390 likes | 479 Views
ประชุมชี้แจง การสมัครขอรับทุนโครงการ ระหว่างวันที่ 17-24 มิถุนายน 2556. งบ 50,000 บาทต่อ ร.ร . ระยะเวลาดำเนินการ 1 ส.ค.56 - 28 ก.พ.57. ). ความเป็นมา. สถานการณ์เด็กอีสาน กินผัก ผลไม้น้อยลง. เฉลี่ย 84.3 % ทานผักผลไม้ ไม่เพียงพอ ( <400 กรัมต่อวัน ) ผักและผลไม้ 400 กรัมต่อวันช่วยชะลอความแก่
E N D
ประชุมชี้แจง การสมัครขอรับทุนโครงการ ระหว่างวันที่ 17-24 มิถุนายน 2556
งบ 50,000 บาทต่อร.ร. ระยะเวลาดำเนินการ 1 ส.ค.56 - 28 ก.พ.57 )
ความเป็นมา สถานการณ์เด็กอีสานกินผักผลไม้น้อยลง เฉลี่ย 84.3 % ทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ (<400กรัมต่อวัน) ผักและผลไม้ 400 กรัมต่อวันช่วยชะลอความแก่ เพิ่มความจำ ลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรง • อ้างอิงจากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ในปี 2551 -2552 • โดยสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพและองค์การอนามัยโลก
การเลือกกินผักผลไม้ตามหลัก 4 เลือก 1) เลือกกินผักผลไม้ที่เหมาะสมกับปริมาณที่ควรบริโภคในแต่ละวัน 2) เลือกกินผักผลไม้จากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ 3) เลือกกินผักผลไม้ที่สะอาดและปลอดภัย 4) เลือกกินผักผลไม้ที่มีผลดีต่อสุขภาพ เป็นต้น
วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายกินผักผลไม้ วันละ 400 กรัม/วัน มากขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการกินผักผลไม้ เพื่อสร้างทีมแกนนำผู้ทำโครงการ (ครู แม่ครัว เจ้าของร้านค้า ผู้ปกครองหรือตัวแทนชุมชน และนักเรียนรุ่นพี่) ให้เข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และทักษะจากการทำโครงการจริง (Project –Based Learning) เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของการกินผักผลไม้ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสารพิษ
ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ • เกิดเป็นโรงเรียนนำร่องของสำนักงานเขตพื้นที่ที่ดำเนินโครงการเรื่องกินผักผลไม้ของนักเรียน • โรงเรียนมีรายงานผลการดำเนินโครงการในโรงเรียนนำร่องและผ่านการประเมินตนเองระดับโรงเรียน • โรงเรียนมีผลการดำเนินงานทำได้ตามแผนกิจกรรม • เกิดความรู้ปฏิบัติด้านการกินผักผลไม้ • ร.ร.มีการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 80 เป้าหมายอื่นๆ • ร้อยละ 100 เกิดทีมแกนนำ 25 คน/ร.ร. ที่สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์การกินผักผลไม้ในโรงเรียน 400 กรัมต่อวัน • อย่างน้อย 15 ครอบครัว มีแปลงพืชผักสวนครัวในครัวเรือน • มีเมนูผักผลไม้ที่ดึงดูดใจนักเรียนให้กินผักผลไม้มากขึ้น • บันทึกความร่วมมือในการทำโครงการระหว่าง EDF กับ สพป. จำนวน 7 แห่ง • จำนวนผู้นิเทศโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการแต่งตั้งโดยสพป. เพื่อสนับสนุนการทำโครงการ จังหวัดละ 2 คน • เกิดเป็นนโยบายไปสู่โรงเรียนนำร่องเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนกินผักผลไม้ 400 กรัม/วัน • นร.ได้รับความรู้ ความเข้าใจประโยชน์และตระหนักเรื่องการกินผักผลไม้มากขึ้น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง • นร.กินผักผลไม้ 400 กรัมต่อวัน • มีแปลงเกษตรปลอดสารพิษในโรงเรียน • กลุ่มแม่ครัวสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ
พื้นที่ดำเนินการภาคอีสาน 7 จังหวัด
เป้าหมายและผู้รับผลประโยชน์เป้าหมายและผู้รับผลประโยชน์ รวมทั้งสิ้น 9,200คน
คุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมายคุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมาย 1. ประถมศึกษาขยายโอกาส (อนุบาล – ม.3) 2. มีนักเรียนที่มีพฤติกรรมกินผักผลไม้ไม่ถึง 400 กรัมต่อวัน 3. ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียนและชุมชนเห็นความสำคัญของโครงการ เต็มใจและมีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 4. มีความพร้อมในระดับที่สามารถจัดการโครงการได้ เช่น กำลังคนและทรัพยากร
กำหนดคุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมายกำหนดคุณสมบัติโรงเรียนเป้าหมาย คัดเลือกโรงเรียนเป้าหมายร่วมกับ สสส. เวทีคัดกรองโดยสพป.และคณะกรรมการจาก EDF เวทีพิจารณาโครงการตามแนวทางการสนับสนุนทุนของ สสส. (คัดเลือกรอบสุดท้าย (100 ร.ร.) ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนที่สนใจสมัครและเสนอโครงการ (จำนวนประมาณ 150 โรงเรียน) ประชุมทีม EDF เพื่อนำเสนอข้อมูลแต่ละโรงเรียนและ คัดเลือกรอบแรก (130 ร.ร.)
