380 likes | 882 Views
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. e-Government. e -Government. e-Government หมายถึง วิธีการบริหารจัดการหน่วยงานราชการสมัยใหม่ โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ วัตถุประสงค์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการพื้นฐานของรัฐ
E N D
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e-Government
e-Government e-Government หมายถึง วิธีการบริหารจัดการหน่วยงานราชการสมัยใหม่ โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ • วัตถุประสงค์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการพื้นฐานของรัฐ • เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ในการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน • เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีให้กับหน่วยงานราชการ • เพื่อให้ความคุ้มครองด้านความปลอดภัยแก่ประชาชน
รูปแบบของ e-Government • รัฐกับรัฐ (Government-to-Government : G2G) • เป็นการติดต่อและดำเนินกิจกรรมภายในหน่วยงานราชการเดียวกัน โดยมุ่งเน้นที่จะใช้ช่องทางระบบเครือข่ายและสารสนเทศของภาครัฐร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการทำงานร่วมกัน • รัฐกับประชาชน (Government-to-Citizen : G2C) • เป็นการให้บริการพื้นฐานของรัฐไปสู่ประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระเงินภาษี การจ่ายค่าปรับ
รูปแบบของ e-Government • รัฐกับเอกชน (Government-to-Business : G2B) • เป็นการให้บริการพื้นฐานของภาครัฐกับภาคธุรกิจ โดยรัฐจะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ข้อมูลสนับสนุนมีความถูกต้อง ตรงประเด็น และโปร่งใส เช่น การส่งออกและนำเข้า การจดทะเบียนการค้า การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • รัฐกับเจ้าหน้าที่ (Government-to-Employee : G2E) • เป็นการให้บริการพื้นฐานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรงผ่านช่องทางเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (E-Procurement) เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐผ่านทางเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา • วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการให้ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ • เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี เช่น กระบวนการตรวจสอบ การเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อความโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม • เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่าย
e-Catalog 1 Electronic Marketplace Service Provider e-RFP,e-RFQ 6 2 Portal Web Site 3 e-Auction 5 4 Electronic Data Exchange ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจัดซื้อจัดจ้าง อิเล็กทรอนิกส์
องค์ประกอบหลักของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (ต่อ) • ระบบแคตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Catalog) • เป็นที่รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้าที่ได้รับการคัดเลือกหรืออนุญาตให้เข้ามาทำธุรกรรม เช่น การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การปรับปรุงรายการสินค้าและบริการ ประกอบด้วยฟังก์ชันงานต่าง ๆ ดังนี้ • ฟังก์ชันการลงทะเบียน • ฟังก์ชันการจัดการแคตาล็อก สำหรับใช้ปรับปรุงรายการสินค้า • ฟังก์ชันการค้นหา สำหรับสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า
องค์ประกอบหลักของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (ต่อ) • ระบบ Electronic Request For Proposal และระบบ Electronic Request For Quotation • ระบบอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการสอบราคา หรือตกลงราคา • ระบบประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Auction) • Reverse Auction การประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำที่สุด • Forward Auction การประมูลขายให้ได้ในราคาสูงที่สุด
องค์ประกอบหลักของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (ต่อ) • ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Electronic Data Exchange) • เป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลสำหรับผู้ค้า/ผู้รับจ้าง และหน่วยงานอื่น ๆ ประกอบด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ ดังนี้ • ฟังก์ชันการตรวจสอบความเป็นนิติบุคคล กับกรมทะเบียนการค้าและกรมสรรพากร • ฟังก์ชันการส่งข้อมูลในการตรวจสอบจำนวนเงินงบประมาณ • ฟังก์ชันการส่งข้อมูลตรวจสอบการเสียภาษี • ฟังก์ชันประชาสัมพันธ์
องค์ประกอบหลักของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (ต่อ) • เว็บไซต์ท่าสำหรับใช้เป็นศูนย์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Portal Web Site) • เป็นสื่อกลางหรือศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ • ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketplace Service Provider) • ทำหน้าที่จัดการประมูลและเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ค้า/ผู้รับจ้าง
http://www.gprocurement.go.th/e_auction/index_51.php (24/11/51)
การนำระบบการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐมาประยุกต์ใช้การนำระบบการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐมาประยุกต์ใช้
