230 likes | 300 Views
การนำเสนอ ผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้วยวาจา (ประเมินซ้ำ) 23 กุมภาพันธ์ 2554. รายชื่อคณะกรรมการ. รองศาสตราจารย์ ประดิษฐ์ มีสุข ประธานประเมินคุณภาพภายนอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดิ์มน นครินทร์ กรรมการประเมินคุณภาพภายนอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ อติศัพท์ กรรมการประเมินคุณภาพภายนอก
E N D
การนำเสนอผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้วยวาจา(ประเมินซ้ำ)23 กุมภาพันธ์ 2554
รายชื่อคณะกรรมการ รองศาสตราจารย์ประดิษฐ์ มีสุข ประธานประเมินคุณภาพภายนอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดิ์มน นครินทร์ กรรมการประเมินคุณภาพภายนอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ อติศัพท์กรรมการประเมินคุณภาพภายนอก นางกันยปริณ ทองสามสี เลขานุการประเมินคุณภาพภายนอก
ผลการประเมินคุณภาพภายนอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ประเมินซ้ำ)
แนวปฏิบัติที่ดี ระบบการอยู่ร่วมกันแบบเอื้ออาทรของบุคลากรภายในคณะ การพัฒนานักศึกษาและกิจกรรมพิเศษเน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต จุดเด่น 1. ความพึงพอใจบัณฑิตในการปฏิบัติงาน ความอดทน คุณธรรมและจริยธรรม 2. ศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลทางวิชาชีพ วิชาการ และคุณธรรมจริยธรรม 3. การตีพิมพ์บทความวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาในวารสารระดับชาติ
มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต (ต่อ) จุดที่ควรพัฒนา • การพัฒนาทางภาษาไทยและต่างประเทศให้นักศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์ทางวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ • การส่งเสริมการตีพิมพ์งานวิจัยทั้งจากวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ • การพิจารณาตลาดแรงงานในแต่ละสาขาที่เปิดสอน และปรับแผนการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต (ต่อ) โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา • หลายสาขาวิชาสามารถนำไปสู่อาชีพอิสระได้ เช่นศิลปะ ภาษาต่างประเทศ ควรส่งเสริมให้นักศึกษามีเจตคติและทักษะด้านนี้ด้วย • งานวิจัยวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
มาตรฐานที่ 2 ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ จุดเด่น • คณาจารย์ในคณะมีศักยภาพในการผลิตผลงานสร้างสรรค์ และส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรม • ได้รับงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ภายนอกสถาบันจำนวนมาก • มีอาจารย์ทำวิจัยและงานสร้างสรรค์โดยได้รับทุนวิจัยภายในและภายนอกจำนวนมาก ร้อยละ 56 และ 23 ตามลำดับ
มาตรฐานที่ 2 ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (ต่อ) จุดที่ควรพัฒนา • ควรพัฒนางานสร้างสรรค์ของอาจารย์เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการเทียบเคียงงานวิจัย • ควรพัฒนางานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้นตามกรอบทิศทางของคณะและมหาวิทยาลัย
มาตรฐานที่ 2 ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (ต่อ) โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา • ควรพัฒนาวารสารวิจัยของมหาวิทยาลัยเข้าสู่ฐาน TCI โดยเร็วเพื่อยกระดับคุณภาพการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาบัณฑิตศึกษา • ควรเพิ่มการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของคณะและมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น
มาตรฐานที่ 3 ด้านบริการวิชาการ จุดเด่น • คณะได้ดำเนินการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องและมีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน และกลุ่มประชากรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี • กลุ่มผู้รับบริการวิชาการในพื้นที่พหุวัฒนธรรมมีความพึงพอใจ และให้ความสนใจในบริการวิชาการที่จัดให้อย่างยิ่ง จุดที่ควรพัฒนา -
มาตรฐานที่ 3 ด้านบริการวิชาการ (ต่อ) โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา การให้บริการวิชาการที่มีค่าใช้จ่ายสูง ควรได้จัดเก็บค่าบริการวิชาการ เพื่อให้คณะมีรายได้มาเสริมรายจ่ายของการบริการวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้พัฒนาศักยภาพการบริการวิชาการของคณะให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
มาตรฐานที่ 4 ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จุดเด่น คณะได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอสำหรับจัดกิจกรรมและโครงการเพื่อทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมาก และต่อเนื่องทั้งปี โดยมีนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนและหน่วยงานภายนอกเข้าร่วมอย่างเต็มใจและให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านนี้อย่างดี จุดที่ควรพัฒนา -
