1 / 76

พระราชบัญญัติ ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารก และเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติ ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารก และเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. กานต์ เจิมพวงผล นิติกร ศูนย์อนามัยที่ 5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสําหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประมวลกฎหมายอาญา

shanda
Download Presentation

พระราชบัญญัติ ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารก และเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติ ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 กานต์ เจิมพวงผล นิติกร ศูนย์อนามัยที่ 5

  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสําหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

  3. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 • ประมวลกฎหมายอาญา • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา • พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 • พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540 • พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

  4. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ลักษณะอาหารที่ควบคุม ฉลาก กระบวนการผลิต บรรจุ จำหน่าย

  5. อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกอาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารก • และเด็กเล็ก อาหารทารก หมายความว่า อาหารที่มีจุดมุ่งหมายใช้เลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 เดือนแทนหรือทดแทนนมแม่ อาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก หมายความว่า อาหารที่มีจุดมุ่งหมาย ใช้เลี้ยงทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนจนถึง 12 เดือน หรือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีจนถึง 3 ปี เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ (ประกาศกระทรวง ฉบับที่ 157 (พ.ศ.2537) เรื่องอาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก)

  6. อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็กอาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารเสริมสําหรับทารกและเด็กเล็ก หมายความว่า อาหารที่ใช้เสริมคุณค่าอาหารและสร้างความคุ้นเคยในการกินอาหารทั่วไปให้แก่ทารกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 12 เดือนหรือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ (ประกาศกระทรวง ฉบับที่ 158 (พ.ศ.2537) เรื่อง อาหารเสริมสําหรับทารกและเด็กเล็ก)

  7. ฉลาก หมายความรวมถึงรูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร กำหนดรายละเอียดในฉลากบนผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารเสริม สำหรับทารกและเด็กเล็ก

  8. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติต่าง ๆ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือ มีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย มาตรา 3 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

  9. ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดเรื่องความผิด  และบทลงโทษไว้สำหรับความผิด นั้น ๆ  เพราะรัฐมีหน้าที่รักษาความสงบของบ้านเมือง  กฎหมายอาญาจึงกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับราษฎรซึ่งกระทำความผิดขึ้น ข่มขู่ / ขืนใจ / เรียก รับ ยอมจะรับประโยชน์ / ละเว้น เจ้าหน้าที่กระทำต่อประชาชน ดูหมิ่น / ขัดขวาง / ข่มขู่ / ขืนใจ / ติดสินบน ประชาชนกระทำต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ทุจริต ทุจริตต่อหน้าที่

  10. ทั้งจำทั้งปรับ ปรับสถานเดียว

  11. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.37 คดีอาญาเลิกกัน ได้ดังต่อไปนี้ ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูง สําหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกิน 10,000 บาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษี อากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกิน 10,000บาท เมื่อผู้ต้องหาชําระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวน ไดเปรียบเทียบแล้ว ในความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือ คดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อผู้ต้องหา ชําระค่าปรับตามที่นายตํารวจประจําท้องที่ตั้งแต่.ตําแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตํารวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทําการในตําแหน่งนั้นๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว ในคดีซึ่งเปรียบเทียบไดตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

  12. การจ่ายค่าปรับกรณีที่ปรับได้การจ่ายค่าปรับกรณีที่ปรับได้ มาตรา 38 ความผิดตามอนุมาตรา (2) (3) และ (4) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดังกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจําคุก ให้มีอํานาจเปรียบเทียบดังนี้ ให้กําหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชําระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอม ตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เจ้าหน้าที่กําหนดให้ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่เกิน 15 วัน แล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชําระเงินค่าปรับภายในเวลาให้ดําเนินคดีต่อไป ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้เจ้าหน้าที่ กะจํานวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน

  13. สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้ โดยความตายของผู้กระทำผิด ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อคดีอาญาเลิกกันตามมาตรา 37 เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น เมื่อคดีขาดอายุความ เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

  14. พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหาร สําหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 กฎหมายมหาชน • กระบวนการทางปกครอง • พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหาร • สําหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 • พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • กระบวนการทางยุติธรรม • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปรับ จำคุก ริบทรัพย์สิน เปรียบเทียบปรับ ยึดทรัพย์

  15. พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ข้อมูลสุขภาพ = ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 7 ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูล ด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้

  16. พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 24 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้เว้นแต่เป็นการเปิดเผยดังต่อไปนี้ (1) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตน เพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น (2) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดใหม่ของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น (3) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้วยการวางแผน หรือการสถิติ หรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้ปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น (4) เป็นการให้พื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย โดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด (5) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา (6) ต่อเจ้า หน้าที่ของรัฐ เพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม (7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็น เพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล (8) ต่อศาล และเจ้า หน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว (9) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามวรรคหนึ่ง (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (9) ให้มีการจัดทำ บัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับไว้กับข้อ มูลข่าวสารนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

