาการประมงให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ โดยการพัฒนาแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลาและส่งเสริมให้ราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นได้ ทั้งการประมงและการปลูกพืชผักบริเวณรอบ ๆ หนองน้ำด้วย เพราะการขุดบ่อขึ้นใหม่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือถ้าน้ำท่วมปลาก็จะหนีไปหมด …"

  8. แผนภูมิแสดงแหล่งที่มาของวัตถุดิบสัตว์น้ำของประเทศไทย แผนภูมิแสดงแหล่งที่มาของวัตถุดิบสัตว์น้ำของประเทศไทย • สัตว์น้ำ • ภายในประเทศ นำเข้าจากต่างประเทศ • สัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำทะเล • จับจาก จากการ จับจาก จากการ • ธรรมชาติ เพาะเลี้ยง ธรรมชาติ เพาะเลี้ยง

  9. แผนภูมิแสดงการกระจายสัตว์น้ำ • สัตว์น้ำ • มีชีวิต สัตว์น้ำสด สัตว์น้ำแปรรูป • บรรจุ บริโภคสด เค็ม/แห้ง รมควัน บรรจุกระป๋อง แช่เย็น แช่แข็ง หมักดอง อื่นๆ • ตลาดกลาง ตลาดกลาง • ส่งออก ส่งขายภายในประเทศ ส่งออก • ตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร/โรงแรม พ่อค้าย่อย • ผู้บริโภค

  10. สถิติข้อมูลปริมาณผลิตผลเบื้องต้นทั้งหมดจากปี 1988-1997

  11. สถิติข้อมูลปริมาณผลิตผลแปรรูปทั้งหมดจากปี 1988-1997

  12. สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมีความสำคัญยิ่งต่อคนไทย ทั้งในแง่เป็นแหล่งอาหารโปรตีน ที่สำคัญเนื่องจากราคาถูกกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประเภทอื่น นอกจากนี้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยังเป็นภาคการผลิตที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เป็นแหล่งจ้างงานและสร้างรายได้ให้ประเทศชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งภาคการประมงสามารถรองรับแรงงานได้ถึง 826,980 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบอาชีพประมงทะเล 161,670 คน ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 77,870 คน ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 404,340 คน และในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง 183,100 คน • ประเทศไทยมีผลผลิตทางการประมงสูงอยู่ในสิบลำดับแรกของโลก และเป็นผู้ส่งออกสินค้าประมงในอันดับต้นๆ ของโลก คิดเป็นมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำเกือบสองแสนล้านบาทในแต่ละปี

  13. 1.2 สถานการณ์การค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ • - ในปี 2356-2539 ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ • มากที่สุดในโลก ประเทศผู้นำเข้าหลักในกลุ่มสินค้าอาหาร ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา • สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และประเทศในกลุ่มเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ • ไต้หวัน จีน มาเลเซีย และเกาหลี • ปี 2539 สินค้าส่งออก อันดับ 1 ได้แก่ สินค้าประเภท กุ้ง ปู และกั้งแช่เยือกแข็ง • - ในปี 2541 ไทยยังครองตลาดสหภาพยุโรปแม้ว่าจะถูกตัดคืนสิทธิ • พิเศษทางการค้า(GSP) ประกอบกับประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย บังคลาเทศ • และอัฟริกา มีปัญหาเรื่องสินค้าประมงไม่ได้มาตรฐานของสหภาพยุโรปและถูกสั่ง • ห้ามนำเข้าสหภาพยุโรป มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่เปลี่ยนแปลง • และไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ หนวดหมึกสดแช่เยือกแข็ง หมึกแปรรูป ปูกระป๋อง • กุ้งกระป๋อง และกุ้งสดแช่เยือกแข็ง รายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสูด อันดับแรก • ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กุ้งกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง อาหารสุนัขและอาหารแมวกระป๋อง

