1 / 16

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์. ความสำคัญ.

aine
Download Presentation

ประเพณีสงกรานต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเพณีสงกรานต์

  2. ความสำคัญ ชาวล้านนาให้ความสำคัญวันปีใหม่เมืองมากเพราะถือว่าเป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนา แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีและสนุกสนานในหมู่คณะ และยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งแยกย้ายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสกลับมาพบปะสังสรรค์กัน จึงนับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปี

  3. พิธีกรรม • วันแรกของงาน คือ วันที่ ๑๓ เมษายน ตามประเพณีพื้นเมืองเรียกว่า วันสังขานต์ล่อง คือ หมายความว่า วันนี้สิ้นสุดศักราชเก่า ในวันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนจุดประทัดกันแต่เช้าตรู่ การยิงปืนและการจุดประทัดนี้ มีความเชื่อถือกันแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่าง ๆ ให้ล่องไปพร้อมกับสังขาร นอกจากนั้นชาวบ้านก็จะกวาดขยะมูลฝอยตามลานบ้านไปกองไว้แล้วจุดไฟเผาเสียและทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อย

  4. ถัดจากวันสังขารล่อง คือ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา หรือ วันเน่า ในวันนี้ตามประเพณีถือว่าเป็นวันสำคัญและเป็นมงคลแก่ชีวิต จะได้ประสบแต่ความดีงามตลอดปี จะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล เช่นด่าทอ หรือทะเลาะวิวาทกัน ตอนเช้าต่างก็จะไปตลาดเพื่อจะจัดซื้ออาหารและข้าวของมาทำบุญเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันดา (คือวันสุขดิบทางใต้) ตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัดโดยขนจากแม่น้ำปิงแล้วนำไปยังวัดที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด

  5. เจดีย์ที่ก่อขึ้นจะตบแต่งด้วยธงทิวสีต่าง ๆ ธงสีนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ตุง ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปร่างต่าง ๆ ติดปลายไม้ อีกชนิดหนึ่งตัดเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ติดปลายไม้เรียกว่า ช่อ การทานหรือถวายตุงหรือช่อนี้ถือกันว่าเมื่อตาย (สำหรับผู้ที่มีบาปหนักถึงตกนรก) จะสามารถพ้นจากขุมนรกได้ด้วยช่อและตุงนี้ ส่วนการขนทรายเข้าวัดนั้นถือว่าเป็นการทดแทนที่เมื่อตนเดินผ่านหรือเข้าออกวัด

  6. ทรายในวัดย่อมจะติดเท้าออกไปนอกวัดเป็นบาปกรรม ทางวัดจะได้ใช้ทรายเพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือถมลานวัด เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น และจะมีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย

  7. ในวันขนทรายนี้ จะมีการเล่นรดน้ำกันและเป็นการเล่นอย่างสนุกสนานที่สุดวันหนึ่ง ผู้หญิงจะแต่งกายพื้นเมืองจะนุ่งผ้าซิ่นสวมเสื้อแขนยาวทัดดอกเอื้องที่มวยผม ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นเมืองคล้องคอด้วยดอกมะลิ ถือขันหรือโอคนละใบใส่น้ำเพื่อรดกันอย่างสนุกสนาน และขนทรายเข้าวัดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสทุก ๆ คน

  8. วันที่สาม ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน จะมีการ ดำหัว ซึ่งเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวเมืองเหนือ คือ การนำลูกหลานญาติพี่น้องไปขอขมาลาโทษ(สูมาคาระวะ) ต่อผู้ใหญ่ในตอนเย็นวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่ชาวบ้านจะจัดอาหารหวานคาวใส่สำรับไปถวายพระที่วัด เป็นการถวายภัตตาหารหรือที่เรียกกันว่า ทานขันข้าว เป็นการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลถึงญาติพี่น้องบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย รวมทั้งถวายเจดีย์ทราย ถวายจ่อตุง ถือว่าเป็นอานิสงส์

  9. สาระน่ารู้ • ประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวที มีความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่พี่น้องและชุมชน ด้วยการร่วมกันทำอาหารคาว - หวาน สำหรับไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ การขนทรายเข้าวัดเพื่อถวายทานเจดีย์ทราย ถวายช่อตุง รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ ด้วยการร่วมตกแต่งเครื่องสักการะดำหัว ตลอดจนการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง ประจำวัดและประจำบ้าน

  10. กิจกรรมที่สมควรประพฤติปฏิบัติในวันสงกรานต์กิจกรรมที่สมควรประพฤติปฏิบัติในวันสงกรานต์ • การทำบุญตักบาตรหรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด เพื่อสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้รู้จักการให้ เสียสละ โดยมิได้มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน • การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เพื่อแสดงกตัญญูต่อผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว

  11. การสรงน้ำพระทั้งพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธรูป เพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลที่ดำรงสืบทอดพระพุทธศาสนา • การรดน้ำขอพร เป็นการแสดงความเคารพและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณโดยเฉพาะผู้อาวุโสน้อยพึงปฏิบัตต่อผู้อาวุโสมาก เช่น ลูกกับพ่อ-แม่-ปู่-ย่า-ตา-ยาย พุทธศาสนิกชนต่อพระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น เป็นการแสดงความสุภาพ อ่อนน้อม อ่อนโยน และขอรับพร

  12. การเล่นรดน้ำ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างญาติพี่น้องและมิตรสหาย ด้วยการรดน้ำเพียงเล็กน้อยลงที่ไหล่ หรือที่มือพร้อมกับอวยพรให้มีความสุข • การเล่นรื่นเริงต่าง ๆ เพื่อเชื่อมความสามัคคีและเพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป

  13. การจัดพิธีรดน้ำขอพร -จัดสถานที่และที่นั่งให้เหมาะสม เช่น ในบ้านหรือบริเวณลานบ้าน โดยจะให้ ท่านนั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งกับพื้นก็ดูความสะดวกของท่าน - จัดน้ำผสมน้ำอบหรือน้ำหอม (อาจลอยดอกไม้เพิ่ม เช่น กลีบกุหลาบ มะลิ) ใส่ขัน หรือภาชนะที่เหมาะสมไว้สำหรับรดน้ำพร้อมภาชนะรองรับ 

  14. - การรดน้ำขอพร ให้รดน้ำที่ฝ่ามือทั้งสองของท่าน โดยผู้ใหญ่แบมือ ไม่ต้องประนม เมื่อลูกหลานมารดน้ำ ผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พรหรืออาจจะเอาน้ำที่รดให้ลูบศีรษะผู้มารด เมื่อรดน้ำเสร็จแล้วบางครั้งก็อาจจะอาบน้ำจริง คือ รดแบบทั้งตัว แล้วนำผ้าใหม่มาให้ผู้ใหญ่เปลี่ยนก็ได้ 

  15. การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในชุมชนต่าง ๆ  • จัดแบบไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่จะใช้ห้องของผู้ใหญ่/ผู้บังคับบัญชาเอง หรือห้องที่เห็นว่าเหมาะสม แล้วจัดน้ำสำหรับรดและภาชนะรองรับเตรียมไว้ให้พร้อม จากนั้นเชิญท่านมานั่งในบริเวณที่จัดไว้พร้อมเชิญทุกคนมาร่วมรดน้ำขอพร เมื่อแล้วเสร็จท่านอาจจะกล่าวให้พรอีกครั้ง ตัวแทนก็มอบของที่ระลึก อาจจะเป็นผ้าหรือของกินของใช้ ตามแต่จะเห็นสมควร 

  16. นางสาวอรุณโรจน์ จิตภิรมย์วงศ์ รหัส 56060483 คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

More Related