1 / 37

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 50 จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์

เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ : การปฏิรูปเชิงสถาบัน นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 50 จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุดศรีบูรพา มธ. 12 กันยายน 25 50. ประเด็นอภิปราย.

tivona
Download Presentation

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 50 จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ :การปฏิรูปเชิงสถาบันนิพนธ์ พัวพงศกรคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 50 จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุดศรีบูรพา มธ. 12 กันยายน 2550

  2. ประเด็นอภิปราย • ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ธรรมาภิบาลสำคัญอย่างไร • ธรรมาภิบาลมีหลายระดับ :global and local governance • ผลกระทบของธรรมาภิบาลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย : ตัวอย่าง • นัยเชิงนโยบายและคำถามวิจัยที่สำคัญ

  3. ความสำคัญของธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ : ระบบตลาดทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีธรรมาภิบาล • ธรรมาภิบาลในที่นี้หมายถึง “political order” หรือสถาบันประเพณี และกระบวนการที่กำหนดการใช้อำนาจของรัฐ การตัดสินใจเรื่องนโยบายสาธารณะทำอย่างไร ฯลฯ • ระบบตลาดภายใต้ระบบการค้าเสรีไม่อาจเติบโต และทำงานสนองความต้องการของสังคมได้ หากปราศจากธรรมาภิบาล/สถาบันและการกำกับดูแลของรัฐ (non-market institutions)

  4. เวนิสเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของยุโรปในศตวรรรษที่ 17 เพราะคุณภาพของธรรมาภิบาล • “มีผู้ตรวจตราเหรียญกษาปณ์ว่ามีน้ำหนักและมูลค่าที่ถูกต้อง มีอนุญาโตตุลาการคอยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางการค้าและรับเรื่องร้องทุกข์ของคนฝึกงาน มีเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาป้ายร้านค้า ร้านสุราตลอดจนงานฝีมือต่างๆ มีคนกำหนดค่าจ้างและคนจัดเก็บภาษีที่เคร่งครัด...ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ วุฒิสมาชิกหรือรัฐมนตรีต่างก็จะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างรอบคอบ กฎหมายทุกฉบับ บัญชีทุกฉบับจะถูกตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อความถูกต้อง” J. Barzum, from Dawn to Decadence: 500 Years of Western Cultural Life. 2000.

  5. ทำไมต้องมีธรรมาภิบาลควบคุมระบบตลาด: ตลาดทำงานไม่ได้ถ้าขาดธรรมาภิบาล (สถาบันด้านกฎหมายและการบริหารราชการ) • ตลาดจะมีการค้าขายก็ต่อเมื่อบ้านเมืองมีกฎหมายกรรมสิทธิ์ และกฎหมายสัญญา • ตลาดกำกับควบคุมตัวเองไม่ได้ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ต้องมีกฎหมาย มีกลต. และตลท. กำกับดูแล ถ้าไม่มีกติกาการซื้อขายหุ้น ก็จะมีการปันหุ้น ถ้าไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็จะเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่นๆ ถ้าไม่มีกฎหมายแข่งขันทางการค้าพ่อค้าก็จะฮั้วกันเอาเปรียบเทียบประชาชน • ตลาดรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจไม่ได้ ถ้าปราศจากกติกาการสร้างความมั่นคงแก่สถาบันการเงิน หรือถ้าไม่มีธนาคารกลางทำหน้าที่ lender of last resort หรือถ้ารัฐบาลขาดวินัยทางการคลัง • ตลาดสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองไม่ได้ หากประเทศไม่มีการประกันสังคม ไม่มีระบบภาษีที่เป็นธรรม หรือหากการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย หรือบ้านเมืองมีแต่คนจน

