940 likes | 1.76k Views
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software). สารบัญ. ความหมายของซอฟต์แวร์ ชนิดของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ข้อควรคำนึงถึงในการใช้ซอฟต์แวร์. ความหมายของซอฟต์แวร์. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน อีกนัยหนึ่งคือ
E N D
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
สารบัญ ความหมายของซอฟต์แวร์ ชนิดของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ข้อควรคำนึงถึงในการใช้ซอฟต์แวร์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ความหมายของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน อีกนัยหนึ่งคือ ซอฟต์แวร์ หมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ชนิดของซอฟต์แวร์ แบ่งชนิดของซอฟต์แวร์ตามลักษณะการทำงาน สามารถแบ่งซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ชนิดของซอฟต์แวร์ Software System Software Application Software Operating Systems System Utilities Basic Application Specialized Application บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้ควบคู่กับฮาร์ดแวร์ มีหน้าที่ในการควบคุม การจัดการ และการดูแลฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ (Operating System)ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, Unix, Mac OS X เป็นต้น โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Programs)ช่วยบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้อย่างราบรื่น เช่น โปรแกรมตรวจจับไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการ เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมจัดการทรัพยากรฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่ในการเชื่อมการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ จัดการกระบวนการใช้ทรัพยากรระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์และฮาร์ดแวร์ เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้งาน ฮาร์ดแวร์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากที่สุด ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาด 93% พัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กส่วนบุคคล (PC) เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ.1970 ระบบปฏิบัติการตัวแรก คือ MS-DOS ไม่มีภาพกราฟิก ใช้การพิมพ์คำสั่งเข้าไป บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft ระบบปฏิบัติการ MS-DOS คำสั่งที่ผู้ใช้ป้อน ผลลัพธ์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft จากนั้นทางไมโครซอฟต์ได้ออกระบบปฏิบัติการที่มีรูปภาพกราฟิก เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Multitasking) ผู้ใช้งานคนเดียว (Single User) เช่น Windows 3.1, Windows 95, Windows 98, Windows ME บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows 3.1 Windows 95 บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows 98 Windows ME บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft จากนั้นก็พัฒนาให้สามารถรองรับผู้ใช้ได้หลายคน (Multi User) เช่น Windows NT, Windows 2000, Windows XP, Windows Vista, Windows 7 บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows NT Windows 2000 บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows XP Windows Vista บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Microsoft Windows 7 บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการ Linux ลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี ค.ศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) พัฒนามาจากระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซี ชักชวนให้นักพัฒนาโปรแกรมอื่น ๆ มาช่วยทำการพัฒนาลินุกซ์ ซึ่งความร่วมมือส่วนใหญ่ก็จะเป็นความร่วมมือผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีลินุกซ์ตระกูลต่าง ๆ เช่น Slackware Redhat ลินุกซ์ทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาได้พัฒนาลินุกซ์ที่มีชื่อว่า บูรพาลินุกซ์ ขึ้นเพื่อแจกจ่ายและเผยแพร่ให้ใช้ โดยไม่คิดมูลค่า บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการ Linux ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิต มีลักษณะเป็น multitasking และ multi-user มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ในทั้งสองรูปแบบ คือ Command line และ GUI จุดเด่น สามารถใช้ได้ในหลายแพลตฟอร์ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ไม่จำเป็นต้องซื้อ (open source) สามารถดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องซอฟต์แวร์ ส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการลินุกซ์จะอยู่ที่ 3% ในส่วนของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 25% ในส่วนของการใช้ในเครื่องแม่ข่าย บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการ Linux Linux Command Line Linux GUI บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Apple เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Macintosh) ของบริษัท Apple เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาแข่งขันกับเครื่อง PC ของ IBM โดยใช้ระบบปฏิบัติการชื่อว่า แมคโอเอส เท็น (Mac OS X) กำเนิดจากระบบปฏิบัติการ UNIX เน้นการสร้างมัลติมีเดียสิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง วิดีโอ ลักษณะการทำงานมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้เป็น