940 likes | 1.65k Views
บทที่ 6 การเงินการธนาคาร. การเงินการธนาคาร. ในสังคมที่ไม่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลาง การแลกเปลี่ยนทำโดย วิธีการแลกของต่อของ ( barter exchange ) ซึ่งเป็น การแลกเปลี่ยนโดยตรง ( direct exchange )
E N D
บทที่ 6การเงินการธนาคาร มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
การเงินการธนาคาร • ในสังคมที่ไม่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลาง การแลกเปลี่ยนทำโดย วิธีการแลกของต่อของ (barter exchange)ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนโดยตรง (direct exchange) • เมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้นสมาชิกในสังคมมีความต้องการสินค้าและบริการมากขึ้น การแลกเปลี่ยนโดยตรงจึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้การแลกเปลี่ยนทางอ้อม (indirect exchange)โดยใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ความหมายของเงิน (Money) • เงินคือ สิ่งใดๆ สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง และในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ • เงิน คือ สิ่งที่ยอมรับกันทั่วไป ว่าสามารถใช้เป็นสิทธิเรียกร้องเหนือสินค้าและบริการต่างๆ ได้ทุกขณะ มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
วิวัฒนาการของเงิน • เงินวัตถุหรือเงินที่เป็นสิ่งของ (commodity money)คือ เป็นไปตามลักษณะของวัตถุที่ใช้ทำ ยังไม่มีมูลค่าเชิงเงินตรา แต่ประมาณค่าเท่าๆ กับมูลค่าของวัตถุในตัวของมัน • เป็นเงินที่นำมาใช้เป็นอันดับแรกสุด • สังคมแต่ละแห่งเลือกสินค้าต่างกันเป็นเงิน และเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา แต่สิ่งที่จะใช้เป็นเงินนั้นต้องมีค่าโดยตัวมันเองและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมเวลานั้น • แต่เนื่องจากสิ่งดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่ดีของเงินหลายประการเช่น ขาดความคงทนถาวร แบ่งแยกเป็นหน่วยย่อยได้ยาก ไม่สามารถนำติดตัวไปที่ต่างๆได้สะดวก มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เวลาต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น เงินโลหะ • ระยะแรกโลหะเป็นโลหะที่มีค่าได้แก่ เงินและทองคำ การชำระใช้วิธีการชั่งน้ำหนักให้มีจำนวนเท่ากับที่ต้องชำระ ต่อมานำโลหะมาหลอมเป็นเหรียญ (Coins) ซึ่งมีค่าแน่นอน ขนาดเล็ก น้ำหนักสม่ำเสมอ • เงินเหรียญในระยะต้นเป็น เงินที่มีค่าเต็มตัว (full bodied money) คือ ค่าที่เป็นเงินเท่ากับค่าของโลหะที่ใช้ทำเหรียญนั้น • เงินเหรียญได้วิวัฒนาการต่อมาเป็น เงินที่มีค่าไม่เต็มตัว (token money) คือ ค่าที่เป็นเงินสูงกว่าค่าของโลหะที่ใช้ทำเหรียญนั้น • เงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นเงินที่มีค่าไม่เต็มตัวทั้งสิ้น มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
วิวัฒนาการขั้นต่อมาได้แก่ ใบรับฝาก (Certificates) • ในสมัยโบราณการเก็บรักษาโลหะมีค่าและเงินเหรียญไว้กับตัวเป็นจำนวนมาก จะไม่ปลอดภัย จึงนำไปฝากกับช่างทอง ช่างทองจะออกใบรับฝากโลหะให้เจ้าของถือไว้ • ใบรับฝากนี้ ผู้ที่ถือใบรับฝากสามารถนำมาแลกคืนโลหะในจำนวนที่แน่นอนที่ฝากไว้ (สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้โดยการเซ็นชื่อสลักหลังใบรับ) • ข้อดี คือ พกสะดวก ง่ายในการเก็บรักษา มูลค่าไม่เสื่อม มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ปัญหา: มาขอแลกคืนเป็นโลหะและเหรียญโลหะ ช่างทองจึงต้องผลิตเหรียญให้และคิดค่าทำเหรียญด้วย จึงจ่ายคืนไม่เต็มจำนวนเงินที่ฝากไว้ • ช่างทองได้กำไร + ส่วนที่หักไว้ นำไปให้กู้ยืมได้ดอกเบี้ยด้วย (พัฒนาเป็นกิจการธนาคารต่อมา) มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ต่อมาพัฒนาเป็น เงินหมุนเวียนกระดาษ (Paper Currency) • เพราะ ความต้องการเปลี่ยนใบรับฝากเป็นโลหะลดลง + โลหะเริ่มหายาก • จึงกำหนดค่าไว้ในกระดาษที่เป็นใบรับฝาก ต่อมาเรียกว่า “ธนบัตร” (Notes) แทน และยังคงแลกกับทองคำอยู่ • กำหนดให้แลกเฉพาะเมื่อมีการตกลงชำระหนี้ระหว่างประเทศ • ต่อมาพัฒนาเป็น “เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” • โดยมีมูลค่าไม่เต็มตัว ไม่สามารถนำไปแลกโลหะที่มีค่าคืนได้ (fiat money) มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ต่อมาวิวัฒนาการ คือ เงินฝากกระแสรายวัน (demand deposit) ในธนาคารพาณิชย์ เป็นเงินที่จ่ายโอนกันโดยเช็ค แต่ไม่ใช่เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เพราะเจ้าหนี้สามารถปฏิเสธการรับชำระหนี้ด้วยเช็ค • เงินในรูปต่อมาซึ่งเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายในปัจจุบัน คือ เงินเครดิต • ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ว่ามีความน่าเชื่อถืออย่างมั่นคง และสมบูรณ์แบบในการแลกเปลี่ยน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
การแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน เช่น นำขวานหินไปแลกข้าวหรือเนื้อสัตว์ สิ่งมีค่าที่เป็นที่ต้องการทั้งสองฝ่ายเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เปลือกหอย เมล็ดพืช ปศุสัตว์ ลูกปัด ขวานทองแดง หัวธนู นำโลหะทองแดง โลหะเงิน โลหะทอง ซึ่งหายาก มีความคงทน ตัดแบ่งได้ง่ายมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อมีการรวมดินแดนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นประเทศในสมัยโบราณ ผู้มีอำนาจในการปกครองได้ใช้ตราเครื่องหมายของตนประทับลงบนเม็ดเงินที่ใช้ชำระหนี้ โลหะเงินประทับตราจึงเกิดเป็น เงินตรา ขึ้น มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เบี้ยหอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินปลีกได้แก่ เบี้ยจั่นและเบี้ยนาง ส่วนใหญ่เป็นเบี้ยที่มาจากหมู่เกาะมัลดีฟในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ เบี้ยที่พบส่วนใหญ่ฝนหลังเบี้ยออกเพื่อประโยชน์ในการใช้เชือกร้อยเป็นพวง มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เงินเจียงหรือเงินขาคีมมีรูปคล้ายเกือกม้าสองวงปลายต่อกันคอดกลาง ทำให้หักออกและทอนค่าลงได้ มีการตีตราประทับด้านละ 3 ดวง บอกน้ำหนักของเงินชื่อเมืองที่ทำขึ้น และตราจักรตามลำดับ มีมากกว่า 60 เมือง เช่น แสน (เชียงแสน) หม (เชียงใหม่) บางอันมีตราเล็กๆ อีก 1 ดวงประทับอยู่ตรงปลายขา เงินเจียงมีขนาดมาตรฐานหนัก 4 บาท ตามมาตรฐานของชาวไทย และมีขนาดอื่นบ้าง ได้แก่ 2 บาทครึ่ง 1 บาท กึ่งบาท และเฟื้องหนึ่ง มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เงินกำไลเงินกำไลนั้นมีลักษณะและน้ำหนักเหมือนเงินเจียงแต่ขนาดใหญ่กว่า เข้าใจว่าพ่อค้าผลิตขึ้นเพื่อใช้ชำระหนี้ในการค้าขาย โดยตอกตรารับรองน้ำหนักและความบริสุทธิ์ของเนื้อเงินไว้ มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เงินใบไม้หรือเงินเส้นทำด้วยทองสำริด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 28-35 มิลลิเมตร ลักษณะกลมตันแบนเป็นก้นกระทะผิวเรียบ ด้านหน้านูน ส่วนมากมีเส้นเหมือนลายใบไม้ มีมูลค่าต่ำกว่าเงินท้อกชนิดอื่น ทำด้วยทองสำริด มีลายเส้นคล้ายใบไม้ด้านหนึ่ง จัดว่าเป็นเงินท้อกที่มีมูลค่าต่ำที่สุด มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เงินปากหมู คล้ายเงินหอยโข่ง ทำด้วยโลหะเงินเช่นกัน ด้านล่างมีช่องกลวงลึกเข้าไป ช่องนี้มีลักษณะคล้ายช่องบริเวณปากหมู จึงเรียกกันว่า “เงินปากหมู” มีหลายขนาดและน้ำหนัก มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เงินไซซี, เงินจีนเงินแท่งที่พ่อค้าจีนนำเข้ามาเพื่อซื้อสินค้าตามชายแดน เรียกกันว่า เงินไซซี หรือ เงินมุ่น แปลว่าละเอียด มีลักษณะ ขนาด และน้ำหนักต่างๆ กัน เช่น เงินกระทง เงินอานม้า และเงินขนมครกเป็นต้น