  6. ในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายใต้ระบบทุนนิยมมีการสร้างและปรับเปลี่ยนสถาบันต่างๆให้เหมาะกับยุคสมัยจนทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ตัวอย่างของธรรมาภิบาลกำกับระบบทุนนิยม คือ ไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศและลดความยากจนโดยเศรษฐกิจโตปีละ 6.5%ในช่วงปี 2501-39 เพราะว่ามีการสร้างสถาบันรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการเติบโต คือ (1) กฎหมายงบประมาณเพื่อรักษาวินัยการคลัง (2) ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายการเงินที่ควบคุมการกู้เงินของรัฐบาลและการป้องกันเงินเฟ้อ (3) กฎหมายเงินคงคลัง สหรัฐฯ แคนาดา และยุโรปมีกฎหมายแข่งขันทางการค้าเข้มแข็งป้องกันการผูกขาด และมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคป้องกันผู้ขายสินค้าเอาเปรียบผู้บริโภค ยุโรปมีระบบประกันสังคม/สวัสดิการเข้มแข็ง ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนมีกับคนจน มีการปกครองประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยึดหลักนิติธรรมและคุณธรรม ประชาชนสามารถควบคุมผู้ปกครองมิให้ปกครองอย่างปราศจากความชอบธรรม

  7. ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องมีธรรมาภิบาล/สถาบันที่เหมือนกัน เพราะระบบคุณค่าและปทัสถาน (norm) ของแต่ละสังคมต่างกัน • จีนมิได้มีกฎหมายกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลเหมือนตะวันตก แต่ใช้ระบบ Household Responsibility System และ Township and Village Enterprises แทน • ญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาต่างก็เป็นทุนนิยมพัฒนาแล้ว แต่รูปแบบสถาบันด้านตลาดแรงงาน บรรษัทภิบาล การคุ้มครองสังคมและระบบธนาคารกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

  8. การประกันสังคม: ขณะที่อเมริกาและยุโรปสร้างระบบประกันสังคมที่อาศัยภาษี ญี่ปุ่นกลับใช้ระบบการจ้างงานตลอดชีพ คุ้มครองภาคเกษตรและร้านค้าขนาดเล็ก • ในบริษัทญี่ปุ่น ผู้จัดการและพนักงาน (insiders) จะมีอำนาจมากกว่าผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่ก็มีธนาคารทำหน้าที่ควบคุมผู้จัดการและพนักงานแทน ทำให้ระบบบริษัทญี่ปุ่นเจริญเติบโตได้ • ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้ถือหุ้นจะมีอำนาจควบคุมผู้บริหารโดยตรงผู้บริหารต้องหากำไรให้มากที่สุดแก่เจ้าของ แต่ขณะเดียวกันรัฐก็มีกฎหมายป้องกันการผูกขาดที่ดุเดือดมากในการควบคุมมิให้บริษัทเอาเปรียบบริษัทอื่นๆ

  9. 2. ธรรมาภิบาลมีหลายระดับ • Global and local governance • Global governance : องค์กรโลกบาล รัฐบาลมหาอำนาจ บริษัทข้ามชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) • Local governance : ธรรมาภิบาลกำกับระบบเศรษฐกิจ (เช่น กระบวนการตัดสินดำเนินนโยบายของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง) และ บรรษัทภิบาล

  10. Corporate governance ก็มีหลายระดับ • ระดับประเทศ : กฎหมาย กฎระเบียบการกำกับควบคุมกิจการเอกชน (เช่น กฎหมายแพ่งพาณิชย กฎหมายบริษัทมหาชน กฎหมายล้มละลาย กฎหมายแข่งขันทางการค้า ฯลฯ) ระบบบัญชีและการตรวจสอบ inside trading • ระดับบริษัท : การประชุมคณะกรรมการ การตั้งผู้บริหารบริษัท และการกำหนดอัตราผลตอบแทน หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท ฯลฯ

  11. Governance ระดับประเทศที่มีประสิทธิผล ต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ • รัฐบาลเข้มแข็ง แต่ถูกควบคุมและตรวจสอบโดยภาคประชาสังคม/รัฐสภา มีระบบราชการที่เป็นมืออาชีพและเป็นอิสระ ตลาดมีการแข่งขัน • Transparency, predictability, accountability, participation

  12. 3. ผลกระทบของธรรมาภิบาลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย : ตัวอย่าง 3.1 ประเทศกำลังพัฒนาควรเลือกเปิดเสรีการค้า/การลงทุน/การเงิน เพียงใด จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด : Rodrik (2002) โต้แย้งว่าการเปิดเสรี (โลกาภิวัตน์) แบบสุดโต่งเป็นอันตรายต่อประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา

  13. ความปรารถนาของนักการเมืองความปรารถนาของนักการเมือง • ต้องการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี • ต้องการประชาธิปไตย เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้กำหนดนโยบาย (หรือผ่านผู้แทน) • ต้องการอำนาจอธิปไตย (nation state) ที่สามารถกำหนดทิศทางต่างๆ ของตนเอง

