1 / 47

เลือด (Blood)

เลือด (Blood). เลือดมีลักษณะเฉพาะคือเป็นของเหลว มีหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆ เช่น ก๊าซ สารอาหาร และของเสีย. เลือดมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

tierney
Download Presentation

เลือด (Blood)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เลือด (Blood) เลือดมีลักษณะเฉพาะคือเป็นของเหลวมีหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆเช่นก๊าซสารอาหารและของเสีย เลือดมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ก) ส่วนที่เป็นเซลล์และชิ้นส่วนของเซลล์ (formed elements)ได้แก่เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) เม็ดเลือดขาว (leukocyte) และแผ่นเลือด (blood platelet) ข)ส่วนที่เป็นน้ำเลือด (plasma)ซึ่งเป็นของเหลวใส

  2. ส่วนที่เป็นเซลล์และชิ้นส่วนของเซลล์ส่วนที่เป็นเซลล์และชิ้นส่วนของเซลล์ เม็ดเลือดแดง(Erytrocytes)เป็นเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียสและออร์แกเนลล์อื่นๆ เม็ดเลือดแดงของคนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 ไมครอนรูปร่างกลมแบนตรงกลางเว้าเข้าหากันทั้งสองด้านเป็นถุงฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่มีฤทธิ์เป็นด่างเมื่อย้อมสีจะติดสีส่วนที่เป็นกรดออกสีชมพูในกระแสเลือดมักพบว่าเม็ดเลือดแดงเรียงซ้อนกันเป็นตั้งเรียกว่ารูไลซ์(rouleaux)เม็ดเลือดแดงมีชีวิตอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 120 วันและมีการสร้างแทนที่ขึ้นใหม่ในไขกระดูก

  3. เม็ดเลือดขาว (Leukocytes)เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำจัดสิ่งแปลกปลอมแบ่งออกเป็น 2 พวกโดยดูจากแกรนูลในไซโตพลาสซึมและลักษณะของนิวเคลียสได้แก่ 1. Agranulocyteเป็นพวกที่ไม่มีแกรนูลชนิดพิเศษในไซโตพลาสซึมได้แก่ lymphocyte และ monocyte 2. Granulocyteเป็นพวกที่มีแกรนูลชนิดพิเศษซึ่งจะติดสีย้อมต่างกันตามสภาพความเป็นกรดและด่างได้แก่ neutrophil, eosinophil และ basophil

  4. ในไซโตพลาสซึมของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดมีแกรนูลธรรมดาจัดเป็นแกรนูลประเภทแอซูโรฟิล (azurophil) ซึ่งติดสีแอเซอร์เป็นสีม่วงอ่อนเป็นแกรนูลละเอียดกระจายอยู่ทั่วไปจากการศึกษาด้านเอนไซม์พบว่าแกรนูลชนิดนี้คือ lysosome

  5. Monocyte เป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 9-12 ไมครอนนิวเคลียสรูปไตทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมเมื่ออยู่ในเนื้อเยื่ออื่นๆจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นแมโครเฟจพบประมาณ 3-8 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด Lymphocyteเป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 6-8 ไมครอนมีนิวเคลียสกลมมีบทบาทสำคัญในการสร้างแอนติบอดีมีประมาณ 20-45 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด

  6. Neutrophilเป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 12 ไมครอนนิวเคลียสมี 2-5 พูซึ่งมีสายโครมาตินบางๆเชื่อมให้ติดกันภายในไซโตพลาสซึมมีแกรนูลพิเศษขนาดเล็กมากภายในมีเอนไซม์ alkaline phosphatase และสารทำลายแบคทีเรีย neutrophil มีประมาณ 50-70 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด

  7. Eosinophilเป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 10-14 ไมครอนนิวเคลียสมี 2 พูภายในมีแกรนูลพิเศษที่หยาบขนาดใหญ่ย้อมติดสีแดงเป็นจำนวนมาก eosinophil สามารถเคลื่อนที่และยื่น pseudopodium ไปหุ้มสิ่งแปลกปลอมได้แต่ช้ากว่า neutrophil เพราะจะเลือกจับแต่เฉพาะสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของแอนติเจนและแอนติบอดีแล้วเท่านั้นอีโอซิโนฟิลมีประมาณ 1-4 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด

  8. Basophilเป็นเซลล์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ประมาณ 12 ไมครอนนิวเคลียสมีขนาดใหญ่รูปร่างไม่แน่นอนแกรนูลพิเศษขนาดใหญ่ย้อมติดสีน้ำเงินและมักจะบังนิวเคลียสไว้เกือบทั้งหมดภายในแกรนูลมีสารhistamine และ heparineที่เซลล์สร้างขึ้นคล้ายกับที่พบใน mast cell นอกจากนี้ basophil สามารถเคลื่อนที่และจับสิ่งแปลกปลอมได้เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆมีประมาณ 0.5-1 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด

  9. Blood plateletแผ่นเลือดมีขนาด 2-4 ไมครอนเป็นชิ้นส่วนของไซโตพลาสซึมไม่มีนิวเคลียสย้อมติดสีน้ำเงินตรงกลางมี mitochondria รวมกลุ่มอยู่เป็นจำนวนมากแผ่นเลือดมีความสำคัญเกี่ยวการทำให้เลือดแข็งตัวโดยปกติมีประมาณ 1.5-3 แสนแผ่น/ลบ.ซม

  10. ส่วนที่เป็นน้ำเลือด(plasma)ส่วนที่เป็นน้ำเลือด(plasma) น้ำเลือดเป็นของเหลวใสประกอบด้วยโปรตีนที่สำคัญ 3 ชนิดคือ Albuminมีบทบาทสำคัญในการรักษาแรงดันออสโมซีสในเลือด Globulinทำหน้าเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน Fibrinogenมีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการทำให้เลือดแข็งตัวถ้าน้ำเลือดถูกกับอากาศ fibrinogen จะตกตะกอนจับกันเป็นเส้นใยบางๆก่ายเป็นร่างแหส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำใสสีเหลืองเรียกว่าเซรุ่ม นอกจากนี้ยังประกอบด้วย เกลืออนินทรีย์และสารอินทรีย์เช่นกรดอะมิโนไวตามินฮอร์โมนและไขมันต่างๆ

  11. 1 5 2 3 4 1 = …………..... 2 = …………… 3 = ………….… 4 = ……………. 5 = ……………

  12. กล้ามเนื้อ (Muscular tissue) กล้ามเนื้อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาวอาจเรียกเซลล์กล้ามเนื้อได้ว่าเส้นใยกล้ามเนื้อ(muscle fiber)ในไซโตพลาสซึมของเส้นใยกล้ามเนื้อมีโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ชนิดคือactinและmyosin

  13. กล้ามเนื้อแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

  14. กล้ามเนื้อแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พบโครงสร้างและหน้าที่ได้แก่ 1. กล้ามเนื้อเรียบ(smooth muscle) 2. กล้ามเนื้อสเกเลทัล(skeletal muscle) 3. กล้ามเนื้อหัวใจ(cardiac muscle)

  15. ส่วนประกอบของเซลล์กล้ามเนื้อจะมีชื่อเฉพาะแตกต่างไปจากเซลล์ชนิดอื่นๆได้แก่ส่วนประกอบของเซลล์กล้ามเนื้อจะมีชื่อเฉพาะแตกต่างไปจากเซลล์ชนิดอื่นๆได้แก่ Cell membrane ของเซลล์กล้ามเนื้อ = Sarcolemma Cytoplasm = Sarcoplasm Endoplasmic reticulum = Sarcoplasmic reticulum

  16. กล้ามเนื้อสเกเลทัล(Skeletal muscle) กล้ามเนื้อในร่างกายส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อสเกเลทัลกล้ามเนื้อนี้เกาะยึดติดกับกระดูกสามารถหดตัวได้เมื่อถูกกระตุ้นและอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง

  17. Skeletal muscle Nucleus ของ muscle fiber Muscle fiber ลักษณะของเซลล์กล้ามเนื้อเป็นรูปทรงกระบอกซึ่งมีความยาวมากเซลล์มีขนาดใหญ่มีหลายนิวเคลียสเรียงชิดอยู่กับเยื่อหุ้มเซลล์มีลายตามขวางคือมีแถบสีจางสลับกับแถบสีเข้มดังนั้นอาจเรียกกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ว่ากล้ามเนื้อลาย (striated muscle)

  18. ภาพตัดตามขวางของskeletal muscle Sarcolemma (เยื่อหุ้มเซลล์) Nucleus เรียงชิดอยู่กับ sarcolemma