ด้านบนมักจะตอกตราเป็นภาษาจีนบอกชื่อผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต หรือบอกวัตถุประสงค์ของเงินนั้นที่นำมาใช้ชำระแก่ทางการ เช่น ภาษีเกลือ เป็นต้น ด้านล่างมักจะมีรูพรุน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เงินพดด้วงอาณาจักรไทยทางใต้ของดินแดนล้านนาได้แก่ กรุงสุโขทัย ซึ่งต่อมาคือ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีการค้าขายกับอาณาจักรล้านนาโดยตลอด จึงมีเงินพดด้วงเข้ามาในดินแดนล้านนาเช่นกัน เงินพดด้วง มีลักษณะขดกลมคล้ายตัวด้วง ปลายงอเข้าหากัน มีตราที่ประทับ 2 ดวงขึ้นไป ในสมัยกรุงสุโขทัยใช้ตราช้าง ตรากระต่าย ตราหอยสังข์ ตราราชสีห์ ตราราชวัชร์ และตราดอกไม้ เป็นต้น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประทับตราราชวัชร์ พระซ่อม ครุฑ กับตราจักร เป็นต้น ในขณะที่ประทับตราจักรกับตรีหรือวัชระในสมัยกรุงธนบุรี และประทับตราอุณาโลม ครุฑ ปราสาท มงกุฎ กับจักรในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ 4 มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
เหรียญกษาปณ์เงินสมัยรัชกาลที่ 5พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบ และวิธีผลิตเงินบาทด้วยมือมาเป็นเครื่องจักร เงินบาทพดด้วงจึงเปลี่ยนเป็นเหรียญกลมแบนตั้งแต่ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา แต่ก็เข้ามายังดินแดนล้านนาน้อยมากในรัชกาลที่ 5 เนื่องจากการขนส่ง ไม่สะดวกและผลิตได้ในปริมาณน้อย จนเมื่อการสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงหัวเมืองทางเหนือกับภาคกลางได้แล้วใน พ.ศ. 2464 เหรียญบาทจึงได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
หน้าที่ของเงิน • เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน • ตอบสนองความต้องการได้อย่างเสรี ไม่ต้องรอให้มีความต้องการตรงกัน ประชาชนผลิตจนชำนาญ ผลผลิตมากขึ้น นำมาแลกเปลี่ยนกัน • เก็บรักษามูลค่า • ช่วงเวลาซื้อ-ขาย เกิดขึ้นต่างเวลากัน (ขายวันนี้ – ซื้อวันหลัง) • วัดมูลค่าแทนสิ่งของ • เทียบค่าสิ่งของมาเป็นหน่วยของเงิน • เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต • มีปัญหาการชำระคืนด้วยสิ่งของเดียวกัน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
คุณสมบัติของเงินที่ดีคุณสมบัติของเงินที่ดี • มีค่าในตัวเองเป็นที่ต้องการของประชาชน นำไปชำระสินค้าได้ (ถ้าปริมาณเงินมีน้อย ค่าจะสูงขึ้น) • เป็นสิ่งที่ยอมรับโดยทั่วไป • เป็นของหายาก (สมัยก่อนเน้นของหายาก ปัจจุบันเน้นสิ่งที่ปลอมแปลงยาก) • เป็นสิ่งที่คงทนถาวร ไม่เสื่อมสภาพเร็ว • มีความเหมือนกัน ราคาเดียวกันควรมีรูปแบบเดียวกัน • แบ่งออกเป็นหน่วยย่อยได้ง่าย • พกพาสะดวก เบา กะทัดรัด • สังเกตง่าย ว่าเป็นชนิด ขนาด ราคาเท่าใด มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีการเงิน (Monetary Theory) • เป็นทฤษฎีที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงิน (M) กับ ราคาสินค้าและบริการ (P) • ความสัมพันธ์ระหว่าง M กับ P • ทฤษฎีการเงิน แบ่งเป็น 3 ทฤษฎี • ยุคคลาสสิค • ยุคนีโอคลาสสิค • เคนส์ มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีปริมาณเงินยุคคลาสสิคทฤษฎีปริมาณเงินยุคคลาสสิค • เริ่ม ค.ศ. 1568 โดย Jean Bodin and Richard Catillon (หากผู้ผลิตโลหะ ผลิตมากกว่าความต้องการ ความต้องการบริโภคสินค้าจะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อราคาสินค้าสูงขึ้น) • เดวิด ฮูม พัฒนาแนวคิดนี้ จนเป็น “กลไกการไหลของเงิน” • จอห์น สจ๊วต มิลล์ สรุปว่า ค่าของเงิน คือ อำนาจซื้อของสิ่งของขึ้นกับมูลค่าในรูปของเงิน (จำนวนเงินที่สิ่งของสามารถแลกได้) มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