  14. Deep economic integration Golden straitjacket Global federalism Democratic Politics Nation State Bretton Woods compromise เราต้องเลือกแค่ 2 ใน 3 ทางเลือก • แต่ความปรารถนาทางการเมืองทั้งสามจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันไม่ได้ เรียกว่า political trilemma

  15. ควรจะเลือก 2 ทางเลือกใด • Golden strait-jacket คือเปิดเสรีเต็มที่กับรัฐบาลมีอธิปไตย แต่ต้องเป็นรัฐเผด็จการ เช่น อาเจนตินา • Global federalism คือ เปิดเสรีเต็มที่และมีประชาธิปไตย แต่ธรรมาภิบาลต้องเป็นระดับสากล เช่น สหรัฐอเมริกา และ EU • Bretton Woods compromise (มีประชาธิปไตย กับอำนาจอธิปไตย) เป็นไปได้มากที่สุด • แต่นั่นแปลว่าการเปิดเสรีการค้าต้องอยู่ในระดับต่ำ: ข้อเสนอของ Rodrik คือ การเจรจาเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานจะให้ประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศกำลังพัฒนา

  16. 3.2 ผลกระทบของการเปิดเสรีการค้ากับการสร้างธรรมาภิบาล : สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง กับโลกาภิวัตน์ระลอกแรก (ศตวรรษ 19) • Global governance: จักรวรรดินิยมตะวันตกกับลัทธิพาณิชย์นิยม • สนธิสัญญาเบาว์ริ่งเป็นการเปิดเสรีการค้าเฉพาะด้านสินค้าโดยการลดภาษีนำเข้าและส่งออก: บริษัทข้ามชาติสนใจเฉพาะการซื้อวัตถุดิบ และขายสินค้าอุตสาหกรรม/ฝิ่น

  17. ผลกระทบของการเปิดการค้าเสรี กับ การสร้างธรรมาภิบาล: • ในช่วงแรกหลังมีสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (1855-1875) การค้าไม่เพิ่มขึ้นมาก (ขึ้นลงในช่วง 10-15 ล้านบาท/ปี) • หลังจากนั้นมูลค่าการค้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปี 1850 = 100)

  18. ดัชนีการค้า ที่มา : Suehiro, Capital Accumulation in Thailand 1855-1985

  19. เหตุผลที่การค้าเพิ่มขึ้นเหตุผลที่การค้าเพิ่มขึ้น • การสร้างทางรถไฟ คลองรังสิต • เทคโนโลยีการคมนาคมทำให้ค่าขนส่งระหว่างประเทศลด • ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น ภาษีส่งออกข้าวต่ำกว่าน้ำตาล/พริกไทย • ค่าเงินบาทลด • การสร้างธรรมาภิบาลใหม่: (1) เลิกฐานันดรไพร่ และเลิกทาสเป็น ค.ศ.1905 (2) ลดภาษีที่ดินทำนาจาก 8-13 % ในปี 1850-55 เหลือ 2-3 % ในปี 1900-04 (3) มีสนธิสัญญากับหลายประเทศ (4) กฎหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคุ้มครองต่างชาติ แต่ไม่เป็นธรรมต่อคนไทย (5) มีการรับรองกรรมสิทธิ์เอกชนในที่ดินตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และ (6) ฝรั่งการพัฒนารูปแบบธุรกิจการค้าข้าวเอกชนแบบ vertical integration ที่สมบูรณ์กว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไทยเก่งค้าข้าว

  20. ผลกระทบอื่น: การศึกษาของอัมมาร์ • ค่าเช่าที่ดิน และค่าจ้างเพิ่มขึ้น แต่ค่าเช่าเพิ่มมากกว่า • ชนชั้นขุนนาง และคนรวยได้ประโยชน์จากระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินบริเวณรังสิต • เหตุผลที่การค้าไม้สักขยายตัวจาก 60,000 ตันในปี 1896-00 เป็น 110,501 ตันในปี 1926-30 • สัญญาสัมปทานและการคุ้มครองคนในบังคับอังกฤษในปี 1873 : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน • การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในสัมปทานไม้ เอื้อประโยชน์ต่อฝรั่งมากกว่าคนจ้าง เพราะแปลงสัมปทานใหญ่ขึ้น/ระยะเวลานานขึ้นผู้รับสัมปทานต้องมีเงินลงทุนสูง • การเปลี่ยนรูปแบบบริษัทค้าไม้แบบ vertical integration เป็นสัญญาจ้างเหมาตัดไม้ และขนส่งไม้โดยให้คนท้องถิ่นรับเหมา

