1 / 75

บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

มองเศรษฐกิจไทยทั้งในและต่างประเทศปี 2554. บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน). ในงานเสวนา “ จับตาปี 2011 Sector ไหนรุ่ง กลุ่มไหนร่วง” ณ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้น 6 วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2553. “ รุดหน้า... สู่อนาคต ”.

Download Presentation

บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มองเศรษฐกิจไทยทั้งในและต่างประเทศปี 2554 บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในงานเสวนา “จับตาปี 2011 Sector ไหนรุ่ง กลุ่มไหนร่วง” ณ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้น 6 วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2553 “รุดหน้า... สู่อนาคต”

  2. มองเศรษฐกิจไทยทั้งในและต่างประเทศปี 2554 • เศรษฐกิจหลักของโลกในปี 2554 จะชะลอตัวลงจากปี 2553 • ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและผันผวน • อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มสูงขึ้น

  3. I. เศรษฐกิจหลักของโลกในปี 2554 จะชะลอตัวลงจากปี 2553

  4. IMF คาดว่าเศรษฐกิจหลักของโลกทั้ง 4 จะชะลอตัวลงในปี 2554 การคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีนโดย IMF %,y-o-y ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

  5. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนกำลังลง ปัจจัย 3 ประการที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว • วัฏจักรขาขึ้นของสินค้าคงคลัง • อุปสงค์ที่เลื่อนออกมาจากช่วงเศรษฐกิจถดถอย (Pent-up Demand) • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลาดบ้านยังทรุดตัว สถาบันการเงินยังมีปัญหา 5

  6. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนกำลังลง(ต่อ): วัฏจักรขาขึ้นของสินค้าคงคลังชะลอลง ที่มาของการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง) สต๊อกสินค้าภาคค้าปลีก ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ %, q-o-q: annual rate 6

  7. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนกำลังลง(ต่อ) :Pent-up Demand หมดลง ยอดขายรถยนต์ของสหรัฐฯ พันคัน ที่มา: Bureau of Economic Analysis (BEA), USA. 7

  8. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนกำลังลง(ต่อ): มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะลดลงมากในปีหน้า ผลของการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2552 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มา: Congressional Budget Office (CBO) 8

  9. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนกำลังลง(ต่อ) : ตลาดบ้านยังทรุดตัว ยอดขายบ้านเดี่ยวมือสอง ยูนิต ยอดขายบ้านใหม่ ยูนิต 3,890,000 ดัชนีการทำสัญญาซื้อขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sale) ดัชนี 283,000 89.3 9

  10. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนกำลังลง(ต่อ): สถาบันการเงินของสหรัฐฯ ยังมีปัญหา ยอดสินเชื่อพาณิชย์และอุตสาหกรรมคงค้างของธนาคารทั้งหมดของสหรัฐฯ จำนวนธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กที่ล้มละลาย แห่ง พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 531 149 34 พ.ย. 53 ที่มา: http://research.stlouisfed.org/fred2/series/BUSLOANS/downloaddata?cid=100 ที่มา: Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) 10

  11. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง: ปัญหาการลดลงของราคา (Deflation) หนี้สาธารณะที่สูงและความอ่อนแอของการบริโภคทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องพึ่งการส่งออก การส่งออก (USD) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่น %, (y-o-y) %, (y-o-y) 19.1 *หมายเหตุ: FX = Yen against US$: Monthly Average Rates 0.2 -0.8 การบริโภคภาคเอกชน %, q-o-q: annual rate: SA ที่มา: http://www.esri.cao.go.jp

  12. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง : ปัญหาการลดลงของราคา (Deflation) หนี้สาธารณะที่สูงและความอ่อนแอของการบริโภคทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องพึ่งการส่งออก (ต่อ) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่น % % to GDP 0.0-0.1 *ประมาณการณ์ด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ *Target for the Uncollateralized Overnight Call Rate

  13. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง: ปัญหาการลดลงของราคา (Deflation) หนี้สาธารณะที่สูงและความอ่อนแอของการบริโภคทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นต้องพึ่งการส่งออก (ต่อ) … มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะชะลอตัวลงมากใน Q4 2553 ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จัดทำโดย Nomura/JMMA Consumers’ Confidence Index (exclude 1 Person Households) Index 40.4 ที่มา: http://www.markiteconomics.com ที่มา: Economic and social Research Institute

  14. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง(ต่อ):เงินเยนแข็งค่าขึ้นทั้งๆ ที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างมากและอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น %,q-o-q

  15. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง(ต่อ): เงินเยนแข็งค่าขึ้น ทั้งๆที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างมากและอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (ต่อ) ค่าเงินดอลลาร์เทียบกับเยน JPY:USD 83.90