  19. การที่มองเห็นเซลล์กล้ามเนื้อมีลายตามขวางเนื่องจากภายใน sarcoplasm มีเส้นใยฝอยซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทำให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เรียกว่า myofibril เป็นจำนวนมากใน myofibril มีโปรตีน actin และ myosin เรียงอย่างเป็นระเบียบมองเห็นมีแถบ (band) หรือเส้น (line) ที่ชัดและทึบสลับกันไปตลอด

  20. ใน Sarcoplasm นอกจากมีโปรตีนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อแล้วยังมี Organelles ที่สำคัญได้แก่ Sarcoplamic reticulum ซึ่งคือ SER ที่เปลี่ยนไปเป็นท่อที่ต่อเนื่องกันล้อมรอบกลุ่มเส้นใยของกล้ามเนื้อทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสม Ca2+ • Sarcolemma มีโครงสร้างที่พับซ้อนกันเป็นหลอดบางและยาวตามแนวขวางเรียกว่า Transverse tubule เป็นทางติดต่อจากผิวภายนอกของเซลล์เข้าไปติดต่อกับ Sarcoplamic reticulum • ส่านประกอบอื่นๆภายใน Sarcoplasm ได้แก่ RER , ribosome และ Golgi complex มีอยู่เป็นจำนวนน้อยเพราะเซลล์กล้ามเนื้อไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างโปรตีน

  21. การเรียงตัวประกอบกันเป็นมัดกล้ามเนื้อskeletonมีเยื่อเกี่ยวพันหุ้มเป็นขั้นตอนและทั้งมัดกล้ามเนื้อจะติดต่อกับเอ็นซึ่งไปยึดติดกับกระดูกการเรียงตัวประกอบกันเป็นมัดกล้ามเนื้อskeletonมีเยื่อเกี่ยวพันหุ้มเป็นขั้นตอนและทั้งมัดกล้ามเนื้อจะติดต่อกับเอ็นซึ่งไปยึดติดกับกระดูก

  22. กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscle) กล้ามเนื้อหัวใจพบแห่งเดียวคือกล้ามเนื้อที่หัวใจและผนังของเส้นเลือดใหญ่ที่ต่อกับหัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่มีลายเช่นเดียวกับ skeletal muscle ต่างกันที่กล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางและการทำงานเกิดขึ้นติดต่อกันตลอดเวลา

  23. เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจประกอบด้วยหนึ่งหรือสองนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เซลล์มีขนาดสั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อ skeleton และปลายแยกเป็นสองแฉก (bifurcate) ซึ่งจะไปต่อกับเซลล์อื่นๆในลักษณะเป็นร่างแหที่รอยต่อของเซลล์ด้านขวางจะยึดติดกันแน่นมีลักษณะการเชื่อมโยงอย่างซับซ้อนเรียกว่าintercalated discมองเห็นได้ชัดเจนด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา

  24. Cardiac muscle Nucleus อยู่กลางเซลล์ Intercalated disc

  25. กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth muscle) ในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบไม่เห็นลายถึงแม้ว่าภายในเซลล์จะมีแอกทินและไมโอซินแต่การเรียงตัวไม่เป็นระเบียบเหมือนอย่างใน skeletal muscle และ Cardiac muscle ลักษณะเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบเป็นรูปกระสวยหัวท้ายแหลมและมีหนึ่งนิวเคลียสอยู่กลางเซลล์ กล้ามเนื้อเรียบอยู่นอกการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางพบได้ที่ผนังของอวัยวะภายในระบบต่างๆของร่างกายและเส้นเลือด nucleus

  26. Smooth muscle

  27. Smooth muscle ที่ผนังเส้นเลือดแดง

  28. เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) เนื้อเยื่อประสาทเป็นกลุ่มเซลล์ที่พัฒนาไปเพื่อทำหน้าที่สำคัญได้แก่การนำกระแสความรู้สึกและตอบสนองต่อสิ่งเร้าในการทำงานจะทำงานร่วมกันเรียกว่าระบบประสาทซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง(central nervous system, CNS)ได้แก่สมองและไขสันหลัง 2. ระบบประสาทส่วนปลาย(peripheral nervous system, PNS)ได้แก่เส้นประสาทต่างๆซึ่งเชื่อมกับ CNS

  29. เนื้อเยื่อประสาทประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ 1. ตัวเซลล์ประสาท(neuron) 2. เซลล์เกี่ยวพันประสาทหรือนิวโรเกลีย(glial cell หรือ neuroglia)

