470 likes | 581 Views
VAYUPAK FUND 1. ผู้จัดทำ. กรกฏ กิจดี 434 55026 29. นิภาพรรณ แสงหิรัญวัฒนา 434 55433 29. กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง. Part 1 รูปแบบของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง Part 2 ผลการจัดจำหน่ายกองทุน Part 3 สถานการณ์ในปัจจุบัน Part 4 Case Study. Part 1. รูปแบบของกองทุนวายุภักษ์ 1.
E N D
ผู้จัดทำ กรกฏ กิจดี 434 55026 29 นิภาพรรณ แสงหิรัญวัฒนา 434 55433 29
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง • Part 1 รูปแบบของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง • Part 2 ผลการจัดจำหน่ายกองทุน • Part 3 สถานการณ์ในปัจจุบัน • Part 4 Case Study
Part 1 รูปแบบของกองทุนวายุภักษ์ 1
สินเชื่อธนาคาร เงินฝากธนาคารและปริมาณเงิน(M2)
ความเป็นมา • ปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน ปี 1997 • เกิดปัญหา NPL • รัฐบาลจัดตั้ง บรรษัทบริการสินทรัพย์ไทย (บสท.) • ธนาคารพาณิชย์ไม่กล้าที่จะปล่อยกู้แต่จำนวนผู้ฝากเงินกลับเพิ่มขึ้น เกิดสภาพคล่องล้นระบบ ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุนการดำเนินการ • เกิดแนวความคิดจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์ขึ้นเนื่องจากมีสภาพเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวย คือ มีสภาพคล่องในระบบสูง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารต่ำ สภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวและมีแนวโน้มที่ดี
วัตถุประสงค์หลัก • เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ออม • เป็นช่องทางในการนำหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือครองอยู่มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ ทำรายได้จากเงินประชาชน • ช่วยลดส่วนต่างระหว่างเงินลงทุนกับเงินออม(Investment-Saving Gap) • เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างตลาดเงินและตลาดทุนของไทย เพื่อลดสภาพคล่องในระบบและนำสภาพคล่องที่ล้นเกินนั้นมาใช้ประโยชน์ • เป็นแหล่งเงินทุนแทนภาครัฐในการแก้ปัญหาธุรกิจของไทยที่กำลังประสบปัญหาและจะกระทบความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยโดยไม่กระทบเงินงบประมาณรัฐบาลและไม่เป็นภาระในการก่อหนี้ต่างประเทศ • เป็นนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อลดทอนอำนาจของนักลงทุนต่างชาติ
รูปแบบของกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 • ลักษณะทั่วไปที่สำคัญ • ความแตกต่างของกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 กับกองทุนรวมอื่นๆ • สัญญาให้สิทธิในการขายกองทรัพย์สิน (Put Option) • สัญญาให้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สิน (Call Option) • ลักษณะการระดมทุนและนโยบายการลงทุน • ผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 • การจ่ายเงินปันผล • การแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ • ผู้บริหารกองทุน
ลักษณะทั่วไปที่สำคัญ • ประเภทของกองทุน • เป็นกองทุนรวมที่มีการคุ้มครองเงินต้นและอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ • มูลค่าโครงการ • 100,000 ล้านบาท • ชนิดของหน่วยลงทุน • หน่วยลงทุนประเภท ก. • หน่วยลงทุนประเภท ข. • อายุกองทุน • 10 ปี
ความแตกต่างระหว่างกองทุนรวมอื่นๆความแตกต่างระหว่างกองทุนรวมอื่นๆ กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 จะคุ้มครองมิให้ผู้ลงทุนทั่วไปได้รับผลกระทบจากการปรับลดของราคาหลักทรัพย์ โดยกระทรวงการคลังจะให้สิทธิกองทุนในการขายกองทรัพย์สินเพื่อคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ภายใต้การคุ้มครองดังกล่าว มีเงื่อนไขว่ากระทรวงการคลังจะเป็นผู้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เมื่อราคาของหุ้นที่ขายให้กองทุนรวมไปนั้นมีการปรับตัวสูงขึ้น
สัญญาให้สิทธิในการขายกองทรัพย์สิน (Put Option) ในกรณีที่ NAV ของกองทุนรวม ณ วันใช้สิทธิ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ยตลอดอายุโครงการของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนด (ร้อยละ 3) กองทุนรวมจะมีสิทธิที่จะขายกองทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลังตามราคาใช้สิทธิขาย
สัญญาให้สิทธิในการซื้อกองทรัพย์สิน (Call Option) ในกรณีที่มูลค่าของกองทรัพย์สินหลังหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนรวม ณ วันเริ่มใช้สิทธิ สูงกว่าหรือเท่ากับราคาใช้สิทธิซื้อ กระทรวงการคลังมีสิทธิที่จะซื้อกองทรัพย์สินในราคาใช้สิทธิซื้อ ทั้งนี้ การตัดสินใจใช้สิทธิดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกระทรวงการคลัง
หลักทรัพย์ที่ซื้อจากกระทรวงการคลัง (ประมาณร้อยละ 70) นักลงทุนทั่วไป 70,000 ล้านบาท 100,000 ล้านบาท กระทรวงการคลัง สำรองเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมในอนาคต (ประมาณร้อยละ 30) 30,000 ล้านบาท การระดมเงินทุนและนโยบายการลงทุน
ความเสี่ยง • ความเสี่ยงในการที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value: NAV) จะไม่สะท้อนผลตอบแทนส่วนเกินและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาด • ความเสี่ยงในการไม่ได้รับความคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำ กรณีที่ซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง • มูลค่าของเงินปันผลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายก่อนๆ ทุกรายได้รับ • มูลค่าของเงินปันผลที่ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งซื้อหน่วยลงทุนจากตลาดรองได้รับ • มูลค่าหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง
ความเสี่ยง • ความเสี่ยงในการที่ไม่ได้รับเงินปันผลในแต่ละปีตามอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ • ความเสี่ยงในการไม่ได้รับความคุ้มครองเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำในทันทีที่เลิกกองทุนรวมก่อนครบอายุโครงการตามเงื่อนไขที่ปรากฎในโครงการ • ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้แทนของกระทรวงการคลังที่อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหาร/กรรมการ/ที่ปรึกษาในบริษัทที่กระทรวงการคลังเคยถือหุ้นอยู่ และได้โอนถ่ายมาเป็นของกองทรัพย์สินของกองทุนรวม
การเสียภาษี • บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเงินปันผล : เสียภาษี โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 10 % หรือจะไม่ให้หักก็ได้ แต่ถ้าไม่ให้หักต้องนำไปรวม คำนวณภาษีเงินได้เงินได้จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน : ได้รับการยกเว้น • บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเงินปันผล : ได้รับยกเว้นภาษีกึ่งหนึ่งของรายได้จากเงินปันผลนั้น หากบริษัทถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันที่รับเงินปันผล และถือหลังจากรับเงินปันผลแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนเงินได้จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน : ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราปกติ
การเสียภาษี • บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เงินปันผล : ได้รับยกเว้นภาษี หากบริษัทถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันที่รับเงินปันผล และถือหลังจากรับเงินปันผลแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนเงินได้จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน : ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราปกติ
การแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิการแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ • กรณีที่ 1 มีการใช้สิทธิขาย (Put Option) 1) ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะได้รับ NAV ตามราคาใช้สิทธิขายที่คำนวณได้ 2) ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. จะได้รับ NAV ที่เหลือหลังจากหักให้ประเภท ก. แล้ว
การแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิการแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ • กรณีที่ 2 มีการใช้สิทธิซื้อ (Call Option) หรือกรณีที่ไม่มีการใช้สิทธิใดๆ • ถ้า NAV น้อยกว่า ผลรวมของมูลค่าเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำที่ได้รับความคุ้มครองและมูลค่าเงินลงุทนเริ่มต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ให้ดำเนินการแบ่ง NAV ดังนี้ • ผู้ถือหน่วยลงุทนประเภท ก. จะได้รับ NAV ตามมูลค่าเงินลงุทนและผลตอบแทนขั้นต่ำที่ได้รับความคุ้มครอง • ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. จะได้รับ NAV ที่เหลือหลังจากหักให้แก่ผู้ถือหน่วยลงุทนประเภท ก. แล้ว
การแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิการแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ • ถ้า NAV ของกองทุนรวมมากกว่าผลรวมของ มูลค่าเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำที่ได้รับความคุ้มครองและมูลค่าเงินลงทุนเริ่มต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ให้นำ NAV ของกองทุนรวมที่เกินนั้นมาคำนวณดังนี้ (NAVส่วนเกิน เท่ากับ NAV ทั้งหมดหักด้วย มูลค่าเงินลงทุนและผลตอบแทนขั้นต่ำที่ได้รับความคุ้มครองและมูลค่าเงินลงทุนเริ่มต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.)
การแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิการแบ่งมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
การรับเงินลงทุนคืนหรือขายหน่วยลงทุนการรับเงินลงทุนคืนหรือขายหน่วยลงทุน • การรับเงินลงทุนคืนหรือขายหน่วยลงทุนทำได้ ดังนี้ • ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ (10 ปี) • ซื้อ-ขายหน่วยลงทุนนอกตลาด และสามารถโอนเปลี่ยนมือโดยติดต่อนายทะเบียนหน่วยลงทุน • ถ้ากองทุนยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาจมีการจัดตั้งผู้สร้างสภาพคล่องในตลาดรอง • หลังจากหน่ยลงทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว เราสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้
จำนวนเงินลงทุนที่ได้รับคืนจำนวนเงินลงทุนที่ได้รับคืน
ผู้บริหารเงินลงทุน • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) • บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
ตัวแทนจำหน่าย • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) • ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) • ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
Part 2 ผลการจัดจำหน่ายกองทุน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ได้มีผู้จองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง เต็มจำนวน 70,000 ล้านบาท โดยมีผลการจองซื้อ ดังนี้
ผลการจัดจำหน่าย • มีการตอบรับจากนักลงทุนรายย่อยน้อย • แต่ยังขายหมดภายในช่วงเวลาที่กำหนด (11 - 24 พ.ย. 2546) • นักลงทุนสถาบัน • กองทุนต่างๆ • นักลงทุนรายใหญ่
เหตุใดประชาชนจึงไม่ตอบรับ วายุภักษ์ 1 • ประชาชนเลือกที่จะไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ • ประชาชนบางส่วนเลือกที่จะฝากเงินในธนาคาร แม้จะมีส่วนต่างในอัตราผลตอบแทน • ความเข้มงวดของกลต.ทำให้หนังสือชี้ชวนไม่สามารถดึงดูดความสนใจของนักลงทุนได้ • กลไกการค้ำประกันเงินต้นและอัตราผลตอบแทน
Part 3 สถานการณ์ในปัจจุบัน
วายุภักษ์ 1 ในปัจจุบัน • กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนรวมต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 • กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้ตั้งสำรองเงินปันผลตลอดอายุของกองทุน 10 ปี มูลค่า 21,000 ล้านบาท สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน ประเภท ก. (ผู้ลงทุนทั่วไป) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
วายุภักษ์ 1 ในปัจจุบัน • กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ได้ลงทุนโดยซื้อหลักทรัพย์ของสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่จากกระทรวงการคลัง มูลค่า 70,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 โดยหลักทรัพย์ทั้งหมดดังกล่าวมีมูลค่าตลาดในวันดังกล่าวเท่ากับ 95,401 ล้านบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการลงทุนของกองทุน จำนวน 5 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง 3 คน และผู้แทนจากบริษัทจัดการทั้งสองแห่ง (บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)) แห่งละ 1 คน ได้ประชุมและหารือในกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546
วายุภักษ์ 1 ในปัจจุบัน สำหรับพอร์ตการลงทุนของวายุภักษ์ 1 ในหุ้นทั้ง 11 ตัว มีดังนี้ 1.ธนาคารกรุงไทย จำนวน 414.34 ล้านหุ้น 2.หุ้นบุริมสิทธิธนาคารกรุงไทย จำนวน 5.45 ล้านหุ้น 3.บมจ.การบินไทย จำนวน 260.57 ล้านหุ้น 4.บมจ.ปตท.จำนวน 435.80 ล้านหุ้น 5.หุ้นบุริมสิทธิธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 758.79 ล้านหุ้น 6.บริษัทกรุงเทพประกันภัย จำนวน 8.95 แสนหุ้น
วายุภักษ์ 1 ในปัจจุบัน 7.บริษัททิพยประกันภัย จำนวน 8.52 ล้านหุ้น 8.บริษัทกรุงเทพคลังสินค้า จำนวน 5.01 แสนหุ้น 9.บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำนวน 6.28 แสนหุ้น 10.บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง จำนวน 4.50 ล้านหุ้น และ 11.บมจ.ฟินิคซ์ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำนวน 3.67 ล้านหุ้น โดยกว่า 80% อยู่ในหุ้นเพียง 3 ตัว คือ หุ้นของ บมจ.ปตท. การบินไทย และแบงก์กรุงไทย โดยกองทุนซื้อจากคลังในราคาส่วนลด 15% ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2546
วายุภักษ์ 1 ในปัจจุบัน • จากการซื้อหุ้นทั้ง 11 ตัว ดังกล่าว กองทุนรวมวายุภักษ์ ยังคงมีเงินลงทุนเหลือที่จะลงทุนได้อีก ประมาณ 30,000 ล้านบาท • อาจมีการเข้าไปลงทุนเพิ่มในหุ้นอื่นๆอีก ซึ่งผู้แทนของกระทรวงการคลังซึ่งเป็น 1 ใน คณะกรรมการการลงทุนแถลงว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว ไม่ใช่การเก็งกำไร หรือแทรกแซงตลาด • 16 ก.พ. 2547 คณะกรรมการกองทุน จะมีการประชุมหารือกัน เกี่ยวกับการขยายกรอบการ ลงทุน โดยให้กองทุนสามารถนำเงินที่เหลือจากการซื้อหุ้น 11 ตัวมาจากกระทรวงการคลัง จำนวน 30,000 ล้านบาท มาลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ รวมทั้งให้กองทุนสามารถนำหุ้นที่ซื้อมาจากกระทรวงการคลังจำนวน 11 ตัว ออกมาซื้อขายได้ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหน่วยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากคณะกรรม-การกองทุนอนุมัติก็จะสามารถเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทันที • คาดว่าจะเริ่มมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯในวันที่ 18 ก.พ.2547