  16. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง(ต่อ):สาเหตุของการแข็งค่าของค่าเงินเยนเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง(ต่อ):สาเหตุของการแข็งค่าของค่าเงินเยน • ประเทศญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง • ธนาคารกลางส่วนใหญ่ลดการถือเงิน USD และ ยูโร • ประเทศจีนหันไปถือตราสารหนี้รัฐบาลญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มากขึ้น • รัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะป้องกันการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนได้

  17. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง(ต่อ): ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศญี่ปุ่น ดุลบัญชีเดินสะพัด ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มา: http://www.stat-search.boj.or.jp/ssi/mtshtml/csv/m_en.csv หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการคำนวณเป็นอัตราเฉลี่ยใน Tokyo Market

  18. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง(ต่อ): สัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์สกุลเงินต่างๆ ของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทั่วโลก สัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์สกุลเงินต่างๆ % ที่มา: Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserves (COFER)http://www.imf.org/external/np/sta/cofer/eng/index.htm

  19. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง: เศรษฐกิจหลักของยุโรปค่อนข้างเข้มแข็งแต่เศรษฐกิจขนาดเล็กหลายแห่งค่อนข้างอ่อนแอ GDP ของประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ GDP ของกรีซ โปรตุเกส สเปน และไอร์แลนด์ % ,(q-o-q) % ,(q-o-q) หมายเหตุ: f=ประมาณการโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หมายเหตุ: f=ประมาณการโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

  20. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): หลังวิกฤติการเงินปี 2551/52 หนี้สาธารณะของหลายประเทศในยุโรปสูงขึ้นมาก สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อGDP ของประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อGDP ของประเทศไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน อิตาลี และกรีซ % toGDP ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

  21. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซรุนแรงขึ้นจากวิกฤติการเงินในปี 2551/52 หนี้ภาครัฐ (Public debt) ต่อ GDP ของกรีซ % of GDP ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

  22. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ประเทศกรีซแต่งบัญชีดุลงบประมาณปี 2541 เพื่อให้ได้เป็นสมาชิก Euro Zone ในปี 2543 การประเมินการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ของกรีซในปี 2541 • การทำ Currency Swap เพื่อให้หนี้ลดลง • การลงบัญชีรายจ่ายต่ำกว่าความจริงโดยเฉพาะการไม่บันทึกการใช้จ่ายด้านการทหาร 16,000 ล้านยูโร • ลงบัญชีรายได้สูงกว่าความเป็นจริง • Transparency International ปรับลดอันดับความโปร่งใสของกรีซจากอันดับ 51 ในปี 2551 มาอยู่อันดับที่ 71 ในปี 2552 %to GDP

  23. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ประเทศกรีซขาดดุลงบประมาณและดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากพร้อมกันทำให้ต้องพึ่งเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ปี 2552 และดุลงบประมาณต่อ GDP ปีงบประมาณ 2552 ของกรีซ %

  24. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ปัญหาหนี้ของกรีซลุกลามไปประเทศอื่นได้ 3 ทางคือ มีอีก 4 ประเทศที่มีลักษณะคล้ายกับกรีซคือหนี้ภาครัฐสูงและกำลังเพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณค่อนข้างสูง และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประเทศเหล่านี้ได้แก่ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และอิตาลี (รวมกับกรีซเป็น 5 ประเทศเรียกว่ากลุ่ม PIIGS) ทั้ง 5 ประเทศมีการกู้ยืมเงินระหว่างกันสูงมาก นอกจากนี้รัฐบาลและสถาบันการเงินของกลุ่ม PIIGS ได้กู้เงินจากประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ราคาพันธบัตรรัฐบาลของ PIIGS ลดลงทำให้สถาบันการเงินอาจจะต้องปรับลดมูลค่า (Mark-to-Market) ทำให้ทุนลดลงจนกลายเป็นวิกฤติ 24

  25. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ):ทั้ง 5 ประเทศมีการกู้ยืมเงินระหว่างกันสูงมาก และยังกู้เงินจากรัฐบาลยุโรป โดยเฉพาะจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ที่มา: นิวยอร์กไทมส์ 25

  26. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ปัญหาอาจจะลุกลามไปยังประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศสและอังกฤษ หนี้ต่างประเทศของรัฐบาลและสถาบันการเงินของกลุ่ม PIIGS ล้านล้าน USD ที่มา: นิวยอร์กไทมส์ 26

