1 / 20

Mesopotamia

Mesopotamia. เมโส โปเตเมีย ( Mesopotamia ).

tleonard
Download Presentation

Mesopotamia

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Mesopotamia

  2. เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) • แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) โดยมีนัยหมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสกับยูเฟรทีส" ดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย

  3. แผนที่

  4. Mesopotamia เมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาหรับซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย แห้งแล้งเรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนอุดมสมบูรณ์เรียกว่าอัสซีเรีย (Assyria)บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่

  5. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย -กำเนิดในลุ่มแม่น้ำสองสาย คือ ไทกริสและยูเฟรติส เป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก เมื่อประมาณ 3500 ปี ก่อนค.ศ. เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ท่ามกลางดินแดนทะเลทรายและภูเขา (ปัจจุบันได้แก่ประเทศอิรัก) -บริเวณที่ราบที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกันและไหลลงสู่ทะเล อ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า “บาบิโลเนีย” -บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตกน้อย (ปีหนึ่งไม่เกิน 3 นิ้ว) ความรุนแรงของภูมิอากาศทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือรือร้น เมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มีชนหลายชาติหลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามายึด ครองตลอดเวลา -โดยเหตุนี้ ทำให้มีชนหลายกลุ่มหลายเผ่าผลัดกันมาตั้งถิ่นฐาน และมีอำนาจในดินแดนแถบนี้

  6. กลุ่มชนในบริเวณเมโสโปเตเมียกลุ่มชนในบริเวณเมโสโปเตเมีย

  7. 3500 BC.ชนเผ่าสุเมเรียน Sumerian • 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชชาวสุเมเรียนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ซึ่งเรียกกัน ในเวลาต่อมาว่าดินแดนซูเมอร์ ในระยะแรกชุมชนชาวสุเมเรียนเป็นหมู่บ้านยุคหินใหม่ หมู่บ้านเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นเป็นชุมชนวัด และในเวลาต่อมา ชุมชนวัดแต่ละแห่งได้พัฒนาขึ้นเป็นเมือง ที่สำคัญ ได้แก่เมืองเออร์เมืองอิเรคเมืองอิริดู เมืองลากาซ และเมืองนิปเปอร์แต่ละเมืองมีชุมชนเล็กๆ ที่รายรอบอยู่เป็นบริวาร ทำให้มีลักษณะเป็นรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่านครรัฐ นครรัฐเหล่านี้ต่างปกครองเป็นอิสระแก่กัน

  8. 3500 BC.ชนเผ่าสุเมเรียน Sumerian ชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนสร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร วรรณกรรม ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียนได้ดำรงอยู่และมี อิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ การปกครอง พระหรือนักบวชมีอำนาจมาก พระมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุขสูงสุดเรียกว่า Patesiทำการปกครองในนามของพระเจ้าดูแลควบคุมกิจการภายในนครรัฐ

  9. เศรษฐกิจและสังคม อาชีพหลักคือเกษตรกรรม มีความชำนาญ มีการใช้ระบบชลประทาน ขุดคลองระบายน้ำ ทำการเพาะปลูกโดยเป็นไร่ขนาดใหญ่ ปลูกผลไม้ ประดิษฐ์คันไถ เครื่องหยอดเมล็ด มีการเลี้ยงสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา มีมาตราชั่งตวงวัด การทอผ้าและย้อมผ้า มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมเป็น 3 กลุ่มคือ ชนชั้นสูง ได้แก่ กษัตริย์ พระราชวงศ์ พระชั้นผู้ใหญ่ ขุนนาง ชนชั้นสามัญ เป็นเสรีชน ลูกจ้างของขุนนาง ทาส ชาวต่างประเทศและเชลยสงคราม หรืออาชญากรที่ถูกลงโทษ

  10. ศาสนา มีส่วนสำคัญมากในชีวิตของชาวสุเมเรียน พระดำรงตำแหน่งในการปกครองและตำแหน่งสำคัญอื่นๆ นับถือพระเจ้าหลายองค์พร้อมๆกัน มีการสร้างหอวิหารใหญ่โตเรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นวัดที่มีรูปร่างคล้ายปิรามิด ทำเป็นชั้นๆสร้างขึ้นด้วยอิฐ เพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า สถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยอิฐ เนื่องจากมีดินเหนียวบริเวณนี้มาก มีสองประเภทคือ อิฐตากแห้ง (Sun dried brick) และอิฐเผาไฟ (baked brick) ซึ่งป้องกันความชื้นได้ดี ใช้สร้างยกพื้น กำแพงและส่วนก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงถาวร ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสุเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur) ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk)หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี

  11. ปฏิทิน เป็นแบบจันทรคติ เดือนหนึ่งมีประมาณ 29.5 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีหนึ่งมี 354 วัน เดือนหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ๆ ละ 7-8 วัน วันหนึ่งแบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง กลางคืน 6 ชั่วโมง (1 ช.ม. = 2 ช.ม. ในปัจจุบัน) วรรณกรรม มีนิยาย กาพย์ กลอน ซึ่งท่องจำต่อๆกันมา งานส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา เช่น บทสวด คำโคลงสดุดีเทพเจ้า ฯลฯ ที่เด่นที่สุดคือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh) ปรากฏในจารึก 12 แท่งด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องราวของวีรบุรุษกิลกาเมซซึ่งเป็นกษัตริย์ชาวอูรุก สุเมเรียนมีอำนาจปกครองบริเวณซูเมอร์เกือบพันปี ต่อมาพวกชนเผ่าเซเมติคแทรกซึมทางตะวันตก ผู้นำชนเผ่าคือ พระเจ้าซาร์กอนแห่งแอคคัดได้ยกกำลังกองทัพลงมาในเขตซูเมอร์ ทำให้นครรัฐสุเมเรียนยอมแพ้ มหากาพย์เรื่องนี้จารึกไว้ในแผ่นดินเหนียวในหอเก็บจารึกของกษัตริย์แห่งอัสซีเรีย เมื่อราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล

  12. สรุป • เป็นชนเผ่าแรกที่เข้าครอบครอง และทำการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก • สังคมของสุเมเรียนยกย่อง เกรงกลัวเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสถานเรียกว่า “ซิกกูแรต” สร้างด้วยอิฐตากแห้ง • ชาวสุเมเรียน เป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ “คูนิฟอร์ม” cuneiform นักประวัติศาสตร์จึงนับเอาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์ • “กิลกาเมซ” Epic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก • มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด

  13. 2000 BC. ชนเผ่าอามอไรต์Amorite - หลังจากสุเมเรียนเสื่อมอำนาจ ชาวอามอไรต์Amorite ได้ตั้ง อาณาจักรบาบิโลเนียBabylonia ขึ้นมา การปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร - สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ( 1792-1745 B.C.) ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมุราบี” เป็นลายลักษณ์อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ

  14. ชาวอมอไรท์หรือชาวบาบิโลเนีย ประมาณปี 2000 ก่อนคริสตกาล อมอไรท์เป็นเซมิติค เร่ร่อนจากซีเรียเข้ารุกรานดินแดนตะวันตกของอัคคัต ภายใต้การนำของฮัมมูราบี (Hummurabi 1792-1750 B.C.) กษัตริย์องค์ที่ 6 ของอมอไรท์ ได้รวมดินแดนซูเมอร์-อัคคัต เข้าด้วยกัน ก่อตั้งจักรวรรดิบาลิโลเนียครั้งที่หนึ่งขึ้น (The First Babylonian Empire) ที่เมือง บาบิโลน (Badylon) บนฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีส เป็นเมืองหลวงสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี คือ ยุคทองของจักรวรรดิบาบิโลน บาบิโลนเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนได้เป็นนครใหญ่ของอาณาจักรเมโสโปเตเมียทั้งหมด ต่อมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าจักรวรรดิบาบิโลเนีย พวกบาบิโลนสามารถเอาชนะบรรดาเพื่อนบ้านคือพวกอัคคาเดียน และสุเมเรียนได้ พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมดินแดนแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรตีส เข้าไว้ในอำนาจแต่เพียงผู้เดียว และสถาปนารัฐบาลที่เข้มแข็งขึ้นปกครองบาบิโลนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความหมายนักกลายเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์ราชบันฑิตเป็นจักรวรรดิบาบิโลเนียแรก (First Babylonian Empire) ทรงปกครองอยู่ 43 ปี (1792-1750 B.C.)

  15. ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบีประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี การร่างประมวลกฎหมาย (Hammurabi Code) พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นที่รู้จักในฐานะเป็น ผู้สร้างประมวลกฎหมายเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรมแห่งชีวิต ทรงกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลกฎหมายว่า “เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันคนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า...และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน”

  16. 1590 B.C.ชนเผ่าฮิตไทต์ Hittite เป็นเผ่าอินโดยุโรเปียน - เดิมอยู่ทางตอนใต้ของรัสเซีย ขยายตัวมาตามลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส โจมตีทางเหนือของซีเรีย ปล้นกรุงบาบิโลนและปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียต่อมา - มีความสามารถในการรบมาก - เป็นชนเผ่าแรกที่รู้จักใช้เหล็กทำเป็นอาวุธ รู้จักใช้รถเทียมม้าทำศึก - ตรงกับสมัยที่อียิปต์เรืองอำนาจ - กษัตริย์ฮัตตูซิลิที่ 3แห่งฮิตไทต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 2แห่งอียิปต์ได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน และหากบุคคลที่ 3มาโจมตี ต้องช่วยเหลือกัน

  17. 800 B.C.ชนเผ่าอัสซีเรีย • - พวกอัสซีเรียน ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์ ตั้งจักรวรรดิอัสซีเรีย Assyrian • - สมัยพระเจ้าอัสชูร์บานิปาล 668-629 B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด

  18. 612 B.Cชนเผ่าคาลเดีย -เผ่าคาลเดียนChaldean เข้ายึดครองนิเนเวห์สำเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่ - สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ 605-562 B.C. สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้นเชลยมาเป็นจำนวนมาก ได้สร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” Hanging Gardens of Babylon - ชาวคาลเดียน เป็นชาติแรกที่นำเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และยังสามารถคำนวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ

  19. 539 B.C.พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ์เปอร์เซีย ทำให้ประวัติศาสตร์แถบเมโสโปเตเมียสิ้นสุดลง

More Related