GUI มีลักษณะเป็น multi-tasking และ multi-user บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการของบริษัท Apple Mac OS X บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น PDA (Personal Digital Assistant) ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก เก็บข้อมูล เตือนเวลานัดหมาย ใช้งานเว็บ ดูอีเมล ดูหนัง ฟังเพลง หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า Embedded OS ระบบปฏิบัติการที่นิยมได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Palm OS เรียกว่าเครื่อง Palm ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile เรียกว่า Pocket PC ปัจจุบันนิยมใช้ Smart Phone ซึ่งเป็นทั้งโทรศัพท์มือถือที่รวมความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป และเพิ่มขีดความสามารถและมีลูกเล่นที่ดีกว่า PDA ใช้ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก Symbian OS: ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือของค่าย Nokia และ Sony Ericsson บางรุ่น Windows Mobile: ติดตั้งในมีถือของหลายบริษัท เช่น Acer Neo Touch s200 หรือ HTC HD2เป็นต้น Android: เป็นการเปิดตัวครั้งแรกของบริษัท Google ที่หันมาทำระบบปฏิบัติการที่มีแนวความคิดแบบ Open Source ได้รับความนิยมให้ติดตั้งลงใน Smart Phone ของหลายบริษัทไม่ว่าจะเป็น Nokia, Sony Ericsson, HTC, LG เป็นต้น IOS(อ่านว่า ไอโอเอส): เป็นระบบปฏิบัติการของค่าย Apple ที่ติดตั้งลงใน iPhone รวมทั้ง iPad ที่เป็น Tablet PC และ iPod ที่เป็นเครื่องเล่นเพลงที่ต่างจากเครื่องเล่นเพลงทั่ว ๆ ไป Linux: เป็นระบบปฏิบัติการหนึ่งที่ติดตั้งลงในโทรศัพท์มือถือหลาย ๆ รุ่น อย่างเช่น Nokia และ Motorola บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก Windows Mobile Symbian บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก Android iOS บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก PalmPre Linux บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประเภทการจัดแฟ้มข้อมูล (File Manager)เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลเช่น การคัดลอก (Copy), การเปลี่ยนชื่อ(Rename), การแบ่งพาติชัน (Partition) และการจัดรูปแบบดิสก์ (Format) ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstall)เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการลบโปรแกรมออกจากระบบปฏิบัติการ ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้โปรแกรมนั้น ๆ แล้ว โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการตามเอาแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมที่ต้องการลบออกทั้งหมด เช่น Add/Remove Programs ในส่วน Control Panel ของ Microsoft Windows บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ File Manager Uninstaller บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ โปรแกรมจัดการดิสก์ (Disk Utility)เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการปัญหาหรือแก้ไขให้ฮาร์ดดิสก์มีการทำงานที่ดีขึ้น เช่น Disk Cleanup เป็นโปรแกรมช่วยลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง ทำให้ฮาร์ดดิสก์มีเนื้อที่ว่างเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ โปรแกรม Disk Defragmenter ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยรวมไฟล์ที่เคยแยกออกเป็นไฟล์ส่วนเล็ก ๆ ในขณะที่ทำการจัดเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ให้อยู่ในเนื้อที่ต่อเนื่องกัน และยังเป็นการจัดระเบียบเนื้อที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ให้อยู่ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โปรแกรมรักษาหน้าจอ (Screen Saver)เป็นโปรแกรมที่ช่วยรักษาอายุ การใช้งานของจอคอมพิวเตอร์ให้มีอายุการใช้งานมากยิ่งขึ้น บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ Disk Cleanup …. กำจัดแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการจากเครื่อง จัดระเบียบแฟ้มข้อมูลในฮาร์ดดิส…. Disk Defragmenter บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ Screen Saver บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ โปรแกรมป้องกันไวรัส ใช้ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และโปรแกรมอื่นที่เข้ามาสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมบีบอัดแฟ้ม ใช้ลดขนาดของไฟล์ เพื่อลดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้สามารถส่งไฟล์ดังกล่าวทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ Anti-Virus File Compression บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน แบ่งเป็น ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ประยุกต์จะถูกติดตั้งในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันสามารถใช้งานผ่านเว็บได้ เป็นที่นิยมมากในระบบธุรกิจ เรียกว่า ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ทำงานผ่านเว็บ หรือ เว็บเบสแอพพลิเคชัน (Web-based application) เช่น มหาวิทยาลัยบูรพาใช้โปรแกรมลงทะเบียนเรียนของนิสิตผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริษัทสายการบินใช้โปรแกรมขายตั๋วเครื่องบินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน (Basic application) หรือบางครั้งเรียกว่า ซอฟต์แวร์ประยุกต์อเนกประสงค์ (General-purpose application) หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยเพิ่มผลผลิต (Productivity