360 likes | 797 Views
บุคคลที่ได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551. มาตรา ๒๓
E N D
บุคคลที่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
มาตรา ๒๓ บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิด ในประเทศไทย แต่ถูกถอนสัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗ ข้อ ๑และผู้ที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว.๓๓๗ ข้อ ๒รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้สัญชาติไทยตาม ม.๗ ทวิ วรรคหนึ่งฯ
ถ้าบุคคลนั้นอาศัยอยู่จริงในประเทศไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทยให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา
บุคคลตามมาตรา 23 ก. กรณีบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทย และไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว. 337 ข. กรณีบุตรของบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทย หรือไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว. 337
ก. กรณีบุคคลที่ถูกถอนสัญชาติไทย และไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว. 337 เกิดก่อนวันที่ 26ก.พ.2535
ปว. 337 ลว. 13 ธ.ค. 2515(14 ธ.ค. 2515 - 25 ก.พ. 2535) ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดาเป็น (1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว (3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ปว. 337 ลว. 13 ธ.ค. 2515(14 ธ.ค. 2515 - 25 ก.พ. 2535) ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1 ผู้เกิดในราชอาณาจักรเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้วไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่ รมว.มท. พิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นอย่างอื่น
ต.ชั่วคราว ไทย จด พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ไทย ปว. 337ไม่ได้ไทย
ไทย ต.ชั่วคราว ไม่จด ไม่จด พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ไทย ปว. 337ไม่ได้ไทย
ต.มีใบสำคัญฯ ต.ชั่วคราว ไม่จด พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ไทย ปว. 337ไม่ได้ไทย
ต.ชั่วคราวต.มีใบสำคัญฯ จด พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ไทย ปว. 337ไม่ได้ไทย
ต.ชั่วคราวต.ชั่วคราว จด ไม่จด พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ไทย ปว. 337ไม่ได้ไทย
ปว. 337 ทำให้บุคคลเสีย/ไม่ได้สัญชาติไทย 6 กลุ่ม 1) มีบิดาเป็นไทย ไม่สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข 2) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข สมรสกับมารดาไทย 3) มีบิดาเป็นต่างด้าวที่มีใบ ฯ ไม่สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข 4) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข สมรสกับมารดาต่างด้าวที่มีใบ ฯ 5) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข 6) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข ไม่สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ได้ไทยกลับคืนตามมาตรา 7 และมาตรา 10 กลุ่มที่ 3 ถึง 6 ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 23 พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉ.4) พ.ศ. 2551
เฉพาะผู้ที่เกิดก่อน 28ก.พ.2551 ข. กรณีบุตรของบุคคลที่ถูกถอน สัญชาติไทย หรือไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว. 337
ผังมาตรา 23 เกิดนอก เกิดนอก เกิดใน เกิดนอก เกิดใน เกิดใน 2520 2529 2534 2537 เกิด 27 ก.พ.2551 = ? = ? เกิด 28 ก.พ.2551
เงื่อนไขที่ผู้จะได้สัญชาติไทยต้องมีเงื่อนไขที่ผู้จะได้สัญชาติไทยต้องมี ผู้ที่ถูกผลกระทบจาก ปว.337 ที่จะได้ไทยตาม ม. 23 ต้องมีเงื่อนไข ดังนี้ • ต้องอาศัยอยู่จริงในประเทศไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร 2) มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย
หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ หลักฐานแสดงถิ่นกำเนิดเช่น สูติบัตร หนังสือรับรองการเกิด ท.ร.20/1 หรือ หนังสือรับรองสถานที่เกิด หลักฐานแสดงถิ่นที่อยู่ เช่น ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14 ท.ร.13) หรือทะเบียนประวัติ (ท.ร.38 ท.ร.38/1 ท.ร.38 ก หรือ ท.ร.38 ข)
หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ หลักฐานเอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)เช่น หนังสือรับรองการทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือทางราชการ หลักฐานการเสียภาษี หลักฐานการศึกษา ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ฯ พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน ก็ได้
สถานที่ยื่นคำขอ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอลงรายการสัญชาติมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ปัจจุบัน : ตามทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนประวัติ
ระยะเวลาที่กำหนด 1. เริ่มยื่นคำขอได้ตั้งแต่วันที่28 พฤษภาคม 2551โดยไม่มี วันสิ้นสุดของการดำเนินการ 2. เมื่อรับคำขอแล้ว นายทะเบียนมีเวลา 90 วันในการสอบสวนพยานบุคคล และรวบรวมหลักฐานเสนอนายอำเภอ 3. นายอำเภอมีเวลา 15 วันในการตรวจพิจารณาหลักฐาน และ มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต 4. กรณีไม่อนุญาตจะต้องแจ้งผู้ขอให้อุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน
สถานะคนสัญชาติไทยตามมาตรา 23 เริ่มต้นเมื่อไร ? ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) มีผลใช้บังคับ ได้เลขประจำตัว 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 8 กลุ่ม 73 (8 xxxx 73xxx xx x)
หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท 0309.1/ ว 1587 ลว. 22 พฤษภาคม 2551 กรมการปกครอง ด่วนมาก ที่ มท 0309.1/ว 9489 ลว. 18 มิถุนายน 2551 3. สำนักทะเบียนกลาง ที่ มท 0309.1/ว 105 ลว. 4 ธันวาคม 2551