  17. พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ  โดยกฎหมายกำหนดไว้ 5 ประการคือ          1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ   3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

  18. คำนิยาม - ความหมาย

  19. เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 เดือน ทารก บุคคลที่คุ้มครอง เด็กเล็ก • เด็กอายุเกิน 12 เดือน จนถึง 3 ปี

  20. อาหารสำหรับทารก นมหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะใช้เลี้ยงทารกตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร นมหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ ที่มีข้อความให้เห็นว่าใช้เลี้ยงทารกได้ อาหารสำหรับเด็กเล็ก สิ่งที่ควบคุม นมหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เป็นอาหาร ทั้งนี้ที่มีข้อความแสดงให้เห็นว่าใช้ในการเลี้ยงเด็กเล็กและเฉพาะตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ อาหารเสริมสำหรับทารก อาหารที่ใช้เสริมคุณค่าทางโภชนาการและสร้างความคุ้นเคยในการบริโภคอาหารให้แก่ทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร

  21. ผู้ทำ ผสม ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ รวมบรรจุ หรือเปลี่ยนภาชนะ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้นำ หรือ สั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ที่ถูกควบคุม ผู้ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ หรือ มีไว้เพื่อจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ผู้จำหน่าย

  22. การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร รูป รอยประดิษฐ์ ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมาย หรือการกระทำอย่างใดๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้ ส่งเสริมการตลาด การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น หรือทราบข้อความ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางการค้า โฆษณา ลักษณะการควบคุม การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร รูป รอยประดิษฐ์ ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมาย หรือการกระทำอย่างใด ๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้ ข้อความ ฉลาก ฉลากตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร

  23. หน่วยบริการสาธารณสุข • สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล • สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือ • สภากาชาดไทย • และให้หมายความรวมถึงองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านสุขภาพแม่และเด็ก และองค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุข บุคคล & องค์กร

  24. องค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุของค์กรวิชาชีพด้านสาธารณสุข • คณะกรรมการวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ • แพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม • สภาการพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ • ทันตแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม • สภาเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม • สภากายภาพบำบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด • สภาเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ • สภาการแพทย์แผนไทยตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย • สภาการสาธารณสุขชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน • หรือสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น บุคคล & องค์กร

  25. บุคลากรด้านสาธารณสุข บุคลากรทุกสาขาอาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสาธารณสุข และ ให้หมายความรวมถึงอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุขด้วย บุคคล & องค์กร บุคลากรด้านสาธารณสุข คณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

  26. คณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมคณะกรรมการควบคุมการส่งเสริม การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก “คสตท.” (๑) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ (๒) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 8 คน ได้แก่ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และปลัดกรุงเทพมหานคร (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสภาการพยาบาล สภาการสาธารณสุขชุมชน สภาเภสัชกรรม ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัย สูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทย (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ ไม่แสวงหากำไรและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านสุขภาพแม่และเด็ก ด้านสิทธิเด็ก และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ด้านละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้าน การสื่อสารการตลาดและด้านกฎหมาย ด้านละ 1 คน ให้อธิบดีกรมอนามัย เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมอนามัยแต่งตั้งข้าราชการ กรมอนามัย จำนวน 2 คนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ บุคคล & องค์กร

  27. ให้ คณะกรรมการ (“คสตท.”) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้... (1) กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการควบคุมการส่งเสริมการ ตลาดอาหารสำหรับทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบในการเฝ้าระวังการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับ ทารกอาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก (3) ให้คำ แนะนำ หรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในการออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ (4) ให้คำแนะนำหรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับ ทารก อาหารสำหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมสำหรับทารก เพื่อให้การดำเนินการเป็นไป ตามพระราชบัญญัตินี้ (5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย (มาตรา 10) บุคคล & องค์กร

  28. พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ เจ้าหน้าที่ที่ รมว.สธ.แต่งตั้ง บุคคล & องค์กร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสําหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

  29. ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้... (1) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบเอกสาร สื่อโฆษณา หรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งนี้ ให้มีอำนาจบันทึกภาพหรือกระทำการอื่น เท่าที่จำเป็น เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานด้วย (2) ยึดหรืออายัดเอกสาร สื่อโฆษณา หรือสิ่งอื่นใดที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับ การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ (3) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสาร หรือ หลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควรแก่กรณี (ม. 30) บุคคล & องค์กร

  30. บัตรมีอายุไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต ต้องแสดงบัตรประจำตัว (ม.31)