สสส. ผู้รับผล ประโยชน์ นร.ใน รร. สพป. โรงเรียน (แกนนำทำโครงการ) EDF • 1. หากลุ่มเป้าหมาย/คัดเลือก รร. • เตรียมการคัดเลือกโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย • ประชาสัมพันธ์โครงการ • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ • โรงเรียนส่งใบสมัครโครงการ • คัดกรองรร.เป้าหมายโดย สพป. EDF และ สสส. • แจ้งผลการคัดเลือกร.ร. • ทำ MOU กับร.ร. • โอนเงิน 2. EDF จัดการปฐมนิเทศ 3. ขั้นดำเนินการตามแผน 5. ประเมินผลโครงการ 6. เสนอรายงานต่อ สสส. ภาพรวมการบริหารโครงการ 4. ติดตาม จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้
บทบาท สพป.ใน โครงการเท่ห์กินผัก น่ารักกินผลไม้
กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกินผักผลไม้กลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกินผักผลไม้ • สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ให้เด็กได้ลงมือปลูกผักผลไม้ จัดหาแหล่งผักผลไม้ หรือคิดเมนูผักผลไม้ด้วยตนเอง • ให้ความรู้ ชี้ให้เห็นความสำคัญ ประโยชน์ของการกินผักผลไม้ • จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการกินผักผลไม้ เช่น จัดแปลงปลูกผักผลไม้ที่โรงเรียนและครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองกินผักผลไม้ให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง • โรงเรียนจัดให้มีเมนูผักผลไม้ คุณครูและทีมงานในโรงเรียนเป็นผู้คอยช่วยกระตุ้นให้เด็กนักเรียนกินผักผลไม้ แม่ครัวปรุงอาหารกลางวันที่มีเมนูผักและผลไม้ทุกวัน เปลี่ยนรูปแบบเมนูผักให้มีความหลาก หลายและน่ากิน ทำให้เด็กรู้สึกอร่อยกับกินผักผลไม้ • คอยกระตุ้นให้นักเรียนกินผักและผลไม้อยู่เสมอ • สร้างค่านิยมรักสุขภาพให้เกิดขึ้นในโรงเรียน • เปลี่ยนชื่อผัก เป็นไอเดียให้เด็กกินผักเพิ่มขึ้น เป็นต้น
เชิญชมวีดีโอ 1 เรื่อง เกี่ยวกับ ทักษะในศตวรรษที่ 21
ทักษะในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรเปลี่ยนเป้าหมายจากความรู้ไปสู่ทักษะ เปลี่ยนจากการเน้นครูเป็นหลักเป็นนักเรียนเป็นหลัก การเรียนแบบ Project Based Learning (PBL) เป็นการเน้นให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม และครูทำหน้าที่เป็นครูฝึก ครูมีหน้าที่กระตุ้นด้านจิตใจ อารมณ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กมีพลัง มีชีวิตชีวา และสนุกกับการเรียนรู้
