1 / 80

ภาวะสตรีมีครรภ์ (ก่อนคลอด)

ภาวะสตรีมีครรภ์ (ก่อนคลอด). การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย. การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เช่น Labia majora , Labia minora , clitoris, vaginal introitus ขณะตั้งครรภ์จะขยายใหญ่ขึ้นเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ขนาดของ labia ใหญ่ขึ้นเพราะมีไขมันมากขึ้น . รังไข่ ( ovary ).

thalassa
Download Presentation

ภาวะสตรีมีครรภ์ (ก่อนคลอด)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาวะสตรีมีครรภ์(ก่อนคลอด)ภาวะสตรีมีครรภ์(ก่อนคลอด)

  2. การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เช่น Labia majora, Labia minora, clitoris, vaginal introitusขณะตั้งครรภ์จะขยายใหญ่ขึ้นเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ขนาดของ labia ใหญ่ขึ้นเพราะมีไขมันมากขึ้น

  3. รังไข่ (ovary) ในขณะตั้งครรภ์ รังไข่จะสร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อช่วยให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปได้ตามปกติ ระยะ 6-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ corpus luteumจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระดับสูง โดยมีปริมาณฮอร์โมนสูงสุดในระยะ 6-7 สัปดาห์ และลดลงต่ำสุดในอายุครรภ์ 8 สัปดาห์

  4. มดลูก (uterus) มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วง 1-3 เดือน แรกมดลูก จะมีขนาดยาวและขยายใหญ่ขึ้นจากผลของestrogen และ progester one Fibrous tissue และ elastic tissue เพิ่มขึ้นมากกว่า20เท่าของมดลูกปกติผนังมดลูก จะแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 12สัปดาห์มดลูกจะอยู่ที่ประมาณระดับ symphysis pubis ซึ่งสามารถคลำพบทางหน้าท้อง

  5. ช่วง 4-6 เดือน corpus และ fundus ของมดลูกจะกลมขึ้นมดลูกจะเป็นรูปไข่ ผนังมดลูกจะบางลงในขณะที่กล้ามเนื้อมดลูกแข็งแรงมากขึ้นมดลูกจะลอยสูงจาก pelvis และเอียงไปทางขวา เอนมาทาง Anterior abdominal wall

  6. สัปดาห์ที่ 20 มดลูกจะคลำได้ระดับสะดือ กล้ามเนื้อมดลูกแข็งแรง มี Braxton Hick contraction ทำให้เลือดไหลผ่านเข้าสู่ Intervillous space ของ Placenta มากขึ้น

  7. ช่วงไตรมาสที่สาม Fundusจะอยู่ที่ระดับ Xiphoid process ช่วง 38-40 สัปดาห์ จะเกิด Lightening คือ fetus จะเข้าช่องเชิงกรานทำให้ความสูงของยอดมดลูกลดลง

  8. การเจริญเติบโตของหลอดเลือด uterine blood vessels และ lymphaticsจะเพิ่มขนาดและมีจำนวนมากขึ้น หลอดเลือดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อสะสมเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกและรกให้มากขึ้น ในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์จะมีเลือดมาเลี้ยงรกด้านแม่ ประมาณ 500 ซีซี/นาที

  9. ปากมดลูก (cervical) ปากมดลูกของสตรีตั้งครรภ์มีการเปลี่ยน แปลงเกิดขึ้นมีการคั่งของน้ำมากร่วมกับ การเพิ่มจำนวนและขนาดต่อมปากมดลูก ส่งผลให้ปากมดลูกของสตรีตั้งครรภ์มีสี คล้ำและอ่อนนุ่มมาก

  10. ปากมดลูกโดยปกติจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบจำนวนน้อยแต่มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจำนวนมาก ในขณะตั้งครรภ์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันธ์จะสะสมคอลลาเจนไว้มากเพื่อช่วยให้เกิดการยืดขยายตัวในการเปิดของปากมดลูกเพื่อการคลอด

  11. ช่องคลอด และกล้ามเนื้อฝีเย็บ (vagina and perineum) อวัยวะในอุ้งเชิงกรานจะมีเลือดมาเลี้ยงในปริมาณมาก เกิดการคั่งของเลือดในเยื่อบุและหลอดเลือดที่อวัยวะต่างๆ ได้แก่ ช่องคลอด กล้ามเนื้อฝีเย็บ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเยื่อบุช่องคลอดจะมีสีคล้ำอมม่วง เรียกว่า “Chadwick’s sign”