  27. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): จากโอกาสที่ปัญหาจะลุกลามและการช่วยเหลือจากรัฐบาลสหภาพยุโรปไม่เพียงพอ IMF และ ECB จึงเพิ่มการช่วยเหลือ รัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปสัญญาว่าจะจัดหาเงินกู้ให้ประเทศที่มีปัญหา 750,000 ล้านดอลลาร์ยูโร (จากที่มีอยู่แล้ว 76,000 ล้านดอลลาร์ยูโร) IMF ก็จะจัดหาเงินกู้ให้ประเทศที่มีปัญหา 321,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ ECB ก็ประกาศจะเข้าซื้อตราสารหนี้ของรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหาเพื่อป้องกันการลดลงของราคาพันธบัตรและปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลของประเทศกลุ่ม PIIGS ที่กู้เงินไม่ได้อีกทางหนึ่ง 27

  28. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): การให้ความช่วยเหลือเป็นการโอนความเสี่ยงจากสถาบันการเงินและนักลงทุนไปยังรัฐบาล ECB และ IMF สถาบันการเงินและนักลงทุนถือ พันธบัตรรัฐบาล PIIGS (พันธบัตร) ขายพันธบัตร รัฐบาล PIIGS ขายพันธบัตร ขายพันธบัตร รัฐบาลประเทศสหภาพยุโรปอื่น ECB และ IMF (พันธบัตร) 28

  29. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ):มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศกรีซจะประกาศพักชำระหนี้ • ประเทศกรีซใช้เงินยูโรจึงไม่สามารถที่จะลดค่าเงินเพื่อกระตุ้นการส่งออกและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังไม่สามารถที่จะใช้นโยบายการเงินที่จะสร้างเงินเฟ้อเพื่อลดภาระหนี้ภาครัฐที่แท้จริง (หนี้ภาครัฐหักด้วยเงินเฟ้อ) ได้ • เนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอยและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้วารสาร The Economist คาดว่าหนี้สาธารณะของกรีซจะสูงถึงร้อยละ 150 ของ GDP ในปี 2557 สูงกว่าที่ IMF เคยคาดไว้ที่ร้อยละ 121 • OECD คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของกรีซจะหดตัวประมาณร้อยละ 3.7 ในปี 2553 และร้อยละ 2.5 ในปี 2554 • ประเทศกรีซมี 2 ทางเลือก คือ ปรับลดการขาดดุลโดยการลดการใช้จ่ายและเพิ่มภาษี (ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวและซบเซาอย่างต่อเนื่องหลายปี) กับการประกาศพักชำระหนี้และขอเจรจาลดหนี้ (ซึ่งมีโอกาสที่เศรษฐกิจกรีซมีโอกาสฟื้นตัวใน 1 – 2 ปีในอนาคตเช่นเดียวกับประเทศอาร์เจนตินา)

  30. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ประเทศไอร์แลนด์ไม่เหมือนประเทศยุโรปอื่นๆ ที่มีหนี้สาธารณะสูงมากก่อนวิกฤติการเงินปี 2551/2 แต่มีหนี้ต่ำเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้สาธารณะของไอร์แลนด์ • ไอร์แลนด์มีวินัยการคลังสูงและมีหนี้สาธารณะต่ำก่อนเกิดวิกฤติ • แม้กระทั่งในปี 2552 รัฐบาลไอร์แลนด์ก็สามารถที่จะลดการขาดดุลให้ต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ที่ 25,300 ล้านยูโรโดยขาดดุลจริง 24,600 ล้านยูโร หลังจากการใช้เงินยูโรไอร์แลนด์ขยายธุรกิจธนาคารในยุโรปจนสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์มากกว่า GDP หลายเท่าตัว • เมื่อเกิดวิกฤติธนาคารไอร์แลนด์ รัฐบาลไอร์แลนด์ต้องเข้ารับภาระทำให้ภาระการคลังสูงขึ้น % toGDP ที่มา: IMF หมายเหตุ: * ประมาณการโดย IMF ** ประมาณการโดย The Economist

  31. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ):ต้นทุนในการแก้ปัญหาธนาคารพาณิชย์บานปลาย • ธนาคาร Anglo Irish Bank ที่เป็นของรัฐบาลประกาศขาดทุนในครึ่งแรกของปี 2553 สูงถึงประมาณ 10,800 ล้านUSD ซึ่งเป็นผลการขาดทุนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของไอร์แลนด์ การแก้ไขปัญหาธนาคารนี้แห่งเดียวก็อาจจะมีต้นทุนสูงถึง 25,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 33,000 ล้านดอลลาร์ • สถาบันจัดอันดับ Standard & Poor’s ประเมินว่าต้นทุนขององค์กรที่รัฐบาลจัดตั้งเพื่อแก้ไขหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ (Bad Banks) จะมีมูลค่าประมาณ 40,000 - 41,000 ล้านยูโร ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไอร์แลนด์ เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 26 ในปี 2553 ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไอร์แลนด์เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นถึงประมาณร้อยละ 121.4 ของ GDP ในปี 2558

