330 likes | 596 Views
ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก. สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ก.ย. 2553 พญ.รมร แย้มประทุม กุมารแพทย์ พัฒนาการและพฤติกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รพ.ม.บูรพา. วัตถุประสงค์การเรียนรู้. บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลเด็กสามารถ เข้าใจปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยเด็ก
E N D
ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก สำหรับบุคลากรสาธารณสุข ก.ย. 2553 พญ.รมร แย้มประทุม กุมารแพทย์ พัฒนาการและพฤติกรรม ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รพ.ม.บูรพา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลเด็กสามารถ • เข้าใจปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยเด็ก • ประยุกต์ใช้ในการดูแล และให้คำแนะนำปัญหาพฤติกรรมในเด็กได้ถูกต้อง เหมาะสม • ส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมได้เหมาะสม • สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก ครอบครัว และชุมชน
ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็ก • Colic • Breath holding spell • Temper tantrums • Thumb sucking • Enuresis • Encorpesis
พฤติกรรมแค่ไหนจึงเป็นปัญหา?พฤติกรรมแค่ไหนจึงเป็นปัญหา? • ขึ้นอยู่กับอายุ และพัฒนาการของเด็ก • แปรตามสังคม และวัฒนธรรม (ความคาดหวัง) • ความกังวลของผู้ใกล้ชิด
ร้อง 3 เดือน (Infantile colic) • พบบ่อยในช่วงอายุ 2 สัปดาห์ - 4 เดือน • พบประมาณ 10-30% ของทารก • ร้องมากโดยหาสาเหตุไม่ได้ ในเด็กที่มีสุขภาพทั่วไปปกติ • ร้อง • > 3 ชั่วโมง/ วัน • > 3 วัน/ สัปดาห์ • > 3 สัปดาห์
ร้อง 3 เดือน (Infantile colic) • สาเหตุ: ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน • ระบบทางเดินอาหาร • ระบบประสาท • พื้นอารมณ์ • การกังวล และการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง • การวินิจฉัย: ลักษณะการร้อง สภาพทั่วไปอื่นๆ หาปัญหาการเจ็บป่วยอื่น ถ้าสงสัยควรส่งตรวจ
ร้อง 3 เดือน (Infantile colic) • การดูแล • ให้ความมั่นใจว่าไม่เป็นอะไรร้ายแรง • ลดความกังวล ความรู้สึกผิดของผู้ปกครอง • ติดตามอย่างใกล้ชิด เป็นระยะๆ
ร้องกลั้น (Breath holding spell) • พบในช่วงอายุ 1-3 ปี • 50% หายไปเมื่ออายุ 4 ปี, 90% หายเมื่ออายุ 6 ปี • ถ้าพบในเด็กโต มากกว่า 6 ปี หรือมีอาการรุนแรงควรหาสาเหตุอื่น • ต้องแยกจากอาการชัก ปัญหาโรคหัวใจ • แนะนำปรึกษาแพทย์
ร้องกลั้น (Breath holding spell) • การดูแล • ป้องกันอุบัติเหตุ • ปรับพฤติกรรมที่กระตุ้น • เมื่อเด็กตื่นไม่ควรเอาใจเกินปกติ เพราะจะทำให้ได้ secondary gain คือพฤติกรรมนี้เป็นตัวทำให้ผู้ปกครองสนใจ
ดูดนิ้ว (Thumb sucking) • พบในช่วงอายุ 1ปีครึ่ง – 3 ปี • พบได้ 30-45% ในเด็กปฐมวัย • หายเมื่ออายุ 4 ปี • มักเป็นขณะง่วง เบื่อ เหนื่อย หิว กังวล
ดูดนิ้ว (Thumb sucking): ปัญหาที่พบตามมา • สบฟันผิดปกติ ในเด็กที่ดูดนิ้วต่อเนื่องเกินอายุ 4 ปี • แผลบริเวณนิ้ว • ปัญหาจิตใจ ถูกล้อ ปัญหากับผู้ปกครอง ความมั่นใจในตัวเองลดลง
ดูดนิ้ว (Thumb sucking): การรักษา • ก่อนอายุ 4 ปี • ไม่ให้ความสนใจกับพฤติกรรม • เบี่ยงเบนความสนใจ • หลังอายุ 4 ปี • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรม • มีเครื่องช่วยเตือน เช่น พลาสเตอร์ • ชมเชย หรือมีรางวัลเมื่อทำได้ตามเป้าหมาย
อาละวาด (Temper tantrums) • พฤติกรรมอาละวาดที่เกินกว่าเหตุ เช่น กรีดร้องอย่างรุนแรง ลงดิ้น ตะโกน ตี ปาสิ่งของ • พบได้ 50-80% ของวัยเตาะแตะ