  12. เซลล์กล้ามเนื้อช่องคลอดและฝีเย็บจะมีขนาดใหญ่และยืดขยายตัวมากขึ้น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะมีการเกาะตัวอย่างหลวมๆ เพื่อเตรียมการยืดขยายในการคลอด การเปลี่ยน แปลงนี้จะทำให้ช่องคลอดยืดยาวขึ้น และมีความตึงกระชับลดลง สิ่งขับในช่องคลอดจะมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจาก การทำงานของต่อมขับมูกในช่องคลอดและ ต่อมปากมดลูกทำงานเพิ่มขึ้น

  13. เต้านม (breast) เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เต้านมจะมีลักษณะคัดตึงและเจ็บเวลาจับต้อง ในเดือนที่สอง เต้านมจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีลักษณะเป็น nodular เนื่องจากการเพิ่มขนาดของเซลล์ในต่อมน้ำนม ขนาดของเต้านมที่ขยายใหญ่และการมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น

  14. ทำให้มองเห็นเส้นเลือดดำใต้ผิวหนังของเต้านมชัดเจนเป็นจำนวนมาก หัวนมจะมีขนาดใหญ่ สีผิวเข้มขึ้น และชูชัน ต่อมไขมันที่ลานหัวนมมีขนาดใหญ่ขึ้น บริเวณรูเปิดจะมีลักษณะเป็นตุ่มมองเห็นได้ชัดเจน เรียกว่า “Montgomery’s tubercles” ลานนม ขยายวงกว้างขึ้น และมีสีเข้มขึ้นการทำงานของต่อมน้ำนมและการสร้างน้ำนมจะเริ่มในประมาณเดือนที่สามของการตั้งครรภ์

  15. การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างของร่างกายการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของต่อม Pituitary ฮอร์โมน thyrotropin , adrenocoticotropic hormone (ACTH) ทำให้ metabolism ของมารดามีการเปลี่ยนแปลงVasopressin (antidiuretic hormone : ADH)

  16. จะช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำโดยกระบวนการทำหน้าที่ของ antidiuretic hormone, oxytocinจะกระตุ้นการคลอด และช่วยในการคัดหลั่งน้ำนม โดยมีผลต่อ Breast tissue

  17. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ต่อมไทรอยด์จะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ Basal Metabolic Rate (BMR) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย Cardiac output เพิ่มขึ้น Pulse rate เพิ่มขึ้น มี Vasadilation และมีความทนต่อความร้อนเพิ่มขึ้น BMR อาจเพิ่มขึ้น 25% และกลับสู่ ภาวะปกติภายหลัง 1 สัปดาห์หลังคลอด

  18. ตับอ่อน (Pancrease) ระดับของ Insulin, Glucagon จะเปลี่ยนแปลง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทำให้ต้องการ Glucose เพิ่มขึ้น รกจะสร้างฮอร์โมน human placenta lactogen ซึ่งทำให้มี Lipolysis นอกจากนี้ Human placental lactogen ยับยั้งการทำหน้าที่ของ insulin

  19. ระบบประสาท (Neurologic system) Meralgiaparesthesiaคือ อาการปวดตุ๊บ และอ่อนล้า ในส่วนหน้าขาด้านหน้าและข้างๆ ของขา เกิดขึ้นจาก lateral cutaneous nerve ถูกกด อาจเกิดเมื่อครรภ์มากขึ้นโดยมดลูกจะ กดเส้นประสาทนี้และการไหลเวียนจะมีการคั่ง เกิดขึ้น

  20. ไตรมาสที่ 3 จะมีภาวะของ Carpal tunnel syndrome เกิดจาก median nerve ของอุ้งมือถูกกดด้วยอาการบวมของเนื้อเยื่อรอบๆ จะมีความรู้สึก thingling and burning ที่มือและร้าวไปที่แขนและต้นแขนอาจเกิดภาวะ hypocalcemia และ musclecramps

  21. เพราะความต้องการ calcium เพิ่มขึ้น จาก metabolism เพิ่มขึ้นเพราะทารก ต้องนำไปใช้สร้างกระดูกอาจเกิดภาวะ hypoglycemia และ postural hypotension

  22. ระบบภูมิต้านทาน (immune system) ทารกในครรภ์ และรก จะถูกปกป้องด้วยระบบ immune ด้วยกลไกที่ยังไม่ทราบชัดเจน

  23. ระบบผิวหนัง (integumentary system) การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์จะมีมากเช่น หน้าท้องลาย หน้าท้องเป็นเส้นทึบดำผ่ากลาง การเปลี่ยนแปลงของสีผิว และการมีเส้นเลือดขอดอย่างชัดเจน

  24. การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด การหลั่งของ hormones estrogen ทำให้หลอดเลือดมีลักษณะบาง และมีสีแดง มี vascular spiders เนื่องจากมีการแตกแยกของหลอดเลือด

