240 likes | 430 Views
โครงการจัดทำ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ด้านอุดมศึกษากับทวีป แอฟ ริกา ประจำปีงบประมาณ 2554. สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ. เนื้อหา. ความเป็นมา ทำไมจึงควรร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีป แอฟ ริกา ? ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีป แอฟ ริกา
E N D
โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาประจำปีงบประมาณ 2554 สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ
เนื้อหา • ความเป็นมา • ทำไมจึงควรร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา? • ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • ร่างยุทธศาสตร์จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา
ความเป็นมา • นโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลไทย (อภิสิทธิ์ 1) • นโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) • ข้อมูลเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา • โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • สถานะความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา
นโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลไทย (อภิสิทธิ์ 1) • พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ • ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน • ส่งเสริมความความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศ • กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลกและประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่างๆ • ส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลกในเรื่องการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ • สนับสนุนการเข้าร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ • ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชน • สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน • คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย
นโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) • แนวความคิดหลัก คือ การช่วยให้ประเทศไทยสามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • วัตถุประสงค์ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศเป้าหมาย และการแสวงหาตลาดการค้าและลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ พร้อมกับส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย • ประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ข้อมูลเกี่ยวกับทวีปแอฟริกาข้อมูลเกี่ยวกับทวีปแอฟริกา • ข้อมูลทั่วไป • ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • การพัฒนาโดยรวม • ไทยและแอฟริกา
โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินการความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาในทวีปแอฟริกา • เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับแอฟริกาเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน • เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษากับประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา
โครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาโครงการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ขอบเขตของการศึกษาวิจัย • ศึกษาเฉพาะการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกำหนดกลุ่มประเทศเป้าหมาย 10 ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ บอตสวานา อียิปต์ เคนยา มาดากัสการ์ โมร็อกโก โมซัมบิก เซเนกัล ซูดาน แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้
สถานะความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกาสถานะความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • การดำเนินความร่วมมือทางด้านอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศในแอฟริกายังมีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยประเทศไทยได้ดำเนินความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่างๆ ได้แก่ ลิเบีย บอตสวานา อียิปต์ และเคนยา • ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาชาวแอฟริกาที่เข้ามาศึกษาต่อในไทยทั้งหมด 454 คน จาก 33 ประเทศ โดยประเทศที่มีจำนวนนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทยมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ ไนจีเรีย 155 คน และแคเมอรูน 55 คน (ณ เดือนกรกฎาคม 2553) • จากการสำรวจความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกา พบว่า มีความตกลงความร่วมมือทางวิชาการจำนวนทั้งหมด13 ฉบับ (ณ เดือนกรกฎาคม 2553)
ทำไมจึงควรร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา? • การค้า การลงทุน • แหล่งวัตถุดิบ • เสียงสนับสนุนในเวทีนานาชาติ • ความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • เผยแพร่ข้อมูลของทวีปแอฟริกากระจายสู่วงกว้าง
ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • การร่างจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิความร่วมมือกับแอฟริการ่วมประชุมระดมสมอง • การจัดทำร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา ต่อ...
ขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาขั้นตอนในการจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องความร่วมมือกับแอฟริการ่วมประชุมพิจารณาร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การนำเสนอต่ออนุกรรมการนโยบายและแผนให้ความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การนำเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • การประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกาให้สถาบันอุดมศึกษานำไปปรับใช้
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • จุดแข็ง • สถาบันอุดมศึกษาไทยมีความเข้มแข็งด้านวิชาการในสาขาที่แอฟริกาสนใจ • สถาบันอุดมศึกษาไทยมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย • สถาบันอุดมศึกษาไทยมีหลักสูตรนานาชาติที่เปิดสอนด้วยภาษาอังกฤษจำนวนมาก • ค่าเล่าเรียนของไทยไม่แพง • วัฒนธรรมไทยและชีวิตความเป็นอยู่ในไทยคล้ายคลึงกับสภาพในแอฟริกา • ค่าครองชีพในไทยไม่สูง • ประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ • ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกามาเป็นเวลานาน
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • จุดอ่อน • ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยและแอฟริกายังมีไม่มากนัก • สถาบันอุดมศึกษาไทยขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านแอฟริกาศึกษา • นักวิชาการไทยที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับแอฟริกายังมีน้อยอยู่ • นักวิชาการไทยยังขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • นักวิชาการและนักศึกษาไทยจำนวนมากยังขาดทักษะในการสื่อสารขั้นสูงด้วยภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่จำเป็นในการร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • สถาบันอุดมศึกษาไทยยังขาดหลักสูตรนานาชาติที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาในแอฟริกา
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • โอกาส • ทวีปแอฟริกาเป็นแหล่งวัตถุดิบและแหล่งทรัพยากรสำหรับการผลิตของไทย เป็นตลาดใหม่ สำหรับสินค้า และเป็นแหล่งลงทุนที่มีโอกาสทางธุรกิจสูงของภาคเอกชนไทย • รัฐบาลให้การสนับสนุนทุนการศึกษาและฝึกอบรมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรจากแอฟริกา • รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการขยายความสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกา • ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาเห็นว่าไทยมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาสำหรับแอฟริกา • สถานทูตของประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาประจำประเทศไทยสนใจส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในทวีปแอฟริกากับประเทศไทย • รัฐบาลไทยส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาในทวีปแอฟริกา
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของความร่วมมือด้านอุดมศึกษาระหว่างไทยกับแอฟริกา • ภัยคุกคาม • สถานการณ์ทางการเมือง ความรุนแรง และโรคติดต่อที่ร้ายแรงในบางประเทศในทวีปแอฟริกาก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในการเดินทางไปแสวงหาความร่วมมือในทวีปแอฟริกา • คนไทยและคนแอฟริกายังรู้จักกันในวงจำกัด • ระยะทางที่ไกลกัน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ค่อนข้างสูง
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 1: การให้ความรู้เกี่ยวกับแอฟริกาเพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแอฟริกา • กลยุทธ์: • การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแอฟริกา • การจัดพิมพ์ข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เผยแพร่ไปตามสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแอฟริกา • การส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 2: การสร้างความเป็นหุ้นส่วนและเรียนรู้จากกันและกันระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา • กลยุทธ์: • การจัดตั้ง “ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยไทย-แอฟริกา” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหน่วยประสานงานความร่วมมือทางวิชาการกับแอฟริกา • การส่งคณะผู้แทนด้านอุดมศึกษาเดินทางไปเจรจาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในแอฟริกา • การเชิญนักวิชาการและอาจารย์จากแอฟริกามาทำวิจัยและประชุมทางวิชาการร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาไทย
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประเทศเป้าหมายในแอฟริกา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุน • กลยุทธ์: • การร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยไทย-แอฟริกา สถาบันอุดมศึกษา และสถานทูตของประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาประจำประเทศไทย ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาแอฟริกา ต่อ...
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประเทศเป้าหมายในแอฟริกา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุน • กลยุทธ์: • สถาบันอุดมศึกษาร่วมมือกับหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาครัฐและเอกชน ในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลเชิงลึกประเภท intelligent ต่อ...
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในกลุ่มประเทศเป้าหมายในแอฟริกา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุน • กลยุทธ์: • สนับสนุนให้มีการสร้างการเชื่อมโยงระดับสถาบันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาแอฟริกา และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ • ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาแอฟริการ่วมกันจัดทำความตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 4: การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ นักศึกษา และบุคลากร • กลยุทธ์: • ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาในการทำการวิจัย การศึกษา และการสอน • จัดเวทีให้อาจารย์และนักศึกษาไทยกับแอฟริกา ร่วมประชุมปรึกษาหารือกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์อย่างย่ำยืน • ส่งเสริมให้นักศึกษาจากแอฟริกามาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทยให้มากขึ้น ต่อ...
ร่างยุทธศาสตร์ฯ จากการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านอุดมศึกษากับทวีปแอฟริกา • ยุทธศาสตร์ที่ 4: การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ นักศึกษา และบุคลากร • กลยุทธ์: • สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยประชาสัมพันธ์ให้สถาบันอุดมศึกษาแอฟริกาได้รู้จักมากขึ้น • ใช้ประโยชน์จากนักศึกษาแอฟริกาที่มาศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกา เพื่อการวิจัย
กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศกลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ • สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ • โทร. 0 2610 5396 • โทรสาร 0 2354 5570