660 likes | 1.13k Views
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce). อ.ชนิดา คำเพ็ง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. พัฒนาการจากการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป สู่ E-Commerce ในยุคปัจจุบัน. คนไทยช่วงที่ยังไม่รู้จักกับ E-Commerce เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำสินค้าหรือองค์กรของตนเอง
E N D
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) อ.ชนิดา คำเพ็ง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พัฒนาการจากการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปสู่ E-Commerce ในยุคปัจจุบัน • คนไทยช่วงที่ยังไม่รู้จักกับ E-Commerce • เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำสินค้าหรือองค์กรของตนเอง • ผู้คนยังไม่มีความเข้าใจ การขยายตัวของ E-Commerce จึงอยู่ในวงแคบๆ • การออกแบบเว็บไซต์เพื่อการค้ามีน้อย • ราคาอุปกรณ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาสูง • ไม่มีการเรียนการสอนเรื่องนี้โดยเฉพาะ
พัฒนาการจากการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปสู่ E-Commerce ในยุคปัจจุบัน • เว็บไซต์ที่บุกตลาด E-Commerce ในยุคแรกๆ • Thaigem.com • Pantip.com • Thai2hand.com • Amazon.com
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นเมื่อใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นเมื่อใด • การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EFT (Electronic Fund Transfer) ในสถาบันการเงิน และองค์กรขนาดใหญ่ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กได้นำ E-commerce มาใช้เพียงเล็กน้อย • ต่อมามีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเลกทรอนิกส์( Electronic Data Interchange : EDI) ช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น เนื่องจาก EDI มีค่าใช้จ่ายสูงจึงทำให้มีการใช้เฉพาะเครือข่ายธุรกิจรายใหญ่เท่านั้น • เมื่อเกิด World Wide Web พร้อมเบราเซอร์รุนแรกชื่อ Mosaic ในปี ค.ศ. 1993 พาณิชย์อิเลกทรอนิกส์จึงเป็นที่แพร่หลาย • ตั้งแต่ปี 1995 อินเตอร์เน็ตได้ถูกนำมาพัฒนา และประยุกต์ใช้กับหลากหลาย นวัตกรรมใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงการขายสินค้าเท่านั้น
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ผ่านทางอินเทอร์เน็ต • การค้า E-Commerce เป็นการซื้อ-ขายผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั่วโลกโดยใช้เว็บไซด์(Web Site)เป็นที่ตั้งของบริษัท มีโดเมนเนมเป็นชื่อร้านค้า และเว็บเพจ (Web page)เป็นสื่อกลางในการแสดงรายละเอียดของสินค้าและบริการ พร้อมราคา ตลอดจนถึงวิธีการขนส่ง และการชำระเงิน • ดังนั้นจำนวนผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและเว็บไซด์ที่มีคนรู้จักมาก จะมีผลต่อความสำเร็จในการค้าแบบ E-Commerce
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ณ เดือน มีนาคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,676,120,288 คน ข้อมูลจาก http://www.internetworldstats.com/
ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business)พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คืออะไร
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • E-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นชื่อที่ตั้งโดยสำนักงาน ECAPMOมีความหมายคือ “การติดต่อทำการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในการนำเสนอข้อมูลสินค้าต่างๆ”
ความหมาย e-Business • e-Business หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี ด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในทุกๆกระบวนการทำธุรกิจของ เช่น การประสานกันในองค์กร และการเชื่อมต่อกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วย อาทิ กับธนาคารโดยใช้ระบบ e-Banking หรือกับ Suppliers โดยอาศัยสื่อ ทั้งในรูปของ Internet,Intranet และ Extranet
สรุป E-Commerce กับ E-Business เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร มีคนจำนวนมากเข้าใจว่า E-Business ก็คือ E-Commerce ซึ่งในความจริงแล้วมีความหมายไม่เหมือนกัน โดยที่ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Businessซึ่งมีความหมายที่กว้างกว่า ความหมาย E-Businessการทำกิจกรรมทั้งหมดเกี่ยวกับการขาย การตลาด การผลิต การเงิน การบริหารบุคคล การสั่งซื้อวัตถุดิบ และกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด โดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์และเป็นตัวเชื่อมต่อในทุกกิจกรรมหรือขั้นตอนของธุรกิจ ในขณะที่ E-Commerce มีความหมายในส่วนของการซื้อ-ขาย สินค้าและบริการ เท่านั้น
ธุรกรรมอิเล็คทรอนิกส์ธุรกรรมอิเล็คทรอนิกส์ E-Business โครงข่ายโทรคมนาคม Telecommunication Networks การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วม Comunication and Collaboration การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce ระบบธุรกิจภายในองค์กร Internal Business System ภาพแสดงแบบจำลอง E-Business
ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การสั่งพิซซ่าทางโทรศัพท์ • การของบัตรชมภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ • การส่งข้อมูลใบขนสินค้าให้กรมศุลกากรผ่านระบบ EDI • การซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com
วงจรการทำการค้าแบบเดิมวงจรการทำการค้าแบบเดิม - ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้า - บริษัทผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค - การโฆษณาขายสินค้าให้ผู้บริโภคทราบ - จัดเตรียมส่งสินค้าไปตามสถานที่ ๆ ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้สะดวก - จัดทีมงานคอยดูแลบริการและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น - เงินที่ขายสินค้าได้วนกลับเข้าสู่บริษัท *** บริการหลังการขายมีความสำคัญ? *****
วงจรของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์วงจรของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ เข้าหาข้อมูล - ค้นหา การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ลูกค้า โฆษณาออนไลน์ สั่งซื้อโดยทั่วไป - ส่งทางออนไลน์ (For soft goods) - ส่งทางทั่วไป (For hard goods) การกระจายสินค้า การบริการลูกค้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ การขายซ้ำ
ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ - การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค - การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
กรอบการทำงานของ EC (Framework for EC) • หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า E-commerceเป็นเพียงแค่ Web siteหรือ Web portal เพื่อแสดงสินค้า แท้จริงแล้ว E-commerceมีมากกว่าที่กล่าวมาไม่ว่าจะเป็นการ Shopping onlineการหางาน การประมูล การร่วมมือของพันธมิตรในการวิจัย หรือพัฒนาโครงการ รวมถึงการแลกเปลี่ยน ข้อมูลต่าง ๆ
กรอบการทำงาน (E-commerce Framework) กรอบการทำงานแบ่งเป็น 4 ส่วน • ส่วนที่ 1 การประยุกต์ใช้ (E-Commerce Application) • การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Retailing : E-Retail) • การโฆษณา อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Advertising : E-Advertising) • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Auction : E- Auction) • การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Service : E- Service) • รัฐบาลอิเล็คทรอนิกส์(Electronic Government : Electronic Government) • โมบายคอมเมิร์ช(Mobile Commerce: M-Commerce)
กรอบการทำงาน (E-commerce Framework) ส่วนที่ 2 การสนับสนุน(E-Commerce Supporting) • คน (People) • นโยบายสาธารณชน • การตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ • พันธมิตรธุรกิจ • บริการสนับสนุนอื่น
กรอบการทำงาน (E-commerce Framework) ส่วนที่ 3 โครงสร้างพื้นฐาน(E-Commerce Infrastructure) • ระบบเครือข่าย(Network System) • ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) • การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา(Format and Content Publishing) • ระบบรักษาความปลอดภัยและระบบชำระเงิน(Security and Payment Systems) • ส่วนที่ 4 การจัดการ(E-Commerce Management) • แบบจำลองทางธุรกิจ
ปัจจัยที่ทำให้ E-Commerce ประสบความสำเร็จ การนำ E-commerceไปใช้ในธุรกิจจำเป็นต้องมีสารสนเทศที่ถูกต้อง มีโครงสร้างพื้นฐาน และมีระบบสนับสนุน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จมี 5 อย่างดังนี้ • คน (People)หมายถึง ผู้ขาย ผู้ซื้อ คนกลาง พนักงาน ITและอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง • นโยบายสาธารณชนหมายถึง กฎหมาย ภาษี และนโยบายหลักๆ ที่สำคัญ เช่น สิทธิส่วนบุคคล ที่ถูกกำหนดด้วยรัฐบาล ในที่นี้นโยบายจะรวมถึงมาตรฐานด้านเทคนิค และ โปรโตคอล (Protocol) • การตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ติดต่อกับลูกค้า และทำธุรกิจค้าขาย รวมถึงการมองหาตลาดแหล่งใหม่ ๆ และกลยุทธ์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ • พันธมิตรธุรกิจ E-commerceถูกนำมาใช้ในการบริหาร Supply Chain หรือ ระหว่างคู่ค้า และพันธมิตรทางการค้า • บริการสนับสนุนอื่น สิ่งสำคัญ คือการวิจัยตลาด การสร้างเนื้อหาและการบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ระบบการชำระ การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบรักษาความปลอดภัย
ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดประเภทของการดำเนินธุรกิจออกได้เป็นหลายรูปแบบคือแยกตามคู่ค้า • Business-to-Business (B2B) • Business-to-Consumer (B2C) • Consumer-to-Consumer (C2C) • Business-to-Government (B2G)