ขึ้นตอนหรือกระบวนการทำงานแบบ PBL ควรจะเป็น • ให้เด็กตีโจทย์ตั้งแต่แรก • ค้นหาข้อมูลกันเอง • หัดตรวจสอบและนำสิ่งที่เหมาะสมมาใช้กับโครงการ • ฝึกปฏิบัติจริง • เพิ่มทักษะการสื่อสารระหว่างทีม • นำเสนออย่างสร้างสรรค์ • ทำงานเป็นทีม • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อต่อยอดความรู้ตนเองต่อไป
รายละเอียดโครงการย่อยรายละเอียดโครงการย่อย “เท่ห์กินผัก น่ารักกินผลไม้” เป้าหมายโครงการ>> 1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนในโรงเรียนกินผักผลไม้โดยเน้นในมื้อกลางวันเพิ่มมากขึ้น (400 กรัมต่อวัน) 2.ผู้ปกครอง/ตัวแทนชุมชนเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วม ระยะเวลาดำเนินงาน 1 สิงหาคม 56-28 กุมภาพันธ์ 57 งบประมาณ 50,000 บาทต่อโรงเรียน วัตถุประสงค์(โครงการใหญ่) เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนกินผักผลไม้ วันละ 400 กรัม/วัน มากขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการกินผักผลไม้ เพื่อสร้างทีมแกนนำผู้ทำโครงการ (ครู แม่ครัว เจ้าของร้านค้า ผู้ปกครองหรือตัวแทนชุมชน และนักเรียนรุ่นพี่) ให้เข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และทักษะจากการทำโครงการจริง (Project –Based Learning) เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของการกินผักผลไม้ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสารพิษ ผู้ดำเนินโครงการ แกนนำทีม 25 คน >> แกนนำผอ.+ครู 5 คน แกนนำนักเรียนรุ่นพี่ 10 คน แม่ครัว/ร้านค้า/ผู้ปกครองนักเรียน 10 คน พื้นที่ดำเนินงาน>>ในโรงเรียนและขยายสู่ 15 ครอบครัวต่อโรงเรียน ผู้เข้าร่วมโครงการและรับผลประโยชน์>>นักเรียนประมาณ 200 คนต่อโรงเรียน
รายละเอียดโครงการย่อยรายละเอียดโครงการย่อย ตัวชี้วัดผลลัพธ์(โครงการใหญ่) 1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับความรู้ ความเข้าใจประโยชน์และตระหนักเรื่องการกินผักผลไม้มากขึ้น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตนเอง 2. นักเรียนร้อยละ 80 กินผักผลไม้ 400 กรัมต่อวัน 3. เกิดทีมแกนนำ 25 คน/ร.ร. ที่จัดกิจกรรมรณรงค์การกินผักผลไม้ในโรงเรียน 400 กรัมต่อวัน 4. มีแปลงเกษตรปลอดสารพิษในโรงเรียน และอย่างน้อย 15 ครอบครัว มีแปลงพืชผักสวนครัวในครัวเรือน 5. กลุ่มแม่ครัวสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ 6. มีเมนูผักผลไม้ที่ดึงดูดใจนักเรียนให้กินผักผลไม้มากขึ้น 7. โรงเรียนมีผลการดำเนินงานทำได้ตามแผนกิจกรรมที่วางไว้และผ่านการประเมินตนเองระดับโรงเรียน 8. เกิดความรู้ปฏิบัติด้านการกินผัก ผลไม้ อย่างน้อย 1 เรื่อง/ร.ร.