  14. ในปี 2542 – 2543 ส่งออกลดลงไทยประสบปัญหาเรื่องสารปฏิชีวนะตกค้าง ในกุ้งที่ส่ง ไปยังกลุ่มตลาดสหภาพยุโรป ส่วนปลาและผลิตภัณฑ์ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ในรูปของผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลาบดและซูริมิ พ.ศ. 2538-2542 มีผลผลิตการประมง 3.4 - 3.6 ล้านตัน/ปี(ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก) จากการวิจัยแนวทางการสร้างอาหารไทยเป็นอาหารโลกในสิบปีข้างหน้า สินค้าอาหารไทยที่มีแนวโน้มการส่งออกที่ดีและสามารถสร้างเป็นอาหารโลก 1. อาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้งสดแช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง ปลาสดแช่แข็ง เนื้อปลาสดแช่แข็ง 2. อาหารทะเลกึ่งสำเร็จรูป เช่น ปลาหมึก ปลาชุบแป้งทอด ทอดมันปลา ทอดมันกุ้ง 3. อาหารทะเลปรุงรสสำเร็จรูป เช่น อาหารทะเลปรุงรสแต่ยังไม่สุก 4. อาหารทะเลสำเร็จรูป เช่น กุ้งเปรี้ยวหวาน แกงเขียวหวานทูน่า พะแนงทูน่า 5. อาหารทะเลกระป๋อง เช่น กุ้งกระป๋อง ปูกระป๋อง หอยลายกระป๋อง

  15. -ในปี 2547 เกิดปัญหาในการส่งออกกุ้งในอเมริกา ในการทุ่มตลาดกุ้ง และจะเริ่มเก็บ ภาษีนำเข้ากุ้งสูงขึ้น ผู้ส่งออกกุ้งไทยได้ทำตลาดใหม่เพิ่มจากกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งไม่บริโภคเนื้อวัวเนื้อไก่ เนื่องจากเกิดโรคระบาด สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลาหมึกสดแช่เย็น ปลาทูน่ากระป๋อง ซูริมิและผลิตภัณฑ์จากเนื้อปลาบด ปี 2548 สหภาพยุโรปจะคืนสิทธิพิเศษทางการค้า(GSP)ในสินค้ากุ้งให้กับประเทศไทย ไทยเสียภาษีถูกลง สหรัฐอเมริกาลดภาษีการนำเข้าจากกรณี เอดี ของไทย ประกอบการทั่วโลก ประสบปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก ทำให้หลายประเทศหันมาซื้อปลาทูน่ากระป๋องและ กุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น

  16. - ปี 2549 ไทยได้สิทธิคืน GSP กุ้งและสินค้าอื่นจากสหภาพยุโรป รวม 300 รายการ การส่งออกกุ้งของไทยขยายตัวอย่างมาก ขณะเดียวกันจากกรณีที่สหรัฐซึ่งเป็นตลาด ส่งออกหลักได้บังคับให้ผู้นำเข้าต้องวางพันธบัตรค้ำประกันการนำเข้า(ซี-บอนด์) 100 % นอกเหนือจากที่ต้องเสียภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดเฉลี่ยทั้งประเทศที่ร้อยละ 5.95 ซึ่งสร้างภาระให้กับผู้นำเข้า(ส่วนใหญ่ผลักภาระมาให้ผู้ส่งออก)เป็นอย่างมาก (ปัจจุบัน ยกเลิกไปแล้ว) • ตุลาคม 2549มีผู้ประกอบการไทยสนใจส่งออกกุ้งชิลไปยังสาธารณรัฐเกาหลีเป็นจำนวนมาก มีโรงงานกุ้งแช่เย็นแช่แข็งขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 224 แห่ง โรงงาน packing house จำนวน 17 แห่ง และโรงงานแปรรูปสินค้าพื้นเมืองจำนวน 10 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2549)”