  30. Neuron

  31. เซลล์ประสาท (Neuron) แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ • Cell body • Dendrite • Axon

  32. Neuron Dendrite Cell body Nucleus

  33. Nerve fiber โดยทั่วไปมีเยื่อไมอีลินหุ้ม (myelinated nerve fiber) เยื่อไมอีลินเป็นไขมันเกิดจากผนังของ Glial cell ชนิด Schwann cell หรือ Neurolemma พันรอบแกน axon ซ้อนกันแน่นหลายๆชั้นทำให้เห็นเป็นปลอกหนาส่วน cytoplasm ของ Schwann cell จะพันอยู่เพียงรอบนอกสุดเท่านั้นเนื่องจากใยประสาทมีความยาวมากจึงต้องมี Schwann cell หุ้มหลายตัวรอยต่อระหว่างเซลล์เรียกว่า node of Ranvier

  34. Nerve fiber ที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลางและตรงที่จะเข้าไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆจะไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม (Nonmyelinated nerve fiber) Nerve fiber ชนิดไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มนี้มิได้หมายความว่าจะมีเพียงเส้น axon อยู่โดยลำพังเท่านั้นแท้จริงแล้ว nerve fiber ชนิดนี้จะมีเยื่อหุ้มเซลล์ของ neurolemma หุ้มอยู่โดยรอบเช่นกันแต่จะหุ้มอยู่เพียงชั้นเดียว neurolemma 1 ตัวอาจหุ้ม nerve fiber ได้หลายเส้น

  35. Neuron 3 ชนิด • Multipolar • Bipolar • Unipolar 1 2 3

  36. Unipolar neuron Multipolar neuron

  37. เซลล์ประสาทชนิดต่างๆ

  38. Nissl’s granules (จุดๆติดสีแดงใน cytoplasm) Neuron Glial cell

  39. เซลล์เกี่ยวพันประสาท (Glial cell or Neuroglia) • Glial cell เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆกันทำหน้าที่เป็นตัวยึดเหนี่ยวพยุงให้เซลล์ประสาทอยู่คงที่และทำหน้าที่อื่นๆอีกแล้วแต่ชนิด • ในระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ ependymal cell, astrocyte, oligodendroglia และ microglia • ในระบบประสาทส่วนปลายได้แก่ Schwann cell, neurolemma

  40. Ependymal cellเป็นเซลล์บุช่องในสมองและไขสันหลัง Astrocyteมีรูปร่างคล้ายดาวทำหน้าที่เกี่ยวพันและเป็นตัวเชื่อมประสาทปากแผลที่จะเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อประสาทลักษณะเด่นคือมีแขนงหนึ่งไปพันอยู่รอบผนังหลอดเลือดและทำหน้าที่สำคัญในการประกอบขึ้นเป็นblood brain barrier

  41. Oligodendrogliaทำหน้าที่สร้างเยื่อหุ้มไมอีลินหุ้มใยประสาทในระบบประสาทส่วนกลางพบทั้งใน gray matter และ white matter

  42. Microglia เป็นเซลล์เกี่ยวพันประสาทที่มีขนาดเล็กๆที่สุดทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในเนื้อเยื่อประสาท

  43. Schwann cell หรือ Neurolemma ทำหน้าที่สร้างเยื่อหุ้มไมอีลินหุ้มใยประสาทที่บริเวณเส้นประสาทต่างๆทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในเนื้อเยื่อประสาทและยังมีบทบาทในการเสริมสร้างใยประสาทได้ด้วย

  44. การเรียงตัวของnerve fiber ในเส้นประสาทแต่ละเส้นมีลำดับขั้นตอนดังนี้ nerve fiber 1 เส้นมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประสาทหุ้มอยู่บางๆเรียกว่า endoneurium แล้ว nerve fiber หลายๆเส้นที่มี endoneurium หุ้มนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า fascicle มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแท้หุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า perineurium fascicles หลายกลุ่มจะรวมกันเข้าเป็นเส้นประสาท 1 เส้นมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแท้หุ้มโดยรอบเช่นกันเรียก epineurium

  45. epineurium Spinal ganglion perineurium PERIPHERAL NERVE endoneurium Afferent neuron fascicles Sensory ending Efferent neuron Anterior horn cell Node of Ranvier Axon ONE NERVE FIBER Myelin sheath Neurolemma (sheath of Schwann) motor ending

  46. Motor end plate

More Related