  31. พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ม.33) • ประชาชน VS จนท. • หมิ่นประมาท • ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ • ติดสินบน • ข่มขู่ ขืนใจ • จนท. VS ประชาชน • ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ • ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ • เรียกสินบน • ข่มขู่ ขืนใจ

  32. การควบคุมการส่งเสริมทางการตลาดการควบคุมการส่งเสริมทางการตลาด (Marketing Promotion Control) อาหารสำหรับทารกและอาหารสำหรับเด็กเล็ก

  33. ม.14 ห้าม ผู้ใด โฆษณา อาหารสำหรับทารก ห้ามผู้ใดโฆษณาอาหารสำหรับเด็กเล็ก โดยใช้ข้อความเกี่ยวกับทารกหรือเด็กเล็กในสื่อโฆษณาที่มีลักษณะเชื่อมโยงหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นอาหารสำหรับทารกหรือเหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงทารก

  34. ฉลาก ม. 15 ผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารก หรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวแทน ต้องดําเนินการให้ฉลากอาหารสําหรับทารกและฉลากอาหารสําหรับเด็กเล็กแตกต่างกัน อย่างชัดเจนและสามารถมองเห็นหรือแยกแยะได้โดยง่าย ฉลากอาหารสําหรับทารกและฉลากอาหารสําหรับเด็กเล็กตามวรรคหนึ่งต้องแตกต่างจาก ฉลากอาหารอื่นอย่างชัดเจน

  35. การให้ข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล

  36. การให้ข้อมูล ม.16 (ภายใต้บังคับม. 14) • การให้ข้อมูล เกี่ยวกับอาหารสําหรับทารกหรือ อาหารสําหรับเด็กเล็กของผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือ ผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวแทน • ต้องมีข้อความเช่นเดียวกับข้อความตามที่ปรากฏในฉลากอาหารสําหรับทารกหรืออาหาร สําหรับเด็กเล็กที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร • ต้องไม่ปรากฏข้อความที่เป็นการกล่าวอ้าง ทางโภชนาการและสุขภาพ • หากกรณีเป็นอาหารสําหรับทารกต้องมีข้อมูล ดังต่อไปนี้ • 1.ข้อมูลค่าใช้จ่าย และปริมาณในการใช้อาหารสําหรับทารกในภาพรวม • 2.ข้อควรระวังจากการเตรียม หรือการใช้อาหารสําหรับทารก • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และรายละเอียดในการจัดทําข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ • ช่องทางในการให้ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนํา ของคณะกรรมการ

  37. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข รายละเอียดการจัดทำข้อมูลและช่องทางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก พ.ศ. 2561 • ปริมาณการใช้อาหารสำหรับทารกและข้อมูลค่าใช้จ่าย • ปริมาณการใช้อาหารสำหรับทารกให้คิดเป็นหน่วยบรรจุภัณฑ์ต่อเดือน กรณีที่ทารกไม่ได้กินนมแม่และต้องใช้อาหารสำหรับทารกอย่างเดียว แบ่งออกเป็น • อายุตั้งแต่แรกเกิด – 3 เดือน • อายุมากกว่า 3 เดือน – 6 เดือน • ค่าใช้จ่ายภาพรวม คิดในกรณีที่ทารกไม่ได้กินนมแม่และต้องใช้อาหารสำหรับทารกอย่างเดียว โดยประมาณเฉลี่ยต่อเดือน • ลักษณะข้อความที่ใช้ในการแสดงข้อมูล

  38. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข รายละเอียดการจัดทำข้อมูลและช่องทางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก พ.ศ. 2561 • ข้อควรระวังจากการเตรียม หรือ การอาหารสำหรับทารก • ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ควรเตรียม เก็บรักษา และใช้อย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของทารก • ขวดนมและจุกนมต้องล้างทำความสะอาดและต้มในน้ำเดือดอย่างน้อย 5 นาที หรือนึ่งในเครื่องนึ่งไอน้ำเดือดนานตามข้อกำหนดของแต่ละเครื่องก่อนใช้ทุกครั้ง • น้ำที่ใช้ชงนมต้องต้มให้สุก ทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็นก่อนนำไปชงนม • ควรเตรียมนมให้พอดีกับความต้องการของทารกในแต่ละมื้อ ไม่ควรนำนมที่เหลือในแต่ละมื้อมาให้ทารกกินอีก