  17. สถานการณ์การค้าสัตว์น้ำชนิดต่างๆสถานการณ์การค้าสัตว์น้ำชนิดต่างๆ 1.2.2 สถานการณ์การค้ากุ้ง ปี 2539กุ้งการขาดแคลนกุ้งในปี พ.ศ. 2539 ยังคงต่อเนื่องในตลาดโลก ประเทศไทยยังคง รักษาความเป็นผู้นำในการส่งออกกุ้งกุลาดำที่เพาะเลี้ยงได้เป็นอันดับ 1 ของโลกตลอดมา ในปี พ.ศ. 2541 กุ้ง เป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับที่ 10 คู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม แคนาดา บังคลาเทศ เอกวาดอร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

  18. ตาราง ผลการตรวจสอบสารบอแรกซ์ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ปี 2540 – 2541 ชนิดตัวอย่างจำนวนตัวอย่าง ตรวจพบ ปริมาณบอร์แรกซ์ ส่งตรวจ ตรวจพบ (ร้อยละ) (มก./กก.) เนื้อปลาขูด 13 10 76.92 484.79-5,375.07 ทอดมันปลากราย 11 9 81.82 521.28 – 1,641.50 ลูกชิ้นปลา 22 6 27.27 309.13 – 1,872.38 ลูกชิ้นปลากราย 23 23 100 809.41 – 2,357.83 ที่มา : ประกายและคณะ (2542)

  19. รายการสินค้าสัตว์น้ำที่ตรวจสอบไม่ผ่านโดยสหภาพยุโรป ตั้งแต่ มกราคม 2543-กันยายน 2544 ลำดับที่ เดือน/ปี สาเหตุ สินค้าสัตว์น้ำ 1 มี.ค. 43 V. choleraeกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง 2 ส.ค. 43 V. choleraeกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง 3 ก.ย. 43 V. choleraeกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง 4 พ.ย 43 V. choleraeFrozen baby octopus 5 ธ.ค. 43 V. cholerae กุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง and V. parahaemolyticus ที่มา : กรมประมง (2544)

  20. ตาราง ปริมาณ Oxytetracycline ในกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง พ.ศ. วิเคราะห์ ตรวจพบ ปริมาณที่พบ (มก./กก.) (ตัวอย่าง) ตัวอย่าง ร้อยละ ต่ำสุด – สูงสุด เฉลี่ย 2537 1478 22 1.49 0.16 – 0.49 0.26 2538 1567 12 0.77 0.14 – 1.46 0.38 2539 1055 12 1.14 0.13 – 3.31 0.54 2540 628 11 1.75 0.13 – 0.69 0.40 2541 477 3 0.63 0.10 – 2.05 0.77 รวม 5205 60 1.15 0.10 – 3.31 0.39 ที่มา : ปุศยา และสุธาทิพย์ (2543)

  21. ในปี พ.ศ. 2545 ตลาด EUเข้มงวดในการตรวจคุณภาพกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็ง จากไทย เนื่องจากอ้างว่ากุ้งกุลาดำจากไทย มีปัญหาเรื่องสารปฏิชีวนะตกค้าง กลุ่มคลอแรมฟินิคอล และไนโตรฟูแรนในกุ้งเพาะเลี้ยง ทำให้การส่งออกกุ้งหยุดชะงัก จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศซึ่ง ตัวเลขส่งออกลดลงกว่า 27 % ของปี 2545 (เมื่อเทียบกับ2546) คิดเป็นมูลค่า การส่งออกหรือเม็ดเงินที่หายไปเกือบ 40%  อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าผลผลิต กุ้งไทยทั้งหมดที่ส่งออกไปยัง EU มีเพียง 5% เท่านั้นตัวเลขการส่งออกหายไป กว่า 22 %

  22. วิเคราะห์สาเหตุ กุ้ง+EU • ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดคุณภาพสินค้าอุตสาหกรรมอาหารมีการแข่งขันที่สูงมาก • การกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม • กรณีของคลอแรมฟินิคอล E.U. ใช้หลัก Zero Tolerant • USFDA  กำหนดความเข้มข้นที่ยอมรับได้ที่ 5 ppb ซึ่งมากกว่ามาตรฐาน E.U. ถึง 500 เท่า • ไนโตรฟูแรนส์นั้น E.U. กำหนดมีในระดับที่ต่ำกว่า 0.4 ppb • (USFDA) ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานและปริมาณไนโตรฟูแรนส์ขั้นต่ำที่ยอมรับได้ในอาหาร