มาตรฐานที่ 4 ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คณะควรสำรวจสืบค้นจัดกิจกรรมรื้อฟื้นส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น/ชุมชนที่มีอยู่ แต่กำลังจะสูญหายไป เพราะคนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก เพื่อให้ชุมชน/สังคมได้เรียนรู้ ซาบซึ้ง และชื่นชมอีก จะทำให้คณะได้รับการยอมรับจากชุมชนและพื้นที่ในการเป็นผู้ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างดี
มาตรฐานที่ 5 ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร จุดเด่น • ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนพันธกิจ สามารถสะท้อนนโยบายและนำไปสู่เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี และมีผลการประเมินปฏิบัติงานโดยกรรมการที่แต่งตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยในระดับดีมาก (2.87) • มีการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกร่วมกันและมีผลการประหยัดงบประมาณจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับหน่วยงานอื่น
มาตรฐานที่ 5 ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร(ต่อ) จุดที่ควรพัฒนา มีการพัฒนาศักยภาพฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร การเรียนการสอนและการวิจัย, e-Office, และระบบ MIS ใช้ร่วมกับมหาวิทยาลัย แต่ควรมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูลระดับคณะด้วย เพื่อนำมาปรับปรุงระบบฐานข้อมูล
มาตรฐานที่ 5 ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร(ต่อ) โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา • ควรปรับปรุงค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าให้ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน • ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น
มาตรฐานที่ 6 ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน จุดเด่น • หลักสูตรได้มาตรฐานตามที่ สกอ กำหนด • รางวัลและความโดดเด่น มีอัตลักษณ์ทางด้านศิลปะและงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา คณาจารย์
มาตรฐานที่ 6 ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน(ต่อ) จุดที่ควรพัฒนา • การพัฒนาคุณวุฒิ และตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ • การส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีความหลากหลาย สภาพแวดล้อมใหม่การเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ทั้งด้านรูปแบบการเรียนการสอน การบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนรู้ รวมถึงยกระดับคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ • การเน้น Authentic learning และ Authentic assessment • การขยายเวลาในการให้บริการด้านห้องปฏิบัติการ ห้องคอมพิวเตอร์ แก่นักศึกษา • สร้างแรงผลักและแรงจูงใจการเรียนรู้ และการใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือ โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
มาตรฐานที่ 6 ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน(ต่อ) โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ความร่วมมือกับสำนักวิทยบริการในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีเทคโนโลยีเป็นฐาน การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์เพื่อการเรียนรู้และการวิจัย
มาตรฐานที่ 7 ด้านการประกันคุณภาพ จุดเด่น คณะมีความตระหนักและความพยายามในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในคณะอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนากลไก กระบวนการ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร กระทั่งสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกในรอบที่สองของการะประเมินได้ จุดที่ควรพัฒนา -
มาตรฐานที่ 7 ด้านการประกันคุณภาพ(ต่อ) โอกาสในการพัฒนา/ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 1. คณะต้องมีกลไกให้บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาของคณะ ตามคู่มือและมาตรฐานของสมศ. 2. ต้องจัดระบบและกลไกการรวบรวมหลักฐานอย่างถูกต้องและครบถ้วน เพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองได้อย่างมีคุณภาพ 3. รายงานการประเมินตนเองควรเพิ่มการสรุปคะแนนอิงมาตรฐาน อิงพัฒนาการ และการบรรลุเป้าหมายในแต่ละตัวบ่งชี้ และเฉลี่ยผลการประเมินตอนท้ายแต่ละมาตรฐาน เพิ่มรายชื่อกรรมการประจำคณะในภาคผนวก รวมทั้งพิสูจน์อักษรและการใช้ภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะและทิศทางพัฒนา (เร่งด่วน) พัฒนาการบริการวิชาการแบบหารายได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบตามจุดเน้นของกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม เร่งพัฒนาอาจารย์ทั้งด้านคุณวุฒิปริญญาเอกและผลงานวิชาการอย่างเป็นระบบรายบุคคลและทำข้อตกลงร่วมกัน เร่งปรับสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าตามมาตรฐานสกอ.และสมศาสตราจารย์ที่กำหนด 1:25 โดยเพิ่มอาจารย์บางสาขาวิชา