  32. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): การแก้ปัญหาผลักดันให้การขาดดุลพุ่งขึ้นและหนี้สาธารณะสูงกว่าที่ IMF คาดไว้ • การเข้าแก้ไขปัญหาธนาคารทำให้รัฐบาลไอร์แลนด์ขาดดุลงบประมาณในปี 2553 สูงถึงร้อยละ 32 ของ GDP (เมื่อรวมภาระการแก้ไขสถาบันการเงิน) และทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ 47 ของ GDP • จากภาระ IMF คาดว่าหนี้สาธารณะของไอร์แลนด์จะพุ่งสูงสุดถึงประมาณร้อยละ 83 ของ GDP ในปี 2557 แล้วจึงจะลดลงหลังจากนั้น

  33. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ไอร์แลนด์รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและ IMF • ไอร์แลนด์ตอบรับที่จะรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและ IMF • คาดว่าการช่วยเหลือและเงื่อนไขประกอบด้วย • วงเงินประมาณ 85,000 ล้านยูโร • ส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือจะรวมถึง “Standby Facility” ที่จะช่วยเหลือสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ • ไอร์แลนด์ต้องปรับโครงสร้างธนาคารทั้งระบบ • ไอร์แลนด์ต้องมีแผนปรับลดการขาดดุลงบประมาณที่ชัดเจนและลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลืออย่างน้อย 3% ต่อ GDP ในปี 2557 (ไอร์แลนด์กำลังเจรจาที่จะคงอัตราภาษีนิติบุคลไว้ที่ 12.5%)

  34. ไอร์แลนด์มีมาตรการเข้มข้นที่จะลดการขาดดุลไอร์แลนด์มีมาตรการเข้มข้นที่จะลดการขาดดุล • มีเป้าหมายลดการใช้จ่าย 10,000 ล้านยูโรและเพิ่มรายได้ประมาณ 5,000 ล้านยูโร รวมเป็น 15,000 ล้านยูโร และตั้งเป้าลดการขาดดุลงบประมาณ 2554 ไว้ที่ 6,000 ล้านยูโรหรือประมาณ 9% ของ GDP • การปรับลดงบประมาณรายจ่ายจะรวมถึง • การลดการจ้างงานภาครัฐ 20,000 ราย • เพิ่ม VAT อีกร้อยละ 1 • เพิ่มภาษีอสังหาริมทรัพย์ (คาดว่าจะเพิ่มรายได้ประมาณ 500 ล้านยูโรใน 4 ปี) • ลดระยะเวลาลดหย่อนภาษีสำหรับเงินบำเหน็จบำนาญและขยายขอบเขตการจัดเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดา • อื่นๆ เช่นลดการใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม และลดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจาก 8.65 ยูโรต่อชั่วโมงเหลือ 7.65 ยูโรต่อชั่วโมง • ปัญหาใหญ่คือการขาดเสถียรภาพทางการเมืองเพราะพรรครัฐบาลมีเสียงไม่ถึงครึ่งต้องพึ่งเสียงจากพรรคอิสระ ล่าสุดรัฐบาลประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในครึ่งหลังของเดือนมกราคมปีหน้า

  35. AAA AAA AA AA AA - AA - A+ A+ A A A- A- BBB+ BBB+ BBB BBB BBB- BBB- BB+ BB+ BB BB BB- BB- B B CCC CCC CC CC C C D D เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): อันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์ลดลง อันดับความน่าเชื่อถือของไอร์แลนด์โดย S&P อันดับความน่าเชื่อถือของกรีซโดย S&P rating rating AA AA- AA- A BBB+ BB+ 27 เมษายน 2553 16 ธันวาคม 2552 2551 25 สิงหาคม 2553 24พฤศจิกายน 2553 2552

  36. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): แม้ว่าสหภาพยุโรปและ IMF จะช่วยเหลือทั้งกรีซและไอร์แลนด์ก็ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนได้ อัตราแลกเปลี่ยน (ยูโร : ดอลลาร์สหรัฐฯ) CDS เยอรมนี ไอร์แลนด์ และกรีซ ชนิด 5 ปี USD: 1 EUR bps. 1.3371 ที่มา: bloomberg ที่มา: http://research.stlouisfed.org andBiznews

  37. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): วิกฤติลามไปประเทศโปรตุเกส CDS และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ของโปรตุเกส bps. % ที่มา: bloomberg