  23. ในปี พ.ศ. 2546 ไทยประสบปัญหาการค้ากุ้งในอเมริกา จากการกล่าวหาเรื่องการทุ่มตลาดกุ้ง หรือ เอดี (Anti dumping, AD) ทำให้กุ้งราคาถูกลง ส่งผลให้ไทยต้องเสียภาษีนำเข้ากุ้งสูง ปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยไม่สามารถส่งกุ้งที่จับจากทะเลไปสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 เป็นต้นไป เนื่องจากชาวประมงไทยยังไม่ได้ใช้เครื่องมือเทดส์ (The Turtle Excluder Device , TED) ทำการประมง ซึ่งเป็นเครื่องมืออนุรักษ์เต่าทะเลโดยมีช่องเปิดให้เต่าทะเลที่ติดเครื่องมือประมงสามารถ หลุดรอดออกไปได้ ปี พ.ศ. 2548 กุ้งไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นเสียแชมป์ให้กับอินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย เหตุเพราะญี่ปุ่นต้องการนำเข้ากุ้งกุลาดำ ขณะที่เกษตรกรไทยหันมาเลี้ยงกุ้งขาวกันมากเกิน

  24. ปี พ.ศ. 2548 การส่งออกสินค้ากุ้งของไทยขยายตัวดีขึ้น หลังจาก EU ได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(จีเอสพี, Generalized System of Preferencesการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าให้กับสินค้าที่ส่งมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา)ให้กับสินค้ากุ้ง และสินค้าอื่นๆ รวม 300 รายการ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ส.ค.48ที่ผ่านมา ส่งผลให้การส่งออกสินค้ากุ้งของไทยช่วง เดือน ส.ค.-ธ.ค.48 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 76% มูลค่าขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 58.61 และ 37.26% ตามลำดับ • ปี 2549กุ้ง มูลค่าส่งออกไปสหรัฐอเมริกามากที่สุดสัดส่วน 47.84 และ 48.11% ตามลำดับ รองลงมาเป็นตลาดญี่ปุ่นสัดส่วนปริมาณ และมูลค่า 19.59 และ 22.34% ตามลำดับ ขณะที่ด้านอัตราการขยายตัวของการส่งออกช่วงเดือนแรกของปีนี้ในภาพรวมทุกตลาดขยายตัวด้านปริมาณ และมูลค่า 4.90 และ 8.04% ตามลำดับ

  25. ปัญหาปัจจุบัน • ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น • สายพันธุ์กุ้งในธรรมชาติที่คุณภาพต่ำลง • การใช้ยาปฏิชีวนะในโรงเพาะฟักที่มากเกินไป • อุบัติการของเชื้อไวรัส กุ้งไม่โต

  26. ปี พ.ศ. 2549 ปริมาณการส่งออกกุ้งในช่วงต้นปีส่งลดลง เนื่องจากปัญหาในการเลี้ยง เช่น ต้นทุนในการเลี้ยงสูง อาหารกุ้งมีราคาแพง น้ำมันแพง และราคากุ้งตกต่ำ • จังหวัดสงขลา เกิดภาวะ ลานิญา ความเค็มของน้ำทะเลลดลง ทำให้สัตว์น้ำจืดน้ำกร่อยเพิ่มขยายพันธุ์ขึ้นมาก ส่วนสัตว์น้ำทะเลเค็ม จับได้น้อยมากลดลงกว่าร้อยละ 50 • คู่แข่ง 32 ประเทศทั่วโลกกำลังพัฒนาศักยภาพการผลิตกุ้งของตัวเองอย่างหนัก ทั้งด้วยการวิจัย เทคโนโลยี และมาตรการสนับสนุนจากรัฐขณะนี้เวียดนามสามารถผลิตกุ้งที่มีคุณภาพสูงและราคาถูกกว่าประเทศไทย และยังได้รับความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศต่างๆ จนประกาศศักดาว่าจะขึ้นเป็นที่ 1 แซงประเทศไทยในปี พ.ศ. 2549