Part 4 CASE STUDY
Government Investment Corp.: GIC • GIC is a global investment management company established in 1981 to manage Singapore's foreign reserves • one of Asia's largest private equity investors with an estimated S$9.1 billion-S$18.2 billion invested in 120 properties in more than 25 countries worldwide. • GIC invests internationally in equities, fixed income, money market instruments, real estate and special investments. • its real rate of return always exceeds the G3's (US, Japan and Germany) average inflation rate of 5 percent
Temasek Holdings • An investment holding company based in Singaporeestablished in 1974 • wholly-owned by the Minister for Finance (Inc). • It’s holds and manages investments in companies which are leading companies in Singapore, such as Singapore Airlines, Singapore Telecoms, Singapore Technologies, Neptune Orient Lines-APL, PSA Corporation, DBS Bank and Singapore Power.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง GIC,Temasek Holdingsและกองทุนรวมวายุภักษ์ • เป็นกองทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาล • กองทุนรวมทั้ง 3 กองทุนมีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือ เป็นกลไกให้แก่รัฐ เมื่อต้องการเข้าไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ • ลงทุนช่วยเหลืออุตสาหกรรม ที่สำคัญของประเทศที่มีอนาคตไกลที่ต้องการเพิ่มทุน
ความแตกต่างระหว่าง GIC,Temasek Holdingsและกองทุนรวมวายุภักษ์ • GIC จะเน้นการลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก • กองทุนรวมวายุภักษ์มีการประกันอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ ขณะที่ชาวสิงคโปร์ที่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนของ GIC และ Temasek Holdings ต้องพร้อมที่จะรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเอง • GIC และ Temasek Holdings มีการลงทุนแบบมืออาชีพ ไม่ได้เน้นเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีปัญหา แต่จะเลือกลงทุนในบริษัทที่ศักยภาพเติบโตสูงเป็นสำคัญ แต่ภาพของการลงทุนของวายุภักษ์ คือกองทุนที่เข้าไปโอบอุ้มบริษัทที่มีปัญหาในการเพิ่มทุนมากกว่าเหตุผลอื่นๆ
Unit Trust of India (UTI) • UTI is the India largest single investor in Indian markets, controlling more than $12.7 billion (600 billion rupees). • UTI Asset Management Company presently manages 42 NAV based domestic SEBI compliant schemes and 4 Offshore funds having a corpus Rs.15,243 crore from about 10 million investor accounts. • US-64 fund, established in 1964 by UTI, which is India's biggest and accounts for about 15 percent of the domestic mutual fund industry's assets. • In recent years, falling global stock markets have seriously eroded the value of its investments, leading to severe liquidity problems and increasing its bad debt load.
ความล้มเหลวของกองทุน US-64 • มีระบบการขายและซื้อคืนหน่วยลงทุน ที่ไม่สัมพันธ์กับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) ของกองทุน • สินทรัพย์ที่ UTI เข้าไปลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นกลุ่มไฮเทคโดยมีสัดส่วนสูงถึง 65% • การตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ทุกเรื่องของ UTI มาจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นรู้ดีในหมู่คนวงใน มีการใช้ข้อมูลวงในของบรรดาสถาบันการเงิน เพื่อตักตวงผลประโยชน์เข้าตัว
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง UTIและกองทุนรวมวายุภักษ์ • รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนกองทุน • การตัดสินใจในการลงทุนขึ้นอยู่กับคนกลุ่มน้อยที่แต่งตั้งมาจากกระทรวงการคลัง • รัฐบาลมีการประกันผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่นักลงทุน • การลงทุนส่วนใหญ่เน้นการลงทุนในตลาดทุน • นโยบายของกองทุนเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
ความแตกต่างระหว่าง US-64 และ กองทุนรวมวายุภักษ์ • US-64 เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มไฮเทคในต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูง ขณะที่กองทุนรวมวายุภักษ์เน้นการลงทุนในรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาต้องฟื้นฟูในประเทศ • รัฐบาลของประเทศอินเดียไม่ได้เข้าไปร่วมลงทุนในUS-64 และไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆจากการจัดตั้งกองทุน แต่มีการประกันอัตราผลตอบแทนแก่นักลงทุน