  25. การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของผิวหนังอาจเป็นมัน และมีสิวเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มสูงขึ้นของ hormone estrogen

  26. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (musculoskeletal system) กระดูกเชิงกรานจะเอียงมาด้านหน้า เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้น ส่วนโค้งของช่วงกระดูกที่บั้นเอวจะมีเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนเพศที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ข้อต่อกระดูกเชิงกรานข้อต่อกระดูกกระเบนเหน็บกับกระดูก ileum จะคลายตัวมาก

  27. ระบบหัวใจหลอดเลือดและเลือดระบบหัวใจหลอดเลือดและเลือด (Cardiovascular system) จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ทำให้มีการ เปลี่ยนแปลง ที่ให้ผลดีต่อร่างกาย มีการ เปลี่ยนแปลงคือ หัวใจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากปริมาตรเลือด และเลือดที่ออก จากหัวใจต่อนาที มีปริมาตรมากขึ้น

  28. ระบบหายใจ (Respiratory system) ระยะตั้งครรภ์เส้นผ่านศูนย์กลางของช่วงอกจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องจากเส้นเอ็น ที่ยึดกระดูกซี่โครง หย่อนตัวจากอิทธิพลของ progesterone หญิงตั้งครรภ์จะหายใจด้วย thoracic breathing มากกว่า abdominal breathibing เพราะมดลูกโตขึ้น ปริมาตรหายใจเข้า - ออกในแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น

  29. ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal system) การเคลื่อนผ่านของอาหาร ใช้เวลานานขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและการเบียดบังพื้นที่ในช่องท้องและช่องเชิงกรานของมดลูกที่มีขนาดใหญ่ พบว่าในขณะตั้งครรภ์จะมีระดับของ motilin ลดลง

  30. motilin มีหน้าที่กระตุ้นการทำงาน ของกล้ามเนื้อเรียบ อาการที่พบได้ใน ไตรมาสแรกคือ เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ท้องอืด คลื่นไส้-อาเจียน และท้องผูก

  31. ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary system) ขณะตั้งครรภ์กรวยไตและท่อไตจะหย่อนตัว เนื่องจากอิทธิพลของ progesterone ทำให้กล้าม เนื้อหย่อนตัว ทำให้มีโอกาสเกิด hydronephrosis และ hydroureter คือมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกรวยไตและท่อไตที่ขยายตัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้

  32. ปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อน ทางกายภาพบำบัดที่อาจเกิดขึ้น ในภาวะตั้งครรภ์

  33. อาการปวดท้อง (Abdominal Pain) สาเหตุ: เนื่องจากข้อต่อซึ่งรองรับมดลูกได้ยืดตัวออก คนท้องจึงประสบกับอาการปวดเมื่อยด้านข้างของท้อง

  34. แก้ไข: - พยายามนวดอย่างเบาๆ ในบริเวณที่ปวด ด้วยฝ่ามือโดยเคลื่อนไหวฝ่ามือช้าๆ -ใส่กางเกงsupport ท้องที่เรียกว่ากางเกงพยุงครรภ์ จะสามารถช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ -ถ้ามีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือหมอสูติประจำตัวโดยเร็ว

  35. อาการปวดหลัง (Backache) สาเหตุ:ข้อต่อกระดูกต่างๆ มีการหย่อนตัวมากขึ้นและการอยู่ในท่วงท่าที่ไม่เหมาะสมสามารถทำให้มีอาการปวดหลังมากยิ่งขึ้น

  36. แก้ไข:ปรับตัวให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้องเช่นการยืนต้องยืนให้ตัวตรงๆ ใช้หมอนหนุนหลังเมื่อนั่ง และ ก้มลงเก็บของโดยให้หลังตรง คือยืนให้น้ำหนักลงที่เท้าทั้งสองข้าง ย่อตัวลงโดยงอข้อสะโพกและหัวเข่า พยายามรักษาระดับให้ใบหู หัวไหล่และสะโพก อยู่ในระดับเดียวกัน

  37. หายใจไม่สะดวก (Breathlessness) สาเหตุ:เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น มดลูกขยายใหญ่ขึ้นมีผลไปดันกระบังลมส่งผลถึงปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก แก้ไข: หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด พยายามหายใจช้าๆ และลึกๆ อย่าทำอะไรรีบร้อน

  38. Carpal Tunnel Syndrome สาเหตุ: มือ เท้ามีอาการชา เจ็บยิบๆ(tingling) หรือเจ็บฝ่ามือเนื่องจากระบบประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (มักจะมาจากอาการบวม) แก้ไข: นวดฝ่ามือ, ขยับนิ้วมือขึ้นลง กางนิ้วมือทั้ง 5 กว้างๆ สัก 2-3 วินาทีแล้วหุบมือ หรือเวลากลางคืนลองนอนห้อยมือลงมาข้างเตียง