application) เป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำการ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (Word processor software) ใช้ในการสร้างเอกสาร ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น การจดบันทึก จดหมาย คู่มือ และแผ่นพับ ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในเรื่องของการพิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ การแก้ไข และการจัดรูปแบบของเอกสาร ได้แก่ การเลือกรูปแบบของตัวอักษร การเลือกขนาดของตัวอักษรหรือเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษรให้เป็นตัวหนา ตัวเอียงและสีตัวอักษรได้ตามต้องการ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลได้เพิ่มคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สามารถตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์ เป็นต้น โปรแกรมประมวลคำที่นิยมใช้กันได้แก่ Microsoft Word, Corel WordPerfect, Lotus Word Pro และ OpenOffice.org Writer บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน MS Word OpenOffice.org Writer บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลข และสร้างแผนภูมิ นิยมสำหรับผู้ใช้ในด้านการศึกษา เช่น อาจารย์ใช้เก็บคะแนนของนิสิต คำนวณหาค่าเฉลี่ย และคำนวณผลการเรียนของนิสิต ด้านการตลาด อาจใช้สำหรับวิเคราะห์แนวโน้มเกี่ยวกับการขาย เป็นต้น มีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความ หรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด เช่น Microsoft Excel, Lotus 1-2-3 และ OpenOffice.orgCalC บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน MS Excel OpenOffice.org Calc บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation software) ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล เพื่อให้งานที่ต้องการนำเสนอมีความน่าสนใจและมีลักษณะเป็นมืออาชีพ สามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้เช่น นิสิตใช้เพื่อนำเสนอรายงานที่ได้ค้นคว้ามาได้ พนักงานขายนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ไฟล์งานนำเสนอจะประกอบด้วยภาพนิ่ง (Slide) หลาย ๆ ภาพ มีเครื่องมืออัตโนมัติที่เรียกวิซาร์ด (Wizard) ช่วยแนะนำผู้ใช้สามารถสร้างงานนำเสนอได้อย่างง่ายดาย รวมถึงมีเครื่องมือเพื่อใช้เลือกสี โครงร่างภาพนิ่ง แม่แบบ ลูกเล่นต่าง ๆ และต้นแบบภาพนิ่ง เป็นต้น นิยมใช้ได้แก่ Microsoft PowerPoint, OpenOffice.org Impress, Corel Presentations และ Lotus Freelance Graphics บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน MS PowerPoint OpenOffice.org Impress บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database management software) ช่วยในการเก็บข้อมูล แก้ไขข้อมูล และดึงข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลมาใช้งาน เช่น การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล การแสดงตารางสอนของอาจารย์หลังจากที่นิสิตใส่ชื่ออาจารย์บน http://reg.buu.ac.th ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Access, OpenOffice.org Base, Corel Paradox และ Lotus Approach บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน MS Access OpenOffice.org Base บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (Data communication software) ช่วยให้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ ได้ เช่น สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน MS Outlook Web Access Mozilla Thunderbird บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Specialized application) เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาใช้เฉพาะงานและเฉพาะกลุ่มสาขาอาชีพ เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการภาพกราฟิก ซอฟต์แวร์สร้างมัลติมีเดีย ซอฟต์แวร์สร้างเว็บไซต์ เป็นต้น นอกจากซอฟต์แวร์เหล่านี้ ยังมีซอฟต์แวร์อีกประเภทหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยการนำเอาหลักการปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) มาทำให้ซอฟต์แวร์มีความฉลาดมีความสามารถเหมือนมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถตอบสนอง และมีความสามารถเหมือนมนุษย์ บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์ออกแบบสิ่งพิมพ์ (Desktop publishing) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการจัดหน้าเอกสารและการพิมพ์ ในรูปแบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) โดยสามารถที่จะออกแบบโครงร่างของหน้าเอกสาร ซึ่งประกอบไปด้วยข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics) รูปภาพ (Image) โดยสามารถพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ ได้เหมือนกับที่ได้ออกแบบไว้ ตัวอย่าง ได้แก่ QuarkXPress, Adobe InDesign, PageStream, RagTime, Microsoft Publisher, Apple Pages และ CorelDraw บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ Apple Pages PageStream บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการภาพกราฟิก (Graphics editing) สามารถจัดการภาพกราฟิก ซึ่งเป็นการนำภาพมาผ่านการตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการนำภาพถ่ายมารีทัช (Retouch) ตัดต่อใหม่เช่น การปรับแต่งสีของภาพ การลบริ้วรอยบนใบหน้า การทำภาพคนอ้วนให้ดูผอมเพรียวขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรมในการออกแบบตัวอักษร เพื่อนำมาใช้งานบนเว็บไซต์ได้อีกด้วย โปรแกรมจัดการทางกราฟิกที่ได้รับความนิยม คือ Adobe Photoshop, GIMP บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software)