กรอกใบสมัคร ข้อเสนอโครงการย่อย • ศึกษา แนวทางการสนับสนุนทุนให้เข้าใจก่อนกรอกใบสมัคร • ส่วนที่ 1 : ข้อมูลคณะทำงาน 5 คน • ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ชื่อผู้บริหารโรงเรียน • ชื่อครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 4 คน
กรอกใบสมัคร ข้อเสนอโครงการย่อย • ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโรงเรียน • ประเภทโรงเรียน • จำนวนครู จำนวนนร.แยกรายชั้นเรียน • สภาพพื้นที่โรงเรียนที่เหมาะกับการเกษตร • ความร่วมมือของหน่วยงานในชุมชน • เมนูอาหารกลางวันเดือนมิถุนายน เป็นต้น
กรอกใบสมัคร ข้อเสนอโครงการย่อย ส่วนที่ 3 : ข้อมูลแผนงาน / โครงการ 1. ชื่อโครงการ เท่ห์กินผัก น่ารักกินผลไม้ 2. ความเป็นมา ให้โรงเรียนอธิบายถึงสภาพปัญหา สถานการณ์การกินผักผลไม้กลุ่มเด็กในโรงเรียนและสภาพครอบครัวและชุมชน เป็นต้น 3. วัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัดเขียนให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดโครงการใหญ่ 4. กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ 5. ระยะเวลา(1 สิงหาคม 2556-28 กุมภาพันธ์ 2557)
6. ข้อเสนอโครงการย่อย : กิจกรรมดำเนินการ
ข้อเสนอโครงการย่อย 7. กรณีที่มีการสนับสนุนทรัพยากรจากหน่วยงานอื่น 8. องค์กรภาคีที่ร่วมดำเนินงาน 9. การติดตาม/การประเมินผล
ข้อเสนอโครงการย่อย 10. งบประมาณโครงการ (ตัวอย่าง)
ข้อเสนอโครงการย่อย 10. งบประมาณโครงการ (ตัวอย่าง)
การสนับสนุนโครงการ • 1.กำหนดให้ทุกโรงเรียน ทำอย่างน้อย 2 เรื่อง • การเกษตร (ปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ และเลี้ยงสัตว์อย่างน้อย 1 อย่าง) เพื่อเป็นอาหารกลางวันของนักเรียน • ให้นักเรียนชั้นสูงสุดของแต่ละโรงเรียน ทำ Project-based learning (PBL) เรื่อง “ทำอย่างไรให้นร.กินผักผลไม้มากขึ้น (400 กรัมต่อวัน)” โดยมีเป้าหมายเป็นนร.ทั้งโรงเรียน และติดตามผลจนเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินผักผลไม้ว่าเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ • 2.กิจกรรมส่งเสริมการกินผักผลไม้ เป็นกิจกรรมเปิดให้โรงเรียนคิด ออกแบบกิจกรรมได้เองอย่างอิสระ แต่กิจกรรมเหล่านั้นจะต้องสามารถบรรลุถึงเป้าหมายโครงการ ก็คือ “นักเรียนกินผักผลไม้มากขึ้น 400 กรัมต่อวัน” • 3. การคิดงบประมาณ 50,000 บาท นั้น มีแนวทาง ดังนี้ • *แปลงเกษตร(พืช+สัตว์) ไม่เกิน 20,000 บาท ใช้เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าพันธุ์พืช ค่าพันธุ์สัตว์ เป็นต้น • *ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย • -กิจกรรมส่งเสริมการกินผักผลไม้ในโรงเรียนและครอบครัว • -ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ เช่น ค่าจัดประชุม การเก็บข้อมูลในโรงเรียน ติดตามประเมินผล การเขียนรายงาน และถ่ายภาพกิจกรรมส่ง สพป./EDF • -ค่าเดินทาง (ค่าน้ำมันรถ) เข้าร่วม 3 กิจกรรมกับสพป.และ EDF1. เข้าร่วมปฐมนิเทศ (ก.ค.) 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1(ก.ย.) 3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (ม.ค.) (จะจัดในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ)
เชิญชมวีดีโอ 1 เรื่อง เกี่ยวกับ การประยุกต์ PBL