E-Commerce แบบ B2B • Business-to-Business (B2B) คือรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ มีมูลค่าการซื้อขาย แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก เป็นการค้าส่ง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C หรือในรูปของ Bill of Exchange อื่นๆ Supply Chain Management (SCM) B2B Information Selling
Online selling Online services B2C Online trading รายละเอียดของ E-Commerce แบบ B2C • Business-to-Consumer(B2C) คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการค้าปลีก
ตัวอย่าง E-Commerce ประเภท B2C http://www.tohome.com/
ตัวอย่าง E-Commerce ประเภท B2C http://www.misslily.com/
Online Auction Market place (Web Board) C2C E-Commerce แบบ C2C • Consumer-to-Consumer (C2C)เป็นรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่นการประกาศขายสินค้าใช้แล้ว เป็นต้น
ตัวอย่าง E-Commerce ประเภท C2C http://www.thaisecondhand.com/
E-Commerce แบบ B2G • Business-to-Government (B2G)คือ การทำการค้าหรือการติดต่อประสานงานทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ทำการค้ากับรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น การจัดซื้อของภาครัฐที่ต้องติดต่อกับเอกชน (eProcurement),การกรอกแบบฟอร์มและการลงทะเบียนต่าง ๆ จดทะเบียนธุรกิจออนไลน์ www.dbd.go.th , งานบริการสาธารณะต่าง ๆ เช่นระบบสาธารณูปโภค , งานเสนอโครงการ การเปิดประมูล การยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
รูปแบบขององค์กร E-Commerce(EC Organization) Click and Mortar Organization • รูปแบบของการทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการผสมผสานระหว่างผู้ที่มีธุรกิจร้านค้าหรือมีบริษัท เปิดให้บริการทำการค้าจริงๆ และมีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขาย • คำว่า Mortarคือการก่อสร้างบ้านอาคาร เปรียบได้กับธุรกิจที่มีหน้าร้านค้าจริงๆ โดยบางคนจะเลือกใช้คำว่า “Brick”แทนคำว่า Mortar
รูปแบบขององค์กร E-Commerce(EC Organization) • Click and Mortar Organization • เหมาะสำหรับผู้ที่มีกิจการค้าเดิมอยู่แล้ว และต้องการขยายเพิ่มช่องทางการค้าไปสู่ภายนอกทั้งระดับประเทศและทั่วโลก
รูปแบบขององค์กร E-Commerce(EC Organization) Click and Click Organization • การทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือให้บริการผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือร้านค้าจริงๆ ที่ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าหน้าร้านได้
ความแตกต่างระหว่าง Click and Click Click and Mortar
Pure E-commerce and Partial E-commerce • Pure E-commerceคือ การทำธุรกรรม E-commerce ในรูปแบบดิจิตอล Digital ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เริ่มจาก • การสั่งซื้อสินค้า หรือ บริการ • กระบวนการชำระเงิน • การส่งมอบ • ตัวอย่างเช่น การซื้อขาย โปรแกรม เพลง หรือ เกมส์ ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต
Pure E-commerce and Partial E-commerce (ต่อ) • Partial E-commerceคือ การทำธุรกรรม E-commerceที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical) เช่น การสั่งซื้อตำรา ต้องมีการขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป หรือ การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM เป็นต้น
องค์ประกอบของการค้าขายบนเว็บองค์ประกอบของการค้าขายบนเว็บ 1. ส่วนหน้าร้าน (Web Store หรือ Store front ) จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า ตัวสินค้านโยบายการขาย ฯลฯ แก่ลูกค้า จะทำหน้าที่หลักในการให้ข้อมูลและเชิญชวนให้ซื้อสินค้า โดยการออกแบบ หน้าร้านที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์ครบถ้วนของสินค้า การจัดวางหมวด หมู่ ให้ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนในการเลือกสินค้าแต่ละชิ้น ในส่วนหน้าร้านสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ระบบตะกร้ารับสินค้า (Shopping Cart System) เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บเพจได้ จะมีช่องให้กรอกจำนวนสินค้าที่สั่งซื้อโดยคลิกซื้อแต่ละครั้งก็จะเป็นการหยอด ของลงตะกร้าและสะสมไว้จนซื้อของครบและตัดสินใจให้ระบบคำนวณเงิน โดยอัตโนมัติ
องค์ประกอบของการค้าขายบนเว็บองค์ประกอบของการค้าขายบนเว็บ • 2. ระบบหลังร้าน (Back Office) • ประกอบไปด้วยระบบการรับคำสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ดังนี้ • - ระบบการรับชำระเงิน • ระบบการจัดส่งสินค้า • ระบบการบริหารร้านค้าเริ่มตั้งแต่ระบบฐานข้อมูล สินค้าที่ต้อง Update และเชื่อมต่อโดยตรงกับหน้าร้าน • ระบบรักษาความปลอดภัยในการจ่ายเงิน หรือ Secure Payment System เป็นระบบที่สำคัญที่สุดในการคำนวณเงินและชำระเงินค่าสินค้าให้ปลอดภัย ส่วนใหญ่จะรับชำระด้วยบัตรเครดิต การถ่ายโอนข้อมูลต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหล
ระบบชำระเงินที่ ปลอดภัย ระบบรักษา ความปลอดภัย อินเทอร์เน็ต ลูกค้า Web server Database Server ระบบสนับสนุน หลังสำนักงาน ระบบตะกร้าสั่งซื้อสินค้า ระบบจัดส่งสินค้า