  39. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข รายละเอียดการจัดทำข้อมูลและช่องทางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารก พ.ศ. 2561 • กำหนดหลักเกณฑ์อื่นๆ • ช่องทางการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสำหรับทารกให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือตัวแทน แสดงหรือเผยแพร่ข้อมูล ณ จุดจำหน่ายเท่านั้น • การให้ข้อมูลนั้น ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือตัวแทน สามารถกระทำได้ ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก หรือบุคคลในครอบครัวที่มีทารกหรือเด็กเล็ก เป็นผู้ติดต่อขอข้อมูล ไปยังผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือตัวแทนและ ต้องเป็นการให้ข้อมูลในลักษณะ ดังต่อไปนี้ • เป็นการให้ข้อมูลโดยตรงแก่ผู้ร้องขอข้อมูลและเท่าที่ผู้ร้องขอต้องการเท่านั้น • ไม่กระทำการใดอันเป็นการชักจูงให้ผู้ร้องขอติดต่อไปยังผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือตัวแทน ซ้ำอีกเพื่อขอรับข้อมูล • ไม่กระทำการใดอันเป็นการส่งเสริมการตลาด หรือสื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอาหารสำหรับทารกในระหว่างการให้ข้อมูล

  40. การให้ข้อมูล ม.17 การให้ข้อมูล เกี่ยวกับอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็กของผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวแทน แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข ต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ทั้งนี้ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

  41. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ประกอบการให้ข้อมูล เกี่ยวกับอาหารสำหรับทารกและอาหารสำหรับเด็กเล็ก หรือ อาหารเสริมสำหรับทารก แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข พ.ศ. 2561 • ต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับซึ่งมาจาก แหล่งข้อมูลอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ • บทความตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการหรือตำราที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการระดับนานาชาติ • บทความที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอื่นที่มีความน่าเชื่อถือโดยเป็นข้อมูลที่มาจากวารสารวิทยาศาสตร์ซึ่งมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการที่มีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ (Peer ReviewJournal) • รายงานหรือแนวปฏิบัติของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (Expert Committee) ที่เกี่ยวข้อง

  42. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ประกอบการให้ข้อมูล เกี่ยวกับอาหารสำหรับทารกและอาหารสำหรับเด็กเล็ก หรือ อาหารเสริมสำหรับทารก แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข พ.ศ. 2561 • การอ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ • ให้จัดทำข้อมูลเสนอแก่บุคลากรด้านสาธารณสุขทุกครั้ง โดยต้องมีหลักฐานประกอบการนำเสนอข้อมูลเป็นเอกสารหรือบทความวิจัยฉบับเต็ม (Full Paper) ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ ใน แหล่งข้อมูลที่กำหนดในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

  43. ม.24 การเผยแพร่ข้อมูล • การจัดทําหรือเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็ก ของผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือ ผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือ ตัวแทน • ....ต้องไม่มีลักษณะเป็น .... • การส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้ใช้อาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็กไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม • สื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก • ไม่ใช้บังคับ กับ ผู้ผลิตที่เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งดําเนินการ... • เพื่อประโยชน์ ในทางการแพทย์ • เพื่อประโยชน์ในการรักษาทารกหรือเด็กเล็ก

  44. ม.18 ในการส่งเสริมการตลาดอาหารสําหรับทารกและอาหารสําหรับเด็กเล็ก ห้าม ผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวแทน ดําเนินการดังต่อไปนี้ 1.แจกหรือให้คูปองหรือสิทธิที่จะได้รับส่วนลด ขายพ่วง แลกเปลี่ยนหรือ ให้ของรางวัล ของขวัญหรือสิ่งอื่นใด 2. แจกอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวอย่างอาหารสําหรับทารกหรือ อาหารสําหรับเด็กเล็ก ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

  45. ม.18 3. ให้อาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก สิ่งของ หรือสิ่งอื่นใดแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก หรือ บุคคลในครอบครัวที่มีทารกหรือเด็กเล็ก 4.ติดต่อหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก หรือบุคคลในครอบครัวที่มีทารก หรือเด็กเล็กไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน หรือแนะนําให้ใช้อาหารสําหรับทารกหรือ อาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือเพื่อสื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก

  46. ม.19 • ในกรณีที่ผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับ เด็กเล็ก หรือตัวแทน ประสงค์จะมอบหรือให้สิ่งของ อุปกรณ์ หรือของใช้แก่หน่วยบริการสาธารณสุข สิ่งของ อุปกรณ์ หรือของใช้ดังกล่าวจะต้อง • ไม่มีชื่อ • ไม่มีตรา • ไม่มีสัญลักษณ์ • ที่สื่อให้เห็นว่าเป็นอาหารสําหรับทารกหรือ อาหารสําหรับเด็กเล็ก • กรณีที่มีชื่อ ตรา หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ จะต้อง ไม่สื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก

  47. ม.20 • ห้าม ผู้ผลิต ผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่ายอาหารสําหรับทารกหรืออาหารสําหรับเด็กเล็ก หรือตัวแทน • ให้ • เสนอว่าจะให้ ของขวัญ เงิน สิ่งจูงใจ หรือประโยชน์อื่นใด แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข ไม่ใช้บังคับกับการให้ตามประเพณีหรือธรรมจรรยา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

More Related