  27. การแก้ปัญหา • มาตรฐานการจัดการการเพาะเลี้ยงกุ้งแบบ COC (Code of Conduct) ของกรมประมง • มาตรฐานฟาร์มผลิตกุ้งคุณภาพ (GAP) ของสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย • การลงนามซื้อขายผลผลิตกุ้งคุณภาพระหว่างสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งฯ และห้องเย็นต่างๆ • การออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ (Movement Document) ของกรมประมงอันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบที่สามารถตรวจสอบได้ (Traceability),  • โครงการสร้าง Brand name ให้กับกุ้งไทย ของสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp) • การวิจัยจะนำไปสู่การลดความจำเป็นในการใช้ยาและสารเคมีในการการเลี้ยงกุ้ง • พัฒนาสายพันธุ์กุ้งที่มีความต้านทานโรคปลอดโรคและโตเร็ว • การวิจัยการเลี้ยงกุ้งในระบบความเค็มต่ำได้สำเร็จ

  28. สถานการณ์การค้าปลาทูน่าและปลาอื่นๆสถานการณ์การค้าปลาทูน่าและปลาอื่นๆ • สถานการณ์การค้าปลาทูน่าไทย นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่ของโลก ได้แก่ Yellow fin , • Skipjack, Albacore • แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มัลดีฟ และสหรัฐอเมริกา • ส่วนปลาทูน่าของไทย เป็นชนิดปลาโอลายและโอดำ • ผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่าที่สำคัญคือ ทูน่ากระป๋อง • ตลาดหลักของทูน่ากระป๋องไทย ได้แก่สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร • และออสเตรเลีย • จุดอ่อนของไทยคือ วัตถุดิบในการผลิต กว่าร้อยละ 80 มาจากการนำเข้า 2) ปลาแล่เป็นชิ้น - ปลาแล่เป็นชิ้น เช่น ปลา Alaska pokkack ปลา Hoki นำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปและ แช่แข็งส่งออก ส่วนวัตถุดิบของไทย เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาสวาย (Catfish) และ ปลานิล ส่งออกในรูปของปลาแล่ ไปยังตลาดญี่ปุ่น อเมริกา ส่วนตลาดกลุ่มตะวันออกกลาง นิยมซื้อปลาสดทั้งตัวแช่เย็น แช่แข็ง

  29. ปลาป่นใช้เป็นอาหารสัตว์ ประเทศที่ผลิตปลาป่นมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ เปรู ชิลี • กลุ่มทวีปยุโรป นอร์เวย์ เดนมาร์กและไอซ์แลนด์ ส่วนประเทศไทย • มีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศเหล่านี้

  30. ปัญหาในการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ปัญหาในการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

  31. 1.3 ปัญหาในการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ 1.3.1 ปัญหาภายในประเทศ 1) ปัญหาต้นทุนการผลิต 2) ปัญหากฎระเบียบในการส่งออก 3) ปัญหาในการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเลี้ยงสัตว์น้ำ 4) ปัญหาการปนเปื้อนในอาหาร 5) ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ การจับสัตว์น้ำ : รุนแรงมากในปี 2551 6) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

  32. 6. การใช้ประโยชน์และปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาการจับสัตว์น้ำ  - การประมงโดยใช้เครื่องมือผิดกฎหมายในพื้นที่ทั่วไป ระเบิดปลายาเบื่อ    - การประมงโดยใช้เครื่องมือถูกกฎหมายแต่ทำในพื้นที่อนุรักษ์ อวนลากอวนตะเกียงลอบน้ำลึกตกปลาและจับสัตว์น้ำ    - การประมงโดยใช้เครื่องมือผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ เป็นผลจากการประมงทั้งสองรูปแบบเช่น ระเบิดปลาในเขตอุทยานแห่งชาติ