Workshop(1/2) • แบ่งเป็นกลุ่มย่อย • นำเข้าสู่ workshop ทำให้สนใจและเกิดความตระหนักว่าทุกวันนี้เด็กๆ กินผักผลไม้น้อย เช่น นักเรียนชอบกินผักไหม ใครชอบบ้าง ชอบผักอะไร ทำไมจึงชอบอาหารเย็นมีอะไรบ้าง มีผักไหม รวมแล้วทั้งวันกินผักผลไม้มากน้อยเท่าไร รู้ไหมว่าเราควรกินผักผลไม้วันละแค่ไหนจึงจะดีต่อสุขภาพ **สรุปแล้วพวกเรากินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุผลแล้วเราควรจะกินผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นไหม เล่าสถานการณ์การกินผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงถึงชีวิตอะไรบ้าง • Brainstorm เพื่อกรอกในส่วนที่ 3 การนำเสนอโครงการ พูดคุยกันในกลุ่มย่อยตามโจทย์ - วิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นจริงในเรื่องการกินผักผลไม้ของเด็กในโรงเรียน - ช่วยกันมองหาว่า “ทำไมเด็กๆ ถึงไม่ชอบกินผักผลไม้” - ช่วยกันหา “วิธีทำอย่างไรให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น 400 กรัมต่อวัน”
Workshop(2/2) • ทดลองเขียนโครงการตามแบบเสนอโครงการ • ทดลองทำ งบประมาณ ทั้งหมด 50,000 บาทต่อโครงการ • ส่งตัวแทนออกมานำเสนอต่อกลุ่มใหญ่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน • ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยกันพัฒนาข้อเสนอโครงการให้ดีขึ้น
การประยุกต์ใช้ PBL (1/3) • การนำเข้าสู่บทเรียน • ทำให้เด็กสนใจและเกิดความตระหนักว่าทุกวันนี้เด็กๆ กินผักผลไม้น้อย • นำไปสู่ ความอยากรู้ (Need to Know) เช่นนักเรียนชอบกินผักไหม • ใครชอบบ้าง ชอบผักอะไร ทำไมจึงชอบอาหารเย็นมี • อะไรบ้าง มีผักไหม อะไรบ้างที่เป็นผัก กินผักมากน้อยแค่ไหน กี่คำ • รวมแล้วทั้งวันกินผักผลไม้มากน้อยเท่าไร • รู้ไหมว่าเราควรกินผักผลไม้วันละแค่ไหนจึงจะดีต่อสุขภาพ • สรุปแล้วพวกเรากินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุผลแล้วเราควรจะกินผัก • และผลไม้เพิ่มขึ้นไหม เล่าสถานการณ์การกินผักผลไม้น้อยลง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงถึงชีวิตอะไรบ้าง • ให้เด็กตีโจทย์ตั้งแต่แรก • “ทำอย่างไรให้นักเรียนกินผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น (400 กรัมต่อวัน)”
การประยุกต์ใช้ PBL (2/3) • แบ่งนักเรียนในชั้นเรียนเป็นกลุ่มเพื่อค้นหาข้อมูลกันเองแบบเจาะลึก ตามคำถามย่อยที่ได้รับ เช่น • จริงหรือที่ว่านักเรียนกินผักผลไม้น้อยไป • กินผักผลไม้แค่ไหนจึงจะ “พอดี” • ทำไมจึงต้องกินผักให้มากพอ • ทำไมเด็กๆ ถึงไม่ชอบกินผักผลไม้ • มีวิธีอย่างไรที่จะช่วยให้เด็กกินผักผลไม้
การประยุกต์ใช้ PBL (3/3) • ฝึกปฏิบัติจริงในกลุ่มย่อย มีการเพิ่มทักษะการสื่อสารระหว่างทีม การทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาคำตอบอย่างมีเหตุมีผล • นำเสนอกลุ่มใหญ่ถึงผลงานที่ได้จากการคิดและทำงานร่วมกันกับทีมอย่างสร้างสรรค์ การนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นที่สะท้อนกลับจากเพื่อนร่วมห้องและครูจะทำให้ได้คิดทบทวนและพัฒนาให้งานดีขึ้น โดยครูมีบทบาทหน้าที่ดูแลไม่ให้ออกไปไกลจากขอบเขตที่วางไว้และทำหน้าที่คอยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ • แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาเลือกวิธีการหรือกิจกรรมที่จะทำเพื่อทำให้ เด็กกินผักผลไม้เพิ่มมากขึ้นในโรงเรียน • นำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ได้แก่ นำเสนอในชั้นเรียน และนำเสนอให้ทุกคนในโรงเรียนรับทราบถึงโครงการที่จะทำ
ระยะเวลาของการส่งโครงการและการพิจารณาระยะเวลาของการส่งโครงการและการพิจารณา ดาวน์โหลดใบสมัครโครงการได้ที่ www.edfthai.org
การส่งโครงการ ส่งที่ • ส่งที่ คุณ • Email
ใบสมัคร “เกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาวะ”สำหรับชุมชน ส่งให้สสส.โดยตรง • กรอกตามแบบเสนอโครงการ • ติดต่อขอรับไฟล์ได้ที่ สพป.ของท่าน
ขอเชิญมาร่วมโครงการด้วยกันนะคะขอเชิญมาร่วมโครงการด้วยกันนะคะ ขอบคุณค่ะ