  39. ตะคริว (Cramp) สาเหตุ: ตะคริวที่ขาหรือเท้าอาจเนื่องมาจากการหมุนเวียน ของเลือดลดประสิทธิภาพลง และการรับประทานอาหาร ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายยามตั้งครรภ์ เช่น ขาดแคลเซียม, วิตามิน B รวม, โปตัสเซียม เป็นต้น

  40. แก้ไข: - เมื่อตื่นนอนให้งอนิ้วเท้าขึ้น หรือเพื่อให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ลองใช้เท้าแต่ละข้างกลิ้งขวดเปล่าๆ ไปมา 20 ครั้งก่อนนอน - รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่

  41. หน้ามืดเป็นลม (Fainting) สาเหตุ: ฮอร์โมนยามตั้งครรภ์ทำให้หลอดเลือดหย่อนตัว ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ซึ่งทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามือเป็นลม และมดลูกต้องการเลือดเพิ่มขึ้น จำนวนน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง

  42. แก้ไข:- รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ - หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่คับแน่นฟิตที่จะทำใหร้อน - พกพัดลมอันจิ๋วที่มีมอเตอร์ในตัวเอง หรือ พัดหรือกระป๋องสเปรย์ฉีดน้ำ เพื่อช่วยคุณ ระบายความร้อน

  43. ปวดศีรษะ (Headaches) สาเหตุ: ฮอร์โมน, อาการขาดน้ำกะทันหัน (Dehydration), ความอ่อนเพลีย, ความหิว, เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ, หรือภาวะความเครียด ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

  44. แก้ไข:- นวดต้นคอด้านข้าง เริ่มจากฐานของ กะโหลกศีรษะ หรือขอให้สามีนวดใบหน้า ลำคอ และไหล่ จะทำให้รู้สึกดีขึ้น - พยายามรับประทานอาหารอย่างสม่ำ เสมอครบทุกมื้อ - ดื่มน้ำบ่อยๆระหว่างอาหารแต่ละมื้อ

  45. ริดสีดวงทวารHaemorrhoids(Piles) สาเหตุ: การกดทับของมดลูกทำให้เลือดเดินไม่สะดวก หลอดเลือดจึงบวม เป็นผลทำให้ทวารหนักเกิดอาการบวมเจ็บ , คัน เวลาถ่ายจึงทำให้บาดและระคายเคืองยิ่งขึ้นเมื่อท้องผูก

  46. แก้ไข: เช่นเดียวกับอาการท้องผูก และพยายามรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งรวมอาหารที่มีวิตามิน B6 , วิตามิน , และวิตามิน E แต่ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ก่อนที่คุณจะรับประทานวิตามินเสริมเอง

  47. เหงื่อออกในตอนกลางคืน (Night Sweat) สาเหตุ: การเพิ่มปริมาณของเลือดในร่างกายทำให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ร่างกายร้อนแก้ไข: - ใส่เสื้อผ้าที่ทำจากคอตตอน - เวลานอนให้เปิดแอร์ หรือพัดลมหรือ แม้แต่วางสเปรย์ฉีดน้ำไว้ใกล้เตียง - รับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่น ผักสด, ถั่ว เป็นต้น

  48. ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic Pain) สาเหตุ: อาการปวดเกิดจากข้อต่อกระดูกซึ่งหย่อนตัวลง เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ส่วนอาการเจ็บแปลบๆอาจเป็นเพราะทารกในครรภ์ดิ้นไปชนกระเพาะปัสสาวะที่เต็มของคุณแม่

  49. แก้ไข: • ใช้ผ้าห่มหรือถุงนอนมาปูใต้ผ้าปูที่นอน • ถ้าเตียงแข็งเกินไป ควรนอนตะแคงข้างแล้วกอดหมอนข้างหรือวางหมอนนิ่มๆ ระหว่างเข่าและใต้ท้อง • เวลาก้าวขึ้นเตียงนอน ให้งอเข่าก้าวขึ้น เตียงแล้วค่อยๆ เอนกลิ้งลงนอนอย่างช้าๆ • ควรปัสสาวะให้บ่อยๆ เพื่อระบายกระเพาะปัสสาวะให้ว่างเสมอ

  50. อาการเจ็บที่กระดูกใต้อก (Rib Pain) สาเหตุ: อาการเจ็บแปลบๆ ใต้อกด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการขยายตัวใหญ่ขึ้นของมดลูกไปกดทับกระดูก

More Related