  21. สรุป: มี governance ระดับประเทศ • การรวมศูนย์การบริหารราชการ เพื่อดึงอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจ จากเจ้าผู้ปกครองเมือง เช่น การทำสัญญาสัมปทานไม้สักกับฝรั่ง • ระบบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เข้มแข็ง • มีการสร้างสถาบันรองรับตลาดข้าว เช่น การรับรองกรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชน

  22. 3.3 ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ระลอกสอง (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) : • จอมพลสฤษดิ์ ตัดสินใจเลือกระบบเศรษฐกิจแบบเปิดเสรีในปี 2501 • National governance: รัฐบาลเผด็จการ ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี • นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รัฐบาลได้สร้างธรรมภิบาลใหม่ขึ้นมา เช่น ระบบการจัดการเศรษฐกิจมหภาคแบบอนุรักษ์นิยม นโยบายการศึกษาที่ต้องการให้เด็กทุกคนในประเภทพูดอ่าน-เขียนภาษาไทยการสร้างระบบความเชื่อมโยงทุกจังหวัดจัดทำให้เกิดตลาดใหญ่ระดับประเทศ นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยอาศัยกลยุทธการคุ้มครองอุสาหกรรม การปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้จัดสรรสินเชื่อ

  23. ระบบ global governance ในเวลานั้นคือระบบ Bretton Woods (ซึ่งประกอบด้วย IMP ธนาคารโลกและ GATT) บริษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลสหรัฐฯดำเนินนโยบายการค้าเสรี • ผลก็คือ ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละ 6.6% ในช่วงปี 2501-2539 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเกือบ 7.83 เท่าตัว • ความยากจนลดการ 55% ในกลางทศวรรษ 2500 เหลือ 12% ในปี 2539 • อัตราเงินเฟ้อต่ำ (เฉลี่ย 4-4.5% ต่อปี)

  24. แต่การเปิดเสรีการเงินในกลางทศวรรษ 2530 โดยไม่ปฏิรูปด้านสถาบันได้ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2540-41 • รัฐบาลผสมอ่อนแอ • Technocrats หมดอำนาจ • มี rent seeking จากนโยบายของรัฐ

  25. 3.4 นโยบายแข่งขันทางการค้า : การตรากฎหมายโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนธรรมาภิบาล และสถาบันต่างๆ ทำให้กฏหมายกลายเป็นเสือกระดาษ...ผลคือ ทุนนิยมไทยเถื่อน!! • สาระสำคัญของกฎหมายแข่งขันทางการค้า: • การใช้อำนาจเหนือตลาด เช่น predatory pricing, exclusive dealing เลือกปฏิบัติ ข่ายพ่วง (หรือบังคับซื้อ-tie-in, sale) : ต้องมีเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาด • การกระทำการตกลงร่วมกัน เช่น ฮั๊วราคา ฮั๊วการประมูล • การควบรวมธุรกิจ (merger): ต้องมีเกณฑ์ส่วนแบ่งตลาด • การค้าที่ไม่เป็นธรรม : มาตรา 29 เป็นมาตราครอบจักรวาล • กฎหมายกำหนดบทลงโทษทางอาญา หรือใช้มาตรการทางปกครอง

  26. โครงสร้างและอำนาจคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า : มาตรา 6 • โครงสร้างและจำนวนกรรมการ (12-16 คน) มีรัฐมนตรีเป็นประธาน ข้าราชการ 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 8-12 คน (ครึ่งหนึ่งเป็นเอกชน) • กรรมการมีอำนาจกึ่งตุลาการ : มาตรา 16 31 56 • แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์สถาบัน : อุปสงค์-อุปทานต่อนโยบายแข่งขันทางการค้า

