120 likes | 908 Views
ประเพณีสงกรานต์. หน้าหลัก สมาชิก ประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ความสำคัญ แหล่งที่มา. สมาชิก. หน้าหลัก สมาชิก ประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ความสำคัญ แหล่งอ้างอิง. จัดทำโดย น.ส. นิภาพร แจ้งคง เลขที่ 17 น.ส. เพชรรัตน์ สุขอินทร์ เลขที่ 25 ม.6/3. ประวัติความเป็นมา.
E N D
ประเพณีสงกรานต์ • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งที่มา
สมาชิก • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งอ้างอิง จัดทำโดย น.ส. นิภาพร แจ้งคง เลขที่ 17 น.ส. เพชรรัตน์ สุขอินทร์ เลขที่ 25 ม.6/3
ประวัติความเป็นมา • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งที่อ้างอิง • สงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี • พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
สถานที่ท่องเที่ยว • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งอ้างอิง • เมืองเก่า จ.สุโขทัย
ความสำคัญ หน้าหลัก สมาชิก ประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ความสำคัญ แหล่งอ้างอิง • ความสำคัญชาวล้านนาให้ความสำคัญวันปีใหม่เมืองมากเพราะถือว่าเป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนา แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีและสนุกสนานในหมู่คณะ และยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งแยกย้ายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสกลับมาพบปะสังสรรค์กัน จึงนับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปีพิธีกรรมวันแรกของงาน คือ วันที่ ๑๓ เมษายน ตามประเพณีพื้นเมืองเรียกว่า วันสังขานต์ล่อง คือ หมายความว่า วันนี้สิ้นสุดศักราชเก่า ในวันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนจุดประทัดกันแต่เช้าตรู่ การยิงปืนและการจุดประทัดนี้ มีความเชื่อถือกันแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่าง ๆ ให้ล่องไปพร้อมกับสังขาร นอกจากนั้นชาวบ้านก็จะกวาดขยะมูลฝอยตามลานบ้านไปกองไว้แล้วจุดไฟเผาเสียและทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อยเก็บเสื้อผ้ามุ้งหมอนผ้าปูที่นอนไปซัก อุปกรณ์ที่ซักไม่ได้ก็นำออกไปผึ่งแดดเสร็จแล้วก็ชำระร่างกายสระผม (ดำหัว) ให้สะอาด และมีการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วยถัดจากวันสังขารล่อง คือ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา หรือ วันเน่า ในวันนี้ตามประเพณีถือว่าเป็นวันสำคัญและเป็นมงคลแก่ชีวิต จะได้ประสบแต่ความดีงามตลอดปี จะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล เช่นด่าทอ หรือทะเลาะวิวาทกัน ตอนเช้าต่างก็จะไปตลาดเพื่อจะจัดซื้ออาหารและข้าวของมาทำบุญเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันดา (คือวันสุขดิบทางใต้) ตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัดโดยขนจากแม่น้ำปิงแล้วนำไปยังวัดที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ที่ก่อขึ้นจะตบแต่งด้วยธงทิวสีต่าง ๆ ธงสีนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ตุง ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปร่างต่าง ๆ ติดปลายไม้ อีกชนิดหนึ่งตัดเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ติดปลายไม้เรียกว่า ช่อ การทานหรือถวายตุงหรือช่อนี้ถือกันว่าเมื่อตาย (สำหรับผู้ที่มีบาปหนักถึงตกนรก) จะสามารถพ้นจากขุมนรกได้ด้วยช่อและตุงนี้ ส่วนการขนทรายเข้าวัดนั้นถือว่าเป็นการทดแทนที่เมื่อตนเดินผ่านหรือเข้าออกวัด ทรายในวัดย่อมจะติดเท้าออกไปนอกวัดเป็นบาปกรรม ทางวัดจะได้ใช้ทรายเพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือถมลานวัด เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น และจะมีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย
แหล่งอ้างอิง • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งอ้างอิง http://krusorndee.net/ http://th.wikipedia.org/wiki/ http://www.prapayneethai.com/th/tradition/north/view.asp?id=0255