350 likes | 692 Views
ประชุมคณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต เรื่องแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) ของกรมส่งเสริมการเกษตร. กรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 11 มิถุนายน 255 6. ระเบียบวาระการประชุม คณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
E N D
ประชุมคณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตเรื่องแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) ของกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 11 มิถุนายน 2556 Your slide title – Month 2013
ระเบียบวาระการประชุม คณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต วันที่ 11 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 2 • ระเบียบวาระที่ 1เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ • 1.1 หนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ด่วนที่สุด ที่ นร 1205.3/801 ลงวันที่ 11 เมษายน • 2556 เรื่องการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต • 1.2 คำสั่งกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ 411/2556 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต • ระเบียบวาระที่ 2เรื่องเพื่อทราบ • 2.1 ผลการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified FL) • ประจำปี พ.ศ. 2556 ของกรมส่งเสริมเกษตร • 2.2 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2556 – พ.ศ. 2561) • ระเบียบวาระที่ 3เรื่องเพื่อพิจารณา • 3.1 ร่างแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) • ของกรมส่งเสริมการเกษตร • ระเบียบวาระที่ 4เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) 2.3 แนวทางการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan )
ระเบียบวาระที่ 1เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 หนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ด่วนที่สุด ที่ นร 1205.3/801 ลงวันที่ 11 เมษายน 2556 เรื่องการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 เห็นชอบกับแนวทางและมาตรการที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐทั้งระดับกรม จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตขององค์การ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในภารกิจหลักหรืองานบริการที่สำคัญได้อย่างต่อเนื่อง แม้เกิดสภาวะวิกฤตตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการดำเนินการให้แก่หน่วยงานของรัฐ จัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องขององค์ ภายในเดือน มิ.ย. 2556 นำแผนบริหารความต่อเนื่องขึ้นบนเว็บไซต์ ภายในเดือน มิ.ย. 2556 ทดสอบ ซักซ้อม และปรับปรุงแผน ภายในเดือน ส.ค. 2556 โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะติดตามผลการดำเนินการบริหารความพร้อม ต่อสภาวะวิกฤตของหน่วยงานในเดือนกันยายน 2556 เพื่อจัดทำรายงานเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
1.2 คำสั่งกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ 411/2556 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2556 • เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 1.รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายบริหาร ประธานคณะทำงาน 2.ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร คณะทำงาน 3.ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร คณะทำงาน 4.ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะทำงาน 5.ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเกษตรกร คณะทำงาน 6.ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ คณะทำงาน 7.ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร คณะทำงาน 8.ผู้อำนวยการกองแผนงาน คณะทำงาน 9.ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ คณะทำงาน 10.ผู้อำนวยการกองคลัง คณะทำงาน 11.ผู้อำนวยการกองพัฒนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะ คณะทำงาน 12.เลขานุการกรม คณะทำงาน 13.ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน คณะทำงาน 14.ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน คณะทำงาน 15.ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิศวกรรมเกษตร คณะทำงาน 16.ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร คณะทำงานและเลขานุการ 17.นางสาวรัตนาพร เลิศชู กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ 18.นายสุรศักดิ์ คำแท้ สำนักงานเลขานุการกรม คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่คณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต • ศึกษาทำความเข้าใจองค์การ พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยง ที่คาดว่าอาจกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจหลักหรืองานบริการที่สำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตรในทุกๆ ด้าน • ๒. กำหนดแนวทาง กลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง และกำกับดูแลการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้กรมส่งเสริมการเกษตรสามารถดำเนินงานให้บริการกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในช่วงเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ในระยะเวลาอันสั้น • 3. ติดตาม ประเมินผล และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงและทบทวนแผนบริหารความต่อเนื่อง • 4. สื่อสาร ทำความเข้าใจ ให้บุคลากรภายในหน่วยงาน มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และมีความพร้อมเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต โดยบุคลากรสามารถดำเนินการให้บริการในยามที่เกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้ • 5. แต่งตั้งคณะทำงานย่อยเพิ่มเติมตามความเหมาะสม • 6. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรมอบหมาย
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ 2.1 ผลการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certified FL) ประจำปี พ.ศ. 2556 ของกรมส่งเสริมเกษตร กรมเข้ารับการตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ระดับพื้นฐานจากสำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 ก.พ.ร. แจ้ง กรมผ่านเกณฑ์การตรวจรับรองมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.06 มีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุงจากผู้ตรวจประเมิน 2 ประเด็น ควรมีกระบวนการในการประเมิน และปรับปรุงวิธีการรับฟัง และเรียนรู้ความต้องการ ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรมีกระบวนการทบทวนแผนสำรองฉุกเฉิน อย่างสม่ำเสมอ คณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตดำเนินการ คณะทำงานการรับฟังความคิดเห็น และข้อร้องเรียนดำเนินการ
2.2 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2556 – พ.ศ. 2561)
ส่งเสริมให้บุคลากรของส่วนราชการมีความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบวิธีการและขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือ
สภาวะวิกฤต มีอะไรบ้าง 2.3 แนวทางการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan ) ไฟฟ้าดับในวงกว้าง แผ่นดินไหว สึนามิ ไฟป่า ดินถล่ม องค์กร / หน่วยงาน โรคระบาด ก่อการร้าย พายุใต้ฝุ่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ชุมนุมประท้วง / จลาจล ระเบิด
ความเป็นมาการบริหารความต่อเนื่องความเป็นมาการบริหารความต่อเนื่อง จากการที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์อุทกภัยรุนแรง ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน - เดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้พบว่าระบบและกลไกของรัฐหลายประการมีปัญหาโดยไม่สามารถดำเนินภารกิจในสภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปโดยขาดระบบการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นบทเรียนอันสำคัญที่ทุกส่วนราชการต้องนำมาปรับกระบวนการทำงานใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริการประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าภารกิจหลักของราชการหรืองานบริการประชาชนที่สำคัญ สามารถดำเนินงานหรือให้บริการได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลงแม้ว่าจะประสบกับวิกฤตการณ์หรือภัยพิบัติต่าง ๆ Your slide title – Month 2013
วัตถุประสงค์การบริหารความต่อเนื่องวัตถุประสงค์การบริหารความต่อเนื่อง - เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องของการ ปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤต - เพื่อให้หน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือ กับสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น- เพื่อลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงาน เช่น ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การเงิน การให้บริการ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน - เพื่อบรรเทาความเสียหายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ Your slide title – Month 2013
มติ ค.ร.ม.เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 เห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา หน่วงานที่ต้องดำเนินการ จังหวัด อปท. องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ • จัดประชุมให้ความรู้เรื่อง “การบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต” • คณะทำงานฯของส่วนราชการ จัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน • หน่วยงานดำเนินตามแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต รวมถึงติดตามประเมินผล ทบทวน ปรับปรุง สื่อสารสร้างความเข้าใจ ให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการตามพันธกิจ และผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง • หน่วยงานปรับปรุงแผนบริหารความต่อเนืองให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ 1. สร้างความรู้-เข้าใจให้ส่วนราชการ 2. การเตรียมความพร้อมให้ส่วนราชการ 4 ขั้นตอน 3. ซักซ้อมแผนและนำไปปฏิบัติจริง 4. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการจัดทำการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตตามมติครม.แนวทางการจัดทำการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตตามมติครม. Your slide title – Month 2013
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 1. การบริหารโครงการจัดการความต่อเนื่อง (BCM Programme Management) เป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นขั้นตอนการจัดทำกรอบนโยบายและ โครงสร้างการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาถึงเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ โดยการวิเคราะห์โครงสร้างฯ อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน อำนาจ หน้าที่ของส่วนราชการ โครงสร้างการของส่วนราชการ ผู้บริหาร กระบวนการ/งาน ของส่วนราชการ หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(กระบวนการสำคัญ) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(กระบวนการสำคัญ) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(กระบวนการสำคัญ) หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง(กระบวนการสำคัญ) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 2. การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร (Understanding the Organization) วิเคราะห์ความเสี่ยง/ ภัยคุกคาม (Risk Assessment) จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร ไฟฟ้าดับในวงกว้าง แผ่นดินไหว สภาวะที่จะส่งผลผลกระทบ ต่อส่วนราชการ โรคระบาด ก่อการร้าย พายุใต้ฝุ่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ชุมนุมประท้วง / จลาจล ระเบิด โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 2. การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร (Understanding the Organization) วิเคราะห์ความเสี่ยง/ ภัยคุกคาม (Risk Assessment) จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานใน 5 ด้าน ดังนี้ • ผลกระทบด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงานหลัก: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สถานที่ปฏิบัติงานหลักของหน่วยงาน ได้รับความเสียหายและส่งผลให้บุคลากรไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ในช่วงระยะแรก หรือระยะกลาง หรือระยะยาว • ผลกระทบด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ/การจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือไม่สามารถจัดหาจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ • ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้ระบบงานเทคโนโลยี หรือระบบสารสนเทศ หรือเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญในการปฏิบัติงานได้ • ผลกระทบด้านบุคลากรหลัก: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บุคลากรหลักไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ • ผลกระทบด้านคู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้คู่ค้า/ผู้ให้บริการแก่หน่วยงาน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สามารถที่จะให้บริการหรือส่งมอบงาน เพื่อให้หน่วยงานใช้ในการปฏิบัติงานได้ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ตัวอย่างการวิเคราะห์กระบวนการสร้างคุณค่าของหน่วยงานตัวอย่างการวิเคราะห์กระบวนการสร้างคุณค่าของหน่วยงาน Your slide title – Month 2013
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 2. การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร (Understanding the Organization) การวิเคราะห์ความเสี่ยง/ ภัยคุกคาม (Risk Assessment) ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบจากภัยต่อทรัพยากร 5 ด้าน โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis – BIA) Your slide title – Month 2013
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 3. การกำหนดแนวทาง/กลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง ของการดำเนินงาน(Determining BCM Strategy) ตัวอย่างแนวทาง/กลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 4. การพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน (Developing and Implementing BCM Repose) • เป็นขั้นตอนการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานสามารถตอบสนองต่อสภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานต้องหยุดชะงัก หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้ • กำหนดโครงสร้างและทีมบริหารความต่อเนื่อง (จัดทำและบริหารแผนความต่อเนื่อง) • กำหนดกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Call Tree) • กำหนดแนวทางการบริหารความต่อเนื่อง • ภายใน 24 ชั่วโมง • ภายใน 7 วัน • ระยะเวลาเกิน 7 วัน • รวบรวมข้อมูลและรายละเอียดไว้ในแผนบริหารความต่อเนื่อง โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 4.1 กำหนดโครงสร้างและทีมบริหารความต่อเนื่อง • หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนื่อง – ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน • ทีมบริหารความต่อเนื่อง – ผอ.กอง/สำนัก • ผู้ประสานงานทีมบริหารความต่อเนื่อง - หน้าที่ในการติดต่อและประสานงานภายในหน่วยงานและให้การสนับสนุน หัวหน้าทีมบริหารความต่อเนือง (หัวหน้าสำนักงาน...) ผู้ประสานงานทีมบริหารความต่อเนือง ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) ทีมบริหารความต่อเนื่อง (ผอกอง/สำนัก) โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 4.2 กำหนดโครงสร้าง Call Tree กระบวนการ Call Tree คือ กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉินให้กับสมาชิกในคณะบริหารความต่อเนื่องและทีมงานบริหารความต่อเนื่องตามรายชื่อที่ปรากฏในตารางข้อมูลรายชื่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบริหารจัดการในการติดต่อบุคลากรของหน่วยงาน ภายหลังจากมีการประกาศสภาวะวิกฤต โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 4.3 กำหนด แนวทางการบริหารความต่อเนื่อง การกำหนดแนวทางการบริหารความต่อเนื่องในช่วงเกิดเหตุในระยะสั้น และการกลับคืนในระยะกลาง การบริหารความต่อเนื่องและกอบกู้กระบวนการ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนตามระยะเวลา ดังนี้ 4.3.1 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที ภายใน 24 ชั่วโมง 4.3.2 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในระยะแรก ภายใน 7 วัน 4.3.3 การตอบสนองต่อเหตุการณ์และกู้คือกระบวนการปฏิบัติงานในระยะเวลาเกิน 7 วัน โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน • 4.3.1 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ทันที ภายใน 24 ชั่วโมง • ติดตาม สอบถาม และประเมินเหตุฉุกเฉิน/วิกฤติ กับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการตามแผนการจัดการอุบัติการณ์ (Incident Management Plan) ขององค์กร เพื่อประเมินความจำเป็นในการประกาศใช้แผนบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน • แจ้งเหตุฉุกเฉิน/วิกฤติ ตามกระบวนการ Call Tree ให้กับบุคลากรหลักและคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงาน เพื่อประชุม รับทราบ และประเมินความเสียหายและผลกระทบต่อการดำเนินงานและการให้บริการ และทรัพยากรสำคัญที่ต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง รวมทั้งการสรุปจำนวนและรายชื่อบุคลากรในหน่วยงานที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต • พิจารณากระบวนงาน/งานที่มีความเร่งด่วน