  27. อุปสงค์ต่อนโยบายแข่งขัน: มีคนร้องเรียนกรรมการแข่งขันแต่ธุรกิจใหญ่ที่ต่อต้านนโยบายแข่งขันมีอำนาจการเมืองสูง • ผู้บริโภค : อ่อนแอ รวมตัวกันยาก แต่จะร้องเรียนกรณีราคาแพงมาก เช่น ค่า FT และเคเบิลทีวี • ธุรกิจรายเล็กเดือดร้อนจึงร้องเรียน • NGO ต่อต้านระบบทุนนิยมจึงไม่สนใจนโยบายแข่งขัน • สภาอุตสาหกรรม/หอการค้า : ถูกครอบงำโดยตัวแทนบริษัทใหญ่ ผู้ประกอบการรายเล็กถูกกีดกันในการคัดสรรตัวแทนกรรมการแข่งขันทางการค้า • บริษัทต่างชาติ เป็นกลุ่มเดียวที่ต้องการนโยบายแข่งขันที่ชัดเจน

  28. อุปทานของนโยบาย • รัฐบาลเป็นตัวแทนของนายทุนรายใหญ่ • ข้าราชการ รักษาผลประโยชน์ของตัว และพยายามดำรงอำนาจไว้ให้มากที่สุด...กฏกติกาจึงต้องใช้ “ดุลยพินิจ” ให้มากที่สุด และต้องไม่โปร่งใส • สภานิติบัญญัติ : ไม่มีบทบาทในการออกกฎหมายลูก เพราะหน่วยราชการเป็นผู้ออกกฎ

  29. Preference ของรัฐ • รัฐไทยไม่เคยมี preference ชัดเจนเรื่องนโยบายแข่งขันทางการค้า (competition policy) • มีแต่นโยบาย “ความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) • สาเหตุ : รัฐไทยถูกครอบงำด้วยแนวคิดโครงสร้างนิยมที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของกลุ่มอมาตย์ และกลุ่มนักเลือกตั้ง

  30. การดำเนินงานของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าการดำเนินงานของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า • มีเรื่องร้องเรียนมาก ทว่ามีคำวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องเรียนกระทำผิด 1 กรณี (Honda) แต่อยู่ระหว่างดำเนินคดี และมีการออกระเบียบว่าด้วยแนวทางพิจารณาการปฏิบัติการค้าของผู้ค้าปลีก 1 ฉบับ ในปี 2549 • 54 เรื่อง ประกอบด้วย ม.25 = 12 เรื่อง ม.27 = 15 เรื่อง ม.29 = 27 เรื่อง • ไม่มีเรื่องการร้องเรียนกรณีการควบรวมกิจการ (ม.26) • กรณี UBC (จำกัดทางเลือกผู้บริโภค) และเหล้าพ่วงเบียร์ ไม่อาจตัดสินได้ เพราะไม่มีนิยามผู้มีอำนาจเหนือตลาด • สรุป : กฎหมายยังไม่อาจใช้บังคับได้

  31. ทำไมกฎหมายแข่งขันทางการค้าจึงใช้บังคับไม่ได้ผล: เศรษฐศาสตร์สถาบัน...กติกาและองค์กร • มีผู้ร้องเรียนมาก แต่สถาบันที่มีอยู่ / กฎเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการบังคับกฎหมาย • การพิจารณาขึ้นกับแรงกดดันทางการเมือง ไม่ใช่ ขึ้นกับหลักฐานในการพิจารณา • แรงกดดันทางการเมืองปรากฎทั้งในสื่อสาธารณะ การวิ่งเต้นทั้งเปิดเผย และไม่เปิดเผย: กรณีอำนาจเหนือตลาดใช้เวลา 7 ปี 4 เดือน • รัฐบาล และระบบราชการ (รวมทั้งคณะกรรมการ) สนองความต้องการของธุรกิจใหญ่ ผู้บริโภคและ SME ไม่มีพลัง

  32. โครงสร้างคณะกรรมการ / สำนักงานไม่อิสระจากอำนาจการเมือง และถูกครอบงำโดยธุรกิจใหญ่ • ประธานคณะกรรมการเป็นรัฐมนตรี: พรรคขึ้นกับเงินสนับสนุนของธุรกิจเอกชน • ในประเทศพัฒนาแล้ว ไม่มีการตั้งกรรมการจากธุรกิจเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย...แต่ของไทยมี 3 คนจากสภาหอการค้า 2 คนจากสภาอุตสาหกรรม...และเป็นตัวแทนธุรกิจใหญ่ • ตัวแทนภาคราชการ (6 คน) อยู่ภายใต้บังคับบัญชานักการเมือง • เปลี่ยน รมว. พาณิชย์ มีผลกระทบต่อเรื่องที่พิจารณา