  33. - แนวปะการังที่โดนพายุ- แนวปะการังที่มีการประมงประเภทอวน- แนวปะการังที่มีการจับสัตว์น้ำเฉพาะชนิด ปัญหาแนวปะการังที่เสื่อมโทรม

  34. เปิดปมทุกข์จาก‘โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังเปิดปมทุกข์จาก‘โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง หลังจากปิดประตูระบายน้ำ อุทกภาชประสิทธิ์ ในปี 2542 เพียง 2 – 4 ปี พันธุ์สัตว์น้ำสูญหายไปแล้วอย่างน้อย 64 ชนิด นครฯ พัทลุง สงขลา

  35. สถานการณ์ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถานการณ์ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สภาพปัญหาของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด - การขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์หรือสัตว์น้ำ - ปัญหาระบบน้ำและสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง - ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ความแห้งแล้งซ้ำซาก น้ำท่วม โรคสัตว์น้ำระบาด - ปัญหาการตลาดผลผลิตสัตว์น้ำจืด ที่จำกัดอยู่ในระดับท้องถิ่นหรือ เกษตรกรไม่สามารถปรับตัวหรือปรับแผนการผลิต ให้สอดคล้องกับอุปสงค์ของตลาดได้

  36. 2) สภาพปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง • การเกิดโรคระบาดในการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ • สภาวะแวดล้อมเสื่อมโทรมปล่อยน้ำทิ้งทำลายสมดุลของระบบนิเวศ • การขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล • ด้านการค้าการตัดสิทธิ GSP) • การใช้ยาและสารเคมีในระหว่างการเลี้ยงที่เกินความจำเป็น • ทำให้เชื้อโรคบางชนิด เช่น แบคทีเรียกลุ่ม Vibrio ดื้อยา • และการตกค้างของยาและสารเคมีในสินค้าและผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลส่งออก • โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะกลุ่ม Oxytetracyclin  และ Oxolinic acid   

  37. ปัญหาสารปนเปื้อนในอาหารปัญหาสารปนเปื้อนในอาหาร • Malachite green: สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ได้ตรวจพบสารตกค้างดังกล่าวในสินค้ากุ้งและปลาน้ำจืดส่งออกของไทย สารดังกล่าวถือเป็นสารต้องห้ามไม่อนุญาตให้ใช้ในสินค้าสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค อันตราย 1. เป็นสารที่ก่อให้เกิดกลายพันธุ์ (Mutagenic) โดยทำให้ไข่ของปลาที่แช่ด้วยสารชนิดนี้มีการพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนอย่างไม่สมบูรณ์ 2. เป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogenic) ในสัตว์ทดลอง 3. Commission Regulation No. 2002/657/EC กำหนด ค่าต่ำสุดของสาร Malachite green ที่ระดับ 2 Mg / Kg

  38. ปัญหายาตกค้างในกุ้งกุลาดำ (2545) • ยาตกค้างในกุ้งกุลาดำที่ส่งไปขายยังประเทศในสหภาพยุโรป • พบไนโตรฟูราน และคลอแรมฟินิคอลในอาหารกุ้ง • คลอแรมฟินิคอลในกุ้งกุลาดำส่งออก • กรมประมงตรวจก่อนส่งออก 100% • ปริมาณที่เกินกว่า 0.3 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) จะไม่อนุญาตให้ส่งออก