และส่งผลกระทบอย่างสูงต่อการดำเนินงานหรือให้บริการของหน่วยงาน เพื่อให้มีการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่องและทรัพยากรที่ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถใช้ในการปฏิบัติงานได้ • รายงานความเสียหายและความคืบหน้าให้คณะบริหารความต่อเนื่องขององค์กรและส่วนกลางให้ทราบและขออนุมัติดำเนินการในขั้นตอนต่อไป • แจ้งเหตุฉุกเฉิน/วิกฤติ ตามกระบวนการ Call Tree ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อรับทราบขั้นตอนในการปฏิบัติต่อไป โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน • 4.3.2 การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในระยะแรก ภายใน 7 วัน • ติดตามสถานะภาพการกอบกู้คืนมาของทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบ และประเมินความจำเป็นและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการกอบกู้คืน • ติดตามการจัดหาทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องใช้ในการบริหารความต่อเนื่อง ได้แก่ • สถานที่ปฏิบัติงานสำรอง • วัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ • เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ • บุคลากรหลัก • และคู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • กำหนดให้ฝ่ายงาน/ส่วนงาน เจ้าของกระบวนการสำคัญที่ได้รับผลกระทบกลับมาดำเนินงานและให้บริการ (ชั่วคราว ตามแนวทางการบริหารความต่อเนื่อง) • รายงานความคืบหน้าให้คณะบริหารจัดการวิกฤตขององค์กรและส่วนกลาง ตามที่ได้กำหนดไว้ โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน • 4.3.3 การตอบสนองต่อเหตุการณ์และกู้คือกระบวนการปฏิบัติงานในระยะเวลาเกิน 7 วัน • ติดตามสถานะภาพการกู้คืนมาของทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบ และประเมินระยะเวลาที่ต้องใช้ในการกลับมาดำเนินงานหรือให้บริการได้ตามปกติ • ทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบและเสียหายจนไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก เป็นหน้าที่ของคณะบริหารความต่อเนื่องของหน่วยงานที่ต้องพิจารณาและจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นมาใช้เพื่อดำเนินงานและให้บริการได้ตามปกติทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ • ด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงาน - ซ่อมแซมและ/หรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ • ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ - ซ่อมแซมหรือจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ได้รับความเสียหาย • ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ - ประสานงานกับหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการกู้คืนข้อมูลสารสนเทศ • ด้านบุคลากรหลัก - สำรวจบุคลากรที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถกลับมาปฏิบัติงาน เพื่อสรรหาบุคลากรทดแทนชั่วคราว • คู่ค้า/ผู้ให้บริการที่สำคัญ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย - สรรหาคู่ค้า/ผู้ให้บริการรายใหม่ สำหรับสินค้าและ/หรือบริการสำคัญที่ได้รับผลกระทบ ทดแทนคู่ค้า/ผู้ให้บริการที่ไม่สามารถกลับมาดำเนินงานได้อีก • รายงานความคืบหน้าให้คณะบริหารจัดการวิกฤตขององค์กรและส่วนกลาง โครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 5. การทดสอบ ปรับปรุง และทบทวนแผน (Exercising Maintaining and Reviewing) • เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (BCM) ที่ได้จัดทำขึ้นสามารถใช้ได้จริง รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อม ตลอดจนตรวจสอบความสามารถของบุคลากร และประสิทธิภาพของแผนในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ โดยรูปแบบการทดสอบ เช่น • Call Tree คือการซ้อมการแจ้งเหตุฉุกเฉินให้กับสมาชิกทีมงานที่เกี่ยวข้องตามผังรายชื่อทางโทรศัพท์ Your slide title – Month 2013
แนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต 6 ขั้นตอน 6. การปลูกฝัง BCM ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร (Embedding BCM in the Organization’s Culture) การทำให้ BCM ผสมกลมกลืนเข้าจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและจิตวิทยาที่จะทำให้บุคลากรทุกคนได้ ซึมทราบและเข้าใจถึงความสำคัญของ BCM ตลอดจนบทบาทหน้าที่ที่ทุกคนพึงมีเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหรือการให้บริการประชาชนที่สำคัญสามารถดำเนินต่อไปได้ในยามที่เกิดเหตุวิกฤต Your slide title – Month 2013
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา 3.1 ร่างแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP) ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1. ให้กอง/สำนักจัดตั้งคณะทำงานการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตภายในหน่วยงาน 2. ให้กอง/สำนักการจัดทำรายงานการวิเคราะห์และส่ง กพร. ตามแบบฟอร์ม 1-15ภายในวันที่ 24 มิถุนายน 2556 3. กพร. รวบรวมข้อมูลและจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (BCP)เพื่อเสนอคณะกรรมการ และนำขึ้นเว็บไซต์ต่อไป 30
ระเบียบวาระที่ 4เรื่องอื่นๆ
จบการนำเสนอ Your slide title – Month 2013
การบริหารความต่อเนื่อง หรือ Business Continuity Management (BCM) คือ องค์รวมของกระบวนการบริหารซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามต่อองค์กร และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล ความหมาย ความสำคัญ การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต หากเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆขึ้นอาจส่งผลกระทบให้หน่วยงานไม่สามารถดำเนินงาน หรือให้บริการได้ตามปกติ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่หน่วยงานต้องจัดทำแผนความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan -BCP) เพื่อเตรียมพร้อมรับภัย Your slide title – Month 2013