อาละวาด (Temper tantrums) • ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิด • พัฒนาการในช่วงวัยนี้: autonomy เอาแต่ใจตัว • พื้นอารมณ์เด็กเลี้ยงยาก • เด็กกำลังมีปัญหาเจ็บป่วย ง่วง หิว • เด็กมีข้อจำกัดเรื่องพัฒนาการ เช่น พูดช้า • สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ ไม่ค่อยมีกิจกรรมนอกบ้าน • การเลี้ยงดูที่ไม่สม่ำเสมอในเรื่องกฎระเบียบ การใช้วิธีลงโทษโดยการตี
อาละวาด (Temper tantrums): การจัดการ • อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจ บันทึกเหตุการณ์ (ก่อนเกิด-ลักษณะพฤติกรรมนั้นๆ-ผลหลังจากเกิดพฤติกรรม) • ลดสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรม • ป้องกันอุบัติเหตุ • กำหนดกฎระเบียบ ในกิจวัตรที่ชัดเจน และทำสม่ำเสมอโดยทุกคนในบ้านรับรู้ • เมื่อเกิด • ไม่ให้ความสนใจ ระวังการเกิดรุนแรงในช่วงแรกๆ • Time-out
Time out คืออะไร • เป็นช่วงเวลาที่เด็กไม่ได้รับความสนใจ หรือสิ่งจูงใจใดๆ • ไม่มีอิสระ • ไม่มีกิจกรรมอะไรให้ทำ • ให้รับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นๆของเด็กไม่ได้รับการยอมรับ • ผู้ปกครองต้องมีช่วงเวลาที่ดีมีคุณภาพ (Time in) กับเด็กเพียงพอจึงสามารถทำ Time out ให้ได้ผลดี
Time out ทำอย่างไร • เลือกพฤติกรรมเป้าหมาย: พฤติกรรมก้าวร้าว เช่นตีผู้อื่น • เลือกสถานที่: มุมห้อง ไม่มีสิ่งน่าสนใจ ไม่เลือกที่ลับตาที่อาจเป็นอันตราย หรือในห้องนอน • อธิบายกฎ ให้ชัดเจน • เมื่อเกิดพฤติกรรมนั้น: พูดให้น้อย เตือนสั้นๆ • ใช้เครื่องจับเวลา ประมาณ 1 นาที/ปี • ไม่ให้ความสนใจ จนกว่าจะหมดเวลา
ปัสสาวะราด (Enuresis) • หมายถึงการที่เด็กมีปัสสาวะไหลโดยไม่รู้ตัว หรือไม่สามารถควบคุมได้ • ความถี่ 2 ครั้ง/สัปดาห์ อย่างน้อย 3 เดือน หรือ ทำให้เกิดผลต่อการอยู่ในสังคม • อายุ อย่างน้อย 5 ปี
ปัสสาวะราด (Enuresis): สาเหตุ • พันธุกรรม • ถ้าบิดาหรือมารดาเคยมีอาการ โอกาสเกิด 40% • ถ้าบิดาและมารดาเคยมีอาการ โอกาสเกิด 70% • ความล่าช้าในการควบคุมการขับถ่ายของระบบประสาท • ความผิดปกติของการหลั่ง vasopressin
ปัสสาวะราด (Enuresis): แยกกับโรคอื่นๆ • โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อ ความผิดปกติทางกายวิภาค • โรคระบบประสาท เช่น ลมชัก • โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน เบาจืด
ปัสสาวะราด (Enuresis): การรักษา • การปรับพฤติกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจในอาการ และสร้างแรงจูงใจ ให้เด็กมีส่วนร่วม งดการลงโทษรุนแรง • ไม่ดื่มน้ำ หรืออาหารที่มีคาเฟอีนก่อนนอน • Wet stop alarm • การใช้ยา : Imipramine (anticholinergic) DDAVP (desmopressin)
อุจจาระราด (Encopresis) • หมายถึง การถ่ายอุจจาระรดกางเกง หรือในที่ไม่สมควร เกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ • ความถี่ อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน, 3 เดือนขึ้นไป • อายุ 4 ปีขึ้นไป • มักมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมด้วย
อุจจาระราด (Encopresis): การรักษา • อธิบายให้ผู้ปกครอง และเด็กเข้าใจถึงสาเหตุ และการดำเนินโรค • ใช้ยาระบาย เพื่อขับอุจจาระที่ค้างออกให้หมด และกินต่ออีกระยะจนถ่ายไม่แข็ง จึงค่อยๆลดขนาดยาลง จนหยุดถ้าอาการปกติ 3-6 เดือน • กินอาหารที่มีกาก • ฝึกนั่งถ่าย 2 ครั้ง/วัน
Toilet training • ฝึกในเวลาที่เหมาะสม • ร่างกายพร้อมการควบคุมการทำงานของหูรูด การกลั้น • พัฒนาการพร้อมทั้งด้านการเคลื่อนไหว ความเข้าใจภาษา การทำตามขั้นตอนง่ายๆ • การนั่งถ่ายที่เหมาะสม (positive toilet sit) • กำหนดเวลาทำทุกวัน สม่ำเสมอมักเป็นเวลาหลายเดือน • ควรใช้ยาระบายจนกว่าจะฝึกนิสัยการขับถ่ายที่ดี
Toilet training: Positive toilet sit • ฝึกนั่งช่วงสั้นๆ ครั้งละ 30 วินาที แล้วค่อยๆเพิ่มจนได้ 5 นาที มีสัญญาณเตือนเมื่อหมดเวลา • อาจเริ่มนั่งทั้งผ้าอ้อม หรือกางเกง • มีเก้าอี้เล็กรองเท้าเด็กให้พอเหมาะในการเบ่งถ่าย • ผ่อนคลาย ไม่บังคับ • ผู้ปกครองอยู่ใกล้ๆ ให้ความสนใจ • มีกิจกรรมที่เด็กสนใจ