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Electronic Auction) • วิธีการแบ่งการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐทั้งที่เป็นแบบไปข้างหน้า (ประมูลขาย) และแบบย้อนกลับ (ประมูลซื้อ) แล้ว สามารถแบ่งออกได้ตามมุมมองของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องได้ 3 ส่วน ซึ่งจะมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามแต่นโยบายและวัตถุประสงค์ ลงทะเบียน ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ คัดสรรผู้ให้บริการตลาดกลาง อิเล็กทรอนิกส์ เสนอข้อกำหนด ทางเทคนิค จัดประมูลอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ส่วนผู้ขาย/ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง ส่วนราชการผู้ซื้อ เสนอราคา เข้าร่วมเตรียมการ
โมบายคอมเมิร์ซ m-Commerce
m-Commerce โมบายคอมเมิร์ซ เป็นรูปแบบหนึ่งของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย โดยอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงไร้สาย เช่น Mobile Phone, Notebook, Palm, PDA, Pocket PC ผ่านสื่อกลาง WAP (Wireless Application Protocol) ในการติดต่อสื่อสารระหว่างต้นทางกับปลายทาง • คุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ • การเคลื่อนที่ หมายถึง การติดต่อระหว่างกันโดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายแบบพกพาของผู้ใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ ภายใต้สัญญาณเครือข่ายที่ครอบคลุม • การเข้าถึง หมายถึง การที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและโต้ตอบกับแหล่งเป้าหมายที่อยู่ปลายทางได้ในทันทีที่ต้องการภายใต้สัญญาณเครือข่ายที่ครอบคลุม
อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบไร้สายอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย
ข้อดีของ m-Commerce • ความสะดวกในการพกพาติดตัว มีขนาดค่อนข้างกระทัดรัด • ประหยัดค่าใช้จ่าย และหาซื้ออุปกรณ์ไร้สายได้ง่าย • สามารถใช้อุปกรณ์ไร้สายเชื่อมโยงหรือติดต่อได้ทุกเวลา ณ จุดที่ให้บริการสื่อสัญญาณไร้สาย เช่น ร้าน Black canyon coffee, ร้าน Swensen’s
ข้อเสียของ m-Commerce • หน่วยความจำเก็บข้อมูลได้น้อย และแสดงผลข้อมูลในปริมาณที่น้อย เนื่องจากจอภาพที่ใช้แสดงผลมีขนาดค่อนข้างเล็ก • ระยะเวลาในการใช้งานค่อนข้างจำกัด ขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ที่ใช้งาน • ขอบข่ายการติดต่อสื่อสารมีกำลังส่งไม่เพียงพอ เช่น โทรศัพท์ PCT • มาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัย และระบบชำระเงิน อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานของโมบายคอมเมิร์ซโครงสร้างพื้นฐานของโมบายคอมเมิร์ซ • Hardware • Mobile Phone • Notebook (Laptop computer) and Tablet Computer • PDA, Pocket PC • Web Server • Attachable Devices เช่น keyboard, stylus, card bluetooth
โครงสร้างพื้นฐานของโมบายคอมเมิร์ซ (ต่อ) • Software • Micro browser เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูลที่สร้างขึ้นจากภาษา WML (Wireless Markup Language) • Mobile Operating System เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งหรือฝังมาพร้อมกับอุปกรณ์โมบาย เช่น PalmOS, WinCE • Mobile Application User Interface เป็นส่วนแอปพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนอุปกรณ์โมบาย โดยการโต้ตอบหรือประสานกับผู้ใช้งานผ่านทางโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ • Back-End Legacy Application Software เป็นซอฟต์แวร์สนับสนุนระบบงานต่าง ๆ ที่ฝังอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบฐานข้อมูล การบริหารจัดการ การสำรองข้อมูล
โครงสร้างพื้นฐานของโมบายคอมเมิร์ซ (ต่อ) • Software • Application Middleware เป็นชิ้นส่วนของซอฟต์แวร์ที่คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงและติดต่อระหว่างระบบงานที่อยู่เบื้องหลัง กับเว็บแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น MS Internet Information Server (IIS), Apache • Wireless Middleware เป็นชิ้นส่วนของซอฟต์แวร์ที่คอยทำหน้าที่เชื่อมโยงและติดต่อระหว่างระบบเครือข่ายไร้สาย กับแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนเซิร์ฟเวอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้
โครงสร้างพื้นฐานของโมบายคอมเมิร์ซ (ต่อ) • Wireless Network • เครือข่ายไร้สายแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ • ระบบเครือข่ายส่วนตัว เป็นระบบที่ใช้งานกัน (Private Network) โดยทั่วไปในสถานพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน • ระบบเครือข่ายแบบสาธารณะ (Public Network) ใช้งานร่วมกันผ่านทางผู้ในบริการ เช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย บริษัทเทเลคอม เอเชีย • โดยผ่านช่องทางการสื่อสารไร้สายชนิดต่าง ๆ เช่น Microwave, Satellite, Infrared, Radio
แนวทางการประยุกต์ใช้ M-Commerce • m-GPS สำหรับใช้บริการติดตามยานพาหนะ เช่น รถยนต์ เรือยนต์ และอากาศยาน • m-Billing สำหรับใช้แจ้งค่าบริการ และการชำระเงิน • m-Care สำหรับใช้บริการลูกค้าสัมพันธ์ร่วมกับระบบต่าง ๆ ภายในองค์กร • m-Entertainment สำหรับใช้เล่นเกม ฟังเพลง และชมวิดีโอ • m-Messaging สำหรับใช้ติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการทำงานร่วมกัน • m-Shopping สำหรับใช้ซื้อ-ขายสินค้าและบริการ • m-Banking สำหรับโอนเงิน และชำระเงินผ่านธนาคารออนไลน์ • m-Advertising สำหรับใช้โฆษณาสินค้าและบริการ