สมมติให้ K คงที่ เมื่อ M P M P ทฤษฎีปริมาณเงินยุคคลาสสิค • สมการปริมาณเงิน M = KP • M = ปริมาณเงินที่หมุนเวียนทั้งหมด • P = ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป • K = ค่าคงที่ (จำนวนสินค้าและบริการ) • M และ P เปลี่ยนแปลงในสัดส่วนเดียวกันเสมอ • อำนาจซื้อหรือมูลค่าของเงิน ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินโดยตรง มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
สมมติให้ K คงที่ เมื่อ M P M P ทฤษฎีปริมาณเงินยุคคลาสสิค • ตัวอย่าง M = KP P = M / K • M = ปริมาณเงินที่หมุนเวียนทั้งหมด = 300 • P = ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป = 3 • K = จำนวนสินค้าและบริการ = 100 • ถ้าปริมาณเงินเพิ่มขึ้น เป็น 1,000 บาท ราคาเฉลี่ยจะเป็นเท่าใด? • ถ้าปริมาณเงินลดลง 50 % ราคาเฉลี่ยจะลดลงกี่ % มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
2) ทฤษฎีปริมาณเงินยุคนีโอคลาสสิค • แบ่งเป็น • ทฤษฎีปริมาณเงินในรูปของการแลกเปลี่ยน • ทฤษฎีปริมาณเงินในแง่ของการถือเงิน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีปริมาณเงิน : สมการการแลกเปลี่ยน • ในปี ค.ศ. 1920 ฟิชเชอร์นำเอาทฤษฎีการเงินแบบดั้งเดิมมาพัฒนา • “รายจ่ายต้องเท่ากับรายรับ” • โดยนำเอาอัตราการหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Money : V) กับปริมาณสินค้าและบริการในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งมาปรับปรุงเป็นสมการใหม่ • MV = PT • M = ปริมาณเงิน • V = ความเร็วในการหมุนเวียนของเงิน • P = ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ย • T = จำนวนครั้งหรือปริมาณการแลกเปลี่ยนในระยะเวลาหนึ่ง มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
100 บาท ทฤษฎีการเงิน : สมการการแลกเปลี่ยน (ต่อ) • ความเร็วในการหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Money : V) คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งของเงินจำนวนหนึ่ง 100 บาท 100 บาท 100 บาท 100 บาท 100 บาท มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีปริมาณเงินในแง่การถือเงินทฤษฎีปริมาณเงินในแง่การถือเงิน • โดย อัลเฟรด มาแชล และ พิกู มีแนวคิดให้ความสำคัญกับความต้องการถือเงิน • “ความต้องการถือเงินของแต่ละคน ย่อมเป็นสัดส่วนหนึ่งของรายได้เสมอ” • ความต้องการถือเงินปรับตัวตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น • Md = ความต้องการถือเงิน (Demand for money) • K= อัตราส่วนความต้องการถือเงินที่ขึ้นอยู่กับรายได้ • Y = รายได้ส่วนบุคคล หรือรายได้ประชาชาติ • P = ระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ย Md Md = KPY หรือ P = KY มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีปริมาณเงินในแง่การถือเงิน (ต่อ) • ภาวะดุลยภาพทางการเงิน เกิดขึ้นเมื่อ Md = M เมื่อ Md = Demand for money M = Money Supply • แทนค่า จะได้ว่า M = KPY มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ตัวอย่าง 1) • กำหนดให้ K = 1/5 , Y = 100 ล้านหน่วย , ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย (P) = 2 บาท • จงหาปริมาณเงิน (M) ณ ระดับดุลยภาพ ? • วิธีทำ แทนค่าใน Md = KPY Md = (1/5) x 2 x 100 = 40 ล้านบาท ณ ระดับดุลภาพ M = Md = 40 ล้านบาท มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ตัวอย่าง 2) • กำหนดให้ K = 1/4 , Y = 200 ล้านหน่วย , ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย (P) = 4 บาท • จงหาปริมาณเงิน (M) ณ ระดับดุลยภาพ ? • วิธีทำ แทนค่าใน Md = KPY Md = (1/4) x 4 x 200 = 200 ล้านบาท ณ ระดับดุลภาพ M = Md = 200 ล้านบาท มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีปริมาณเงินแนวใหม่ของเคนส์ทฤษฎีปริมาณเงินแนวใหม่ของเคนส์ • Keynes เสนอแนวคิดในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง • Keynes เห็นว่า “อัตราดอกเบี้ยจะถูกกำหนดโดยอุปทานและอุปสงค์ของเงิน” (ไม่ได้ถูกกำหนดโดยความต้องการของทุนหรือปริมาณเงินออม) • Keynes คิดว่า ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจอยู่ที่ Md = M เมื่อ Md = Demand for money M = Money Supply มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ทฤษฎีปริมาณเงินแนวใหม่ของเคนส์ (ต่อ) • Keynes ให้ความสำคัญกับความต้องการถือเงินมากกว่าปริมาณเงิน เพราะ ปริมาณเงินถูกกำหนดจากธนาคารกลาง มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ความต้องการถือเงินของเคนส์ความต้องการถือเงินของเคนส์ มี 3 ประการ คือ • ความต้องการถือเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน • ความต้องการถือเงินเพื่อกรณีฉุกเฉิน • ความต้องการถือเงินเพื่อการเก็งกำไร มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ความต้องการถือเงินไว้ใช้ประจำวันความต้องการถือเงินไว้ใช้ประจำวัน รายได้ ความต้องการถือเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน(Transaction Motive) • เป็นความต้องการถือเงินที่เพื่อการใช้จ่ายประจำขึ้นอยู่กับรายได้ • หากรายได้มากขึ้น --> ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจำจะสูงขึ้นด้วย มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ความต้องการถือเงินไว้ใช้กรณีฉุกเฉินความต้องการถือเงินไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน รายได้ ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน(Precaution Motive) • เป็นความต้องการถือเงินไว้ใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด • เป็นความต้องการถือเงินที่ขึ้นอยู่กับรายได้ มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ความต้องการถือเงินเพื่อการเก็งกำไร(SpeculativeMotive)ความต้องการถือเงินเพื่อการเก็งกำไร(SpeculativeMotive) • บุคคลถือไว้เพื่อนำไปลงทุน โดยหวังผลตอบแทนจากการลงทุน • การถือเงินประเภทนี้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก • ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงจะนำเงินไปลงทุนมากขึ้น ถือไว้เก็งกำไรน้อยลง • แต่ถ้าคาดคะเนว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง บุคคลจะเก็บเงินไว้หรือถือเงินไว้ก่อน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
รูปแสดงความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรรูปแสดงความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร อัตราดอกเบี้ย (r) ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงมากๆ ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร จะเป็นศูนย์ r2 M3 r1 M2 r0 M1 ปริมาณถือเงิน (Q) 0 Q1 Q2 มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
สรุปความต้องการถือเงินของเคนส์สรุปความต้องการถือเงินของเคนส์ มี 3 ประการ คือ • ความต้องการถือเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน • ความต้องการถือเงินเพื่อกรณีฉุกเฉิน • ความต้องการถือเงินเพื่อการเก็งกำไร ----- > ---------------------- Md = m1 + m2 m1 m2 มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
Md = m1 + m2 ----- (1) Md = ความต้องการถือเงิน m1 = ความต้องการถือเงินเพื่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และ ความต้องการถือเงินเพื่อกรณีฉุกเฉิน (ขึ้นกับรายได้) หรือ k(Y) m2= ความต้องการถือเงินเพื่อการเก็งกำไร (ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย) หรือ L(i) Md = k(Y) + L(i)----- (2) k = สัดส่วนการถือเงินเพื่อใช้ประจำวันและกรณีฉุกเฉิน ต่อรายได้ (ค่าคงที่) Y = รายได้ประชาชาติ L = ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร หรือ ระดับการถือเงินเพื่อสภาพคล่อง มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและความต้องการถือเงินความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและความต้องการถือเงิน • ความต้องการถือเงินและปริมาณเงินเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ • ปริมาณเงินมีค่าคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย (r) M (ปริมาณเงิน Ms) แสดงอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ r2 B r0 E A r1 อัตราดอกเบี้ยต่ำลง คนต้องการถือเงินไว้มากขึ้น ไม่อยากให้กู้ L (ความต้องการถือเงิน Md) ปริมาณถือเงิน (Q) 0 Q2 Q1 Q0 มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
การธนาคาร • สถาบันการเงินแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ • ธนาคารพาณิชย์ • ธนาคารกลาง • สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ • เป็นสถาบันการเงินที่สำคัญมาก ทำหน้าที่ในการให้สินเชื่อหรือออกเงินให้กู้รวมทั้งระดมเงินออมของประชาชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ • มีบทบาทสำคัญใน “การสร้างและทำลายเงินฝาก” มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ระบบธนาคารพาณิชย์ • แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ • ระบบธนาคารเดี่ยว หรือ ระบบธนาคารอิสระ • ระบบธนาคารสาขา • ระบบธนาคารกลุ่ม มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ระบบธนาคารพาณิชย์ (ต่อ) • ระบบธนาคารเดี่ยว • เป็นบริษัทที่มีสำนักงานแห่งเดียว • มักบริการชุมชนในท้องถิ่นที่ธนาคารตั้งอยู่ • แหล่งที่มาของเงินทุนและเจ้าหน้าที่ มาจากท้องถิ่นเอง • ตัวอย่าง ธนาคารในสหรัฐฯ • ตัวอย่าง ธนาคารในรัฐ Alabama เช่น West Alabama Bank & Trust, Bank of Pine Hill , Bank of Wedowee มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ระบบธนาคารพาณิชย์ (ต่อ) • ระบบธนาคารสาขา • เป็นกิจการที่มีสำนักงานมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป คือ มีสำนักงานใหญ่และสาขากระจายทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ • เริ่มที่ประเทศอังกฤษ • ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสาขา มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ระบบธนาคารพาณิชย์ (ต่อ) • ระบบธนาคารกลุ่ม • มีบริษัทหรือธนาคารหนึ่งเป็นเจ้าของ โดยมีอำนาจควบคุมธนาคารหรือบริษัทในเครือของบริษัทเจ้าของ • ธนาคารที่ถูกควบคุมอาจเป็นธนาคารเดี่ยวหรือสาขา มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ย. 51) • กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) • กรุงไทย จำกัด (มหาชน) • กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) • กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) • เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) • ทหารไทย จำกัด (มหาชน) • ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) • ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) • ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) • ธนชาต จำกัด (มหาชน) • นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) • ยูโอบี จำกัด (มหาชน) • สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) • สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ • หน้าที่หลักๆ มีดังนี้ • การรับฝากเงิน • ประเภทกระแสรายวัน • ประเภทออมทรัพย์ • ประเภทฝากประจำ • การให้สินเชื่อ • การโอนเงิน มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร
การสร้างเงินฝาก • การสร้างเงินฝากหรือการขยายเครดิต ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์ เป็นการช่วยให้ระบบเศรษฐกิจมีเงินและเครดิตเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการผลิต การค้าและการบริโภคเพิ่มขึ้น • ธนาคารมีหน้าที่รับฝากเงิน และนำเงินฝากไปสร้างเป็นเงินฝากขึ้นใหม่ได้ มห บทที่ 6 การเงินการธนาคาร