  33. ตัวบทกฎหมายเรื่องพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน: ยากต่อการพิจารณา ขาดความชัดเจน และถูกเตะถ่วง • การประกาศผู้มีอำนาจเหนือตลาดถูกเตะถ่วงนานถึง 7 ปี 4 เดือน เพราะอิทธิพลทางการเมือง...มิหนำซ้ำยังกำหนดเกณฑ์ส่วนแบ่งตลาดสูงมาก (50%ขึ้นไป) • หลักเศรษฐศาสตร์ว่าพฤติกรรมใดต่อต้านการแข่งขัน เป็นเรื่องซับซ้อน: ไม่มีขาวกับดำ เช่นการห้ามขายสินค้าของคู่แข่ง การกำหนดราคาขายปลีก การควบรวมกิจการ บางครั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและการแข่งขัน แต่บางครั้งก็เป็นพฤติกรรมทำลายคู่แข่ง ต้องมีหลักฐาน และอาศัยความรู้ความชำนาญอย่างมากจึงจะตัดสินใจได้ถูกต้อง • จึงลงเอยด้วยการใช้ดุลยพินิจ มากกว่าหลักฐานและหลักวิชาที่เข้มงวด เช่น อะไรแปลว่าขายในราคาต่ำกว่าทุน • ความผิดทางอาญาทำให้การพิจารณายุ่งยาก ยาวนานและต้นทุนสูงโดยไม่จำเป็น

  34. กฎเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินงาน: ไม่โปร่งใส ไม่เป็นมืออาชีพ • ไม่มีระบบเปิดเผยรายงานการพิจารณา ยังคงใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบ “อมาตยธิปไตย” เปิดเผยเฉพาะมติกรรมการ ทำให้ไม่โปร่งใส ไม่สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพเหมือนนานาประเทศ • ปัจจุบัน web dit.go.th/otcc แทบไม่มีข้อมูลอะไรเลยแม้แต่ที่ทำงานของกรรมการบางคนก็ผิด • ความลับรั่วไหล • กรรมการบางคนให้สัมภาษณ์ชี้นำแก่สื่อ • ไม่มีคู่มือและแนวการดำเนินงาน

  35. 4. นัยเชิงนโยบายและคำถามวิจัยที่สำคัญ 4.1 นัยเชิงนโยบาย • ไม่ควรมีนโยบายธรรมาภิบาลเพราะธรรมาภิบาลมีความหมายหลากหลายทำให้ไม่สามารถประเมินผลของนโยบายได้ • แต่ควรมีนโยบายแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาธรรมาภิบาลในแต่ละด้าน เช่น รัฐบาลผสมไม่เข้มแข็ง ระบบราชการอ่อนแอ ขาดนโยบายแข่งขันทางการค้า ฯลฯ 4.2 โจทย์วิจัย (1) : กฎหมายรัฐธรรมนูญ สร้าง “ธรรมาภิบาล” ที่เอื้ออำนวยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนได้ใหม • Hypothesis : กฎหมายรัฐธรรมนูญทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลผสม ที่อ่อนแอไม่สามารถผลิตนโยบายสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่

  36. 4.3 โจทย์วิจัย (2) : ทำไมไทยจึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ • Hypothesis : รัฐไทยไม่มีนโยบายรถยนต์แห่งชาติ แต่เครือซีเมนต์ไทยเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ขณะที่รัฐบาลพัฒนาระบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นจักรกลในการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม และนโยบายต่างๆ จัดสรรผลประโยชน์ให้ทั้งผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนแบบลงตัว 4.4 โจทย์วิจัย (3) : ทำไมระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังไม่สามารถเป็นหัวจักรในการปล่อยสินเชื่ออุตสาหกรรม และทำไมประชาชนส่วนใหญ่รวมทั้งธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลางยังคงอาศัยสินเชื่อส่วนใหญ่ • Hypothesis : ระบบการบังคับคดีในศาลไทยล่าช้า และธนาคารแห่งประเทศไทยละเลยกลไกการจัดสรรสินเชื่อและการบังคับหนี้ของบริษัทเงินทุน เช่น ระบบการเช่าซื้อ การขายฝาก ฯลฯ

  37. ขอบคุณครับ

More Related