  39. เอเชียประสบปัญหาปริมาณปลาและสัตว์น้ำลดลงเอเชียประสบปัญหาปริมาณปลาและสัตว์น้ำลดลง มากที่สุดในโลก(2007) ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค ไม่เป็นแต่เพียงแหล่งที่มาของปลาและสัตว์น้ำอื่นๆที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งบริโภคอาหารทะเลใหญ่ที่สุดในโลกด้วย ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าปลามากที่สุดในโลกในแง่ของมูลค่า ในขณะที่จีนเป็นผู้นำเข้าปลามากที่สุดในแง่ของปริมาณ องค์การอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติประมาณว่าปริมาณปลาและสัตว์น้ำในทะเลทั่วโลกลดลงไปสามในสี่เนื่องมาจากการประมงและว่าการจับสัตว์น้ำอย่างไม่เลือกหน้าและไม่ลดละยังทำลายความหลากหลายของสัตว์น้ำในทะเลในหลายๆส่วนของโลกด้วย

  40. สัตว์น้ำไทยอึ้งฉลากมีปัญหา -มะกันส่งกลับ(2005) เหตุผู้ส่งออกไม่เข้าใจระเบียบในการติดฉลากสินค้า ระบุต้องเปิดเผยข้อมูลแหล่งสินค้าให้ชัดสินค้าสัตว์น้ำส่งออกไปสหรัฐ ถูกตีกลับมากถึง 29 ชิพเมนท์ - เนื่องจากผู้ส่งออกจำนวนมาก ยังไม่รับทราบข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบและข้อปฏิบัติในการติดฉลากสินค้าสัตว์น้ำ (8 กลุ่ม ที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดภูมิแพ้ รวมทั้ง สัตว์น้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง )- กำหนดให้ติดฉลากภาคบังคับ ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าสัตว์น้ำ ให้ผู้บริโภค เลือกซื้ออาหารจากประเทศที่เชื่อถือได้ว่ามีระบบการควบคุมสุขอนามัยที่ดี

  41. ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย ( มีนาคม 2550 ) • 1. คู่แข่ง: ผู้ผลิตกุ้งส่วนใหญ่มีนโยบายเพิ่มผลผลิตมากขึ้นในปีนี้ • ประเทศที่มีโอกาสเพิ่มผลผลิตมากได้แก่ • อินโดนีเซีย ที่ขยายกำลังการผลิตเต็มที่ • เวียดนามหากสามารถทำลูกพันธุ์กุ้งให้มากขึ้น ก็จะได้ผลผลิตมากขึ้นเช่นกัน • จีน ได้รับการกระตุ้นจากตลาดภายในที่เข้มแข็ง และมีเงินส่งเสริมจากภาครัฐให้แก่ผู้ส่งออก • มาเลเซีย มีการขยายฟาร์มเพิ่มมากขึ้นและปรับการเลี้ยงจากกุ้งดำเป็นกุ้งขาว • 2. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เช่น อเมริกา • 3. ราคาวัตถุดิบแพงขึ้น: ทำให้กุ้งโตช้า • 4. ส่วนปัญหาใหญ่ด้านการตลาดของสินค้าไทยคือการไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง

  42. การแก้ปัญหากุ้งไทย ปี 50 • ลดความเสี่ยงของต้นทุนแฝงให้ได้มากที่สุด (เรื่องความเสียหายที่เกิดจากการเลี้ยง) • สร้างระบบธุรกิจกุ้งกุลาดำขึ้นมาเป็นโครงการเฉพาะ(เวียดนามถอย..) • หาตลาดใหม่ๆ อย่างรัสเซีย หรือญี่ปุ่น ที่ยังมีโอกาสโตได้อีก • ผู้เลี้ยง ต้องพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ลดต้นทุนการผลิตให้สู้คู่แข่งได้ • มีจังหวะการเลี้ยงรวมทั้งการทำไซซ์ที่เหมาะสม พร้อมที่จะชะลอการจับขาย • ในบางเวลาเพื่อให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้น • รัฐผลักดันให้ผู้ผลิตมีแบรนด์เป็นของตนเองในการส่งออก • การทำคอนแทรกฟาร์มมิ่งกับห้องเย็น การรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์

  43. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Generalized System of Preferences : GSP โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าให้กับสินค้าที่ส่งมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้สิทธิจีเอสพี ณ ปัจจุบัน มี 8 ประเทศ และสหภาพยุโรป

More Related