  38. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): วิกฤติลามไปประเทศโปรตุเกส(ต่อ)….โปรตุเกสขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราที่สูงมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ของโปรตุเกส % toGDP ที่มา: กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

  39. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ธนาคารยุโรปมีทุนต่ำเทียบกับสหรัฐฯทำให้ไม่สามารถที่จะรองรับความเสียหายได้มาก Leverage Rate (Asset/Equity: total equity-goodwill) เท่า พันล้าน USD ธนาคารยุโรป ธนาคารสหรัฐฯ ที่มา://www.oecd.org/document/57/0,3343,en_2649_34593_45263993_1_1_1_1,00.html

  40. billions* Germany’s exposure to: สเปน โปรตุเกสl กรีซ France’s exposure to: สเปน โปรตุเกสl กรีซ U.K.’s exposure to: สเปน โปรตุเกสl กรีซ *ณ สิ้นปี 2552 ที่มา: BIS, WSJ เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): ถ้าสเปนไม่พักชำระหนี้ ปัญหาจะไม่ลุกลามกลายเป็นวิกฤติ การกู้ยืมระหว่างธนาคารในกลุ่มประเทศหลักกับกรีซ สเปน และโปรตุเกส ความเป็นไปได้ที่หนี้สาธารณะของประเทศในกลุ่ม PIIGS จะเกิด default % n.a. n.a. ที่มา: Bloomberg Global Poll, November 2010

  41. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง (ต่อ): มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่สูงสุดแล้ว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยุโรป PMI ของยูโรโซน ที่มา: Economic and Financial Affairs

  42. เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลง: มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงเล็กน้อย PMI-ภาคอุตสาหกรรมของจีน การลงทุนใน Fixed Asset %,y-o-y

  43. เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลง(ต่อ): จุดสูงสุดของฟองสบู่จีนอาจจะอยู่ไม่ไกลจากปัจจุบัน ดัชนีราคาที่ดินของจีน (ประเภทที่พักอาศัย) อัตราส่วนของราคาบ้านต่อรายได้ต่อปี (Ratio of housing price to annual income) ดัชนี Times หมายเหตุ: The highest in the US ที่มา: CEIC Data and National Bureau of Statistic of China

  44. เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลง(ต่อ): เงินเฟ้อของประเทศจีนถูกกดดันให้สูงขึ้น มาตรการชะลอเงินเฟ้อจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง • ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 3 ปี ณ วันที่ 19 ตุลาคม 53 โดยปรับเพิ่ม 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเป็น 5.56% ส่วนอัตราเงินฝากเพิ่มเป็น 2.5% • ปรับขึ้น Required Reserve Rate อีก 0.50% สู่ระดับ 18.5% มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 53 โดยเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 1 เดือน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สรุปมาตรการรัฐบาลและธนาคารกลางในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและฟองสบู่ของจีน %,y-o-y 5.1 44

  45. เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลง(ต่อ): IMF คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในปี 2554 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน %,y-o-y * * * ประมาณการโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

  46. II. ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าและผันผวน

  47. ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหลังวิกฤติการเงิน ขณะที่หนี้ต่างประเทศน้อยลง ทำให้ไม่ต้องนำเงินที่เกินดุลมาใช้หนี้ตั้งแต่ปี 2547 ดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้ต่างประเทศ ล้าน USD ล้าน USD Q2/2553 ที่มา: ธปท. ที่มา: ธปท. ดุลบัญชีทุน เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ล้าน USD ล้าน USD ที่มา: UNCTAD ที่มา: ธปท. 47

  48. ค่าเงินบาทเทียบกับ USD มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องใช้เงินมูลค่ามหาศาลในการแทรกแซงค่าเงิน มูลค่าการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยในตลาดเงิน ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ THB:USD Index 3.25 ล้านล้านบาท ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: St.Louis Federal 48

  49. ล้าน US$ เงินสำรองระหว่างประเทศของเอเชียและตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 5 ปีที่ผ่านมา เงินสำรองระหว่างประเทศของ ASEAN+6 จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง จีนไทเป และตะวันออกกลาง ที่มา: http://www.imf.org/external/np/sta/ir/8802.pdf http://www.imf.org/external/pubs/ft/reo/reorepts.aspx http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/02/weodata/weoselagr.aspx 49

  50. ปัญหาเริ่มจากการที่ประเทศเอเชียตะวันออกกดค่าเงินให้ต่ำและสหรัฐฯ ออมน้อยทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่ามหาศาล ดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ Mil.USD ที่มา: Bureau of Economic Analysis , US Department of Commerce 50

More Related